KIDS SMILE LABO NURSERY แปลงพื้นที่ในป่ามาไว้ในเนิร์สเซอรี่

KIDS SMILE LABO NURSERY เนิร์สเซอรี่ ที่ถอดลักษณะของป่าในเมืองอัตสึงิทั้ง 8 รูปแบบ มาไว้บนชั้นสองของอาคารให้เด็ก ๆ ได้ผจญภัยและเรียนรู้

โรงเรียนอนุบาล OB KINDERGARTEN AND NURSERY กับห้องเรียนวิวทะเลและภูเขา

โรงเรียนอนุบาลในเมืองนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ตั้งใจเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ สัมผัสวิวธรรมชาติภายนอกจากภายในอาคารได้ตลอดวัน

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]

YUECHENG COURTYARD KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลกับลานวิ่งเล่นลอยฟ้า

โรงเรียนอนุบาล ที่ผสมผสานระหว่างโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าได้ให้ความสำคัญในประเด็นของ “การบูรณาการระหว่างวัย”

SANGAM ELEMENTARY SCHOOL โรงเรียนอนุบาลที่ออกแบบให้เด็กได้วิ่ง เล่น เลอะ สไลด์ และเรียนรู้

ตั้งแต่อดีตกาลที่เรานั่งเรียนหนังสือกันใต้ต้นไม้ ซึ่งส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะที่หลากหลาย ทั้งการวิ่ง กระโดด สไลด์ เเละเลอะเทอะท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ ทำให้เด็ก ๆ ได้ค้นหาตัวตนในหนทางที่ต่างออกไป นี่คือแรงบันดาลใจมาสู่การออกแบบ โรงเรียนอนุบาล แห่งนี้ โรงเรียนอนุบาล นี้ตั้งอยู่ที่รัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย สถาปนิกได้ให้ความสำคัญด้านการออกแบบ โดยเน้นลงไปที่บรรดาเด็กนักเรียนให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพเเวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในคีย์เวิร์ดของการเรียนรู้ รูปฟอร์มของอาคารได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนชีสที่มีรูขนาดเล็กรอบด้านเหมือนภาพที่เห็นในการ์ตูน ผิวของอาคารเต็มไปด้วยช่องเปิดที่วางตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ เพื่อเชื่อมมุมมองไปยังธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ขนาดของหน้าต่างออกแบบให้มีขนาดเล็กเพื่อความปลอดภัยเวลาเปิด-ปิด และวางในระดับความสูง เด็ก ๆ จึงสามารถมองเห็นวิวภายนอกได้ในขณะที่นั่งเรียนอยู่ที่โต๊ะของแต่ละชั้นภายในอาคาร ซึ่งแทรกไปด้วยกระถางต้นไม้ขนาดเล็กตามมุมของตึกที่ออกแบบรูปทรงเเบบเป็นธรรมชาติ ฝั่งหนึ่งของตึกออกแบบเป็นพื้นที่สโลปขนาดใหญ่ เหมือนเป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสวดมนต์ตอนเช้า เเละเล่นละคร ส่วนที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ราบได้ออกแบบเป็นลู่จักรยาน โดยพื้นที่สโลปแต่ละชั้นสามารถเชื่อมต่อเข้าไปภายในตึกได้ทุกชั้น พื้นที่สโลปช่วงแรกประกอบไปด้วยสไลเดอร์ขนาดใหญ่สองอัน ช่วงที่สองเป็นช่วงสโลปที่ยาวที่สุดทำเป็นเครื่องกีดขวางฝึกทักษะ และช่วงที่สามเป็นส่วนที่มีแสงแดดเพียงพอ จึงได้ออกแบบเป็นที่ปลูกผักสวนครัว ที่แต่ละห้องเรียนสามารถมาปลูกผักและดอกไม้เป็นของตัวเอง กลายเป็นการสร้างความใกล้ชิดระหว่างเด็กกับธรรมชาติอย่างแยบยล และชั้นบนสุดเป็นสนามเด็กเล่นที่มองเห็นวิวเมืองได้แบบสุดลูกหูลูกตา อาคารแห่งนี้ มีขนาด 3 ชั้น ภายในแทรกไว้ด้วยคอร์ต 2 คอร์ต ที่เป็นช่องให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่คอริดอร์ภายในอาคาร ซึ่งคอร์ตนี้ทำหน้าที่ช่วยลดความร้อนไม่ให้เข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคารและช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกรองแสงแดดจากด้านบนทำให้อุณหภูมิภายในเย็นสบายขึ้น ห้องเรียนไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมอย่างทั่ว ๆ ไป เพราะถูกออกแบบพิเศษเป็นรูปทรงออร์แกนิกและดับเบิ้ลสเปซที่มีชั้นลอยให้เด็ก ๆ […]

CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย

ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]

ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ

นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]

RANWAS SCHOOL อาคารเรียนกลางป่าที่ออกแบบมาเพื่อสู้กับสภาพอากาศอันโหดร้าย

อาคารเรียน ที่เห็นนี้ตั้งอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐวานูอาตู ประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ใกล้กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้จัก และด้วยความที่เป็นเกาะ จึงทำให้ที่นี่มักประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา จนกระทั่งปี 2015 ได้เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนถล่มหมู่บ้านทำให้ที่นี่สูญเสีย อาคารเรียน ของหมู่บ้านไป เด็ก ๆ ต้องไปเรียนในที่พักพิงชั่วคราว จนกระทั่งองค์กร NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูอาคารเรียนขึ้นมาใหม่ ให้ควบรวมฟังก์ชันห้องสมุดและออฟฟิศไว้ด้วยกัน โดยมีโจทย์ว่าต้องทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรงของที่นี่ได้ โปรเจ็กต์นี้ถูกส่งต่อให้กับ CAUKIN Studio ทีมนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ทำงานเพื่อสังคม ทำการชักชวนอาสาสมัครเเละสถาปนิกท่านอื่น ๆ จากหลากหลายเชื้อชาติกว่า 15 คน มาทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ เกิดเป็นความร่วมมือและมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการก่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้จนเเล้วเสร็จ โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 เดือนเท่านั้น ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเกาะกลางหุบเขา ทำให้ที่นี่มีฝนตกแทบตลอดทั้งปี ส่งผลให้การเก็บรักษาหนังสือและอุปกรณ์การเรียนเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ทีมสถาปนิกจึงออกแบบอาคารที่ช่วยลดความชื้นสัมพัทธ์ ด้วยการเก็บหนังสือไว้ในห้องที่ออกแบบเป็นพิเศษ โดยเป็นห้องปิดที่มุงด้วยเมทัลชีทสีดำช่วยเก็บกักอุณหภูมิภายใน ลดความชื้น ประกอบกับช่องว่างใต้หลังคาที่ช่วยให้อากาศพัดพาความชื้นออกไป รวมไปถึงชั้นวางหนังสือที่เว้นระยะห่างจากผนัง พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็นห้องเรียนแบบโปร่งโล่ง และห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งมีบันไดนำไปสู่ชั้นลอยขนาดกะทัดรัดเหนือห้องสมุด ช่วยให้เด็ก ๆ ได้หยิบหนังสือขึ้นไปนอนอ่านเล่นท่ามกลางแสงธรรมชาติในบรรยากาศสบาย ๆ ในส่วนของวัสดุเลือกใช้โครงสร้างไม้ ผนังไม้ไผ่ แผ่นพอลิคาร์บอเนต และหลังคาเมทัลชีท […]

TRASH HERO THAILAND – จากขวดขยะสู่ห้องเรียน

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับภารกิจเปลี่ยนขวดขยะสู่ห้องเรียนให้น้อง กับ TRASH HERO THAILAND