ดูแลน้องแมว อย่างไร ในแต่ละวัน

คุณพ่อคุณแม่ทาสแมวหลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ในแต่ละวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และควรดูแลในเรื่องใดบ้าง ความรักและความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อน้องแมว เป็นสายสัมพันธ์ที่สวยงาม และมีคุณค่าต่อจิตใจ วันนี้ คุณหมอก้อย  สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำ PURRfect Cat Hospital จึงได้มาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการปรนนิบัติน้องแมวในหนึ่งวันให้ฟังว่า ในหนึ่งวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และทำอย่างไรให้แลดูสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิตที่เขาอยู่กับเรา  หมอก้อยได้แนะนำวิธีการดูแลพื้นฐาน 4 ข้อ สำหรับน้องแมวทุกตัว ดังนี้ ค่ะ 1. การดูแลเส้นขนและผิวหนัง ระบบปกคลุมร่างกายของน้องแมวทุกตัวประกอบด้วย เส้นขน และผิวหนัง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม น้องแมวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องการดูแลเส้นขนและผิวหนังเหมือนกันทุกตัว เส้นขนของน้องแมวที่มีสุขภาพดีจะมีลักษณะนุ่มสลวย เงางาม ไม่แห้งกระด้าง และขนไม่หลุดเป็นหย่อมๆ เมื่อเราใช้มือลูบ หรือใช้แปรงหวีสางเส้นขน การดูแลเส้นขนของน้องแมว หมอก้อยได้แนะนำไว้แบบนี้ค่ะ  สำหรับน้องแมวสายพันธุ์ขนยาว คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5 – 15 นาที […]

แมวฝึกได้ไหม? คำถามที่ทาสแมวอยากรู้

ทาสแมวหลายคนอาจจะเคยมีคำถามนี้เกิดขึ้นอยู่ในหัวว่า แมวฝึกได้ไหม? ขนาดน้องหมายังฝึกได้ แล้วทำไมเจ้าเหมียวถึงจะฝึกไม่ได้ แต่การฝึกเจ้าเหมียวนั้นเป็นสิ่งที่ช่างน่าลำบากเหลือเกิน เพราะเจ้าเหมียวเป็นสัตว์ที่มีความเป็นตัวเองค่อนข้างสูง วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาไขคำตอบกันว่า แมวฝึกได้ไหม? ให้ทาสแมวสามารถเข้าใจ และฝึกเจ้าเหมียวให้เป็นแมวเชื่อง ๆ กันค่ะ 1.เข้าใจลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของแมวกันก่อน พฤติกรรมของแมว ในอดีตคนเลี้ยงแมวเพื่อเอาไว้ล่าหรือฆ่าหนู แมวจึงเป็นสัตว์ที่ยังคงมีพฤติกรรมการเป็นผู้ล่า การล่าถือเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของแมว แมวเป็นสัตว์ล่าเดี่ยว พวกแมวจะพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับแมวตัวอื่นๆหากเป็นไปได้ โดยทั่วไปแมวจะพยายามรักษาระยะห่างกับแมวตัวอื่น แมวมักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแมวตัวอื่นโดยหลบซ่อนก่อน แมวจะต่อสู้เมื่อเป็นทางเลือกสุดท้าย ความกล้าหาญและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของแมวขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแมวด้วย ช่วงอายุ 2-7 สัปดาห์เป็นช่วงที่แมวเริ่มปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ช่วงอายุนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแมวและคน แม้กระนั้นหากแมวพบประสบการณ์ความรุนแรง เสียงดัง จะสร้างความกลัว และความก้าวร้าวให้แมวได้ แมวเป็นสัตว์สังคมจะคุ้นเคยกับแมวฝูงเดิมที่เคยอยู่มาตั้งแต่แรกแต่จะไม่คุ้นเคยกับแมวแปลกหน้า ด้วยเหตุนี้ทำให้มีสัญชาติญาณความกลัวในการปกป้องตัวเองเมื่อเจอกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือคนที่ไม่รู้จัก พฤติกรรมนี้แมวมักจะไม่แสดงออกชัดเจนมักจะเก็บซ่อนความกลัวไว้ แมวสื่อสารกันด้วยหนวด ฟีโรโมน จะเห็นได้ว่าแมวมักเอาหน้าถูซึ่งกันและกันและผลัดกันเลียแต่งตัวให้กัน บ่อยครั้งคนมักเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมการเอาหน้ามาถูคือการขออาหารหรืออ้อน แมวส่วนมากมักชอบให้สัมผัสบริเวณหัวและคอ แมวมักอารมณ์เสียและก้าวร้าวเมื่อคนสัมผัสบริเวณอื่น เช่น สัมผัสที่หลัง หรือเมื่อสัมผัสที่ท้องทำให้แมวตะปบแขนด้วยกรงเล็บได พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่แมวบ้านเป็นอยู่ในทุกวันนี้แสดงความเกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นตระกูลในป่าของแมว แมวเป็นสัตว์ที่มีความเฉพาะตัว รักอิสระ ไม่มีจ่าฝูง เป็นสัตว์สังคม เป็นนักล่าเดี่ยว เป็นสัตว์ที่มีความหวงอาณาเขตสูง […]