TIN TIN ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร สร้างประสบการณ์ใหม่คล้ายอยู่ในถ้ำมรกต

TIN TIN ตัวอย่างการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ในประเทศอินเดีย กับคอนเซ็ปต์ที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ คล้ายกำลังเดินลัดเลาะอยู่ในเขาวงกต โอบล้อมด้วยเส้นโค้ง และโมเสกสี่เหลี่ยมสีเขียวมรกต ที่นี่ตั้งอยู่ที่เมืองจัณฑีครห์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย มีความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย สร้างดีไซน์โค้งมนพลิ้วไหว เป็นผลงานการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ของสถาปนิกอินเดีย Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบที่มีแนวคิดการเลือกใช้วัสดุพื้นเมืองมาสร้างให้เกิดเอกลักษณ์ได้อย่างน่าสนใจ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเสมือนการออกแบบเชิงทดลองของพวกเขา ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจในการเล่นสนุกไปกับการสร้างมุมมองและประสาทสัมผัสที่แตกต่างจากร้านทั่วไป เพราะมีทั้งพื้นที่ซอกแซก และเส้นโค้งโอบรับ ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือการสร้างเท็กซ์เจอร์ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่าง อันเกิดขึ้นจากการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นของอินเดียเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องโมเสกสีเขียวมรกต น้ำตาล ขาว และเทา ร่วมกับหินขัด ซึ่งเป็นเทคนิคและมีวิธีการทำมือทุกขั้นตอน ใช้เวลานานกว่า 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ กล่าวได้ว่าเป็นเสมือนงานคราฟต์ที่ช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาให้แก่สถานที่ได้มีเรื่องราวน่าสนใจ ผ่านเทคนิคและวิธีการก่อสร้างโดยช่างผู้ชำนาญในพื้นที่ การผสมผสานกันระหว่างส่วนของผนัง ซุ้มทางเดินโค้ง เพดานโค้งมน ประกอบกับเส้นเลย์เอ๊าต์ ที่คดโค้งสลับไปมา สิ่งเหล่านี้คือการบ่งบอกถึงความต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ ให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แม้จะมองเห็นแพตเทิร์นซ้ำ ๆ หรือคล้าย ๆ กัน […]

ไอเดีย ฟาซาดอิฐ ไม่ซ้ำใคร! กับ โครงสร้างคอร์เบล

ความสวยงามทางสถาปัตยกรรมนั้นอาจมีเทคนิคหลายวิธีการ อาทิตย์ที่ผ่านมา room ได้นำเสนอผลงานจากวัสดุอิฐที่หลากหลาย วันนี้ room Design Tips จึงขอแนะนำไอเดียงานโครงสร้างจากวัสดุอิฐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังช่วยระบายอากาศ กันแสงแดด หรือความเป็นส่วนตัวให้แต่ละยูนิตในอพาร์ตเมนต์ ไอเดียงานโครงสร้างอิฐวันนี้ จึงมีตัวอย่างผลงาน Sienna Apartments จากสถาปนิก Sameep Padora & Associates ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเมืองไฮเดอราบาด ที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองและสวนสาธารณะที่อยู่ติดกัน ไฮเดอราบาดเป็นหนึ่งในเมืองแรก ๆ ในอินเดียที่เริ่มก่อสร้างอาคารแบบสมัยใหม่ ไฮไลต์ของฟาซาด (façade) ที่ประกอบไปด้วยผนังที่ช่วยป้องกันแสงแดด สถาปนิกได้ทำงานร่วมกันกับช่างก่ออิฐจากเมืองพอนดิเชอร์รี่ ทางตอนใต้ของอินเดีย และออกแบบระบบของผนังที่ทำจากกำแพงอิฐหนา 9 นิ้ว เพื่อรับน้ำหนักของทับหลังที่เป็นหิน หน้าต่างกระจกที่ไม่ได้ถูกใช้งานติดตั้งอยู่ในช่องเปิดที่เกิดจากงานอิฐและส่วนที่ยื่นมาของทับหลัง โดยใช้เทคนิคโครงสร้างคอร์เบล (โครงสร้างแป้นหูช้าง )ใช้ในการเชื่อมต่อโครงสร้างระหว่าง คาน กับเสาหรือผนังนั้นอย่างสมบูรณ์แบบ ไม้แม่แบบจึงได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ช่างก่ออิฐทำงานด้วย ถือว่าโครงการอพาร์ตเมนต์นี้ประสบความสำเร็จจากการออกแบบเทมเพลตไม้แบบ low-tech ก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่นแบบเรียบง่ายแต่แม่นยำ ด้วยความเชี่ยวชาญของช่าง ทั้งช่างและสถาปนิกจึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย #รู้หรือไม่ โครงสร้างคอร์เบล ( CORBEL STRUCTURE […]