ภูมิสถาปนิกผู้ปลูกป่าในกรุง คุณธวัชชัย กอบกัยกิจ แห่ง TK Studio

แม้งานออกแบบสวนสไตล์ต่างๆจะสร้างสุนทรียภาพและความพึงพอใจให้ผู้คนมามากมาย แต่พอถึงจุดหนึ่งความต้องการของผู้คนก็กลับถวิลหาจุดสมดุลเดิมที่ธรรมชาติได้สร้างไว้ ซึ่งให้ทั้งความผ่อนคลายและการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกับสิ่งแวดล้อม คุณธวัชชัย กอบกัยกิจ แห่ง TK Studio เป็นภูมิสถาปนิกท่านหนึ่งที่มีแนวทางการออกแบบงานภูมิทัศน์โดยให้ความสำคัญกับการเลือกใช้พรรณไม้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เขาคือผู้ออกแบบโครงการศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงของสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ซึ่งมีชื่อเสียงและกวาดรางวัลด้านการออกแบบมามากมาย นอกจากงานออกแบบโครงการดังกล่าวแล้ว ยังมีโครงการอื่นตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกโครงการยังคงมุ่งเน้นไปที่การสร้างป่าในกรุง ทำไมงานออกแบบของ TK Studio ถึงให้ความสำคัญกับป่า “ที่จริงเราก็ออกแบบภูมิทัศน์เหมือนกับทุกบริษัท เราสนใจเรื่องการนำพรรณไม้ที่เหมาะสมมาใช้งาน เราพยายามบอกลูกค้าว่าอย่าไปดูความสวยงามเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว เราอยากช่วยให้แต่ละโครงการเกิดการพัฒนาให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น เช่น พื้นที่หน้าโครงการที่มีท่อระบายน้ำสาธารณะขนาดเล็กระบายน้ำไม่ทัน เกิดปัญหาน้ำท่วม แทนที่เมื่อฝนตกแล้วจะระบายน้ำไปทั้งหมด คุณสามารถเก็บน้ำไว้ในพื้นที่โครงการได้ไหม ถ้าทุกคนช่วยกันน้ำแบบนี้จะท่วมได้อย่างไร” คุณธวัชชัยเล่าถึงลักษณะงานออกแบบของ TK Studio ในฐานะผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร “ผมอยากเห็นงานออกแบบที่ยั่งยืน เกิดต้นไม้สวยขึ้นเรื่อยๆ ผมประทับใจที่เวียดนามมาก ทั้งที่บริบทหลายๆอย่างของเมืองคล้ายกับบ้านเรา แต่เมื่อขึ้นไปบนตึกแปดชั้นก็ยังสามารถเห็นยอดไม้ของต้นไม้ริมทางได้”  จุดเริ่มต้นคือความงามของการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ “ก่อนหน้านั้นตอนที่เรียนปริญญาตรี อาจารย์เคยสอนเรื่องหนึ่งว่า เมื่อเราเข้าไปใช้พื้นที่ในงานสถาปัตยกรรม เราก็จะได้ประสบการณ์จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้ากับงานภูมิสถาปัตยกรรมมาก เพราะในงานภูมิทัศน์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ” หลังจากเรียนจบ คุณธวัชชัยได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเดียวกันก็เริ่มก่อตั้งบริษัทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่ไปด้วย “ผมคิดว่าต้นไม้เป็นอะไรที่ท้าทายมากสำหรับประเทศไทย ซึ่งตอนที่ผมเรียนก็ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากนัก แล้วผมก็ใช้ต้นไม้เป็นแค่ส่วนประกอบของงานภูมิทัศน์เพื่อให้เกิดความสวยงาม แต่ความสวยอาจไม่ยั่งยืน วันแรกที่จัดเสร็จคือวันที่สวยที่สุด ที่จริงมันไม่ควรเป็นแบบนี้ งานภูมิทัศน์ยิ่งอยู่นานยิ่งต้องสวยขึ้น” […]

สวนป่าในเมือง สวนที่จำลองลักษณะของป่าเขาในธรรมชาติมาไว้ในเมือง

สวนป่าในเมือง แห่งนี้มี แนวคิดในการออกแบบสวนจึงเป็นการจำลองลักษณะทางกายภาพของป่าเขาในธรรมชาติ โดยเปรียบอาคารคอนโดมิเนียมทั้งสองหลังเป็นภูเขา

Jungle Book ป่าศึกษา

หลายคนคงได้ยินข่าวคราวของ “โครงการป่าในกรุง” โดย ปตท. ผ่านสื่อหลายแขนงกันมาพอสมควร บางคนอาจกำลังตัดสินใจว่าควรไปชมดีหรือไม่ ครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่ผมได้ไปเยือนและเก็บภาพรวมของโครงการดังกล่าวมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านกันครับ โครงการป่าในกรุงตั้งอยู่บนถนนสุขาภิบาล 2 ในเขตชานเมืองของกรุงเทพมหานคร บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าตามวิถี ปตท. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ให้แก่ประชาชนทั่วไปและนักศึกษาที่สนใจ ทันทีที่เข้ามาภายในโครงการผมรู้สึกได้ถึงความเย็นสบายจากพื้นดินชุ่มน้ำใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ แตกต่างกับความร้อน จากไอแดดของถนนคอนกรีตด้านนอก พื้นทางเดินหญ้าสีเขียวทอดนำไปสู่ทางเดินที่ขนาบด้วยนิทรรศการเมล็ดพันธุ์แห่งป่าที่จัดวางตลอดแนวผนังดินบดอัดสีสวย ก่อนนำไปสู่อาคารนิทรรศการที่จัดแสดงนิทรรศการน่าสนใจมากมาย ตั้งแต่บอกเล่าถึงสภาพป่าเดิมในกรุงเทพมหานคร อันเป็นที่มาของชื่อย่านต่างๆ ไปจนถึงห้องฉายภาพยนตร์ปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในเมือง อาคารแห่งนี้ยังมีพื้นที่ดาดฟ้าซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันความร้อนให้เข้าสู่ตัวอาคารน้อยลง และยังเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ของโครงการอีกจุดหนึ่งด้วย ส่วนพื้นที่ภายนอกจัดเป็นสวนป่าเลียนแบบระบบนิเวศเดิมของพื้นที่บริเวณนี้คู่กับบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่จัดให้มีระบบหมุนเวียนน้ำและความลึกในระดับต่างกัน เพื่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย ตั้งแต่พื้นที่ริมน้ำ ป่าน้ำตก เขาหินปูน ป่าดิบลุ่มไปจนถึงป่าเบญจพรรณ โดยเราสามารถศึกษาระบบนิเวศต่างๆ ในป่าได้จากการเดินบนทางเดินชมเรือนยอด (skywalk) อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจไม่น้อยคือลักษณะและรูปแบบการสร้างป่านิเวศตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 – 3 ปีในการสร้างป่าที่สมบูรณ์ มีหลักการง่ายๆ ที่สามารถทำตามได้ไม่ยาก เริ่มต้นจากการสร้างเนินดินและเตรียมดิน โดยดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวที่มีความเป็นกรดเล็กน้อย จากนั้นถมดินชนิดเดิมแต่ผสมทรายขี้เป็ดในอัตราส่วน […]