ตะไคร้

คาหอม/ไคร/จะไคร/เซิดเกรย/หัวสิงไค/Lapine/Lemon Grass ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon citratus (DC.) Stapf วงศ์: Poaceae ประเภท: พืชวงศ์หญ้า อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูงได้ถึง 1.50 เมตร เจริญเติบโตแตกกอออกไปเรื่อยๆ ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าสั้นๆ ลำต้นเหนือดินเป็นส่วนของกาบใบที่โอบกันเป็นลำต้น สีขาวอมม่วง มีนวลสีขาว  ใบ: ใบรูปแถบแคบยาว ผิวใบและขอบใบสากคม   ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ไม่ค่อยออกดอก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี ปลูกได้ทุกสภาพดิน  แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน – เต็มวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปลูกเหง้า โดยแยกเหง้าจากกอให้มีรากติด ตัดใบออกให้เหลือโคนยาว 10-15 เซนติเมตร ปักลงในดิน การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นผักสวนครัว ทั้งปลูกลงดินและปลูกในภาชนะ ใช้ปรุงกลิ่นแกงหรือยำให้หอม ความหอมจากน้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติลดการบีบตัวของลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ควรกินเสริมกันไปในอาหารให้สมดุล เกร็ดน่ารู้: หลังปลูกประมาณ 45 วัน ต้นเริ่มแตกใบและเหง้าใหม่ ใช้เหง้าและลำต้น […]

หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด

แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่  หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น  “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า”  ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]

หญ้า ไม่ได้ไร้ค่าอย่างที่คิด

แต่ก่อนนี้ เวลาที่นั่งรถไปนอกๆ เมือง เราจะพบทุ่งรกร้างตามริมทาง ที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุมมากมาย มาวันนี้เมืองขยายตัวออกไปมาก พื้นที่รกร้างกลายเป็นตึกรามบ้านเรือน ต้นหญ้า ดอกหญ้า หรือวัชพืชที่เคยชูช่อก็เริ่มหายไป หากคุณเคยเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามร่องสวน หรือสนามหญ้าเล็กๆ ที่โรงเรียน คุณต้องเคยเก็บหญ้าหงอนไก่มาตีกัน หรือมีเมล็ดหญ้าเจ้าชู้ติดตามเสื้อผ้า และอาจเคยเดินผ่านดงต้นสาบเสือ ซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อเอ่ยคำว่า “หญ้า” เราก็มักให้คำจำกัดความว่าเป็นต้นไม้ไร้ค่า ที่ขึ้นรกเรื้อในพื้นที่ว่างเปล่า หรือแปลงเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ซึ่งจริงๆ ควรเรียก “วัชพืช” มากกว่า เพราะในทางพฤกษศาสตร์ให้คำจำกัดความของ “หญ้า” ว่าหมายถึง พืชวงศ์หญ้าหรือวงศ์ Poaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับข้าวและไผ่  หลายคนรู้จักหญ้าหลายชนิดนิยมใช้ในการจัดสวน เช่น หญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย หรือแม้แต่หญ้าแพรก ที่เราใส่ไว้ในพานไหว้ครู ส่วนหญ้าอื่นๆ เช่น หญ้าคา หญ้าเจ้าชู้ เรามักจะคิดว่าไม่มีประโยชน์ ดังนั้น  “วัชพืช” หรือหญ้าในความหมายของคนทั่วไป จึงประกอบด้วยพืชหลายวงศ์ด้วยกัน อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า คนทั่วไปมองว่า หญ้าหรือวัชพืช เป็นพืชไร้ค่า จนมีคำเปรียบเปรยว่า “รกคนดีกว่ารกหญ้า”  ที่คนทั่วไปคิดเช่นนั้นก็เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องหญ้าหรือวัชพืชดีพอ ความจริงแล้ว หญ้าหลายชนิดที่เราคิดว่าไร้ค่านั้น เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์ เช่น […]