วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เข้าภายในบ้าน

ฝุ่น PM 2.5 กลับมา ปกคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดในประเทศไทยอีกครั้ง หลายพื้นที่มีค่าเกินมาตรฐานเริ่มเป็นสีแดงจนถึงสีม่วง

นวัตกรรมบ้านสุขภาพดี 24 ชั่วโมง สร้างอากาศที่มีคุณภาพ ลดเสี่ยงโรค

ข้อมูลย้อนหลังจากกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบคุณภาพอากาศและสถานการณ์หมอกควันในประเทศไทย จะเห็นชัดเจนว่าค่าตัวเลขของฝุ่นนั้นเกินค่ามาตรฐานมากขึ้นทุกปี โดยทาง WHO หรือ องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า หากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่  50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ไม่ว่าจะถือมาตรฐานใด นั่นก็เป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยมีปัญหาด้านทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี อันตรายจาก PM 2.5 ที่ไม่ควรมองข้าม ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate Matters 2.5  คือ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตร ในบ้านเราปัญหาของ PM 2.5 ตลอดทั้งปี โดยจะทวีความรุนแรงมากเป็นพิเศษช่วงปลาย-ต้นปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและกรุงเทพฯ และด้วยขนาดของฝุ่นที่เล็กมากทำให้เราจึงมองไม่เห็นได้ด้วยการมองปกติ อีกทั้งยังสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกไปยังหลอดลม ลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด จึงทำให้ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็มีโอกาสสามารถเป็นโรคทางเดินหายใจได้ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอันตรายอย่างเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ โดยหากได้รับ ฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่เกินกำหนดจะมีอาการแสบจมูก เป็นหวัด […]

PM 2.5 วายร้ายขนาดจิ๋ว ที่มีผลกระทบและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

PM2.5 คือฝุ่นละเอียดขนาดเล็กจิ๋วที่ล่องลอยปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งการป้องกันสัตว์เลี้ยงด้วยการหลีกเลี่ยงก็จะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้

จัดการบ้านอย่างไร เมื่อต้องเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5

ตอนนี้ชาวกรุงเทพฯคงกำลังหนักใจกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกที นอกจากต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตอนออกนอกบ้านแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะจัดการกับภายในบ้านอย่างไรดี การแก้ปัญหา ฝุ่นPM2.5 ในบ้าน แม้ว่าสภาพอากาศภายในบ้านที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดตลอดเวลามักมีปริมาณฝุ่นน้อยกว่านอกบ้านก็จริง แต่เราต้องเผชิญกับปัญหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงเกินไปแทน ผู้เขียนเคยทำการทดลองในห้องนอนของคอนโดมิเนียมพักอาศัยขนาด 3 x 3 เมตร จำนวนคนใช้งาน 2 คน เมื่อปิดประตูหน้าต่างและเปิดระบบปรับอากาศแล้วพบว่าหลังจากใช้งานไปเพียง 6 ชั่วโมง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มจาก 300 PPM พุ่งขึ้นไปเป็นมากกว่า 1,000 PPM และบางครั้งมากถึง 2,000 PPM เลยทีเดียว (PPM = Part Per Million หรือ หนึ่งส่วนในล้านส่วน) ซึ่งตามข้อกำหนดนั้นค่านี้ไม่ควรเกิน 1,000 PPM และถ้าให้ดีควรน้อยกว่า 800 PPM เนื่องจากบ้านพักอาศัยและห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียมไม่มีระบบเติมอากาศจากภายนอกเหมือนอาคารสาธารณะ แต่มักใช้การรั่วของอากาศตามช่องประตูหน้าต่าง หรือการเปิดประตูหน้าต่างในการใช้งานปกติช่วยนำอากาศใหม่เข้ามาเติมในห้องเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก็เป็นจุดที่ฝุ่นอันตรายไหลเข้ามาในบ้านได้ แต่อากาศภายในบ้านนิ่งกว่านอกบ้าน ทำให้ฝุ่นที่หลงเข้ามาตกลงบนพื้นได้เร็ว แนะนำให้เปิดประตูหน้าต่างบ้างตามความจำเป็น เพื่อให้มีอากาศใหม่เข้ามาเจือจางอากาศภายใน เป็นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และควรเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวภายในบ้านด้วยผ้าชุบน้ำให้บ่อยขึ้น […]