บ้านโครงสร้างเหล็กสร้างคร่อมสระ สวยเท่ ตอบโจทย์การใช้งาน

บ้านสวย | บ้านคร่อมสระ เจ้าของ l คุณองอาด ทองกองทุน – คุณภัณฑิลา คงบันเทิง ออกแบบ l Junsekino Architect and Design รับเหมาก่อสร้าง l G.A.House รับเหมาตกแต่งภายใน l A2J วิศวกรรม l Next engineer จากพื้นที่สระว่ายน้ำเดิมในบ้านเก่า สู่บ้านหลังใหม่ที่มีดีไซน์ทันสมัย ใช้โครงสร้างเหล็กคลุมบ้านเพื่อซ่อนบ้านไว้อีกที ทั้งสวย ทั้งเท่ และตอบโจทย์การใช้งานสุด ๆ ออกอากาศทางช่องอมรินทร์ ทีวี เอชดี 34 วันที่ 10 มีนาคม 2567

บ้านโครงเหล็กสีดำ ที่ดูสวยและอบอุ่นด้วยแสงสว่างและต้นไม้

ชม บ้านโครงเหล็กสีดำ ที่ออกแบบตัวบ้านให้ดูโปร่ง เปิดให้แสงส่องเข้ามาได้ รวมถึงปลูกต้นไม้และจัดสวนดาดฟ้า ทำให้บรรยากาศของบ้านดูอบอุ่นผ่อนคลาย

5 วิธี รักษาเนื้อเหล็ก ให้ทนทานแข็งแรง ลดการเกิดสนิม

ปัจจุบันนิยมใช้โครงสร้าง เหล็ก เป็นส่วนประกอบของอาคารมากขึ้น เนื่องจากเป็นการทำงาน “ระบบแห้ง” ทำให้การก่อสร้างเสร็จไวกว่า “ระบบเปียก” มีความแข็งแรง ทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก  ในแง่มุมด้านรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมนั้น เป็นวัสดุที่สามารถออกแบบให้อาคารดูเปรียวบาง ไม่เทอะทะ เรียบ เท่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลดการเกิดสนิม ลดการเกิดสนิม แต่ส่วนใหญ่มักมีข้อกังวลใจเรื่อง สนิม โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน บางครั้งหลายคนอาจมองเป็นเรื่องปกติ เพราะเราเห็นเกือบทุกฤดูกาลในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากเกิด สนิม ในช่วงแรก จะส่งผลด้านความสวยงามของอาคาร แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนสนิมกินเนื้อเหล็กหายไปมากกว่า 0.7 มิลลิเมตร จะส่งผลกระทบต่อการรับน้ำหนักของอาคารได้ สร้างความเสียหาย หรือความสูญเสียที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่อยู่ใกล้ทะเล ดินเค็ม ลดการเกิดสนิม ลดการเกิดสนิม ปัจจัยที่ทำให้เกิดสนิม (rust) ปัจจัยประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ อากาศ น้ำ หรือความร้อน โดย สนิม ก็คือโลหะที่เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเพราะผิวของเหล็กทำปฏิกิริยาทางเคมีจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดสนิมในข้างต้น ผลที่ตามมาที่สำคัญคือทำให้โลหะมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิม เช่น สีที่เปลี่ยนไป มีความแข็งแรงลดลง และทำให้เกิดการผุกร่อนของเหล็ก หรือโลหะชนิดอื่น ๆ สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างอาคารโดยรวม ประเภทของสนิม สนิมทั่วไป […]

ซื้อ บ้านน็อคดาวน์ – บ้านสำเร็จรูปต้องรู้อะไร

การซื้อ บ้านน็อคดาวน์ หรือสร้างบ้านสำเร็จรูป เจ้าของบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง มีข้อจำกัดเรื่องใด ข้อสัญญาส่วนไหนที่ควรรอบคอบ

บ้านแกลเลอรี่ลอยฟ้าที่ผสมผสานของเก่าเข้ากับสีสันใหม่ๆ

บ้านที่โดดเด่นด้วยฟาซาดกระเบื้องดินเผา ภายในนำของเก่ามาตกแต่งร่วมกับของใหม่ รวมถึงงานศิลปะที่สะสมไว้นำไปสู่การออกแบบเป็น บ้านแกลเลอรี่ลอยฟ้า

บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก บ้านสวนในวิถีเกษตรพอเพียง

บ้านสวนสไตล์พื้นถิ่นร่วมสมัย ออกแบบเป็น บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ที่เน้นการสร้างได้เร็ว ทันสมัย แต่ยังคงความอบอุ่น

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งสร้างจากเหล็กรีไซเคิล

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งกลางทุ่งหญ้า ให้โมเมนต์การพักผ่อนที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรกับธรรมชาติในประเทศออสเตรเลีย บ้านตากอากาศ ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี แถมยังมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกได้แห่งนี้ ตั้งอยู่ใน Berry หมู่บ้านเล็ก ๆ ในประเทศออสเตรเลีย โดดเด่นด้วยหน้าตาของอาคารที่มีลักษณะเป็นหอคอยสีทองแดงสองหลังต่างขนาดกันสองฝั่ง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพักอาศัย อาทิ เตียงนอน ดาดฟ้า เตาผิง และห้องน้ำ ความน่าสนใจของที่นี่ คือโครงสร้างของเปลือกอาคารทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ซึ่งเคยเป็นทุ่นลอยน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ภายในกรุไม้เนื้อแข็ง และทำช่องเปิดแบบบานเกล็ดเต็มผืนผนังด้านหนึ่ง โดยมีรอกแบบแมนนวลสามตัว คอยทำหน้าที่ยกและลดระดับผนังด้านข้างของอาคารขึ้นลง เพื่อสร้างส่วนยื่นสำหรับช่วยป้องกันแสงแดดในฤดูร้อน มีพื้นที่ใช้สอย 3×3 เมตร ชั้นล่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกพรั่งพร้อม ทั้งพื้นที่ปรุงอาหาร จัดเก็บสิ่งของ และเตาผิง ขณะที่เตียงนอนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้บันไดบนชั้นลอย ส่วนห้องน้ำถูกแยกส่วนให้อยู่ที่อาคารหลังเล็ก เชื่อมต่อกันด้วยดาดฟ้าที่ขึ้นได้จากบันไดด้านข้างอาคาร สำหรับอาคารหลังเล็กได้ออกแบบให้มีถังเก็บน้ำฝน แถมมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลสำหรับใช้ทำปุ๋ยหมัก เป็นการออกแบบที่นอบน้อม โดยพยายามลดผลกระทบที่อาจมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ส่วนพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเตาผิง เตาประกอบอาหาร หรือไฟฟ้าที่ให้ส่องแสงยามค่ำคืน ก็มาจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ที่นี่จึงเปรียบเสมือนสถานที่หลบภัยทางจิตวิญญาณ ให้เจ้าของบ้านได้ปลีกวิเวก เพื่อมาสัมผัสกับการพักผ่อน เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มองเห็นทัศนียภาพของชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียได้แบบพานอรามาจากภูเขาสู่ท้องทะเล ออกแบบ : Casey Brown […]

บ้านเหล็ก ยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไทยเดิม

บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัล

ต่อเติมบ้านลอฟต์ให้เป็นคลับเฮ้าส์ของครอบครัว

จากความต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บ้านโครงสร้างเหล็ก หลังนี้จึงเกิดขึ้น เป็นบ้านลอฟต์หลังใหม่ที่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการสังสรรค์ ช่วยเชื่อมชีวิต ช่องว่างระหว่างวัย และความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกว่าเก่า เมื่อลูกเริ่มต้องการสเปซส่วนตัว จุดเริ่มต้นของ บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่ออกแบบเป็นบ้านลอฟต์สไตล์คลับเฮ้าส์หลังนี้เกิดจากความต้องการสร้างพื้นที่ไลฟ์สไตล์ให้ลูก เนื่องจากลูกชายและลูกสาวกำลังโตเป็นวัยรุ่นที่เริ่มมีชีวิตส่วนตัว มีสังคมเพื่อนฝูง และตัวบ้านเดิมซึ่งเป็นบ้านจัดสรรไม่ตอบโจทย์พื้นที่ใช้งาน ผนวกกับความต้องการให้ส่วนต่อเติมใหม่นี้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น เป็นพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งรูปแบบครอบครัวและส่วนตัว ที่พ่อแม่สามารถเห็นไลฟ์สไตล์ลูกๆ ในสายตา ขณะเดียวกันลูกๆ ก็ได้เห็นว่าพ่อแม่มีงานอดิเรกเลี้ยงปลาคาร์ป ทำสวน มีเพื่อนฝูงมาพบปะ ใช้ชีวิตเหมือนตัวเอง เพียงแค่ต่างวัยกันเท่านั้น โครงสร้างเชื่อมต่อวิถีชีวิต สถาปนิกเริ่มออกแบบโครงสร้างและพื้นที่การใช้งานจากสิ่งแวดล้อมเดิม ได้แก่ ทิศทางแดด และลม พื้นที่สวนที่มีต้นไม้ใหญ่ของคุณแม่และบ่อปลาคาร์ปของคุณพ่อ ซึ่งนำมาเป็นองค์ประกอบร่วมของการกำหนดรูปทรงบ้าน รูปแบบและทิศทางของพื้นที่ใช้งานแต่ละจุดของการต่อเติมบ้านลอฟต์ทั้งภายนอกและภายใน จึงออกมาเป็นบ้านลอฟต์ 2 ชั้นที่ทุกคนใช้พักผ่อน รับแขก เรียน ทำงาน ทำกิจกรรมได้ครบหมด ร่วมด้วยวิวสวนเดิมและบ่อปลาคาร์ปใหม่ ที่เป็นเหมือนการเชื่อมต่อวิถีชีวิตเดิมของพ่อแม่ในรูปแบบใหม่เข้ากับวิถีชีวิตของลูกๆ เชื่อมต่อห้องลูกชายกับบ้านลอฟต์ การต่อเติมใหม่นี้ใช้วิธีสร้างความต่อเนื่องและจุดเปลี่ยนผ่านจากบ้านหลังเก่าสู่บ้านลอฟต์หลังใหม่ จากห้องนอนของลูกชายบริเวณชั้น 2 ที่ต่อเติมขยายห้องและมีประตูเชื่อมต่อกับพื้นที่สังสรรค์ใหม่ของเขาได้เหมือนเป็นบ้านส่วนตัว ส่วนสมาชิกในบ้านคนอื่นสามารถเดินมายังบ้านหลังใหม่โดยใช้จุดเชื่อมบริเวณชานพักบันไดชั้น 2 ที่เชื่อมติดกับพื้นที่ของบ้านคลับเฮาส์ชั้น 2 ได้เช่นเดียวกัน ลอฟต์สนุก  เปิดโล่ง  เชื่อมความสัมพันธ์  บ้านลอฟต์หลังใหม่ออกแบบด้วยโครงเหล็ก […]

บ้านเหล็กแสนเท่ ที่เปี่ยมด้วยความนิ่งสงบ

บ้านเหล็กเท่ๆ หลังนี้ มีการเพิ่มรายละเอียดในการใช้งานเหล็ก โดยเลือกใช้เหล็กที่ผ่านการออกซิไดซ์ (เหล็กที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนและเกิดการกร่อนจนเป็นสนิม) จับคู่กับวัสดุที่ให้สัมผัสของเนื้อแท้อย่างปูนเปลือย และวัสดุกรุผิวอื่น ๆ ที่ให้อารมณ์อบอุ่น เช่น ไม้ ลามิเนต ทำให้ผลลัพธ์ของการตกแต่งออกมาเป็นรูปแบบโมเดิร์นที่มีอารมณ์อินดัสเทรียลเนี้ยบ ๆ ขณะเดียวกันก็ตั้งใจออกแบบบ้านให้เป็นเสมือนโลกส่วนตัวของเจ้าของบ้าน แม้จะอยู่ในทำเลย่านกลางใจเมือง  แต่ภายในบ้านกลับรู้สึกได้ถึงความสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนจริงๆ สถาปนิก : Boon Design Co., Ltd. โดยคุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ / เจ้าของ : ดร.ชนะ รุ่งโรจน์ธนกุล บ้านเหล็กเท่ๆ ว่ากันว่าสไตล์การออกแบบและตกแต่งบ้านบ่งบอกได้ถึงบุคลิก ความชอบและวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย สถาปนิกที่ดีจึงย่อมมองเห็นและเข้าใจตัวตนของเจ้าของบ้าน นำไปสู่การถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาเป็นเส้นสายทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสอดรับกับรูปแบบการใช้ชีวิตได้อย่างแนบเนียนและสวยงาม บ้านที่ไม่ธรรมดากลางย่านรัชดาภิเษกหลังนี้ตั้งใจออกแบบให้เป็นเสมือนโลกส่วนตัวของเจ้าของบ้าน เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,000 ตารางเมตรก็รู้สึกได้ถึงความสงบ แตกต่างจากความวุ่นวายของชีวิตในเมืองใหญ่ที่รายล้อมรอบบ้านอย่างสิ้นเชิง ทั้งหมดนี้เป็นความต้องการของ ดร.ชนะ รุ่งโรจน์ธนกุล ซึ่งเติบโตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจหมู่บ้านจัดสรรในเครือหมู่บ้านอยู่เจริญ ได้คลุกคลีกับงานก่อสร้างบ้านมาตลอด เมื่อถึงเวลามีบ้านของตัวเองจึงมีความเข้าใจว่าขั้นตอนต่างๆ เป็นอย่างไร  บ้านเหล็กเท่ๆ “ผมรู้จัก คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ สถาปนิก มาก่อน […]

รวม แบบบ้านโครงสร้างเหล็ก สวยๆที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน

แบบบ้านโครงสร้างเหล็ก เป็นแนวทางการสร้างที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสร้างได้รวดเร็วและเอื้อต่อการออกแบบให้ดูทันสมัย พิเศษ และแตกต่างได้มากขึ้น

บ้านเหล็กในป่าใหญ่

บ้านเหล็กสวยเท่ในแถบเขาใหญ่ที่เน้นการก่อสร้างได้รวดเร็ว การตกแต่งภายในเป็นไปอย่างเรียบง่าย จัดวางเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ไม้สอยแต่พอดีเน้นการใช้งานง่าย สะดวกสบาย ดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก และใช้งบประมาณอย่างประหยัด ที่สำคัญคืออยู่ร่วมกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ด้วยความเข้าใจและอ่อนน้อม เจ้าของ – ออกแบบ : คุณประภากร วทานยกุล บ้านโครงสร้างเหล็ก “คนรู้จักหลายคนเคยชวนผมมาซื้อที่ปลูกบ้านที่นี่  แต่ผมไม่เคยเชื่อ  จนได้มาสัมผัสบรรยากาศด้วยตัวเองและได้พบที่ดินผืนนี้ซึ่งอยู่ในฝั่งที่ผู้คนและความเจริญยังคืบคลานเข้ามาไม่ถึง  ผมจึงตัดสินใจซื้อที่และสร้างบ้านหลังนี้ทันที  ก่อนที่ธรรมชาติและความสวยงามของเขาใหญ่จะค่อยๆ จืดจางไป”  พี่เล็ก-คุณประภากร  วทานยกุล  สถาปนิกรุ่นพี่มากฝีมือ  กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาปนิก 49  จำกัด  และอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์  ผู้เป็นเจ้าของ “บ้านสวนสงบ  เขาใหญ่” หลังนี้  เล่าถึงความเป็นมาให้ฟังด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขจนผมสัมผัสได้ เลยทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปสักระยะผ่านวิถีชีวิตชนบทไปตามถนนลูกรังขนาดเล็กอันคดเคี้ยวซึ่งสองฝั่งขนาบด้วยไร่อ้อยและมันสำปะหลังสูงท่วมศีรษะ  ภาพ บ้านโครงสร้างเหล็ก ชั้นเดียวสีเทาดำที่วางตัวขนานไปกับทิวเขาเบื้องหลังอย่างสงบนิ่งก็ค่อยๆ ปรากฏสู่สายตาของพวกเรา พี่เล็กพยายามออกแบบตัวบ้านบนที่ดินกว่า9 ไร่  โดยคงสภาพแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด  และการก่อสร้างต้องไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ  ผมเดินเข้าไปใกล้ตัวบ้านซึ่งออกแบบด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โครงสร้างหลักเป็นเหล็กทั้งหมด  ยกพื้นสูงจากระดับดิน 1.20 เมตร  เพื่อป้องกันความชื้นและระบายอากาศได้ดี  ผนังอาคารเป็นบานกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดรับลมธรรมชาติได้รอบทิศทางหลังคาเหล็กยื่นยาว 3.50 เมตร  ป้องกันตัวอาคารโดยรอบจากแสงแดด  ทั้งหมดนี้เป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ภายในออกแบบเป็นโถงโล่งด้วยเพดานสูง 5 เมตรวางพื้นที่ใช้งานในลักษณะ […]

บ้านโครงสร้างเหล็ก สไตล์โรงนาฝรั่งของสายเอ๊าต์ดอร์

บ้านโครงสร้างเหล็ก กรุผนังกระจกใสแบบเรือนกระจก ได้แรงบันดาลใจมาจากโรงนาฝรั่งหลังคาทรงจั่ว พร้อมพื้นที่กางเต้นท์ริมน้ำแบบสายเอ๊าดอร์

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่เรืองแสงได้ดั่งหิ่งห้อย

“บ้านหิ่งห้อย” เป็นชื่อที่สถาปนิกตั้งให้บ้านหลังคาทรงจั่วสีขาวที่ผสมผสานความเป็นไทยและโมเดิร์นหลังนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยหลังคาอะลูมิเนียมเจาะรูให้โปร่ง แล้วออกแบบไฟแสงสว่างไว้ภายในหลังคาให้เรืองแสงในยามค่ำคืน แต่ภายใต้รูปทรงที่ดูเรียบง่ายนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้บ้านอยู่สบาย บ้านไทย Designer directory : ออกแบบ EAST architect  www.eastarchitects.com  บ้านไทย เจ้าของ คุณธนวัสส์ ยงค์สงวนชัย จุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เมื่อความ “ต่างขั้ว” ถูกตีความให้เป็นทั้งความย้อนแย้ง การผสมผสาน และความงาม โดยเผยตัวตนและแฝงความนัยอยู่ภายใต้บ้านรูปทรงจั่วสีขาวโมเดิร์นและไทยเดิมสองหลังที่วางแนวแกนตัดกันอยู่กลางที่ดิน โดยไม่อิงกับแนวถนนหรือแนวขอบเขตที่ดิน แต่อิงกับทิศทางแสงแดดและลมเพื่อให้บ้านอยู่สบายตามธรรมชาติ เป็นหลักการออกแบบพื้นฐานของสถาปนิกที่ให้คำจำกัดความตัวเองว่า “สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ แห่ง EAST architect ที่ออกแบบบ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังนี้ให้เป็นจุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในมิติของภูมิปัญญาดั้งเดิมและความโมเดิร์น บ้านหลังใหม่ที่แยกจากครอบครัวใหญ่ ก่อนจะสร้างบ้านนี้เจ้าของบ้านอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อพื้นที่บ้านเดิมเริ่มไม่เพียงพอกับสมาชิก คุณแม่จึงยกที่ดิน 2 ไร่แปลงนี้สำหรับปลูกบ้านใหม่ และด้วยเจ้าของบ้านเป็นแฟนนิตยสาร บ้านและสวน จึงได้พบและชื่นชอบบ้านของอาจารย์พิรัสที่ลงในนิตยสาร อาจารย์พิรัสได้เล่าย้อนไปเมื่อเริ่มออกแบบบ้านว่า “เจ้าของบ้านได้บอกเล่าความต้องการเป็นจดหมายเล่าเรื่องว่า เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วอยากพบเจออะไร ชอบอยู่แบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความโปร่งสบายเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ […]

บ้านโครงสร้างเหล็กสไตล์โพสต์โมเดิร์น เส้นสายเฉียบ ดูเรียบง่าย แต่มั่นคง

บ้านโครงสร้างเหล็ก สื่อสองอารมณ์ที่แตกต่าง เส้นสายสีดำบางเฉียบดูเรียบง่ายตัดกับความมั่นคงแข็งแรงของงานเหล็กสีแดงที่พาดตัวอย่างมีจังหวะ

บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก VS โครงสร้างคอนกรีต แบบไหนดีกว่ากัน

ครั้งนี้เราจึงอยากจะพาไปรู้จักเกี่ยวกับ บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก – บ้านโครงสร้างเหล็ก ไว้สำหรับใครที่กำลังเก็บเงินจะปลูกบ้านแต่กำลังชั่งใจอยู่

T’S RESIDENCE บ้านโมเดิร์น โครงสร้างเหล็ก ใต้ถุนสูง

บ้านโมเดิร์น โครงสร้างเหล็ก ใต้ถุนสูง ทรงกล่องหลังนี้ มีคอนเซ็ปต์ อยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดยนำไม้ไผ่มาเป็นองค์ประกอบจนกลายเป็นเอกลักษณ์ให้บ้านหลังนี้

U38 บ้านจากโครงสร้างเหล็ก คำตอบที่ลงตัวของงานดีไซน์

U38 บ้านจากโครงสร้างเหล็ก คำตอบที่ลงตัวของงานดีไซน์