บ้านปูน ผสมไม้เก่า เฮือนพื้นถิ่นร่วมสมัย

บ้านปูน พื้นถิ่นร่วมสมัย รองรับการใช้ชีวิตวัยเกษียณ ที่เตรียมพื้นที่ชั้นล่างเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้ ออกแบบให้มีกลิ่นอาย “เฮือนแป”

MAE RIM HOUSE บ้านจั่วกลางสวนป่า ฟีลตากอากาศ แต่ใช้อยู่จริง

บ้านชนบทท่ามกลางธรรมชาติที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบ้านหลังใหม่ที่อยู่เคียงข้างบ้านหลังเก่า อันเปี่ยมความทรงจำ บ้านขนาด 4 คนอยู่นี้ มีโจทย์ใหญ่คือการนำข้าวของเครื่องใช้จากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ มาใช้เกือบทั้งหมด บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านตากอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่าบ้านตากอากาศทั่วไป ทั้งยังต้องการความมิดชิดเป็นส่วนตัวแบบบ้านในเมือง แต่สามารถเปิดรับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างเต็มที่อีกด้วย.และเพราะในบ้านหลังนี้แทบทั้งหมดเป็นของที่ขนย้ายมาจากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ เป็นของที่ผูกพันกับครอบครัว หรือเป็นของสะสมตั้งแต่สมัยยังใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้โทนสีน้ำตาลเทา(Taupe) ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้หลากหลายรูปแบบทั้งเก่าและใหม่ รวมไปถึงธรรมชาติรอบๆบ้านมาใช้ทั้งภายนอกและภายในบ้านหลังนี้ การออกแบบบ้านหลังนี้ จึงมีความโดดเด่นของการใช้หลังคาจั่ว ครอบทับลงไปบนอาคารรูปสี่เหลี่ยมทรงกล่อง การกดหลังคาจั่วให้ลาดต่ำลงนั้น นอกจากจะทำให้สัดส่วนบ้านดูเป็นมิตรขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยภายในอีกด้วย #พื้นที่ส่วนตัวที่สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดจั่วหลังคา และอาคารทรงกล่องด้านล่างนั้น แท้จริงแล้วมีการเชื่อมต่อกันในแบบ double height เกิดเป็นพื้นที่ใช้สอยแบบผังเปิด (Open Plan) ขนาดใหญ่ ที่รวมเอาพื้นที่ครัว และนั่งเล่นเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่นั่งเล่นนี้ สามารถเปิดออกสู่ชานบ้านที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติได้อย่างดี ทั้งโถงสูงนั้นช่วยให้สามารถสร้างการไหลเวียนของอากาศ และระบายความร้อนได้ ด้วยพัดลมเพดานที่กลางห้อง จึงทำให้บ้านหลังนี้ แทบไม่ต้องพึ่งพาการปรับอากาศเลยตลอดทั้งวัน #ห้องนอนใต้หลังคารับวิวภูเขาและแม่น้ำในฝั่งทิศเหนือ และใต้ของบ้านนั้น จะเป็นพื้นที่ของห้องนอนที่แบ่งเป็นห้องสำหรับผู้สูงอายุที่ชั้นล่าง และห้องนอนสไตล์ห้องใต้หลังคาที่ชั้นบน ห้องนอนทั้งสองฝั่งนั้นจะหันออกสู่วิวภายนอกอาคาร รวมทั้งการแยกห้องนอนออกเป็นสองฝั่งเช่นนี้ ก็ทำให้แต่ละห้องรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวมากขึ้นอีกด้วย #DesignTips #แสงตกกระทบเชื่อมโยงภายในและภายนอกไฟแสงสว่างในบ้านหลังนี้นั้น แทนที่จะใช้โคมดาวน์ไลท์ซึ่งเป็นแสงแบบ direct light ส่องจากฝ้าลงมาพื้นตามปกติ […]

บ้านกระต๊อบชนบท บรรยากาศรีสอร์ท วิวดอยเชียงใหม่

บ้านหลังนี้ตั้งใจให้มีบรรยากาศแบบ บ้านกระต๊อบชนบท ที่เรียบง่าย แต่ตกแต่งให้สวยงาม ดูสบาย ที่สำคัญยังมีสวนซึ่งเก็บผลิตผลไปใช้จริงในร้านอาหารและโรงแรม พร้อมไก่อารมณ์ดีอีกกว่า 50 ตัว จากบ้านพัก มาเป็นบ้านที่อยู่ประจำ วิวดอยสุเทพ-ปุย แปลงผักใช้งาน โรงเรือนไม้ใบ โรงเลี้ยงไก่ที่มีไข่สดทุกวัน และบ้านสวยบรรยากาศน่าอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้บ้านหลังนี้มีเสน่ห์ เหมาะกับการตกหลุมรักเป็นที่สุด เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านหลังนี้ คุณเกรียง-พันตำรวจเอก เกรียงศักดิ์ กัลยาวัฒนเจริญ ที่เมื่อครั้งแรกเมื่อคิดสร้าง จะใช้เป็นบ้านที่มาอยู่เป็นครั้งคราว แต่ทุกวันนี้ก็ย้ายเข้ามาอยู่บ้านหลังนี้เป็นประจำ พร้อมกับได้ดูแลกิจการโรงแรมและร้านอาหารของตนเองที่อยู่ใกล้ๆ กันได้อย่างสะดวก ปรับวิถีชนบท ให้เข้ากับตัวตน ที่ดินสวนลำใยเดิมแห่งนี้ อยู่ไม่ไกลในระยะเดินได้จากโรงแรมและร้านอาหาร ณ จันตรา ซึ่งคุณเกรียงเป็นเจ้าของ บนถนนเส้นหางดงมุ่งหน้าขึ้นไปยังสะเมิง อันเป็นย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องทิวทัศน์อันสวยงามมาช้านาน ปัจจุบันได้กลายเป็นบ้านและไร่ขนาดโดยประมาณ 2 ไร่ ที่คุณเกรียงตัดสินใจนำแนวทางของวิถีชนบทมาปรับให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของตน เริ่มตั้งแต่การปลูกผักและเลี้ยงไก่เพื่อนำไปใช้ในร้านอาหาร ให้ลูกค้าได้มีของสดใหม่กินทุกวัน การสร้างบ้านแบบง่ายๆ ราคาไม่แพงคล้ายกระต๊อบเล็กๆ จากเศษไม้เก่าที่ซื้อมาจากย่านบ้านธิ เชียงใหม่ แต่จัดรูปแบบให้แปลนภายในใช้งานได้ง่าย สะดวกสบาย และเหมาะกับการนั่งชมวิว พร้อมทั้งตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เกาสที่คุณเกรียงสะสมและชื่นชอบมาเป็นเวลานาน แบ่งอาคารเป็นกลุ่มขนาดเล็ก จากข้อจำกัดด้านพื้นที่ และการกำหนดให้เกิดมุมมองที่รับวิวได้ท่ามกลางธรรมชาติ บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านที่ประกอบด้วยกลุ่มอาคารขนาดเล็กที่แยกกันไปตามฟังกชั่นลดลั้นกันไปจากบนสู่ล่าง อาคารส่วนแรกเป็นส่วนของครัวขนาดใหญ่และส่วนนั่งรับประทานอาหารพร้อมชมวิวอันสวยงามของดิยสุเทพ-ปุย […]

THE CONCRETE CAVE บ้านปูนเปลือย ที่เป็นส่วนตัวจากภายใน

บ้านปูนเปลือย เน้นความเรียบง่ายในลุคขรึม มาจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่รักสงบ และ รักความเป็นส่วนตัว ชอบใช้เวลาในพื้นที่ของตัวเอง ผู้ออกแบบจาก S.O.S Architects จึงได้ไอเดียการออกแบบบ้านที่ปิดแต่เปิดโปร่ง

บ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ในโทนสีดอกไม้แสนหวาน

บ้านชั้นเดียวหลังเล็ก กลางสวนดอกไม้แสนสวย กับโทนการตกแต่งในสไตล์บ้านคันทรี ที่ได้แรงบันดาลเรื่องสีมาจากดอกไม้เล็กๆที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ

บ้านชั้นเดียวน่าอยู่กลางสวนร่มรื่น

บ้านชั้นเดียวกลางสวนร่มรื่น ที่ยกพื้นสูง แฝงตัวอยู่หลังพุ่มไม้ประดับ เป็นบ้านที่มีบรรยากาศสงบร่มรื่น เหมาะการพักผ่อนจริงๆ

บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัยที่เกิดจากการ “ตกหลุมรัก” เมืองเหนือและวิถีธรรมชาติ

บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ทรงจั่ว ที่โอบล้อมด้วยป่าเขา หลังบ้านติดลำเหมือง มีศาลานั่งเล่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของลูกๆ “การตกหลุมรัก” คือจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ เนื่องจาก คุณน้ำ – วริษฐ์ วรรละออ  ได้เดินทางมาเที่ยวภาคเหนืออยู่บ่อยครั้ง นอกจากได้พบกับภรรยาชาวเชียงราย คุณน้ำยังตกหลุมรักในบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองเหนือ จึงตั้งใจไว้ว่าจะกลับมาสร้างบ้านไว้อยู่อาศัยกับครอบครัวที่นี่สักวัน เมื่อเห็นว่าถึงเวลาประจวบเหมาะ คุณน้ำเเละน้องสาว คุณนุ่น – มุกดา วรรละออ จึงตัดสินใจจะซื้อที่ดิน และพบกับที่ดินว่างเปล่าซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเขาธรรมชาติแห่งนี้ ในตำบลน้ำแพร่ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสร้าง บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนทรงจั่ว“หลังจากพบกับภรรยา ผมมีโอกาสได้มาเที่ยวเชียงใหม่บ่อย ๆ และชื่นชอบบรรยากาศในช่วงหน้าหนาว เพราะอากาศดีมาก จึงตั้งใจไว้ว่าอยากมีบ้านสักหลัง และพอดีเห็นว่าสถานที่แห่งนี้ตรงคอนเซ็ปต์หมดทุกอย่าง เป็นบ้านกลางป่า และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก เหมาะสำหรับจะเป็นที่ให้ทุกคนในครอบครัวได้มาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน” บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัย ที่ตั้งของบ้านหลังนี้โอบล้อมด้วยพื้นที่ธรรมชาติอันสวยงาม มีภูเขาเป็นฉากพื้นหลัง และเนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณร่องหุบเขา จึงมีลำเหมืองไหลผ่านอยู่ด้านหลังของผืนที่ดิน ริมขอบที่ดินมีต้นจามจุรีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้เดิมคอยให้ร่มเงากับตัวบ้าน ด้วยธรรมชาติที่สวยงามนอกจากจะมีพื้นที่ใช้สอยหลักในบ้านแล้ว คุณน้ำจึงตั้งใจอยากให้มีพื้นที่สำหรับนั่งเล่นภายนอก รองรับกิจกรรมนอกบ้านของครอบครัวท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นแห่งนี้คุณน้ำเล่าว่าตัดสินใจให้ยางนาสตูดิโอมาออกแบบบ้านหลังนี้ให้ เพราะชื่นชอบในสไตล์การออกแบบที่เรียบง่ายของทางสตูดิโอ มีความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบของยางนาสตูดิโอ แต่ทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี โดยมีโจทย์ทำบ้านให้เรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติแวดล้อม และอาจจะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกสต์เฮาส์หรือคาเฟ่ได้ในอนาคตในวันที่ครอบครัวไม่ได้มาพักอาศัยเป็นประจำ ขอเพียงแต่อยู่ในงบประมาณที่ตั้งใจไว้  บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนทรงจั่ว […]

บ้านเหล็ก ยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไทยเดิม

บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัล

บ้านปูนเรียบง่ายที่ออกแบบมาเพื่อชมดอย ชมดาว

บ้านปูนเรียบง่ายที่ดูไม่แปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง บนทำเลที่อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียง  เป็นบ้านธรรมดาๆที่อยู่สบาย แต่ได้วิวดีสุดๆ ทั้งวิวดอยสุดลูกหูลูกตาในตอนกลางวัน และดวงดาวนับล้านในยามค่ำคืน สมกับชื่อของบ้านหลังนี้ที่ตั้งว่า “บ้านล้านดาว” สถาปนิก : คุณสะเทื้อม กะดีแดง  /  เจ้าของ : คุณธิดา สิริสิงห บ้านปูนต่างจังหวัด “บ้านล้านดาว” เป็นชื่อน่ารักๆที่ คุณธิดา สิริสิงห ตั้งให้บ้านหลังนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่าในคืนเดือนมืดหากได้ออกมานั่งที่ระเบียงบ้านก็จะมองเห็นดวงดาวมากมายเหลือคณานับ ที่ตั้งของบ้านหลังนี้อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียงในอาณาบริเวณประมาณสองไร่ครึ่งแถบอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าของบ้านคือเวิ้งหุบเขาอันแสนกว้างใหญ่ที่ค่อยๆลดระดับลงไปเป็นแอ่งกระทะก่อนจะไปบรรจบกับแนวเทือกเขาด้านหลังของดอยสุเทพโดยปราศจากสิ่งใดๆขวางกั้น  บ้านปูนต่างจังหวัด  มองผิวเผินบ้านหลังนี้ดูคล้ายบ้านเดี่ยวที่มีระดับหลังคาต่างกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นการสร้างบ้านแบบเรือนกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกันโดยแยกเป็น 3 หลังหลักๆ ผนังภายนอกเป็นคอนกรีตเปลือย เรือนกลางหรือห้องอเนกประสงค์เป็นหลังใหญ่สุดใช้งานเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ตั้งอยู่ตรงกับทางเข้าบ้านพอดี ลักษณะเป็นห้องโปร่งไม่มีฝ้าเพดาน ปล่อยให้เห็นโครงสร้างของหลังคา ภายในห้องจัดมุมหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับประตูทางเข้าเป็นแพนทรี่ขนาดพอเหมาะ ส่วนพื้นที่ที่เหลือใช้เป็นส่วนนั่งเล่นแบบสบายๆ หน้าห้องนี้เป็นระเบียงกว้างที่จะได้เห็นภาพทิวทัศน์สวยๆดังที่กล่าวไปตอนต้น ส่วนห้องนอนสร้างแยกกันคนละด้านของเรือนกลาง ด้านหนึ่งเป็นห้องนอนใหญ่ ส่วนอีกด้านเป็นห้องนอนเล็กซึ่งเพิ่มมาในภายหลัง เพราะเจ้าของบ้านเห็นว่าเรือนกลางใช้เสาค่อนข้างสูง (เนื่องจากสร้างบนพื้นที่ลาดเอียง) ดูแล้วไม่ค่อยสวยงาม จึงสร้างห้องนี้โดยใช้โครงสร้างเดิม โดยห้องนอนแต่ละห้องเน้นความเรียบและโปร่ง ผนังด้านระเบียงทั้งสองห้องเป็นบานเลื่อนกระจกใสเพื่อเปิดมุมมองอันสวยงาม เฟอร์นิเจอร์ในห้องก็เลือกที่ดูเข้ากับบรรยากาศของการพักผ่อน เช่น เตียงหรือเก้าอี้หวายสีธรรมชาติ  บ้านปูนต่างจังหวัด  คุณธิดาพูดถึง “บ้านล้านดาว” ในตอนท้ายด้วยสีหน้าเปี่ยมสุขว่า […]

เจเนอเรชั่นใหม่ของเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง

บ้านรูปแบบแปลกตาที่คนในละแวกนี้เรียกว่า “บ้านเหงี่ยง”  (ภาษาเหนือ แปลว่า เอียง) “บ้านท่าเรือ” “บ้านชี้ฟ้า” “บ้านทรงสบาย” ด้วยความที่ตัวบ้านดูแปลกประหลาดนี้เองจึงมักโดนคำถามจากเพื่อนบ้านว่า “อยู่แล้วเวียนหัวไหม” หรือ “อยู่สบายหรือเปล่า” ลองไปหาคำตอบในเนื้อเรื่องกันเลย เจ้าของ-ออกแบบ คุณศิริศักดิ์ ธรรมศิริ  NOTDS Co., Ltd. บ้านโมเดิร์นยกพื้นสูง ครั้งแรกที่ได้เห็นรูปทรงของ บ้านโมเดิร์นยกพื้นสูง หลังนี้ถึงกับต้องร้องว้าว เพราะที่นี่มีหน้าตาแตกต่างจากบ้านทั่วไปที่เราเคยเห็นมา แถมยังดูโดดเด่นต่างจากสภาพแวดล้อมในละแวกใกล้กัน เจ้าของบ้านหลังนี้ คือ คุณโต้ง-ศิริศักดิ์  ธรรมศิริ ผู้เป็นสถาปนิกออกแบบบ้านหลังนี้เองด้วย บ้านหลังนี้อยู่ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รอบๆรายล้อมด้วยบ้านเรือนไม้ยกพื้นสูง มีวิถีชีวิต ใกล้ชิดธรรมชาติ ดังนั้นการมาสร้างบ้านรูปทรงแปลกตาในย่านนี้จึงดูโดดเด่นกว่าใคร และเมื่อได้ฟังแนวคิดการออกแบบบ้านของคุณโต้ง ยิ่งทำให้เราเข้าใจที่มาของรูปทรงบ้านมากขึ้น “ตอนมาเจอที่ดินแปลงนี้ผมเห็นว่าไม่ไกลจากที่ทำงานและตัวเมืองมากนัก แถมยังมีวิวภูเขาสวยงาม แต่ด้วยความที่ที่ดินนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ไม่สวยเท่าผืนสี่เหลี่ยมหรือจัตุรัส จึงทำให้เราซื้อที่ดินได้ในราคาถูก ซึ่งผมเห็นว่ามันเป็นเสน่ห์ ดูธรรมชาติ จึงออกแบบบ้านให้ล้อไปกับรูปทรงที่ดินเสียเลย แล้วใส่ภาพความทรงจำวัยเด็กลงไป ผมนึกถึงตอนที่เราวิ่งเล่นไปตามคันนาที่มีภูเขาเป็นฉากหลัง รูปทรงของบ้านจึงออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกล่องขนาดใหญ่โผล่ขึ้นมาจากดิน ให้ความรู้สึกเหมือนภูเขา หน้าบ้านมีสนามหญ้าเหมือนได้วิ่งเล่นในทุ่งนาอย่างที่นึกไว้ ส่วนขั้นบันได ผนัง และหลังคา ออกแบบให้เอียงเป็นสเต็ป […]

บ้านตอบโจทย์ครอบครัวต่างวัย เปิดสเปซเชื่อมต่อความสุข

เมื่อถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย จากบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ในตัวเมืองเชียงใหม่ สู่การสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นอีกบทหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เหนืออื่นใดคือต้องเติมเต็มความสุขให้สมาชิกทุกคน แม้จะต่างวัยกันแค่ไหน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น จากทำเลที่มองเห็นวิวดอยคำ ดอยสุเทพ และใกล้กับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครอบครัวขยายของสองทันตแพทย์ ทพ. วัลลภ ธีรเวชกุล และ ทพญ. สรินภรณ์ ธีรเวชกุล ได้ไว้วางใจให้ทีมสถาปนิกจาก STUDIO SATi มารับหน้าที่ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของสมาชิก 3 เจเนอเรชั่นที่ย้ายเข้ามาอยู่พร้อมหน้ากันถึง 7 คน โดยมีคุณยาย 2 ท่าน คุณพ่อคุณแม่ ลูกชาย ลูกสาว และหลาน ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ไปพร้อม ๆ กับมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เนื่องจากตัวบ้านหันไปทางทิศใต้กึ่งตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่รับแดดบ่ายโดยตรง การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงและความร้อนเป็นพิเศษ สถาปนิกออกแบบผนังด้านหน้าบ้านเป็นลักษณะแนวผนังทึบก่ออิฐมอญบิดมุมให้เกิดองศาที่พอเหมาะเพื่อช่วยบังสายตาและกันแสงแดด โดยมีช่องเปิดให้ลมพัดผ่านและมองเห็นวิวได้ “เราออกแบบให้ตัวโถงบันไดและสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าบ้าน ให้เป็นส่วนรับแดดช่วงบ่าย การใช้น้ำมาเป็นองค์ประกอบจะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก และมีโถงบันไดด้านหน้าซึ่งเป็นจุดรับความร้อนได้ดี ออกแบบให้มีผนังอิฐเฉียงเพื่อบังแดดและบิดมุม […]

บ้านเรือนหมู่แบบไทยที่สร้างจากดินและไม้

บ้านดินหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและวัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย แม้ว่า “เชียงใหม่” จะเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ ด้านด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีเสน่ห์ ในแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ที่นี่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เสื่อมคลาย รวมไปถึงการเป็นจุดหมายของการมาพักอาศัยสร้างบ้านที่อบอุ่นสำหรับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความเรียบง่าย เงียบสงบ ห่างไกลจากเมืองที่พลุกพล่าน แต่ไม่ทิ้งความสะดวกสบายไปเสียทีเดียว จากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ คุณพอล วัลเลอร์  และ คุณธัญชนก สุวรรณชัย ตัดสินใจเลือกอำเภอหางดง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 30 นาทีเพื่อสร้างบ้านหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและ วัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย มี คุณมาร์คูส โรเซลีบ สถาปนิกจากบริษัท Chiangmai Life Architects (CLA) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการนำวัสดุธรรมชาติมาออกแบบและสร้างงานสถาปัตยกรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์ มาช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ […]

รีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียว เป็นบ้านสีขาวมินิมัล

รีโนเวตเก่าบ้านชั้นเดียว เพื่อปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านสีขาวสไตล์มินิมัลที่ทั้งเสวยและเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ งบประมาณของโครงสร้างล้านต้นๆ

บ้านหนองฮ่อ ดีไซน์สงบนิ่งที่เผยความงามธรรมชาติ

จะดีแค่ไหนถ้าได้นั่งเงียบๆ ปล่อยใจสงบ เพื่อเปิดรับเสียงอันแผ่วเบา และสัมผัสธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปทุกวินาที วิวดอยสุเทพอยู่สุดปลายสายตากำลังกลืนแสงสุดท้ายของวัน เมื่อมองจากบ้านพักตากอากาศที่สถาปนิกออกแบบให้เป็น “สถาปัตยกรรมไร้เสียง” ที่จะไม่ตะโกนความเป็นตัวเองให้ดังเกินตัว จนกลบเสียงสรรพสิ่งแวดล้อมให้ดับไป แต่ถ่อมตัว แช่มช้า แจ่มใส มีเสน่ห์อย่างบุคลิกคนท้องถิ่นเจ้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Skarn Chaiyawat บ้านที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่แถวถนนหนองฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะพื้นที่บริเวณนั้นเป็น “ตีนดอย” อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก แต่ยังแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สงบสวยงาม จึงเหมาะสำหรับการพักผ่อนอยู่อาศัย คุณโป้ง – สการ จัยวัฒน์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท สถาปนิก สการ จัยวัฒน์ จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นออกแบบบ้านว่า “เป็นบ้านตากอากาศสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 3 คน พ่อแม่ลูก ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมที่กรุงเทพฯ จึงอยากมีบ้านสำหรับมาพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ลักษณะที่ดินเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว่า 300 ตารางวา และมีความพิเศษคือ เมื่อมองทะลุผืนป่าด้านหลังที่ดินจะเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ดอยสุเทพสวยมาก” ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่น่าประทับใจ การออกแบบบ้านจึงไม่ได้คิดอยู่แค่ตัวบ้านเท่านั้น แต่ออกแบบบ้านเพื่อให้วิวธรรมชาติเป็นหัวใจหลัก “เมื่อวิเคราะห์พื้นที่แล้ว จึงออกแบบบ้านเป็นรูปทรงตัวไอตรงๆ หันด้านยาวเปิดรับวิวภูเขาได้ทุกห้อง เพื่อให้ทัศนียภาพนี้ซึมซับอยู่ในทุกการใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน” บ้านไม้พื้นถิ่นโมเดิร์น สุนทรียภาพที่ก่อเกิดจากโครงสร้าง […]

บ้านโมเดิร์นชั้นเดียว ที่มีแนวคิดอ่อนน้อมถ่อมตน

บ้านชั้นเดียวที่มีแนวคิดในการออกแบบที่เน้นความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยสถาปนิกได้สอดแทรกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นด้วยการใช้หลังคา Flat Slab ซึ่งมีการยื่นชายคาออกไปมากกว่าปกติเพื่อบังแสงแดดไม่ให้ตัวบ้านร้อน แต่ยังดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบด้วยสวนและต้นไม้ ออกแบบ : Is Architects Co., Ltd. โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน / เจ้าของ : คุณรัตนา – คุณชาตรี เตชะติ บ้านปูนโมเดิร์นชั้นเดียว ความทรงจำเกี่ยวกับบ้านหลังนี้ยังคงชัดเจนและอบอวลไปด้วยความอบอุ่น แม้จะเป็นการพบกันแบบสั้นๆ ทว่า “บ้าน” รวมไปถึง ”คนในบ้าน”หลังนี้ ทำให้เราอยากกลับไปเชียงใหม่อีก เช้าวันหนึ่งที่แสงแดดเป็นใจ ผมและทีมงานเดินทางมาถึงบ้านหลังนี้ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ความเงียบสงบของพื้นที่โดยรอบ ทำให้รู้สึกว่าเชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่ง ภาพบ้านชั้นเดียวปรากฏชัดขึ้นเมื่อรถของเราเลี้ยวผ่านโค้ง หน้าบ้านมีป้ายเล็กๆ เขียนไว้ว่า “สารภี เซนต์  แฟมมิลี่” ทำให้แน่ใจว่าเรามาถึงแล้ว บ้านหลังนี้เป็นบ้านของ ครอบครัวเตชะติ คุณรัตนา ผู้เป็นแม่และ คุณชาตรี ลูกชาย ผู้เป็นเจ้าของบ้านและฟาร์มเลี้ยงสุนัขที่อยู่ด้านหลังบ้านออกมาต้อนรับเราอย่างเป็นกันเอง เราจอดรถด้านหน้าบ้านและเดินเข้าสู่ตัวบ้านโดยผ่านระเบียงซึ่งอยู่ติดกับบ่อน้ำที่คอยสร้างความชุ่มชื้นให้บ้าน “ตั้งใจให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว  เพราะจำนวนสมาชิกในบ้านน้อย  มีพ่อ  แม่  และลูกอีก 2 […]

บ้านปูน คู่กลางหุบเขากลิ่นอายสไตล์ทัสกานี

บ้านปูน สไตล์ทัสกานี ขนาดกะทัดรัดที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่แวดล้อมด้วยหุบเขาในจังหวัดเชียงใหม่กับวิวธรรมชาติ

บ้านล้านนาประยุกต์ งามสง่าริมแม่น้ำปิง

จากบ้านล้านนาริมน้ำหลังงามที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย จึงมีการปรับปรุงใหม่ให้สวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น พร้อมต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม โดยประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน เจ้าของ - ออกแบบ : อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ ชื่อเสียงของ  อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ประจำปี 2547 เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงการออกแบบของภาคเหนือ เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนาได้ดีแล้ว อาจารย์ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการประยุกต์สไตล์ล้านนาให้ดูไม่ล้าสมัย และยังใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บ้านล้านนาประยุกต์ริมน้ำ หลังนี้นั่นเอง แม้จะปลูกสร้างมานานถึง 15 ปีแล้ว แต่อาจารย์จุลทัศน์ได้ปรับปรุงบ้านให้สวยงามน่าอยู่เสมอมา โดยได้แปลงโฉมบ้านและต่อเติมพื้นที่ใช้สอยเพิ่ม “บ้านจะน่าอยู่ได้ก็ต้องมีการดูแลปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ บ้านของผมเองก็ต้องปรับปรุงเป็นพิเศษ เนื่องจากทุกปีจะมีน้ำท่วม ทำให้พื้นและโครงสร้างไม้เสียหาย ที่โดนหนักสุดเห็นจะเป็นเมื่อปี 2548 จึงได้โอกาสปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้เวลาทำานาน 3 ปี ที่ช้าเพราะเปลี่ยนโครงสร้างส่วนล่าง จากเดิมที่เป็นไม้ก็ทำเป็นคันเขื่อนตรงส่วนที่เป็นใต้ถุน เพื่อป้องกันเรื่องน้ำโดยเฉพาะ หากไม่ซ่อมเกรงว่าจะเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ และการซ่อมแซมก็จะยากกว่าเดิมด้วยครับ” นอกจากการปรับปรุงส่วนโครงสร้างแล้ว อาจารย์จุลทัศน์ยังได้เปลี่ยนผังการใช้งานด้วย จากแปลนเดิมที่มีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) มีทางเข้าอยู่ตรงกลาง โดยปีกทางด้านตะวันตกเคยเป็นห้องรับแขกก็เปลี่ยนเป็นห้องรับประทานอาหารขนาดใหญ่แบบเป็นทางการแทน ส่วนปีกด้านทิศตะวันออกเคยเป็นห้องนอนก็เปลี่ยนเป็นห้องรับแขก พร้อมมุมรับประทานอาหารเล็ก ๆ กลางชานบ้านเคยมีศาลาตั้งอยู่ริมบ่อน้ำก็รื้อออกไปเพื่อเปิดพื้นที่ให้โล่งยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มบ่อน้ำรูปยาวขนานกับแนวแม่น้ำปิง นอกจากนี้ยังได้สร้างเรือนสองชั้นด้านหลังบ้านเดิม โดยจัดเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนเล็กการแปลงโฉมครั้งใหญ่นี้ทำให้รูปลักษณ์ความเป็นล้านนาของบ้านดูทันสมัยมากขึ้น […]

บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า  “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า  “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]