บ้านชั้นเดียว สำหรับวัยเกษียณ ในอ้อมกอดของขุนเขา

บ้านชั้นเดียว สำหรับวัยเกษียณ ออกแบบเน้นให้ดูแลรักษาง่าย ยกพื้นเล็กน้อยพร้อมทำทางลาดแทนบันไดขึ้นบ้านให้ความรู้สึกต่อเนื่องกับพื้นดิน

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียวกลางหุบเขาที่ดูแลรักษาง่าย ใช้งบไม่มาก

บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างด้วยงบประมาณไม่มาก ดูแลรักษาง่าย แต่สามารถมองเห็นวิวผืนป่า ลำน้ำสายเล็ก และนาขั้นบันไดได้สวยงามตลอดทั้งปี เจ้าของ-ตกแต่ง : พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง บ้านปูนเปลือยชั้นเดียว เสน่ห์ของพื้นที่กลางหุบเขาในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่คือความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าซึ่งกลายเป็นฉากหลังอันงดงาม นอกจากนี้ก็ยังมีลำน้ำสายเล็กไหลผ่านตลอดทั้งปี รวมถึงนาขั้นบันไดและพืชผักที่ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกตามฤดูกาล ภาพเหล่านี้กลายเป็นทัศนียภาพที่น่าหลงใหลซึ่งปรากฏอยู่ตรงหน้าบ้านหลังเล็กของ พลตำรวจโทพนมศักดิ์ ทั่งทอง   ภาพของตัวบ้านภายนอกมีลักษณะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยที่ดูเรียบง่าย หากมองจากด้านหน้าก็จะคิดว่านี่เป็นบ้านยกพื้นสูง มองเห็นใต้ถุนบ้าน แต่ที่จริงแล้วเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่บนไหล่เขาที่เอียงเกือบ 45องศา คุณพนมศักดิ์บอกว่ามาเที่ยวเชียงใหม่หลายครั้งรู้สึกชอบที่นี่ จึงบอกให้คนรู้จักช่วยหาที่ดินให้ “ผมไปดูที่มาหลายแห่ง แต่ชอบที่นี่ที่สุด เพราะค่อนข้างสงบ เป็นส่วนตัวดี และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก ขับรถใช้เวลาประมาณ 30นาทีก็ถึง หลังจากซื้อที่ดินได้ไม่นานก็ปลูกบ้านเลย ผมอยากได้บ้านที่อยู่ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องใหญ่โต และดูแลรักษาง่ายด้วย “ผมเป็นคนออกแบบบ้านหลังนี้เอง โดยเขียนแบบคร่าวๆเอาพอเข้าใจ แล้วก็คุยกับช่างเลยว่าอยากได้แบบไหน บางทีก็จะถามเขาว่าอย่างนี้ทำได้ไหม “เนื่องจากตำแหน่งของบ้านสามารถมองเห็นวิวได้สวยงามมาก ผมก็ให้ไอเดียกว้างๆว่าอยากทำเป็นมุขยื่นออกมาสองข้าง บ้านนี้จึงมีส่วนชมวิวอยู่หน้าห้องนอนทั้งสองห้องซึ่งแยกอยู่คนละด้านของตัวบ้าน นอกจากนี้ก็เลือกใช้ประตูบานเลื่อนกระจกใสเกือบทั้งหลัง เพื่อทำให้บ้านดูโล่งและกว้างที่สุด” เมื่อเดินขึ้นบันไดที่อยู่ติดกับลานจอดรถซึ่งอยู่ด้านหน้าห้องนอนเล็ก ก็จะพบชานพักเป็นลานกว้างพอที่จะจัดมุมนั่งเล่นได้ ประตูทางเข้าบ้านตั้งอยู่ในตำแหน่งกลางบ้านพอดี เข้าไปจะพบส่วนอเนกประสงค์ ประกอบด้วยมุมนั่งเล่นและเคาน์เตอร์ต่างระดับซึ่งเป็นทั้งส่วนเตรียมอาหารและรับประทานอาหาร ตั้งอยู่คนละด้าน โดยถัดจากมุมนั่งเล่นก็เป็นห้องนอนใหญ่ […]

บ้านหลังเกษียณ อยู่สบาย ด้วยการดักลมทุกทิศทาง

บ้านหลังเกษียณ ที่ออกแบบตามหลักการบ้านอยู่สบาย โดยมีการระบายอากาศแบบให้ลมผ่านอาคาร มีพื้นที่ดักลมในทุกทิศทาง

บ้านล้อมไม้

จะมีสักกี่สถานที่ที่ทำให้เรารู้สึกสงบและสบายใจทุกครั้งที่ได้ไปเยือน และคงจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากสถานที่นั้นเป็น “บ้าน” ของเราเอง ครั้งนี้ “บ้านและสวน” ได้มาเยี่ยมชมบ้านของ คุณปุ้ย – ปิยาภรณ์ แต้ไพสิฐพงษ์ และ คุณนุ – ปกรณ์ พงศ์พูลสุข ณ “บ้านล้อมไม้” ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการบ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยบรรยากาศที่มีขุนเขาแวดล้อม บ้านนี้จึงได้รับพลังงานดีๆ อย่างที่เจ้าของบ้านเล่าให้ฟัง   “บ้านนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากคุณแม่ค่ะ” คุณปุ้ยเริ่มเกริ่นนำ ก่อนเล่าต่อไปว่าคุณแม่ของเธอได้มาปฏิบัติธรรมที่บ้านบุญ ณ บ้านไร่ทอสีของ พระอาจารย์ฌอน ชยสาโร ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับบ้านหลังนี้ จึงเริ่มรู้สึกติดใจในบรรยากาศอันสุขสงบและสภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง “แม่เลยพาลูกมาปฏิบัติธรรมด้วยกัน ปุ้ยก็ชอบ เขาอยากมีบ้านที่ต่างจังหวัด ก็ชวนกันมาดูที่ในโครงการ จนได้ที่ผืนนี้มาปลูกบ้าน” คุณแม่คุณปุ้ยเล่าให้ฟังบ้างว่า “มีหลายปัจจัยที่ทำให้เลือกที่ผืนนี้ เราเป็นคนกรุงเทพฯ การอยู่ในโครงการทำให้รู้สึกปลอดภัย มีเพื่อนบ้านคอยดูแลกันได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องบรรยากาศที่สงบและสบายของบ้านและลูกบ้านในโครงการนี้” เราเห็นด้วยอย่างยิ่ง พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านของผู้นิยมการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ซึ่งทำให้บรรยากาศในโครงการยิ่งดูร่มเย็น “อยากทำบ้านที่จะมาอยู่ประจำเวลาเราแก่ตัวลงได้ ตอนนี้คุณแม่ก็วางแผนมาอยู่ที่นี่บ่อยขึ้น แม้บ้านหลังนี้จะคล้ายบ้านตากอากาศ แต่ก็วางแผนเอาไว้สำหรับอยู่ประจำในอนาคตด้วย แล้ว คุณตั๋ง – […]

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]