บ้านฟาร์มสไตล์ฝรั่งเศส กับความสุขเกิดที่ขึ้นได้ทุกวันที่บ้าน

บ้านฟาร์มสไตล์ฝรั่งเศส บนที่ดินริมลำน้ำอันเงียบสงบในเชียงใหม่ ที่เจ้าของบ้านออกแบบเอง สำหรับใช้เวลาผ่อนคลายและเพลิดเพลินกับธรรมชาติโดยรอบ

A Place Called Forever

จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]

Unconditional Love รักไม่รู้จบ

กาลเวลาไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าต้องใช้เวลากี่ปีถึงเรียกสถานที่ที่เราพักพิงว่า “บ้าน” บางที่เราอยู่แค่ไม่กี่เดือนก็กลับรู้สึกอบอุ่นและมีความสุข ที่นั่นก็เป็นบ้านของเราได้ องค์ประกอบหลักที่เป็นหัวใจสำคัญคือครอบครัวและผู้ที่อยู่ในบ้านต่างหากที่ช่วยเติมเต็มให้คำว่าบ้านนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ้านสวยที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นห้องชุดขนาดใหญ่อายุกว่า 30 ปีของครอบครัว คุณแจง – ชมพูนุท และ คุณนน – ณัฐวรรธน์ เตชะไพบูลย์ คุณแม่คนสวยและลูกชายหนุ่มหล่อคนเดียวของบ้าน ห้องชุดแห่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ด้วยขนาดของแต่ละห้องและการใช้งานที่ครบครัน ในห้องชุดชั้นแรกใช้เป็นส่วนต้อนรับ มีการใช้งานเหมือนผังบ้านปกติ กล่าวคือจัดเป็นโถงรับแขก ครัวโชว์ ครัวไทย ส่วนรับประทานอาหาร ส่วนนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับห้องเก็บไวน์และมุมจิบไวน์ มีระเบียงยาวที่มองเห็นวิวเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้นบนเป็นห้องชุดแบบดูเพล็กซ์ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของบ้าน มีมุมรับประทานอาหารมุมนั่งเล่น และครัวเหมือนในชั้นแรก ส่วนชั้นลอยเป็นห้องนอนใหญ่ ห้องนอนคุณนน และห้องทำงาน โดยมีพื้นที่นั่งเล่นเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมของครอบครัว คุณแจงเล่าถึงที่มาของบ้านนี้ให้ฟังว่า “ตอนแต่งงานใหม่ๆ พี่อยู่บ้านสามี ยุคนั้นคอนโดมิเนียมเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม ทุกคนก็ตื่นเต้นไปจองกัน ตอนนั้นลูกชายสองขวบแล้ว เราก็อยากหาที่อยู่ใหม่ ถ้าปลูกบ้านต้องใช้เวลาปีถึงสองปี และยังมีอีกหลายคำถามตามมา เช่น ใกล้โรงเรียนลูกหรือเปล่า เดินทางสะดวกไหม เป็นความโชคดีของพี่ที่เพื่อนของสามีขายห้องข้างบนให้ เพราะไม่เคยมาอยู่เลย เขาชอบอยู่บ้านมากกว่า พี่ก็ย้ายมาอยู่เลย จากวันนั้นก็อยู่มาจนถึงวันนี้ พอที่นี่อยู่สบายก็ทำให้ลืมไปเลยว่าเราอยากปลูกบ้าน” การจัดสรรพื้นที่ที่ดีเป็นหัวใจหลักของการอยู่คอนโดมิเนียม ข้อดีของคอนโดมิเนียมในยุคก่อนคือมีพื้นที่กว้างขวางไม่ต่างจากบ้าน […]

พื้นที่กักเก็บ “ความทรงจำ”

บ้านสวย ทุกการเดินทางย่อมมีความทรงจำ ซึ่งอาจเป็นภาพที่คุณไม่มีวันลืม หรือแม้กระทั่งของสะสมที่มาพร้อมกับเรื่องราวมากมายให้รำลึกถึงความรู้สึกดีๆเหมือนเช่นบ้านสไตล์ยุโรปสี่ชั้นหลังนี้ที่กลายเป็นพื้นที่กักเก็บความทรงจำชั้นดีของเจ้าของบ้าน “เราหลงรักที่นี่ทันที ทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและความเงียบสงบ เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนและตอบโจทย์แรงบันดาลใจของเราได้เป็นอย่างดี”   คุณเฟิร์น – เกศชนก จีระวัฒนา ธาดาสีห์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงเกริ่นนำถึงความรู้สึกที่เห็นบ้านหลังนี้ครั้งแรก ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการ The Eyrie Khao Yai ด้วยความที่เป็นนักออกแบบและเป็นเจ้าของร้านอาหาร Featherstone Bistro Café & Lifestyle Shop และ Azure Café ทำให้การออกแบบบ้านนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเธอ  “ทิศทางในการออกแบบบ้านเริ่มมาจากของที่เฟิร์นสะสมตั้งแต่เด็กๆ ผสมผสานกับกลิ่นอายของบ้านสไตล์ยุโรปที่ชื่นชอบ บ้านพักส่วนตัวหลังนี้จึงถ่ายทอดออกมาผ่านคลังเก็บความทรงจำของเฟิร์นค่ะ” รูปลักษณ์ภายนอกของ บ้านสวย หลังนี้ ดูคล้ายหอคอยของปราสาทในยุโรป เรารู้สึกประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อทางเข้าของบ้านตั้งอยู่ที่ชั้นสาม ทั้งที่ปกติควรจะอยู่ชั้นล่างสุด พื้นที่แรกที่ทักทายเราคือส่วนนั่งเล่น ตามด้วยส่วนรับประทานอาหารและแพนทรี่ บรรยากาศในส่วนนี้ดูอ่อนหวานแบบสไตล์วินเทจ เลือกใช้โทนสีขาวครีมที่ดูสบายตา ผสมผสานอย่างลงตัวกับเฟอร์นิเจอร์แอนทีคที่คุณเฟิร์นหอบหิ้วข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปยุโรป ผนังในส่วนนั่งเล่นตกแต่งด้วยของประดับดีไอวาย ซึ่งคุณเฟิร์นสร้างสรรค์เองกับมือ ส่วนโต๊ะรับประทานอาหารและแพนทรี่คุมโทนด้วยสีของไม้ สร้างความอบอุ่นให้พื้นที่โดยรอบ เมื่อลงมายังชั้นล่างสุดที่เปรียบเสมือนชั้นใต้ดิน เราเห็นการตกแต่งผนังด้วยสีเขียวเข้ม (Hunter Green Mix) และผนังก่ออิฐ เข้ากันได้ดีกับชุดโซฟาเชสเตอร์ฟิลด์หนังอิตาลี […]

จับไอเดียกลิ่นอายยุโรปมาใส่ในบ้าน

เชื่อว่าใครหลายคนที่เคยไปสัมผัสมนตร์เสน่ห์ของประเทศแถบยุโรปตะวันตก คงเกิดอาการตกหลุมรักกับสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์จนยากจะถอนใจได้

บ้านสไตล์ยุโรป พื้นที่กักเก็บความทรงจำของการเดินทาง

ทุกการเดินทางย่อมมีความทรงจำ ซึ่งอาจเป็นภาพที่คุณไม่มีวันลืม หรือแม้กระทั่งของสะสมที่มาพร้อมกับเรื่องราวมากมายให้รำลึกถึงความรู้สึกดี ๆ เหมือนเช่น บ้านสไตล์ยุโรป สี่ชั้นหลังนี้

HOME IS WHERE THE HEART IS : บ้านสไตล์ยุโรปของนักสะสม

บ้านสไตล์ยุโรปของนักสะสมที่บันทึกความรู้สึกและทุกเรื่องราวที่พบเจอในชีวิตด้วยการตกแต่งภายในบ้าน

แบบ บ้านชนบทสไตล์ยุโรป

เรื่องราวอันอบอวลด้วยความอบอุ่นจากการจำลองหมู่บ้านเล็ก ๆ ในชนบทแถบยุโรป สมมุติให้เป็นหมู่บ้านที่ถูกทิ้งร้าง แต่ยังคงความงดงามทางสถาปัตยกรรมและกลิ่นอายของวิถีชีวิตที่กลับคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง โดยตั้งชื่อว่า A’ La Campagne (อะลาคอมปาณย์)