บ้านโมเดิร์นรีโนเวต ในสเปซแห่งความทรงจำ

บ้านโมเดิร์นรีโนเวต เพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป พร้อมระบบสมาร์ทโฮมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายและปลอดภัยขึ้น Design Directory : Day Develop Co.,Ltd. ความห่วงใยคุณแม่ คือจุดเริ่มต้นของ บ้านโมเดิร์นรีโนเวต หลังนี้ คุณจั๊ก – กรกนก เชาว์ปรีชา และ คุณโอ๊ต-วุฒิชัย นันทิวาวัฒน์ ต้องการทำสระว่ายน้ำให้คุณแม่ออกกำลังกายเพื่อกายภาพตามที่คุณหมอแนะนำ และนำมาสู่การรีโนเวตบ้านทั้งหลังที่แทบทำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตของสมาชิกทั้ง 6 คนในครอบครัว โดยเฉพาะลูกชาย 2 คน คุณตฤณ – คุณกฤษฏิ์ นันทิวาวัฒน์ ที่เติบโตสู่วัยรุ่น และ คุณพ่อสุวัฒน์ – คุณแม่รัตนา เชาว์ปรีชา ที่เข้าสู่วัยเกษียณ จึงมีความต้องการใช้พื้นที่เปลี่ยนไป เรือนหอเก่าที่ปรับเป็นบ้านเพื่อคนทุกวัย บ้านเดิมเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น อายุประมาณ 17 ปี เป็นเรือนหอและมีบ้านคุณพ่อคุณแม่ของคุณจั๊กอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แปลนบ้านแรกเริ่มเป็นตัวแอล (L) แล้วมีการซื้อที่ดินด้านข้างเพิ่มจึงสร้างบ้านรูปตัวไอ (I) ต่อขยายออกไป ทำให้แปลนบ้านรวมกลายเป็นรูปตัวยู […]

เปลี่ยนบ้านเก่าอายุ 40 ปี เป็นบ้านอยู่สบายของแม่สูงวัยกับลูกชายสายปาร์ตี้

เปลี่ยน บ้านเก่าอายุ 40 ปี เป็นบ้านที่สะท้อนความสัมพันธ์ โดยรองรับความเป็นบ้านผู้สูงอายุ สำหรับคุณแม่ และรองรับการสังสรรค์ สำหรับลูกชาย

รวม แบบบ้านวัยเกษียณสไตล์โมเดิร์น สวย เรียบง่าย อยู่สบาย

5 แบบบ้านวัยเกษียณสไตล์โมเดิร์น สำหรับผู้มีใจรักดีไซน์เรียบง่าย ใช้เส้นสายตรงๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมฟังก์ชันที่คนวัยเกษียณสามารถใช้งานได้สะดวกสบาย

บ้านรีโนเวตของคนสามวัย

จากบ้านเก่าของครอบครัว ปรับโฉมสู่ บ้านรีโนเวตของคนสามวัย ให้ดูโปร่งโล่ง อบอุ่น อยู่สบาย ใช้งานสะดวกมากขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ บ้านเก่าปรับปรุงใหม่ของสมาชิกสามช่วงวัยซึ่งประกอบด้วย คุณแนท – นบพระพร สถาวิพัฒน์ เชฟทำขนมจากคาเฟ่แห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิท คุณแม่วัยเกษียณ และคุณยาย รวมถึงคุณนัท น้องชายของคุณแนทที่แวะมาเยี่ยมเยียนเป็นประจำ บ้านรีโนเวตของคนสามวัย บรรยากาศแสนอบอุ่นหลังนี้เดิมทีเป็นบ้านเก่าอายุสี่สิบกว่าปีที่ถือเป็นพื้นที่ความทรงจำร่วมกันของทุกคนในครอบครัว ตามที่คุณแนทเล่าว่า “ตอนนั้นคุณป้า คุณแม่ คุณน้า สามพี่น้องย้ายจากต่างจังหวัดมาเรียนที่กรุงเทพฯ ก็เลยซื้อบ้านหลังนี้อยู่ด้วยกันค่ะ ต่อมาคุณป้าและคุณน้าแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น เลยเหลือแค่ครอบครัวของคุณแม่ ส่วนแนทก็เกิดและโตที่บ้านหลังนี้ อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้วค่ะ” ปรับบ้านใหม่เพื่อสมาชิกสูงวัย ก่อนหน้านี้บ้านผ่านการต่อเติมมาแล้วหลายครั้งโดยคุณพ่อ ผู้เคยทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง แต่เมื่อคุณพ่อจากไปบ้านก็เริ่มทรุดโทรมลง คุณแม่จึงตัดสินใจรีโนเวตบ้านใหม่ทั้งหมด นอกจากเพื่อให้สวยเหมือนใหม่และดูอบอุ่นน่าอยู่ขึ้นแล้ว จากประสบการณ์การได้ดูแลคุณพ่อที่ป่วย คุณแม่และลูกๆ พบว่าการจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านเดิมไม่สะดวกสำหรับการใช้งานของผู้สูงอายุ จึงตั้งใจปรับปรุงบ้านใหม่ให้เหมาะกับผู้สูงวัยมากขึ้น และชวนคุณยายมาอยู่ด้วยกัน คุณหนุ่ม – สิทธิชัย ชมภู สถาปนิกจาก PERSPACETIVE ตีโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้าน โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่าง ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว […]

หลากนวัตกรรม Smart Living สำหรับดูแลผู้สูงอายุ

ปรับบ้านให้น่าอยู่ ดูแลสุขภาพ ปลอดภัย และใช้งานสะดวกมากขึ้นสำหรับผู้ใหญ่ที่คุณรัก ด้วยหลากหลายนวัตกรรม Smart Living เพื่อผู้สูงอายุ ปัจจุบัน การดูแลสุขภาพกลายเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนให้ความใส่ใจทั้งกับตัวเองและสมาชิกภายในบ้าน โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ฉบับนี้ บ้านและสวน รวบรวมนวัตกรรมการอยู่อาศัยแบบ Smart Living เพื่อผู้สูงอายุ ที่จะมาเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพของคนที่คุณรักมานำเสนอ ขึ้น-ลงรวดเร็ว ด้วยลิฟต์ในบ้าน สำหรับบ้านที่สูงสองชั้นขึ้นไป การติดตั้งลิฟต์ในบ้านถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับปรุงบ้านสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ สามารถขึ้น-ลงชั้นต่างๆ ของบ้านได้อย่างสะดวกสบาย ขอแนะนำ Aritco Access Lift ลิฟต์บ้านระบบสกรูโดยแบรนด์ Aritco นำเข้าจากประเทศสวีเดนที่ติดตั้งได้ทุกที่แม้มีพื้นที่จำกัด ทั้งภายนอกและภายใน ไม่ต้องมีบ่อลิฟต์ ดีไซน์สวยหรูพร้อมปล่องกระจกใสสามด้านและฟังก์ชันใช้งานง่าย มีแฟลตฟอร์มให้เลือกหลายขนาด ขนาดเล็กสุดรองรับรถเข็นพร้อมผู้ติดตามได้ 1 คน ขนาด : 1.30 x 1.16 ถึง 1.50 x 1.70 เมตร (ขนาดรอบนอก)รองรับน้ำหนัก : 2 – 6 คน หรือ […]

บ้านล้านนา – โมเดิร์น คืนชีวิตใหม่ให้เรือนไม้หลังเก่า

บ้านล้านนา บ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่นที่นำวัสดุไม้จากเรือนไทยภาคเหนือหลังเดิม มาตกแต่งใหม่อย่างเรียบง่าย ทันสมัย ในสไตล์ บ้านล้านนา-โมเดิร์น ที่คงกลิ่นอายท้องถิ่นและความทรงจำจากบ้านเก่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab “คุณตา-คุณยายอยู่บ้านหลังนี้มาทั้งชีวิต เราเลยไม่อยากให้ท่านรู้สึกแปลกแยกกับบ้านหลังใหม่ โจทย์หลักจึงเป็นการนำไม้จากบ้านหลังเก่าที่มีอยู่เยอะและมีค่ามากกลับมาใช้ เพื่อสร้างบรรยากาศเดิมที่คุ้นเคย ใส่ความโมเดิร์นที่คุณนิกชอบเข้าไป ตามด้วยการหยิบเอาองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งฝาไหล เหล็กดัด และหน้าต่างบานเก่ามาใช้ด้วย” คุณเบล – พีระพงษ์ พรมชาติ สถาปนิกจาก Housescape Design Lab เล่าถึงโจทย์หลักในการออกแบบบ้านหลังนี้ว่า เมื่อบ้านเรือนไทยยกสูงหลังเดิมที่ผู้อยู่ต้องปีนบันไดขึ้น-ลงเป็นประจำ ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอีกต่อไป คุณนิก – แพรววนิต สุมังสะ และคุณแม่ จึงต้องการรื้อบ้านหลังเก่า และสร้างบ้านชั้นเดียวหลังใหม่ที่มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย และทันสมัยสำหรับทุกคนในครอบครัวบนที่ดินเดิม สถาปนิกที่รู้จักคุ้นเคยกับเจ้าของบ้านมายาวนานอย่างคุณเบล รวมถึงทีมออกแบบ จึงได้นำทั้งสไตล์มินิมัลแบบญี่ปุ่นตามความชอบของคุณนิก ความสามัญธรรมดาอย่างหลังคาหน้าจั่ว ซึ่งเหมาะกับการใช้งานตามความเห็นของคุณแม่ รวมถึงบรรยากาศของบ้านไม้หลังเก่าที่ทุกคนผูกพัน มาผสมผสานกันเป็นบ้านหลังใหม่นี้อย่างลงตัว เรียบง่าย อยู่สบาย และคุ้มค่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียวยกพื้นต่ำ จัดเรียงฟังก์ชันเป็นรูปตัวแอล (L) ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ประกอบด้วยห้องนั่งเล่นและพื้นที่รับประทานอาหารขนาดกะทัดรัด […]

ป้องกันอันตรายในบ้านผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงอายุคือผู้ใช้งานในบ้านที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การออกแบบบ้านจึงควรรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุด้วย มาดู 7 จุดที่ควรระวังในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำบ้าง ทางลาดไม่อันตราย ทางลาดเป็นองค์ประกอบแรกที่ควรรู้ในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ การทำทางลาดอาจทำให้เปลืองพื้นที่บ้านไม่น้อย แต่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อมีผู้สูงอายุที่เดินขึ้นลงบันไดลำบาก หรือมีการใช้รถเข็น โดยมีหลักการทำทางลาดที่ปลอดภัยดังนี้ แบบบ้านผู้สูงอายุ มีความลาดเอียงที่สามารถขึ้นลงได้ปลอดภัย โดยมีอัตราความลาดเอียงดังนี้ อัตราความลาดเอียงน้อยกว่า 1 : 10  ลาดชันเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราความลาดเอียง 1 : 10  ต้องมีผู้ช่วยเข็นรถเข็น อัตราความลาดเอียง 1 : 12  – 1 : 20 ผู้นั่งรถเข็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางลาดมีความยาวไม่เกิน 6 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากทางลาดมีความยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีชานพักยาว 1.50 เมตร และถ้าทางลาดทุกช่วงยาวรวมกันมากกว่า 6 เมตร ทางลาดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 […]

นั่งเล่นไม่พึ่งแอร์ใน บ้านมินิมัลชั้นเดียว

ชีวิตมีอะไรให้เซอร์ไพรซ์เสมอ …จากแปลงที่ดินข้างบ้าน ซึ่งออกแบบไว้เป็นบ้านผู้สูงอายุให้คุณพ่อ กลายมาเป็น บ้านมินิมัลชั้นเดียว ของตัวเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects เปลี่ยนแผน จากบ้านพ่อสู่บ้านของตัวเอง เดิมทีบ้านของคุณดอน-ไกรพล ชัยเนตร และภรรยาคุณอุรัสสา ชัยเนตรนั้น มีจุดเริ่มต้นจากต้องการสร้างบ้านสำหรับคุณพ่อของคุณดอนซึ่งไม่ค่อยสบาย โดยใช่ที่แปลงสนามหญ้าด้านข้างของบ้านหลังเดิมเป็นทำเลที่ตั้ง บ้านจึงออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียว มีทางลาด และพื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ตรงกลางเพื่อพักผ่อน แต่เมื่อสร้างเทปูนไปได้สักพัก แผนการทั้งหมดก็เปลี่ยนไป เนื่องจากคุณพ่อคุ้นชินกับห้องเดิมในบ้านเก่าซึ่งใช้เป็นห้องพักแล้ว จึงไม่มีการย้ายมาแต่อย่างใด คุณดอนซึ่งเป็นสถาปนิกโดยอาชีพอยู่แล้ว จึงต้องปรับรูปแบบบ้านเสียใหม่เพื่อให้สอดรับกับการใช้งานของตนตามโครงสร้างเดิม ง่ายเหมือนเด็กวาด แต่มีรายละเอียด แนวคิดที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วคือ การออกแบบบ้านอย่างไรให้กลมกลืนไปกับบ้านหลังเก่า รูปแบบบ้านจั่ว สีขาว จึงเป็นความตั้งใจแรกในการออกแบบ และเพิ่มแนวคิดที่ต้องการให้อาคารดูง่ายๆ เหมือนภาพที่เด็กๆ วาด ก็เกิดขึ้นตามมา ส่วนหนึ่งเพื่อให้ดูไม่ขัดตากับบ้านหลังโดยรอบที่ยังบ้านของญาติๆ ในบริเวณใกล้ๆ กัน ซึ่งใช้สถาปนิกคนเดียวกันกับบ้านของคุณพ่อเมื่อ 40 ปีที่แล้วด้วย และส่วนหนึ่งเพรืคุณดอนเติบโตมาในบ้านหลังเดิมตั้งแต่เล็ก เป็นเสมือนตัวแทนบ้านในสมัยเด็กๆ ที่วาดเล่น ให้กลายมาเป็นบ้านจริงได้เมื่อโตขึ้น แต่การสร้างบ้านให้มีรูปทรงง่ายๆ เหมือนเด็กวาดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากต้องรับมือกับแดดฝนที่แรงเพราะจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่ดี การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน การได้รับแสงที่พอเหมาะ วิวสวนที่ได้รับ […]

รีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียว เป็นบ้านสีขาวมินิมัล

รีโนเวตเก่าบ้านชั้นเดียว เพื่อปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านสีขาวสไตล์มินิมัลที่ทั้งเสวยและเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ งบประมาณของโครงสร้างล้านต้นๆ

บ้านขนาดกะทัดรัด สำหรับอยู่กับคุณแม่ผู้สูงวัย

เชื่อว่าคนในเมืองใหญ่ที่อยากหลีกหนีความสับสนวุ่นวายไปอาศัยอยู่จังหวัดอื่นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ทุกวัน หากไม่นับเงื่อนไขด้านเงินทองแล้วก็คงต้องติดเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งหน้าที่การงานและการดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว การย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี เพื่อสร้าง บ้านขนาดกะทัดรัด จึงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก เจ้าของ : ครอบครัวสุวัจฉราภินันท์ สถาปนิก : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab โดย ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ทว่าสำหรับ ดร.สันต์  สุวัจฉราภินันท์  สถาปนิกห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับมีจังหวะชีวิตที่ลงตัว เพราะที่ตั้งของ บ้านขนาดกะทัดรัด หลังใหม่นี้สอดรับกับหน้าที่การงานในตำแหน่งหัวหน้าหลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังรองรับการอยู่อาศัยของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งย้ายมาจากกรุงเทพฯเพื่อการดูแลได้อย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่คนวัยเกษียณท่านใดเห็นก็ต้องอิจฉา “บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากเมื่อสองปีที่แล้วพยายามหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านของตัวเอง  ช่วงนั้นคุณแม่เริ่มป่วยและเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย  ทำให้ต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ – เชียงใหม่อยู่เสมอ  จากที่คิดจะสร้างบ้านเพื่อตัวเองก็เริ่มเปลี่ยนแผนว่าจะสร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยกันแทน”อาจารย์สันต์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ให้เราฟัง “จากนั้นจึงมองหาที่ดินซึ่งมีคุณสมบัติ3 อย่าง  คือ  หนึ่ง  ต้องอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สอง  ต้องอากาศดี  สาม  ราคาไม่แพงเกินไป  ดูมาหลายแห่ง  บางที่ก็สวยมากแต่ราคาแพง  บางที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านซึ่งมีเงื่อนไขในการออกแบบบ้านจุกจิก  เราต้องการจะออกแบบบ้านเอง  จนมีคนแนะนำให้มาดูที่ดินแถวแม่ริมตรงนี้  พอมาดูที่ปุ๊บก็รู้สึกคลิกทันที  […]

บ้านผู้สูงอายุ ควรใช้พื้นไม้ ช่วยป้องกันเจ็บป่วยได้เพราะอะไร

ทำไมผู้สูงอายุจึงชอบอยู่บ้านที่ปูพื้นไม้ และรู้ไหม พื้นไม้ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ป่วยง่าย บ้านผู้สูงอายุ บางคนอาจมีประสบการณ์ตรงที่ตอนวัยรุ่นชอบพื้นกระเบื้อง พื้นหิน เพราะอากาศร้อนจึงชอบพื้นเย็นๆ แต่พออายุมากขึ้นกลับมาชอบพื้นไม้ นอกจากเรื่องสไตล์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นเพราะการรับความรู้สึกร้อน-หนาวของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและมีคำตอบมาไขข้อสงสัย เพื่อให้ลูกหลานเตรียมพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม บ้านผู้สูงอายุ ความรู้สึกร้อน-หนาวเกิดจากอะไร ความรู้สึกร้อนหรือหนาวนั้นเกิดจากประสาทสัมผัส โดยภายใต้ผิวหนังของเรามีเซลล์ประสาทหลายชนิด ทำหน้าที่ “รับสิ่งเร้า” และเซลล์ประสาทเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นกิ่งก้านย่อยๆจำนวนมาก เพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองในการรับสัมผัสทางผิวหนังนั้น เชื่อกันว่าร่างกายมีจุดรับสัมผัสจำนวนมาก โดยมีปลายประสาท 4 ชนิดกระจายอยู่ทั่วไป และแต่ละจุดจะมีหน้าที่รับความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การรับสัมผัสทางผิวหนัง การรับความเจ็บ การรับอุณหภูมิร้อน การรับอุณหภูมิเย็น โดยอุณหภูมิปกติของร่างกายเราอยู่ที่ 36.4 – 37.7 องศาเซลเซียส และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของห้อง พื้นผิว และสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะพยายามรักษาอุณหภูมิภายในไว้ที่แกนร่างกาย แต่ผิวของร่างกายภายนอกจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับตัวมากน้อยต่างกันตามช่วงอายุ  บ้านผู้สูงอายุ อุณหภูมิส่งผลกับร่างกายอย่างไร เมื่ออุณหภูมิรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุล และเกิดการตอบสนองในแบบต่างๆกัน […]

5 วิธีปรับ บ้านเพื่อสุขภาพ แก้ปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

บ้านเพื่อสุขภาพ อาจแก้ปัญหาที่ว่า ทำไมเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งนอนหลับยาก ตื่นง่าย ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น

ปรับบ้านรับวัยเกษียณ

ใครจะสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้าน อย่าลืมคิดถึงคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือตอนที่เราเองกลายเป็นคนสูงวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมถอย ทำให้ใช้ชีวิตในบ้านลำบากขึ้น มาดูการศึกษาเรื่องการปรับบ้านรับวัยเกษียณ ของศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในบ้าน และยิ่งไปกว่านั้นคือ ทำให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตง่ายขึ้นและมีความสุขมากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนบ้านเพียงเล็กๆ น้อยๆ เข้าใจการเสื่อมถอย 4 ด้าน หากสังเกตว่าคุณปู่คุณย่าทำกิจวัตรประจำวันลำบากขึ้น จนบางท่านเกิดอาการท้อแท้ หดหู่ เพราะต้องพึ่งพาลูกหลานมากขึ้นทุกวัน ลูกหลานอย่าเพิ่งรำคาญ เพราะทั้งหมดนี้เกิดจากการเสื่อมถอยของร่างกาย 4 ด้านหลักๆ คือ การมองเห็น  การได้ยิน ฮอร์โมนและอารมณ์  และการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้าเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็จะปรับ บ้านผู้สูงอายุ ให้ท่านใช้ชีวิตได้สะดวกและมีความสุขได้ การเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ระยะก้าวเดินสั้นลง การเคลื่อนไหวช้าลง สะดุดหกล้มง่าย นอกจากนั้น ผู้สูงอายุยังมีระยะการเอื้อมมือและแขนลดลง กล้ามเนื้อมืออ่อนแรงลงจากเดิม ทำให้ความแข็งแรงในการจับ หมุนหรือบิดลดลง การมองเห็น ผู้สูงอายุมีความเสื่อมทางสายตา ทำให้มองไม่ชัด […]

รวม บ้านวัยเกษียณ อยู่แล้วสุขใจสำหรับผู้สูงอายุ

บ้านวัยเกษียณ เมื่ออายุมากขึ้นผู้สูงอายุจะมีสุขภาพถดถอยและสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายคนจากที่เคยทำงานก็ต้องมาอยู่บ้านเฉยๆ ลูกหลานในบ้านจึงต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ

แจกฟรี 4 แบบบ้านที่รองรับผู้สูงวัย ให้อยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย

แจกแบบบ้านผู้สูงอายุ เหมาะสำหรับสร้างอยู่ในวัยเกษียณ หรือสร้างที่ต่างจังหวัด ทั้งแบบบ้านชั้นเดียวและบ้านสองชั้น มีพื้นที่รองรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว

บ้านชั้นเดียว อยู่สบายของคนวัยเกษียณ

บ้านชั้นเดียว รูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวดีไซน์เรียบง่าย ที่ต่อเติมด้านข้างของบ้านเก่าให้เป็นบ้านหลังเกษียณ พร้อมสเปซการใช้พื้นที่ที่เอื้อให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของบ้านสะดวกสบายขึ้น สำหรับเป็นเเรงบันดาลใจให้คนในวัยใกล้เกษียณ

ติดตั้งราวกันลื่นในห้องน้ำไม่ยากอย่างที่คิด

ราวกันลื่น ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกําลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีสมาชิกวัยเกษียณอยู่บ้านมากขึ้น แน่นอนว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อํานวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะกับผู้สูงวัย โดยเฉพาะในห้องน้ำที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ห้องน้ำผู้สูงอายุ อีกหนึ่งสวนที่ต้องพิจารณาคือการเลือกราวจับหรือ ราวกันลื่น มาติดตั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย นอกจากจะช่วยพยุงตัวและป้องกันอันตรายแล้ว ยังเป็นการเสริมกําลังใจให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่ายังแข็งแรง สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ราวจับรูปตัวไอ  (I) ราวจับรูปตัวแอล (L) ราวจับเข้ามุม  ราวจับแบบพับได้ ฯลฯ ขั้นตอนการติดตั้ง ราวกันลื่น  1.ใช้ดินสอหรือปากกาทำเครื่องหมายที่เราจะติดตั้งราวจับหรือราวทรงตัวในห้องน้ำ โดยระยะติดตั้งมาตรฐานที่แนะนำ ควรสูงจากพื้น 60-85 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน 2.จากนั้นใช้ดินสอทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะเจาะรูให้ครบทุกจุด แล้วใช้สว่านเจาะรูตามเครื่องหมายที่ได้ทำไว้ 3.ใช้ดอกสว่าน ขนาด 8 มิลลิเมตร หรือดูขนาดดอกสว่านได้จากชุดสกรูว์และพุกที่มีมาให้พร้อมกับราวจับ โดยเจาะไปที่ผนังให้ลึกประมาณ 2.5 เซนติเมตร 4.นำพุกที่ให้มาใส่ไปในรูที่เจาะไว้ แล้วใช้ค้อนค่อยๆตอกพุกเข้าไป จนแน่ใจแล้วว่าปลายพุกขยายตัวแล้ว 5.จากนั้นขันสกรูว์ยึดชิ้นงานกับพุก แล้วครอบฝาครอบปิดให้สนิทเพื่อความสวยงาม 6.ทดลองใช้งาน เพื่อยืนยันว่าราวจับหรือราวกันลื่นยึดติดกับผนังแข็งแรงดีแล้ว หากยังไม่มั่นคงแน่นหนา ให้ขันสกรูว์ย้ำอีกครั้ง เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ   TIPS -ราวจับควรทำจากวัสดุที่แข็งแรงและปลอดภัย เช่น สเตนเลส ผิวเรียบ […]