บ้านชนบทชั้นเดียว สไตล์ไทยผสมญี่ปุ่น

บ้านชนบทชั้นเดียว ที่มีกลิ่นอายแบบชนบทไทยและใส่รายละเอียดบางอย่างแบบบ้านญี่ปุ่น โดยนำเอาระบบโมดูลาร์มาใช้ เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว

รวม 8 แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Garden)

แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น (Japanese Garden) เกิดจากอิทธิผลของศาสนากับความผูกพันกับธรรมชาติของคนญี่ปุ่น โดยยุคแรกเป็นสวนทิวทัศน์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสวนจีน ต่อมาได้พัฒนาให้เข้ากับประเพณีพื้นถิ่น เช่น การชงชา และที่โดดเด่นที่สุดของ แบบสวนสไตล์ญี่ปุ่น คือ สวนแห้งที่ได้รับอิทธิพลงจากลัทธิเซนที่ใช้รูปทรงของก้อนหิน ต้นไม้ และทรายสื่อความหมายถึงทิวทัศน์ในธรรมชาติรอบตัว 10 ข้อควรรู้…เลือกใช้พรรณไม้ให้ได้บรรยากาศแบบสวนญี่ปุ่น เข้าใจสวนญี่ปุ่นยุคใหม่แบบนอกตำราที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน 1.สวนลูกครึ่งญี่ปุ่น-ยุโรป ที่บ้านพักตากอากาศริมน้ำที่ตั้ง : จังหวัดนครนายกออกแบบจัดสวน : บริษัท สวนลีลา จำกัด โดยคุณศักดิ์ – คุณลีลาวดี เรืองพร้อม บ้านตากอากาศหลังสวยในบรรยากาศชนบทที่สงบเรียบง่ายริมแม่น้ำนครนายก เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 ไร่ โอบล้อมด้วยสวนสวย ๆ ในแบบสวนญี่ปุ่นที่ดูนิ่งสงบ ใช้โทนสีเขียวเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิ ต่อเนื่องไปยังสวนยุโรปที่มีกลิ่นอายผสมผสานทั้งสไตล์ทัสกานีและโปรวองซ์ รวมไปถึงแปลงผักสวนครัวลาดชันลงไปริมน้ำที่มีดีไซน์ทั้งสวยทั้งมีประโยชน์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.baanlaesuan.com/268216/gardens/europe-and-japanese-garden

บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ในฟาร์มสเตย์บนเนินเขาสวย

บ้านสไตล์ญี่ปุ่น สร้างจากไม้เก่าที่สะสมไว้ให้เป็นบ้านชั้นเดียว โดยประยุกต์ดีไซน์และฟังก์ชันต่างๆ ให้มีกลิ่นอายเหมือนเรียวคัง ท่ามกลางเนินเขาที่ดูเขียวไปด้วยต้นไม้สวยภายใต้ท้องฟ้าเปิดโปร่ง เมื่อมี บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น หลังนี้ตั้งอยู่ บรรยากาศโดยรอบก็ดูราวกับเป็นพื้นที่ชนบทในเมืองเล็กๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้เลย ทั้งที่จริงแล้วที่นี่คือตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ของเรานี่เอง เพราะติดใจทิวทัศน์แบบเนินเขาสวยๆ ของเชียงใหม่ ทำให้ คุณปอ-สิทธิโชค ยอดรักษ์ และคุณเมี่ยง-สรัญภร พงศ์พฤกษา ตั้งเป้าหมายในใจว่าจะสร้างบ้านพักผ่อนของตัวเองเป็นบ้านไว้ที่นี่หลังเกษียณจากงานประจำ โดยทั้งคู่ตระเวนหาซื้อที่ดินสวยๆ ตามใจฝันอยู่นานก่อนจะมาเจอที่ดินเนินเขาตรงนี้ และใช้เวลาทำงานเพื่อเก็บเงินอีกระยะใหญ่กว่าจะพร้อมมาลงหลักปักฐานชีวิตใหม่ที่นี่ ด้วยการสร้างบ้านควบคู่ไปกับงานเกษตรแบบพึ่งพาตัวเอง เพื่ออยู่อาศัยและเปิดเป็นฟาร์มสเตย์ในชื่อว่า Mori Natural Farm จากบ้านส่วนตัวสู่ฟาร์มสเตย์        ด้วยความที่คุณปอเคยทำงานเป็นวิศวกรไฟฟ้าให้บริษัทญี่ปุ่นอยู่นานจึงเรียนรู้และซึมซับวิธีคิดของคนญี่ปุ่นมาเยอะ บวกกับความชอบในวัสดุไม้มาตั้งแต่เด็กเพราะมีคุณปู่เป็นช่างไม้ ความฝันใหญ่ของเขาจึงเป็นการสร้างบ้านไม้ของตัวเองสักหลัง ขณะที่คุณเมี่ยงเองก็เคยทำงานเป็นแอร์โฮสเตสของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ และมีโอกาสไปฝึกฝนทำอาหารและทำขนมแบบโฮมเมดกับครอบครัวเพื่อนชาวญี่ปุ่นอยู่บ่อยๆ ก่อนที่จะย้ายมาเป็นเลขานุการให้บริษัทญี่ปุ่นที่คุณปอทำงานอยู่ เมื่อทั้งคู่พบรักและแต่งงานกัน จึงเหมือนกับเป็นการเติมเต็มความฝันแบบเดียวกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้น        “ผมซื้อที่ไว้ก่อนหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีเงินสร้างบ้าน ก็เลยต้องทำงานเสริมด้วยการรับออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบสั่งทำ ซึ่งลูกค้าฝรั่งที่เกาะสมุยชอบกันมาก ทำให้เก็บเงินได้เร็วขึ้นจนพอจะเริ่มมาสร้างบ้านตรงนี้ได้ หลังแรกที่สร้างเป็น ‘บ้านโรงนา’ สร้างไว้อยู่เองและไว้เก็บอุปกรณ์เครื่องมืองานไม้กับวัสดุไม้ที่สะสมและเพาะชำต้นไม้ไปด้วย หลังนี้เลยใช้วัสดุที่หลากหลายเท่าที่หาได้ราคาไม่แพงมาก ตอนนั้นอยู่กัน 4 ชีวิต คือผม เมี่ยง โบชิ […]

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

EO House บ้านเล็กขนาด 95 ตารางเมตร แต่ฟังก์ชันครบ ไม่อึดอัด

บ้านขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่เพียง 95 ตารางเมตร โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ที่มีโจทย์หลักคือความเป็นส่วนตัว ส่งผลให้ด้านหน้าบ้านปิดทึบแต่ข้างในโปร่ง

WEATHER HOUSE บ้านสีขาวดีไซน์จากลวดตาข่ายถัก อยู่กับธรรมชาติได้ทุกฤดูกาล

บ้านที่ห่อหุ้มด้วยแผง ลวดตาข่ายถัก นี้  ใครได้เห็นแล้ว อาจต้องแอบงงว่า นี่คือ “บ้าน” หรือ “สวนสาธารณะ” กันแน่! เพราะถูกตกแต่งด้วยต้นไม้ พร้อมกับมีสนามหญ้าเล็ก ๆ ให้นั่งชมวิวบนชั้นดาดฟ้า ซึ่งมีแนวคิดมาจากบริบทของเมือง ที่เต็มไปด้วยสวนสาธารณะน้อยใหญ่ ร่วมถึงการอยากหยิบยกธรรมชาติให้เข้ามาใกล้ตัวมากที่สุด โดยที่นี่ตั้งอยู่ในเขตที่พักอาศัยในย่านชินากาวะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และตึกสูงระฟ้า แต่ถ้าหากเราซูมเอ๊าต์ออกมาดู จะเห็นว่าพื้นที่เมืองถูกสอดแทรกด้วยสวนสาธารณะทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เชื่อมโยงกันด้วยทางเท้า สถาปนิกเจ้าถิ่นอย่าง n o t architects studio จึงเกิดไอเดียในการออกแบบบ้านที่มี ลวดตาข่ายถัก ทำหน้าที่เป็นผนังบ้านแบบโปร่ง โดยให้ชื่อว่า “Weather House” เพื่อช่วยเปิดมุมมอง ไปพร้อมกับแรงบันดาลใจที่มาจากบริบทของเมือง ทำให้การอยู่อาศัยไม่ต่างจากการเดินเล่นในสวนสาธารณะ โดยสามารถใช้ชีวิตในบ้าน ที่ปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน ฤดูกาล และสภาพแวดล้อม ตัวบ้านถูกห่อหุ้มด้วยแผงลวดตาข่ายโปร่ง เป็นเหมือนผนังบางเบาที่สร้างขอบเขตให้กับบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็เปิดรับให้บริบทโดยรอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับสภาพแวดล้อมภายใน และเนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ เมื่อปลูกไม้เลื้อยปกคลุมพื้นที่บางส่วนของผนังลวดตาข่ายด้านติดถนน ยิ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่าง “บ้าน” กับ “พื้นที่สาธารณะ” ดูคลุมเครือ […]

HOUSE TOKYO บ้านหลังเล็กพร้อมสเปซเพิ่มขึ้นสองเท่า บนที่ดินขนาดแค่ 26 ตารางเมตร

บ้านหลังเล็ก โครงสร้างไม้สน กรุผนังภายนอกด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูก ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยให้สอดรับปรับตัวเข้ากับความหนาแน่นของเมืองอย่างชาญฉลาด

F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย

F-house คือ บ้านไม้ หลังน้อย ที่สร้างขึ้นในจังหวัดฮิราคาตะชิ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในย่านที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบและมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่กับบ่อน้ำตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

SHIRONISHI HOUSE บ้านปูนเปลือยหนาหนัก ที่ยกระเบียงมาไว้หน้าบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว

บ้านปูนเปลือย หนาหนักที่ยกระเบียงมาไว้หน้าบ้านเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว โดยข้างนอกอาจจะดูปิดทึบ อึดอัด แต่ข้างในกลับโปร่งโล่ง

บ้านไม้กลางสวน ที่เปิดรับบริบทธรรมชาติด้วยกระจกบานใหญ่

บ้านไม้ ในหมู่เกาะโอกินาวา ซึ่งมีภูมิอากาศแบบทรอปิคัลเช่นเดียวกับประเทศไทย ISSHOArchitects จึงเลือกออกแบบให้หลังคาทรงปั้นหยาคลุมยื่นยาว ทั้งยังยกพื้นเพื่อหลบเลี่ยงความชื้น และสร้างการระบายอากาศที่ดีให้กับบ้าน

บ้านกึ่งสตูดิโอที่หันหน้าไปคนละทิศ แต่หันข้างแนบชิดเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว

บ้านไม้ ที่บางครั้งก็ปรับเป็นสตูดิโอจัดงานศิลปะ ที่เกิดจากการวางไดอะเเกรมด้วยแกน 2 แกน ต่อด้วยแบบร่างโครงคร่าวเพื่อจัดความสัมพันธ์ของการใช้งานที่เหมาะสม

HOUSE IN TEZUKAYAMA บ้านหลังเล็กหน้าแคบที่มีโครงสร้างไม้สนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์

บ้านหลังเล็ก ในเมืองโอซาก้าหลังนี้ มีชื่อว่า House in Tezukayama ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่โอบรอบไปด้วยบ้านเรือนหนาแน่นทั่วทิศ แต่ใครจะคิดว่าพื้นที่ขนาด 3.74 x 16.31 เมตร ซึ่งเป็นที่ดินที่มีลักษณะแคบ แต่ลึก ก็สามารถแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับสร้างบ้านพักอาศัยดี ๆ สักหลังสำหรับครอบครัวเล็ก ๆ ที่ผลลัพธ์ออกมาน่าอยู่ได้

HOUSE IN KYOTO บ้านไม้สไตล์มินิมัล แก้ปัญหาพื้นที่สีเขียวมีจำกัด ด้วยการปลูกต้นไม้ไว้ในห้องนั่งเล่น

บ้านไม้ สไตล์มินิมัลสำหรับสองสามีภรรยาและลูก ๆ ที่น่ารักทั้งสามคนของพวกเขา ตั้งอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบทางตอนเหนือของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

KOKA HOUSE บ้านไม้กึ่งคาเฟ่สีดำทะมึนที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน

บ้านไม้ กึ่งคาเฟ่ ในจังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น หลังนี้เกิดจากความตั้งใจของเจ้าของบ้านที่วางแผนจะเปิดร้านกาแฟเล็ก ๆ ไปพร้อมกับการสร้างบ้านพักอาศัยส่วนตัว หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว Yoshitaka Kuga สถาปนิกซึ่งมีสตูดิโอออกแบบตั้งอยู่ในจังหวัดชิงะ จึงได้ลงมือออกแบบ บ้านไม้ สีดำทะมึนหลังนี้ให้มีพื้นที่รองรับกับความต้องการ ก่อนจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้น กลายเป็นอาคารรูปทรงสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น  เนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดทางแยกบนที่ดินที่ล้อมรอบด้วยถนนทั้งสามด้าน เด่นด้วยผนังโทนขรึมดำจากไม้ซีดาร์เผาผิว  มีมุมมองคล้ายกับอาคารสองหลังวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความตั้งใจของสถาปนิกที่อยากให้บ้านดูเหมือนกับร้านกาแฟในกระท่อมบนภูเขา เป็นเหตุผลทำให้บ้านหลังนี้มีหลังคาที่ดูโดดเด่นจนกลายเป็นไอค่อนของย่านไปโดยปริยาย   เเละอีกหนึ่งโจทย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้ คือการจัดสรรพื้นที่ส่วนตัวให้แยกส่วนกับพื้นที่สาธารณะ โดยไม่รู้สึกถึงการตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง ภายใต้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 104.95 ตารางเมตร สามเหลี่ยมก้อนแรกที่อยู่ด้านหน้าจึงถูกแบ่งเป็นส่วนการใช้งานหลักบนชั้น 1 ของบ้าน ประกอบด้วยมุมรับประทานอาหาร ซึ่งออกแบบพื้นที่แบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อกับครัวเปิด เจ้าของสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ตรงนี้ เพื่อรองรับฟังก์ชันการเปิดเป็นคาเฟ่ในอนาคตได้อย่างสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็แยกส่วนพื้นที่พักอาศัยจริงที่มอบความเป็นส่วนตัว ไว้ภายในก้อนสามเหลี่ยมก้อนที่สองซึ่งตั้งอยู่ด้านหลัง โดยพื้นที่ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ห้องนอนใหญ่ของเจ้าของบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ (ใช้ครัวกับมุมรับประทานอาหารร่วมกับส่วนคาเฟ่) ส่วนบนชั้นสอง เป็นห้องของเด็ก ๆ จำนวน 2 ห้อง พร้อมระเบียงเล็ก ๆ ไว้ออกไปยืนสูดอากาศในวันฟ้าแจ่มใส โดยมีสวนเล็ก ๆ […]

HOUSE VISION บ้านทดลองที่ให้ “หน้าต่าง” ทำหน้าที่แทน “ประตู”

HOUSE VISION TOKYO คือนิทรรศการงานออกแบบของญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอไอเดียและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในวงการสถาปัตยกรรม สำหรับครั้งนี้มาภายใต้โจทย์ “ Co-Dividual: Split and Connect / Separate and Come Together” โดยมีความมุ่งหวังที่จะเห็นรูปแบบของที่อยู่อาศัยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม และจุบรรจบของอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดผลงานออกแบบ HOUSE VISION ที่ถูกสร้างจริงคือผลงานการออกแบบนาม “Between Inside and Outside / Between Furniture and a Room” โดย TOTO · YKK AP × Atsushi Igarashi Taiji Fujimori กับรูปแบบบ้านแปลกตาที่แตกแขนงพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากจุดศูนย์กลาง เวลานึกถึง “หน้าต่าง” เราจะพยายามหาดีไซน์และองค์ประกอบใหม่ ๆ ให้กับความเป็นหน้าต่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับ “ภาพตัดขวาง” ของหน้าต่าง […]

FUKAKUSA STUDIO HOUSE สตูดิโอของคู่รักงานไม้กลางป่าไผ่ในเกียวโต

บ้านกึ่งสตูดิโอ ของคู่รักงานไม้ ในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจสร้างบ้านเป็นของตนเอง จึงวางใจให้สถาปนิกจากสำนักงานออกแบบ masaru takahashi เป็นผู้สานฝันให้บ้านใหม่นี้ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละพื้นที่ทำงานคราฟต์ที่พวกเขาหลงรัก โดยเริ่มจากการหาทำเลดี ๆ ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ จนมาพบกับที่ดินอันเงียบสงบใกล้ ๆ กับป่าไผ่ ซึ่งได้ทั้งวิวป่าไผ่และทุ่งนา กลายเป็นทิวทัศน์ที่ช่วยเสริมให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ หลังนี้ ดูโดดเด่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติ แต่ที่ดินนี้ก็มีข้อจำกัดเรื่องปัญหาการเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม อีกทั้งยังติดกฎระเบียบทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น กฎหมายภูมิทัศน์เมืองเกียวโต ซึ่งได้กลายมาเป็นความท้าทายในการออกแบบครั้งนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากที่ตั้งของบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งมีความสูงของพื้นที่ฝั่งหนึ่งมากถึง 1.7 เมตร จากฝั่งถนน และอีกฝั่งก็มีสภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบผนังให้มีความหนา 250 มิลลิเมตร เพื่อเป็นกำแพงกันดินในฝั่งดังกล่าว ซึ่งมีธรณีสัญฐานเป็นดินและทราย ขณะเดียวกันก็พลิกข้อกำจัดของพื้นที่ให้เป็นโอกาสด้วยการผสานตัวอาคารให้เป็นหนี่งเดียวกับป่าไผ่ เริ่มจากการวางผังอาคารขนาด 3 ชั้น ที่หันทิศทางหน้าบ้านไปทางป่าไผ่ เพื่อมอบวิวดี ๆ สำหรับต้อนรับเมื่อเจ้าของเปิดประตูเข้าบ้าน พื้นที่ชั้น 1 กำหนดให้เป็นสตูดิโอทำงานไม้ เน้นช่องเปิดที่ให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในให้มากที่สุด และมองเห็นป่าไผ่ขณะทำงานได้อย่างเต็มตา ในชั้นนี้กั้นห้องแบบผนังหนาพิเศษ สำหรับการทำงานไม้ที่มักมีเสียงดังรบกวน โดยวางห้องไว้ตำแหน่งในสุด ส่วนของโถงทางเข้าและโถงบันไดมีช่องเปิดเพียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมปริมาณแสงสำหรับเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงผลงาน […]

G HOUSE แค่ต่อเติมระเบียงบ้าน…บรรยากาศก็เปลี่ยนไป

 รีโนเวตบ้านไม้ ใหม่สำหรับสมาชิกทั้งหมด 4 ครอบครัว ซึ่งเดิมทีพื้นที่ชั้น 1 หันหน้าไปทางทิศใต้จึงมักถูกเงาจากบ้านเรือนข้างเคียงบดบัง ทำให้แสงธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในทิศเดียวกันนี้บนชั้น 2 กลับเปิดมุมมองให้เห็นท้องฟ้าอันแจ่มใสและแสงแดดที่สาดส่องเข้ามา จากศักยภาพดังกล่าวสถาปนิกจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งนี้ให้กลายมาเป็นห้องนั่งเล่นแทน ชั้น 2 ของบ้านประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และระเบียงไม้สนที่ยื่นออกไป กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน กลายเป็นลานกิจกรรมผืนใหญ่จุดศูนย์รวมของสมาชิกในครอบครัว พื้นที่ชั้นล่างที่เคยปิดทึบไม่สามารถระบายอากาศได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนอนขนาดใหญ่โล่ง 1 ห้อง ซึ่งในอนาคตเมื่อลูก ๆ โตขึ้น สามารถแบ่งห้องออกเป็นห้องย่อย ๆ ได้ถึง 3 ห้อง ส่วนทรงและขนาดของหลังคาที่ดูไม่สมมาตรอย่างที่เห็นนั้น เกิดจากการต่อเติมพื้นที่ระเบียง โดยใช้เพิ่มตำแหน่งและขนาดของโครงสร้างตามวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายคือเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด การต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่สอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งาน อย่าง ระเบียงที่ขยายออกไปบนชั้น 2 ที่สามารถช่วยบังแดดจากทางทิศใต้ ไม่ให้ความร้อนส่องกระทบลงมาถึงห้องนอนชั้นล่างได้นั่นเอง ออกแบบ: masaru takahashi architectural design office ออกแบบโครงสร้าง: Kensuke Noto ก่อสร้าง: บริษัท ฟุกุอิ […]

RYUSENJI HOUSE บ้านคอนกรีตหล่อในที่ที่มีเเสงสปอร์ตไลท์ฉายลงมาจากดวงอาทิตย์

บ้านทรงกล่อง คอนกรีตหล่อในที่ ไร้หน้าต่าง มาพร้อมเเนวคิดการสร้างเเสงเงาให้เกิดขึ้น ดูราวกับถูกส่องด้วยไฟสปอร์ตไลท์จากพระอาทิตย์ ผ่านช่องเเสงสกายไลท์ด้านบน อาคาร คอนกรีตหล่อในที่ หน้าตาธรรมดา ๆ นี้ ตั้งอยู่ในจังหวัดนะโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เเต่เเทนที่จะดึงเเสงธรรมชาติให้เข้ามายังพื้นที่ภายในผ่านหน้าต่างอย่างบ้านหลังอื่น ๆ ทีมออกแบบจาก Tomoaki Uno Architects กลับเลือกที่จะออกแบบผนัง หรือฟาซาดอาคารทั้งหลัง ด้วยคอนกรีตสีเทาโชว์พื้นผิวดิบกระด้าง คอนกรีตหล่อในที่  หากมองจากภายนอก ที่นี่อาจเป็นเเค่อาคารหน้าตาธรรมดา ทว่าในความเป็นส่วนตัวเเละยากเกินคาดเดานั้น ทันทีที่เปิดประตูอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ล้อไปกับผนังคอนกรีต ภายในกลับเเทรกไอเดียการออกแบบไว้ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการทำให้พื้นที่ใช้งานเเต่ละส่วนให้ดูโดดเด่นราวกับถูกเเสงสปอร์ตไลท์ฉายส่องลงมาจากด้านบนตลอดเวลา! โดยเเสงที่ดูราวกับสปอร์ตไลท์ที่ว่านี้ มาจากหลุมหลังคาสกายไลท์ที่มีทั้งทรงกลมเเละสี่เหลี่ยม สำหรับทำหน้าที่นำพาเเสงธรรมชาติเเละอากาศจากภายนอกให้ไหลเวียนถ่ายเทลงมายังพื้นที่บ้านด้านล่าง ช่วยให้พื้นที่ใช้สอยหลักในอาคารขนาด 2 ชั้น ซึ่งชั้นบนเป็นห้องนอนส่วนตัว เเละชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่น ครัว เเละห้องน้ำ ไม่อุดอู้ หรืออับชื้นจนเกินไป เเถมยังสร้างมิติของเเสงเงาขณะตกกระทบกับโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ให้ทั้งเเสงสว่างเเละบรรยากาศของเงาสลัวดูลึกลับ ซึ่งจะค่อย ๆ ขยับองศาไปเรื่อย ๆ ตามทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะพื้นที่นั่งเล่นชั้นล่าง เนื่องจากเป็นบ้านที่ไม่มีหน้าต่าง จึงจำเป็นต้องเพิ่มระดับความสูงของเพดานให้มากถึงสองเท่าเพื่อให้ดูโปร่งสบายไม่อึดอัด ได้รับเเสงทั้งจากช่องบันไดเเละช่องเเสงทรงสี่เหลี่ยมที่ยาวต่อเนื่องลงมาจากชั้นบน ช่วยเพิ่มความสว่างอีกทาง ส่วนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ก็สำคัญ […]