เครื่องสูบน้ำ ปั๊มน้ำ มีกี่ประเภท

เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ สำหรับใช้งานในบ้านพักอาศัยมีหลายประเภท ซึ่งเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน โดยแบ่งตามการใช้งานได้ดังนี้ 1.ปั๊มน้ำอัตโนมัติ นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยมากที่สุด ทำงานตามการเปิดปิดอุปกรณ์ที่ใช้น้ำ จึงมีความสะดวกสบาย มี 3 ประเภทให้เลือกใช้ เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ ปั๊มอัตโนมัติชนิดมีถังแรงดัน ปั๊มชนิดนี้ให้แรงดันดีมาก มีราคาถูก อะไหล่หาง่าย ปัญหาที่พบบ่อยคือ ถังแรงดันผุกร่อนในระยะเวลา 10 ปี และ กินไฟมาก ปั๊มอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่ มีข้อดีในการรักษาแรงดันน้ำให้แรงเท่าๆกันทุกก๊อก แม้ว่าจะเปิดใช้งานหลายก๊อกพร้อมกัน เสียงในขณะทำงานจะเบากว่าชนิดแรก แต่แรงดันน้ำจะไม่แรงเท่า ปั๊มอัตโนมัติชนิดแรงดันคงที่อินเวอร์เตอร์ หน้าตาจะดูเหมือนกับปั๊มชนิดที่ 2 แต่ได้เพิ่มเติมระบบอินเวอร์เตอร์ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทำให้ขณะใช้งานน้ำน้อยก็จะกินไฟน้อยตามสัดส่วน 2.ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ  คล้ายกับปั๊มน้ำอัตโนมัติ แต่จะต้องเปิดปิดเครื่องเองตามการใช้งาน 3. ปั๊มหอยโข่ง เหมาะสำหรับการดึงน้ำหรือสูบน้ำมาเก็บใส่ถังเก็บน้ำบนอาคาร ถังเก็บน้ำสำหรับการเกษตร มีกำลังส่งสูง จึงสามารถสูบน้ำได้ปริมาณมาก และไปได้ไกล เปิดใช้ต่อเนื่องได้นาน และไม่เป็นระบบอัตโนมัติ เครื่องสูบน้ำและปั๊มน้ำ 4.ปั๊มน้ำแบบจุ่ม มักเรียกกันว่า ปั๊มจุ่ม ปั๊มแช่ หรือ ไดโว่ ใช้สำหรับสูบน้ำระบายทิ้ง ระบายน้ำท่วม เช่น บ่อรับน้ำ […]

รวมวิธีดูแล ต้นไม้สะสม หลังฝนตกหนัก  

ปฏิเสธไม่ได้ว่าฤดูฝนเป็นฤดูแห่งการเจริญเติบโตของพืช แต่หากน้ำฝนมีปริมาณมากเกินไปอย่างเช่นในปีนี้ ก็คงเป็นเรื่องยากที่พืชจะเติบโตได้อย่างงดงาม และฤดูฝนยังนำมาซึ่งโรคภัยและปัญหาอื่นๆอีกด้วย โดยเฉพาะคนรักต้นไม้ที่เก็บสะสมไว้หลายชนิดพันธุ์ ทั้งราคาถูก ราคาแพง แต่เมื่อต้องมาเจอกับสถานการณ์พายุฝนกระหน่ำหลายวัน หลายคนอาจเตรียมรับมือดูแลต้นไม้ในช่วงนี้ไม่ทัน วันนี้ บ้านและสวน ขอแชร์วิธีการฟื้นฟูและดูแลต้นไม้สะสมหลังผ่านฤดูมรสุมนี้กัน หากมีต้นที่เน่า ควรรื้อดูราก หากยังมีรากที่ดี ให้ตัดรากและส่วนที่เน่าทิ้ง จากนั้นนำมาชำและพักไว้ที่ร่มรำไรก่อน ทำความสะอาดใบด้วยการรดน้ำ หรือเช็ดด้วยผ้าสะอาด เพื่อล้างสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน หลังจากผ่านฤดูฝนแล้วจะเข้าสู่ฤดูหนาวที่มีอากาศแห้ง ควรระวังเรื่องความชื้นในอากาศ หมั่นสังเกตอาการต้นไม้และวัสดุปลูก เลือกใช้วัสดุปลูกที่มีความโปร่ง ระบายน้ำได้ดี ไม่อุ้มน้ำมากเกินไป หากวัสดุมีการย่อยหรือเปื่อยแล้ว เช่น กาบมะพร้าว ควรเปลี่ยนหรือปรุงวัสดุปลูกใหม่ เลือกปลูกในกระถาง เข่ง หรือตะกร้า เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย การดูแลหรือการควบคุมโรคยังสามารถทำได้ง่ายกว่าการปลูกลงแปลง หากบ้านมีพื้นที่ควรมีชั้นวางยกสูง หากมีพื้นที่จำกัด ควรมีการรองกระถางด้วยกระเบื้องลอน หรือตะแกรง เพื่อให้ด้านล่างกระถางมีการถ่ายเทอากาศ และน้ำไม่ขังเมื่อมีการรดน้ำ สำรวจความชื้นในดินปลูก ถ้าแฉะเกินไปให้นำออกมาเจอแสงแดดอ่อนๆในช่วงเช้า หากไม่มีแสงให้นำมาไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เติมไตรโครเดอร์มา สตาร์เกิล จี เพื่อป้องกันโรครากเน่า และไข่แมลงในดิน ยังไม่ควรใส่ปุ๋ยบำรุงในช่วงนี้ แต่เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวได้ดีแล้ว สังเกตจากการแตกยอด หรือไม่เหี่ยวเฉา ก็เริ่มให้ปุ๋ยบำรุงได้ แต่ควรให้ในปริมาณน้อยๆก่อน […]

เช็กผังเมือง น้ำท่วม แนวเวนคืน ก่อนเลือกทำเลบ้าน

การเลือกทำเลบ้านที่ดี ไม่อยู่ในโซนที่มีความเสี่ยง ควรเช็กผังเมือง แนวเวนคืนที่ดิน และ เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ก่อนเสมอ เช็กประวัติน้ำท่วม สามารถเข้าไป เช็กประวัติน้ำท่วมทำเลบ้าน ด้วยตัวเองได้ที่ http://flood.gistda.or.th/ โดยเลือกให้แสดง “ขอบเขตการปกครอง”  และ “ความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี” จะแสดงผลงตามตัวอย่างนี้ สัญลักษณ์สีของความถี่น้ำท่วมขังในรอบ 11 ปี สีน้ำเงิน คือ 1 ครั้ง สีเหลือง คือ 2-4 ครั้ง สีม่วง คือ 5-7 ครั้ง สีแดง คือ 8-10 ครั้ง เช็กการผังเมือง ไม่ใช่เรื่องดีแน่ถ้าต้องการบ้านที่สงบสุขแต่ตั้งอยู่ในโซนอุตสาหกรรม จึงควรมาทำความรู้จักการผังเมืองเบื้องต้นกัน  การผังเมือง คือ การวางแผนกฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม การคมนาคม ฯลฯ เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และระเบียบ การจัดวางแผนผังการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน […]

รู้ไว้รับมือน้ำท่วม ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ

ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ อาจมีผลต่อบ้านของคุณในยามหน้าฝน หรือเวลาเกิดเหตุน้ำท่วมขัง ลองเช็คกันได้เผื่อเป็นแนวทางในการรับมือ ข้อมูล ระดับความสูงจากน้ำทะเลในกรุงเทพ จากกรมแผนที่ทหารที่นำเสนอประกอบไปด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด ในบริเวณกรุงเทพและปริมณฑล ความสูงต่ำถูกแทนค่าด้วยสี สำหรับตำแหน่งบ้านของใครที่มีสีฟ้าเข้มก็อาจจะต้องเตรียมการรับมือมากเสียหน่อย อาทิ แถวถนนร่มเกล้า และบางนาตราดในบางช่วง ในยามที่ฝนตกพื้นที่จะเป็นแอ่งทำให้น้ำระบายได้ช้ากว่าพื้นที่อื่น นอกจากนี้แผนที่ในภาพที่สองยังเป็นแผนที่ที่แสดงทางน้ำไหลที่ทำให้เห็นทิศทางของน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำและอ่าวไทยด้วย แถมท้ายด้วยแผนที่จากดาวเทียมที่สามารถเข้าไปดูได้ละเอียดขึ้น สามารถเช็คตำแหน่งที่แน่นอนของบ้านคุณกับระดับความสูงจากน้ำทะเลได้เลย คลิก http://www.hep.caltech.edu/~piti/bkk_height/ อ่านเพิ่มเติม : แนวทางจัดการปัญหาในบ้าน หลังน้ำลด ป้องกันน้ำท่วม น้ำย้อน งู หนู แมลง เข้าท่อในบ้านด้วย วาล์วกันน้ำย้อน ฟื้นฟูสวนและดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม น้ำลด…ไอเดียผุด – วิธีจัดการบ้านหลังน้ำท่วม ซ่อมแซมผนัง และฝ้าเพดานหลังน้ำท่วม วิธีป้องกันน้ำท่วมจากถนนไม่ให้ไหลเข้าบ้าน

ระบบระบายน้ำในสวน แนวทางการรับมือและป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง

โดยปกติบ้านพักอาศัยทั่วไปต้องมีเรื่องระบบการระบายน้ำทิ้งอยู่แล้ว คือ น้ำทิ้งจากครัว น้ำทิ้งจากห้องน้ำ และน้ำทิ้งจากรางน้ำฝน ซึ่งระบบทั้งหมดที่กล่าวมาจะเชื่อมต่อกับบ่อพัก แล้วค่อยระบายสู่ท่อน้ำสาธารณะต่อไป แต่ถ้าเป็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสวน คงจะเป็นเรื่องการระบายน้ำฝนและการระบายน้ำจากผิวดินในสวนมากกว่า เพราะฉะนั้นการวางระบบระบายน้ำที่ดีภายในสวนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมขัง ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตสวยงาม สวนบางแห่งมีสภาพพื้นที่เป็นดินเหนียว ระดับน้ำใต้ดินสูง เพราะ ดินที่นำมาถมบ้านมักมีดินเหนียวปะปนมาด้วย ทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ดังนั้นการ ระบบระบายน้ำในสวน จะช่วยแก้ปัญหาได้ ซึ่งมีทั้งหมด 3 วิธี 10 พรรณไม้ทนน้ำ ปลูกประดับสวนบนบกได้ แต่ถ้ามีน้ำท่วมก็ไม่ตาย ฟื้นฟูสวนและดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม 1.ระบบระบายน้ำบนผิวดิน ปัจจุบันโครงการที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีการถมที่ดินสูงขึ้นจากเดิมมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราแค่ปรับระดับความชันของดินให้มีความลาดเอียงของพื้นที่ประมาณ 1–10 เปอร์เซ็นต์ เช่น ระยะห่างแนวราบ 100 หน่วย ควรมีความสูงระหว่างพื้นที่ในจุดที่สูงที่สุดไปถึงจุดที่ต่ำที่สุด 8 หน่วย เรียกว่ามีความชัน 8 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้น้ำไหลไปยังบ่อพักภายในบริเวณบ้าน นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นพื้นไม้ระแนง พื้นซีเมนต์ หรือพื้นวัสดุอื่น ๆ เป็นตำแหน่งที่ต้องตรวจดูระดับความลาดชันให้ดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง หากจำเป็นอาจต้องติดตั้งช่องระบายน้ำที่พื้นเพิ่มแล้วฝังท่อเชื่อมออกสู่ทางระบายน้ำรวมต่อไป• ถนน 0.5-8 เปอร์เซ็นต์• ลานจอดรถหรือลานกิจกรรม 0.5-5 […]

แนวทางจัดการปัญหาในบ้าน หลังน้ำลด

น้ำท่วมบ้าน จนเกิดความเสียหาย แล้วหลังน้ำลดเราควรจะจัดการอะไรก่อน มาดูวิธีที่ช่วยให้บ้านกลับมาอยู่ในสภาพที่ดีดังเดิม หลังน้ำลด จะเข้าไปดูบ้าน ต้องทำอะไรก่อน แม้น้ำที่ท่วมขังจะลดลงแล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะย้ายเข้าไปนอนในบ้านได้ทันที ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังจะกลับเข้าบ้านคือ ก่อนเดินเข้าบ้านขอให้ใส่หน้ากากปิดจมูกและปาก ป้องกันการสูดดมเชื้อรา สารเคมีที่มากับน้ำเน่า และใส่รองเท้าเพื่อป้องกันของมีคมและเชื้อโรคที่ลอยเข้ามาในบริเวณบ้าน ถ้าไม่แน่ใจเรื่องไฟฟ้าให้ใส่รองเท้าบู๊ตยางเลยจะดีกว่า นอกจากนี้แม้น้ำจะลดลง แต่บ้านก็ยังมีความชื้นสูง ทันทีที่เข้าบ้านควรเปิดหน้าต่างและม่านออกให้หมดเพื่อระบายอากาศและให้แดดส่องถึง ช่วยให้ภายในบ้านแห้งสนิทและฆ่าเชื้อโรคไปพร้อมกัน อย่าเพิ่งเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าในบ้านเป็นอันขาดจนกว่าจะแน่ใจว่าปลั๊กและสวิตช์ไฟทุกจุดแห้งสนิทดีแล้ว สิ่งที่ควรติดมือเข้าไปก็เช่น สมุดบันทึกความเสียหาย ไม้บรรทัดสำหรับวัด ไม้ยาวสำหรับใช้เขี่ยสิ่งของแทนมือ ถุงมือ ไขควงเช็กไฟฟ้า ถุงใส่ขยะ (จำนวนมาก) และกล้องหรือโทรศัพท์ไว้ถ่ายรูป วันแรกที่เข้าไปดูบ้าน คุณอาจรู้สึกเครียดจนไม่รู้จะทำอะไรก่อนหลัง ขอให้ตั้งสติและทำใจรับสภาพ  คุณจะเห็นอะไรชัดเจนขึ้นหลังการเก็บกวาดทำความสะอาดบริเวณบ้าน ขยะหลังน้ำท่วมมีสองชนิด ชนิดแรกคือขยะมูลฝอย เช่น ขยะที่ลอยมาตามน้ำ ดินทราย เศษอาหาร  ฯลฯ อีกชนิดคือซากความเสียหาย เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่เปื่อยยุ่ย ฟูก หมอน และเบาะต่างๆ ที่สกปรกเกินจะใช้ต่อได้ หรือประตูหน้าต่างที่บวมผุพังจนเกินจะซ่อมแซม แนะนำให้ขนขยะชนิดหลังออกมาก่อน จากนั้นค่อยๆทำความสะอาดขยะมูลฝอย ถึงจุดนี้ภาพจะชัดเจนขึ้นว่าจะทำอะไรต่อไป ถ้าพอรู้เรื่องไฟฟ้าให้ถอดปลั๊กไฟออกมาตากให้แห้ง ก่อนติดตั้งกลับเข้าไปใหม่ ถ้าไม่แน่ใจฝีมือตัวเอง แนะนำให้จ้างช่างไฟฟ้าช่วย เมื่อสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยแล้ว […]

ทำระบบสูบน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน

วิธีป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมถนน หรือบ้านอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าถนน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีต่างๆ หรือเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้าง

สร้างบ้านอย่างไรให้พร้อมรับภัยน้ำท่วม!

room ขอยกตัวอย่าง อาคารหรือ บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่หน้าตาเรียบง่าย และธรรมดา แต่สามารถต้านทานภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ฟื้นฟูสวนและดูแลต้นไม้หลังน้ำท่วม

สวนที่เจอกับสภาพน้ำท่วมตลอดเวลาหลายวัน เราจึงมีคู่มื ฟื้นฟูสวนหลังน้ำท่วม มาฝาก ลองอ่านและใช้เป็นแนวทางกันดูนะครับ

น้ำลด…ไอเดียผุด – วิธีจัดการบ้านหลังน้ำท่วม

วินาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าปัญหาน้ำท่วม ได้สร้างความเสียหายแบบประเมินค่าไม่ได้ ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน พอน้ำลดก็ต้องมาเจอกับสภาพเละเทะของอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ที่จมอยู่กับน้ำเน่าๆ นานร่วมเดือน ไหนจะทรุดโทรม ทั้งจากคราบสกปรก มีเชื้อรา ตะไคร่น้ำ สีหลุดลอกล่อน และอีกร้อยแปด… วิธีจัดการบ้านหลังน้ำท่วม แต่ไม่ต้องกลัว my home ขอเชิญชวนทุกท่านมาลงมือจัดการกับปัญหาต่างๆ กันแบบเป็นขั้นเป็นตอน โดยไล่กันตั้งแต่พื้นที่ด้านนอกสู่พื้นที่ด้านใน ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์และงานระบบต่างๆ…เอ้า…ลุย!! วิธีจัดการบ้านหลังน้ำท่วม พื้นที่ด้านนอก ประกอบด้วยพื้น กำแพง สวนเป็นพื้นที่โดนน้ำและแสงแดดมาก อาจเกิดตะไคร่ได้ง่าย การทำความสะอาดก็ทำได้ง่ายกว่าพื้นที่ด้านใน เพราะขัดหรือล้างแบบเปียกได้ ไม่ต้องกลัวจะชื้นหรือเปียกเฟอร์นิเจอร์ ทำให้การทำความสะอาดไม่ต้องระมัดระวังมากนัก อีกทั้งยังมีอากาศและลมถ่ายเทสะดวก การสะสมของความชื้นอับและเชื้อโรคจะน้อยกว่าพื้นที่ด้านใน อ่านต่อ : ถังเก็บน้ำ ก็ต้องทำความสะอาดนะ พื้นที่ด้านใน ประกอบไปด้วยพื้นและผนัง หากน้ำขังก็จะซึมผ่านปูน ผ่านพื้น และสะสมความชื้นอยู่ด้านในหากทาสีเลย สีก็จะล่อน หากไม่ดูแลดีๆ ก็จะอับและเป็นเชื้อราได้ง่าย การทำความสะอาดก็ทำได้เฉพาะผิวด้านนอก ทั้งกำแพงและพื้น พวกคราบน้ำหรือสิ่งสกปรกเท่านั้น ความอับชื้นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู ควรเปิดหน้าต่าง ประตู และช่องแสงต่างๆ ให้ความร้อนจากแสงแดดและลมช่วยพัดพาความชื้นออกไป อ่านต่อ : [ […]

ซ่อมแซมผนัง และฝ้าเพดานหลังน้ำท่วม

ซ่อมแซมผนัง บ้านหลังน้ำท่วม วัสดุต่างๆที่ใช้ทำผนังบ้านเมื่อถูกน้ำท่วมนานๆก็จะเกิดความเสียหายแน่นนอน