โชว์สวนดอกไม้ ณ ป้อมมหากาฬ พื้นที่ที่แลกมาด้วยชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย

ก่อนจะเป็น สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ พื้นที่ตรงนี้คือชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็น “ชุมชนชานกำแพงพระนคร” ที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมากว่า 2 ปีกับการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะอย่างในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครได้จัดงาน “ยลป้อมมหากาฬยามสายัณห์…ในวันดอกไม้บาน” เป็นสวนดอกไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ ที่เปิดให้คนกรุงได้ชมเชยระหว่างเวลา 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน จนถึงต้นปีหน้ากันเลย สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ นอกเหนือจากการไปชมความสวยงามของดอกไม้แล้ว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า สวนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่ กทม.ใช้เป็นเหตุผลในการรื้อชุมชนกลบหน้าประวัติศาสตร์ออกไปหรือไม่ เรามาฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปนิกผู้เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และ คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ชำนาญการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาปนิกและนักประวัติศาสตร์ผู้ทำวิจัยเรื่องบ้านโบราณในชุมชนมานานก่อนการไล่รื้อครั้งสุดท้าย และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอให้เก็บบ้านเก่าไว้คู่กับวิถีชีวิตชุมชนเพื่อทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ร่วมกับหลายองค์กรภาคสังคม รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมหลายแห่งรอบเกาะรัตนโกสินทร์มาเป็นเวลาไม่น้อย ได้ให้ความคิดเห็นว่า สวนสาธารณะที่ถูกปิดล้อม “ตั้งแต่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬมาเป็นสวนสาธารณะกว่า 2 ปี ตามที่เห็นกัน ถือเป็นสวนสาธารณะที่ล้มเหลวตามที่คาดการณ์ไว้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและบริบทไม่เหมาะกับการทำเป็นสวนสาธารณะอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด ขนาบด้วยคลอง และกำแพงเมืองเก่า จึงเข้าถึงพื้นที่ด้านในยาก […]

ย่านเก่า…ทำไมเราไม่เลือกเก็บ? – ย้อนมองกรณี ชุมชนป้อมมหากาฬ กับ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ

คุยกับนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเรื่อง “ ชุมชนป้อมมหากาฬ ” หลังเดินทางมาถึงจุดจบในวันที่ 25 เมษายน 2561 ย่านนี้สร้างความสูญเสียหรือให้อะไรไว้กับคนรุ่นหลัง