ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ มาใช้งาน เช่น อาคารราชการสมัยก่อนมักจะใหญ่โต บันไดทางขึ้นกว้างใหญ่ […]

Bamboo Box House บ้านไม้ไผ่บรรยากาศชนบทที่อยู่ในเมือง

บ้านไม้ไผ่ขนาดกะทัดรัดพื้นที่ 48 ตารางเมตร ที่ใช้เวลาสร้างเพียง 20 วัน ในงบ 4 แสนบาท ที่เปลี่ยนพื้นที่ในเมืองให้กลายเป็นบ้านบรรยากาศชนบทเรียบง่ายแต่น่าอยู่สุดๆ พร้อมทำแปลงปลูกผักไว้กินในครัวเรือนและแบ่งปันเพื่อนบ้าน ออกแบบและจัดสวน : Bambooboxhouse เจ้าของ : คุณพิษณุ สกุลโรมวิลาส “การได้นั่งรับลมเย็นๆบนแคร่ไม้ใต้ร่มไม้ใหญ่ในบรรยากาศชนบท แวดล้อมด้วยสีเขียวของธรรมชาติ ช่างเป็นความสุขที่หาได้ยากนักกับชีวิตของคนเมืองหลวงอย่างนี้” ใครจะเชื่อว่าสิ่งที่กล่าวถึงข้างต้น ได้เกิดขึ้นแล้วกลางใจเมือง โดย คุณพิษณุ และ คุณอาภาพร เจ้าของ Bamboo Box House บ้านไม้ไผ่ ท่ามกลางสวนผักหลังนี้ซึ่งจะมาถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านให้เราฟังกัน แรงบันดาลใจจากบ้านกลางทุ่งนา ทั้งคู่ชอบบ้านไม้ แต่ที่เลือกไม้ไผ่เพราะความงามที่เป็นเอกลักษณ์ จึงตั้งใจเลือกไม้ไผ่ลำเล็กมาประกอบกันเป็นส่วนต่างๆของบ้าน ทั้งพื้น ผนัง รวมถึงโครงสร้างด้วย ถึงแม้จะมีข้อจำกัดและกระบวนการหลายขั้นตอน แต่ผลที่ได้คุ้มค่ามากเพราะไม้ไผ่ลำเล็กให้อารมณ์ความรู้สึกถึงบ้านไม้ไผ่ที่พักกลางทุ่งนา เหมือนแคร่หลังใหญ่ที่พร้อมต้อนรับแขกผู้มาเยือนหรือใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เหตุผลที่เลือกไม้ไผ่แทนที่จะใช้เป็นไม้ชนิดอื่นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและคงทนกว่า เพราะไม้ไผ่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว พื้นผิวมีสีสัน เป็นไม้ที่มีต้นทุนไม่สูง สามารถปลูกทดแทนได้เร็วเพียง 2 – 3 ปี ก็สามารถนำมาใช้งานได้แล้วจึงดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย บ้านเล็กในป่า(คอนกรีต)ใหญ่ บริเวณบ้านมีพื้นที่รวม […]

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

LIFE IN PLACE, REST IN ART ศิลปะในความสงบ

เยือนบ้านของนักศิลปะบำบัดที่มี “ธรรมชาติสร้างสมดุล” และ “ศิลปะสร้างความสงบ” เป็นใจความหลักของบ้าน…