วัสดุธรรมชาติ ออกแบบ จากเศษเหลือ สู่ผลลัพธ์ในความเป็นไปได้ใหม่ของความยั่งยืน !

การสร้างสรรค์วัสดุผ่านเศษเหลือจากธรรมชาติก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างให้ “แนวคิดวัสดุหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy

Rammed Earth Panel วัสดุปิดผิว ดินอัด ดัดโค้งได้

วัสดุปิดผิว ดินอัดแบบแผ่นดัดโค้งได้ติดตั้งได้ทุกพื้นที่แม้แต่ภายนอก นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนผนังดินอัดหนาหนักให้บางเบา

La Terre – FiNN ดินฉาบ จากธรรมชาติ

ดินฉาบ ธรรมชาติสีสวยทำเองได้เป็นรอยก็แก้ง่าย ไม่ยากเลย สามารถฉาบได้อย่างหลากหลายวัสดุ เช่นผนังฉาบปูน ผนัง และ ฝ้าเพดาน ประเภทต่าง ๆ

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

SON LA RESTAURANT ร้านอาหารสถาปัตยกรรมไม้ไผ่สุดอลังการ

Son La Restaurant  ตัวอย่างการออกแบบ สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ให้เป็นหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังจังหวัดห่างไกล กับการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอย่าง ไม้ไผ่ และหิน สอดคล้องกลมกลืนไปกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอันเป็นธรรมชาติ จังหวัดซอนลา (Son La) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีภูมิทัศน์ภูเขาที่สวยงาม แม้จะมีความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากต่อการเดินทาง โดยต้องใช้เวลานั่งรถจากฮานอยนานถึง 7 ชั่วโมง ไปตามถนนที่มีหน้าผาสูงชัน แต่ด้วยศักยภาพอันงดงามของภูมิประเทศ ทำให้ที่นี่กำลังจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติดังกล่าว โปรเจ็กต์ร้านอาหาร Son La Restaurant ที่เด่นด้วย สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ จึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่จำกัด ทำให้การขนส่งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างร้านอาหารนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากลำบาก สถาปนิกผู้ออกแบบ Vo Trong Nghia (VTN Architects) จึงเลือกที่จะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นทีมช่าง คนงาน และวัสดุในท้องถิ่นที่มีราคาไม่แพงอย่าง “ไม้ไผ่” และ “หิน” มาเป็นวัสดุหลักของอาคาร นอกจากเหตุผลสำคัญดังกล่าวอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ออกแบบมองเห็นก็คือวัสดุจากธรรมชาติเหล่านั้น มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนอย่างเวียดนามได้อย่างดี ที่นี่ประกอบด้วยอาคารหิน 8 หลัง ที่แยกจากกัน […]

4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชน

ชวนคุณไปชม 4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ออกแบบสอดคล้องกับบริบทโดยรอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยาวนานและยั่งยืน

บ้านไทยประยุกต์ ริมทะเล

บ้านไทยประยุกต์ หลังนี้ มีหลังคาเป็นทรงจั่วเหมือนบ้านไทย ขณะที่ตัวบ้านค่อนข้างทันสมัย หากมองจากประตูรั้วจะดูเหมือนบ้านชั้นเดียวซึ่งมีหลังคาสูงใหญ่ขวางอยู่

กลางทะเล หน้าเกาะเสม็ด

          ระหว่างนั่งเรือโดยสารจากท่าบ้านเพมาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง มีผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยที่หันมามองกลุ่มเรือนไม้ 3 หลัง ซึ่งตั้งเรียงกันอย่างสงบอยู่กลางทะเล หลายคนสงสัยว่าที่นี่คือสถานที่อะไรกันแน่           แวบแรกถ้ามองผ่านๆ ก็ดูจะเหมือนบ้านชาวบ้านในละแวกนี้ เพราะเป็นเพียงเรือนไม้หน้าตาเรียบๆ เพียงแต่มีสภาพค่อนข้างเรียบร้อย ประเมินว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดีข้อสงสัยประการต่อมาคือ สามารถสร้างกลางทะเลได้อย่างไรเหตุผลก็คือ กลุ่มเรือนเหล่านี้สร้างมานานแล้ว โครงสร้างเสาที่ปักลงในทะเลก็เป็นตำแหน่งของเสาเก่าทั้งสิ้น บ้านที่ปรากฏในปัจจุบันได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีความแข็งแรงและสวยงามเพื่อใช้เป็นเรือนพักผ่อนหรือเรือนรับรองบุคคลพิเศษ           ตัวเรือนแต่ละหลังออกแบบให้มีชั้นเดียว จึงไม่บดบังทัศนียภาพที่สวยงามของเกาะเสม็ดซึ่งตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหลังวัสดุที่เลือกใช้ล้วนเป็นไม้ธรรมชาติที่ปล่อยให้สีของไม้ซีดจางมองไกลๆ ดูไม่ต่างจากบ้านชาวประมงที่ตั้งอยู่ริมเกาะ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อเรือนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน           สำหรับการแบ่งพื้นที่ใช้สอยก็จะแยกเป็นหลังๆ ไป?กล่าวคือ?เรือนกลางซึ่งมองไกลๆ จะเห็นเป็นห้องเดียว แต่ที่จริงพื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนกลาง จัดเป็นส่วนนั่งเล่นและรับประทานอาหารแบบเปิดโล่ง มีห้องครัวอยู่ด้านหลังเคาน์เตอร์บาร์ และยังมีห้องนอนหลบไปด้านหลังอีก 2 ห้อง           เรือนปีกตะวันออกแยกออกมาค่อนข้างห่างจากเรือนกลางเรือนนี้เป็นส่วนของห้องนอน 3 ห้องที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะมีประตูและแผงกั้นก่อนเข้าถึงตัวเรือน ส่วนเรือนปีกด้านตะวันตกมีห้องนอน 2 […]