กระดุม

กระดุมใบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Spermacoce laevis Lamk. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 15-50 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นเหลี่ยม ตั้งตรงหรือทอดเอน ใบ: รูปรีแกมขอบขนานถึงใบหอก ปลายเรียวแหลม สีเขียวเข้มหรือเขียวปนน้ำตาลแดงถึงม่วงดำ ยาว 2-6 เซนติเมตร มักไม่มีก้านใบ ดอก: ช่อดอกเป็นกระจุกกลมแน่นที่ซอกใบ กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายเรียวแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู ขนาดเล็กมาก ผล: แห้ง แตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามริมทาง ทุ่งหญ้า ทุ่งนาไปจนถึงที่ค่อนข้างแห้ง **ชื่อพ้อง Borreria laevis (Lamk.) Griseb.

กรดน้ำ

กระต่ายจามใหญ่/ขัดมอนเทศ/ต้อไม้ลัด/ผักปีกแมงวัน/หญ้าหนวดแมว/หญ้าหัวแมงฮุน ชื่อวิทยาศาสตร์: Scoparia dulcis L. วงศ์: Scrophulariaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุ 2 ปี/วัชพืช ความสูง: 20-80 เซนติเมตร ลำต้น: แตกกิ่งก้านยาวตรง ใบ: ออกตรงกันข้ามหรือรอบข้อ 3-4 ใบ ยาว 1-4 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อย ดอก: เดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่มตามซอกใบเกือบทุกข้อของกิ่ง ดอกเล็กสีขาว 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน มีขนยาวสีขาวออกรอบๆ ผล: กลมเล็ก เมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ:ในธรรมชาติพบตามที่รกร้าง รอมทาง ชายป่า นาข้าวและริมน้ำทุกภาคของไทย เป็นสมุนไพร ชาวอินเดียใช้แก้โรคเบาหวาน ชาวมาเลเซียใช้แก้ไอ และฟิลิปปินส์ใช้รากต้มน้ำดื่มแก้ไข้

หนาดน้อย

กะเม็งหอม/ผักกาดนา ชื่อวิทยาศาสตร์: Blumea napifolia DC. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: 30-70 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีขนละเอียดสีขาวทั่วไป เมื่อจับจะเหนียวติดมือและมีกลิ่นฉุน ใบ: เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับถึงรี ขนาด 3-4x 5-8 เซนติเมตร ขอบหยักซี่ฟันหรือจักละเอียด ดอก: ดอกเป็นช่อใหญ่ แตกแขนงมาก ดอกย่อยจำนวนมาก ใบประดับซ้อนกันหลายขั้น สีเขียว ส่วนปลายสีแดงเรื่อ กลีบดอกเป็นขนสั้นละเอียด สีเหลือง ออกดอกฤดูแล้ง เมล็ด: เมื่อแก่จะมีขนสีขาวที่ปลาย บานออกเป็นพู่กลม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามริมทาง ที่รกร้าง แปลงเพาะปลูกและชายป่า พบมากทางภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอิสาน ที่ความสูง […]

หนาดป่า

ขวาสามงาน ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicoa indica DC. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 50-100 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบ: ออกเวียนสลับรูปแถบแคย ปลายแหลม ยาว 6-13 เซนติเมตร ใบหนา สีเขียวสด ขอบใบห่องุ้มลงด้านล่าง ดอก: ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง สีเหลืองสด คล้ายดอกบัวตอง แต่ขนาดเล็กกว่ามาก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกเพียง 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกวงนอกรูปแถบแคบ ดอกวงในเป็นกระจุกแน่นที่กลางดอก ออกดอกฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามริมทาง ทุ่งหญ้าและชายป่าโปร่งบนดอยทางภาคเหนือ เป็นสมุนไพรทั้งต้นใช้บำรุงกำลัง

หญ้าหมู่ดาว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Hedyotis sp. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: 10-35 เซนติเมตร ใบ: รูปรีถึงรูปแถบ ขนาดเล็ก ดอก: เป็นช่อโปร่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ กลีบดอกสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกับเป็นรูปกรวย ปลายแยก 4 แฉก กลิ่นหอม ออกดอกปลายฤดฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: แห้ง เมล็ดเล็กมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทราย น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามพื้นที่เปิดโล่ง ลานหินและทุ่งหญ้าบนภูเขาทางภาคอิสาน

หญ้าเลือดไน้

ชื่อวิทยาศาสตร์: Polygala longifolia Poir. วงศ์: Polygalaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มสูง ใบ: เดี่ยว รูปแถบแคบถึงใบหอกแคบ ขนาด 0.2-0.8 x 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลม   ดอก: เป็นช่อยาว ออกตามซอกใบและหลายกิ่ง ก้านช่อยาว 8-20 เซนติเมตร ดอกขนาดเล็กเรียงกันแน่นที่ปลายก้านช่อเรียงเป็นแถวด้านเดียว เมื่อบานกลีบดอกกางออกเพียงเล็กน้อย ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ผล: สีเขียวแตกเป็นสองซีก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทราย น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: รากมีกลิ่นหอมแรง ในธรรมชาติมักพบตามป่าผลัดใบ พื้นที่ดินปนกรวดและทราย พบมากทางภาคเหนือ

หญ้าน้ำดับไฟ

บัวฮาผา/หญ้าดับไฟ ชื่อวิทยาศาสตร์: Lindenbergia phillippensis (Cham.) Benth. วงศ์: Scrophulariaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี /วัชพืช ความสูง: 50-100 เซนติเมตร ลำต้น: สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ใบ: ออกตรงข้าม รูปไข่ถึงรี ขนาด 1-4 x 3-8 เซนติเมตร ขอบจักฟันเลื่อย เส้นใบชัดเจน ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแยก 5 แฉกแหลม ด้านนอกเป็นสันแหลมตามยาว ดอกสีเหลือง ขนาดดอก 1.5 เซนติเมตร ผล: แก่แห้งและแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่รกร้าง ชายป่าและริมทาง เป็นสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ต้น […]

หญ้าน้ำค้าง

ต้นบาดทะยัก/มะไฟเดือนห้า/หญ้ายองไฟ/หนามเดือนห้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Drosera indica L. วงศ์: Droseraceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 5-30 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรงหรือทอดเอน ทั้งลำต้น ใบและก้านดอกมีสีแดง ใบ: รูปเส้นยาวเรียวค่อนข้างอวบหนา ยาว 2-7 เซนติเมตร ปลายม้วนงอเป็นวง มีขนสีแดงทั่วใบ ปลายขนมีต่อมน้ำใสเหนียวไว้ดักจับแมลง ดอก: เป็นช่อมีหลายกิ่ง สีชมพูม่วง ดอกขนาด 0.5-1 เซนติเมตร บานในตอนเช้า และหุบในตอนบ่าย อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทราย น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหิน ดินทรายหรือทุ่งหญ้า ที่ลุ่มหรือชื้นแฉะ มีน้ำขัง พบมาทางภาคอิสาน ภาคตะวันออกและภาคใต้ เป็นสมุนไพร ต้น เป็นยาบำรุง ยาพื้นบ้านอิสาน ใช้ต้นแห้งดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ต้นสดขยี้ทารักษากลากเกลื้อน ถ้าหมักจะได้สารสำหรับกัดหูดหรือตาปลา […]

หญ้าเข็ม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia coerulea L. วงศ์: Lentibulariaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 5-40 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นและใบลดรูปเป็นเส้นขนาดเล็กๆ และมีถุงดักแมลงขนาดจิ๋ว ดอก: ก้านช่อดอกยาวเรียว ตั้งตรงขึ้น สีเขียวถึงม่วงแดง ดอกย่อยเรียงสลับอยู่ที่ปลายก้านช่อ สีขาว ชมพู หรือม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันคล้ายถ้วยเล็กๆ สีครีมปนแดงเรื่อ กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกัน รูปร่างคล้ายรองเท้า ปลายแหลม มีจะงอยด้านล่างยื่นยาวออกมา ปลายแหลมและโค้งเล็กน้อย ดอกขนาด 0.3-1 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-ธันวาคม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะและมีน้ำขัง พื้นที่เปิดโล่ง เช่น ลานหิน ทุ่งหญ้า นาข้าว พบตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคอิสานถึงภาคตะวันออก

หญ้าข้าวก่ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia disticha L. วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น ใบ: ใบออกเวียนสลับเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปรีถึงไข่กว้าง ขนาด 4-6×7-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบบิดเป็นคลื่น ดอก: ก้านช่อดอกยาว 30-60 เซนติเมตร มีใบขนาดเล็กรูปแถบแกมใบหอกหุ้มอยู่เป็นระยะ ช่อดอกอยู่ที่ปลายก้านและแตกแขนงออกเป็น 2 แถว แต่ละดอกมีใบเล็กๆ รองรับ 1 ใบ กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบเชื่อมติดกัน แล้วแผ่ออกเป็นปีกบางๆ สีม่วงถึงม่วงอมน้ำเงิน เกสรเพศผู้สีเหลือง ดอกย่อยคล้ายกับดอกสรัสจันทร (Burmannia coelestris)  ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหินหรือดินที่ชื้นแฉะ อากาศค่อนข้างเย็น ขึ้นปะปนกับหญ้าอื่นๆ ในช่วงฤดูฝน

หญ้าเกล็ดหอย

 เกล็ดปลา/ผักแว่นดอย/หญ้าตานทราย/หญ้าตานหอย/Beggarweed/Threeflower ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmodium triflorum (L.) DC. วงศ์: Papilionaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: แตกกิ่งก้านมากและทอดนอน ยาวถึง 50 เซนติเมตร ใบ: ประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่กลับหรือหัวใจกลับถึงค่อนข้างกลม ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อ 2-4 ดอก แต่มักมีช่อละ 3 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน ด้านนอกมีขนยาว กลีบดอกสีม่วงเข้มถึงม่วงอ่อน ขนาดเล็ก 4-5 มม. ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: ฝักแบนและโค้งขึ้น ปลายแหลมคอดเป็นช้อๆ 3-4 ข้อ ยาว 1 เซนติเมตร เมล็ดขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: […]

หงอนนาค

น้ำค้างกลางเที่ยง/หญ้าหงอนเหงือก ชื่อวิทยาศาสตร์: Murdannia giganteum (Vahl.) Brückner วงศ์: Commelinaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: กลม แข็ง ตั้งตรง ใบ: รูปแถบยาว 15-40 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อ ก้านช่อดอกยาวและมักโค้งงอ ดอกมีก้านสั้นๆ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวปนม่วงถึงม่วงคล้ำ กลีบดอก 3 กลีบ สีม่วงถึงม่วงอ่อน เกสรเพศผู้ 6 อัน เป็นหมัน 3 อัน สีเหลืองสด ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกช่วงปลายฤดูฝน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามทุ่งหญ้า ชายป่า บริเวณที่มีน้ำขังหรือชุ่มชื้น […]

โสมไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Talinum paniculatum (Jacq.) Geartn. วงศ์: Portulacaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 10-20 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นรากสะสมอาหารรูปร่างคล้ายคน ใบ: ออกเวียนสลับถี่เป็นพุ่มใหล้ผิวดิน รูปรีถึงไข่กลับ ขนาด 2-5x 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ดอก: เป็นช่อใหญ่ สูงได้ถึง 20 เซนติเมตร แตกแขนงเป็นช่อย่อยหลายช่อ อาจมีจำนวนดอกย่อยถึง 30 ดอก ขนาดดอก 0.5-1 เซนติเมตร สีชมพู ปกติมี 5 กลีบ แต่อาจมี 4 หรือ 6 กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลืองสด ผล: สีเหลืองหรือชมพู แตกเป็น 3 พู เมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป […]

มหากาฬน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Scutellaria discolor Wall. ex Benth วงศ์: Lamiaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 15-90 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มเตี้ย ใบ: ออกตรงข้าม รูปไข่ ยาว 2-5 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือมน ขอบใบหยักตื้น เนื้อใบนูนเป็นคลื่น สีเขียวเข้ม ใต้ใบสีม่วงแดงเรื่อ ดอก: ช่อดอกยาวเรียว ตั้งตรงขึ้น กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วยแบน คล้ายปากเป็ด กลีบดอกสีม่วงถึงม่วงอ่อน โคนกลีบเป็นหลอดเล็ก ส่วนโคนงอโค้งและตั้งขึ้น ปลายแยกเป็น 2 ปาก ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: รูปขอบขนานแคบ ยาว 1 เซนติเมตร อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามป่าหญ้า ริมทางเดินในป่า บริเวณที่ชุมชื้นในป่า […]

มณเฑียรทอง

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Torenia hirsutissima Bonati วงศ์: Scrophulariaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 30 เซนติเมตร ลำต้น: เขียว กิ่งก้านอ่อน มีขนทั่วไป ใบ: ออกตรงข้าม รูปไข่แคบถึงขอบขนาน ปลายแหลม ขอบจักฟันเลื่อย ขนาด 1-2 x 1-4 เซนติเมตร ใบบนๆ ไม่มีก้านใบ ดอก: ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีเขียว ด้านนอกมีสันตามยาว ดอกรูปแตร ยาว 3-4 เซนติเมตร สีเหลืองสด ปลายแยก 5 แฉก กลม ออกดอกปลายฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: รูปขอบขนานแคบ ยาว 1 เซนติเมตร อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: […]

ฟองหินเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sedum susanae Hamet วงศ์: Crassulaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: 5-10 เซนติเมตร ลำต้น: ค่อนข้างอวบน้ำ ทอดชูยอด แตกกิ่งก้านจากโคนต้น ใบ: เดี่ยว ขนาดเล็ก รูปแถบ ยาว เซนติเมตร อวบหนา ผิวเกลี้ยง ดอก: ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกบาน 0.5-1 เซนติเมตร สีเหลืองสด เกสรเพศผู้สีเหลือง 10 อัน ออกดอกปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว ผล: แห้งแตกด้านเดียว เมล็ดเล็กจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามซอกหินใกล้ยอดเขา ที่ระดับความสูง 1800-2100 เมตร ปลูกเป็นไม้ประดับได้ในเขตที่สูง อากาศเย็น

พู่ม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Camchaya eberhardtii (Gagnep.) Kitam. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 50-100 เซนติเมตร ลำต้น: เล็ก แตกกิ่งก้านมาก กิ่งมักยาวชะลูด สีม่วงแดง ใบ: รูปไข่ ปลายแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น     ดอก: เป็นช่อกลม ก้านยาวชูสูง สีม่วงสด ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกวงนอกๆ เป็นหลอดหรือรูปกรวยแคบ ปลายแยก 5 แฉกสั้นๆ ออกดอกเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม เมล็ด: ขนาดเล็ก จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และชายป่าที่ค่อนข้างแห้งและชื้น

พริกฝรั่ง

Bloodberry/Coral Berry ชื่อวิทยาศาสตร์: Rivina humilis L. วงศ์: Phytolaccaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 30-90 เซนติเมตร ลำต้น: สีเขียว เล็กเรียว ใบ: รูปใบรีแกมใบหอก ปลายเรียวแหลม ยาว 2-5 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อยาวที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีขาวถึงชมพูอ่อน ผล: กลม มีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกสีแดงสด ผิวเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร-ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่รกร้าง ในสวนที่ชุ่มชื้น ปลูกเป็นไม้ประดับ สารสกัดจากต้นมีฤทธิ์ต้านไวรัส รากเป็นพิษและมีสารยับยั้งการงอกของพืชอื่น ผลให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า ชื่อพริกฝรั่งอาจมาจากใบที่ดูหมือนพริกขี้หนู