รวม ” แบบบ้านไม้ ” บ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้-บ้านและสวน

PUNTA COLORADA III SHELTER บ้านไม้ชั้นเดียว กับแนวคิด “รบกวนป่าให้น้อย สัมผัสธรรมชาติได้มาก”

บ้านไม้ชั้นเดียว กลางผืนป่าใกล้ชายหาดที่เปิดออกสู่มหาสมุทรในประเทศอุรุกวัย โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์การออกแบบบ้านให้อยู่ร่วมกับป่าแบบได้ไม่เบียดเบียนของทีมสถาปนิก TATÚ Arquitectura โดย บ้านไม้ชั้นเดียว หลังนี้ มาพร้อมกับความท้าทาย เพราะมีลักษณะเป็นเนินดินลาดเทลงไป และเพื่อเอาชนะปัญหานี้ ทีมสถาปนิกจึงได้ออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะระบบฐานรากอาคารได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับแนวคิดความพยายามรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด และจากความตั้งใจที่จะรักษาระบบนิเวศรอบ ๆ บ้านให้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยสภาพของที่ตั้งดังกล่าว ทีมสถาปนิกจึงตัดสินใจว่า จะใช้ระบบฐานรากแบบไม้ค้ำถ่อที่ประกอบด้วยเสาเข็มคอนกรีตรองรับบนพื้น ปล่อยให้โครงสร้างทั้งหมดแขวนอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบของพื้นดินนั้น โดยไม่ต้องใช้วิธีการปรับหน้าดิน หรือรบกวนธรรมชาติใด ๆ เลย รูปทรงของตัวบ้านมีความเรียบง่าย สร้างขึ้นในตำแหน่งตามแนวยาว พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน แบ่งพื้นที่ใช้งานด้วยการบรรจุส่วนของห้องนอนให้อยู่ทางทิศเหนือ ไล่ลำดับการใช้งานจากส่วนที่ไพรเวทที่สุด ไปยังพื้นที่ครัว มุมพักผ่อนนั่งเล่น จนไปจบที่ระเบียงเปิดโล่งทางทิศใต้ ที่ออกแบบให้ยื่นออกไป เพื่อสัมผัสกับภูมิทัศน์ของราวป่าได้เต็มอิ่ม แม้จะเป็นบานทรงกล่องที่ทำจากไม้ดีไซน์เรียบง่ายขนาดเล็ก แต่ก็สร้างความเซอร์ไพร้ส์ให้ เพราะภายใต้หลังคาทรงจั่วที่ครอบอยู่นั้น ผู้ออกแบบยังออกแบบพื้นที่เผื่อไว้สำหรับเป็นห้องนอนอีกหนึ่งห้องบนชั้นสอง ซึ่งมีช่องหน้าต่างกระจกเล็ก ๆ ให้สามารถมองออกไปสัมผัสวิวสีเขียวได้จากมุมสูง สำหรับในวันที่อากาศปลอดโปร่ง หากโชคดีก็สามารถมองเห็นวิวทะเลได้ด้วย ออกแบบ : TATÚ Arquitectura (https://en.tatuarq.com/) ภาพ : Marcos Guiponi เรียบเรียง : Phattaraphon […]

บ้านไม้อบอุ่น ชวนห้อยขาล้อมคอร์ตสีเขียว

บ้านไม้อบอุ่น อาจเป็นโจทย์ที่กว้าง ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต่างจากบ้านทรงจั่วที่หลายคนคิดไว้แต่แรก และบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลกลิ่นอายไทยๆ หลังนี้ ก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายความสุขคือการกลิ้งตัวนั่งเล่นบนชานบ้านแห่งความสบายใจ เริ่มจากบ้านทรงจั่วสองชั้นที่เรียบง่าย ทำเลของบ้านหลังนี้อยู่ชานเมืองย่านฝั่งธนบุรี เป็นที่ดินเปล่าของครอบครัว เมื่อทางคุณอั๋นและคุณทิพ บุนนาค ต้องการสร้างบ้านใหม่ จึงมองหาสถาปนิกที่ชอบจากการติดตามผลงานที่ผ่านมา จนได้คุยกับ คุณจูน เซคิโนในตอนแรกคุณทิพย์อยากได้บ้านทรงจั่วสองชั้น ดูอบอุ่นเหมือนบ้านเก่าสมัยก่อน ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือความต้องการอะไรมากนัก แต่หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก คุณจูนก็เริ่มนำเสนอบ้านชั้นเดียวที่มีสวนคอร์ตยาร์ดตรงกลางให้ อยู่แบบพอดีในบ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่น สถาปนิกมีเหตุผลในการออกแบบครั้งนี้ว่า พื้นที่จริงค่อนข้างใหญ่ และจากโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีแค่สองคน จึงคิดว่าการทำบ้านชั้นเดียวน่าจะเพียงพอ ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตในบ้านแบบบ้านสมัยก่อน เช่น การนั่งเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ จึงถูกตีความใหม่กลายเป็นชานบ้านขนาดใหญ่รับกับพื้นที่สวนสีเขียว ชานบ้านแบบลำลองด้านหลังอยู่ติดกับคลองขนาดเล็กที่กั้นหมู่บ้าน บริเวณนี้ทำชายคายื่นยาว รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างไม้ให้รับกับโครงบ้านสีขาว ทำให้รู้สึกเหมือนนั่งเล่นอยู่ในคาเฟ่แบบญี่ปุ่นหรือไต้หวันที่แฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายแบบมินิมัล สวนที่ต้นไม้ไม่ต้องเยอะ แต่ใช้งานได้จริง คอร์ตยาร์ดกลางบ้านทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน ทุกห้องสามารถรับวิวความสดชื่นได้ โดยการวางผังการใช้งานเป็นรูปตัวแอล (L) ล้อมไว้ ตรงกลางปลูกต้นบุนนาคเป็นไม้ประธาน เนื่องจากเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้าน ถือเป็นไม้มงคลน่าปลูกและให้ร่มเงาได้ดี บริเวณนี้ปลูกต้นไม้ไม่ต้องเยอะ เน้นดูแลง่าย พื้นปลูกสะระแหน่ประดับโดยรอบ สวนนี้ออกแบบโดย Kaizentopia และกลายเป็นจุดนั่งเล่นของบ้าน จะนั่งบนชาน หรือนั่งห้อยขาแบบศาลาริมคลองก็ได้ขณะที่สวนด้านหลังที่ติดคลอง ทำรั้วเป็นตะแกรงช่วยบังตาและกรองแดด มีชานบ้านรับสวนส่วนนี้เช่นกัน […]

บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนของ ป้าจิ๊ – อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ

บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน ที่ตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย ภายในเน้นความเรียบโล่ง เพราะเจ้าของบ้านไม่ชอบของรกๆ ท่ามกลางบรรยากาศของสวนสวยที่ออกแบบได้สอดรับกันกับตัวบ้าน บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังนี้เป็นของ ป้าจิ๊ – คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ นักแสดงมากความสามารถ ผู้มีพลังอย่างล้นเหลือ เพราะเธอเป็นทั้งครูสอนโยคะ นักวิปัสสนา และยังคอยช่วยเหลือเหล่าเด็กน้อยด้อยโอกาส ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ป้าจิ๊ทำด้วยหัวใจที่พร้อมจะเผื่อแผ่แก่คนรอบข้าง ซึ่งฉันเชื่อว่านั่นทำให้เธอมีความสุขอยู่เสมอ ป้าจิ๊พาฉันเดินดูรอบบ้าน พื้นที่หลังบ้านนั้นอยู่ติดท้องนาของชาวบ้านในละแวกนั้น บ้านบนพื้นที่กว่า 5 ไร่หลังนี้จึงมีธรรมชาติเป็นเพื่อน มีคู่หูเป็นนกน้อยนานาชนิด มีการขุดบ่อบัวไว้ 2 บ่อสำหรับพายเรือเล่น บ่อแรกอยู่หน้า เรือนหลังเก่า ส่วนอีกบ่ออยู่ในสวนกว้างบริเวณเรือนหลังใหม่ สำหรับตัวบ้านนั้นสร้างเป็นสามเรือน ได้แก่ เรือนใหญ่ เรือนหลังใหม่ และเรือนรับแขก ซึ่งป้าจิ๊บอกว่ามาเกือบทุกอาทิตย์ และได้สลับใช้งานตลอด “ชอบอยู่ที่เรือนหลังใหม่ เพราะหยิบของใช้ต่างๆได้ง่าย แต่ก็สลับไปนอนที่เรือนใหญ่บ้าง ตั้งใจจะยกหลังนี้ให้การกุศลด้วยเมื่อป้าไม่อยู่แล้ว คนที่ได้บ้านนี้ไปก็จะได้มีความสุขที่ได้อยู่ในบ้านสวยๆ”    ก่อนหน้านี้ป้าจิ๊ได้ยกเรือนไทยหลังเก่าให้เป็นสถานปฏิบัติธรรม โดยยกเฉพาะตัวเรือนไป แล้วจึงสร้างเรือนหลังใหม่บนที่ดินเดียวกับเรือนไทยหลังเก่าเป็น บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน โดยตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย และสร้างเรือนรับแขกไว้ใกล้กัน สำหรับใช้ต้อนรับเพื่อนๆหรือแขกที่มาเยี่ยมเยือน ส่วนสวนสวยที่ดูรับกับตัวบ้านนั้นก็ได้สถาปนิก คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ และคุณมณฑล  จิโรภาส […]

รวมแบบบ้านไม้ชั้นเดียวในบรรยากาศเขียวๆแสนสดชื่น

บ้านไม้กับบรรยากาศธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยต้นไม้เขียวขจี ดูจะเป็นสิ่งที่เข้ากันได้ดีเหลือเกิน ครั้งนี้เราจึงได้นำ 10 แบบบ้านไม้ชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบริบทของสวนและต้นไม้มาฝากผู้ชื่นชอบกัน แบบบ้านไม้ชั้นเดียว  1. บ้านไม้แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ สถาปนิก : รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม จัดสวน : คุณมณฑล จิโรภาส บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น >> อ่านต่อ 2. บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์  เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน >> อ่านต่อ 3. บ้านไม้ชั้นเดียวที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]

บ้านไม้หลังเล็ก ในฟาร์มเกษตร สะดวกกับการทำงานในไร่

บ้านไม้หลังเล็ก แบบชั้นเดียวขนาด 4×4 เมตรที่สร้างไว้แค่พออยู่เพื่อให้สะดวกกับการทำงานภายในไร่ โดยใกล้ๆ กันยังมีบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงอีกหลังไว้สำหรับใช้งานอเนกประสงค์

บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว

บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”

บ้านไม้ ของ เขียนไขและวานิช โฮมสตูดิโอสไตล์พื้นถิ่น

บ้านไม้ พื้นถิ่น ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา เป็นโฮมสตูดิโอของศิลปิน“ เขียนไขและวานิช ”

10 บ้านสวย น่าอยู่ที่มียอดเข้าชมสูงสุด ประจำปี 2021

ประกาศ 10 บ้านสวย น่าอยู่ ที่มียอดเข้าชมสูงสุดในเว็บไซต์บ้านและสวน และก็ไม่ผิดจากที่คาด เมื่อเหล่าบ้านไม้พาเหรดเข้ามายึดครองความนิยม

บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น

บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์  เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน  หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและโดยธรรมชาติ บ้านหลังนี้ก็เช่นกัน คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ เจ้าของบ้านได้เข้ามาบุกเบิกที่ดินขนาด 30 ไร่ในจังหวัดขอนแก่นที่ คุณพ่อคุณแม่ของเธอซื้อไว้เมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน โดยในตอนนั้นถูกทิ้งให้เป็นป่าหญ้าสูงท่วมหัว มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ไม่กี่ต้น อีกทั้งอยู่ห่างไกลความเจริญ ที่สำคัญสภาพดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชชนิดใดเลย เพราะใต้ดินส่วนใหญ่กลายเป็นจอมปลวก ทว่าด้วยความมุ่งมั่นของคุณผจงกิติ์ เพียงไม่กี่สิบปีที่ดินผืนนี้ก็กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนผืนป่าน้อยๆ พร้อมกับ บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังเล็กที่น่าอยู่หลังนี้ คุณผจงกิติ์รักการปลูกต้นไม้มาตั้งแต่เด็กๆ จึงนำสิ่งนี้มาลองผิดลองถูกในที่ดินของเธอ แม้จะมี ธุรกิจส่วนตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เธอก็มักหาเวลาว่างช่วงเสาร์อาทิตย์ทยอยนำมูลวัวมาอัดให้แน่นเต็มพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพดิน จากนั้นก็ค่อยๆ ปลูกแตงโม แคนตาลูป และขยับขยายกลายเป็นสวนหน่อไม้ฝรั่ง ดอกกุหลาบ ​เฮลิโคเนีย มะม่วงน้ำดอกไม้ ฯลฯ สลับสับเปลี่ยนกันไปจนกลายเป็นธุรกิจเล็กๆในเวลาต่อมา ระหว่างที่ทุ่มเทกับการทำสวน เมื่อยามที่รู้สึกเหนื่อยล้าอยากจะพักก็กลับไม่มีพื้นที่ให้ผ่อนคลายเลย คุณผจงกิติ์จึงเริ่มมองหาพื้นที่นั่งเล่นและพักผ่อน ตามมาด้วยบ้านพักหลังเล็กๆ แม้เธอจะไม่ได้มีความรู้ด้านการออกแบบ แต่กับบ้านหลังนี้เธอเลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ เป็น บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เธอออกแบบด้วยตัวเอง โดยกำหนดให้ส่วนรับแขกและครัวอยู่นอกบ้าน ภายในบ้านมีพื้นที่นั่งเล่นก่อนเข้าสู่ห้องนอนและห้องน้ำ […]

บ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านไม้ชั้นเดียว ริมบึงสุดสงบ

บ้านไม้ชั้นเดียว หลังเล็กริมน้ำที่ออกแบบให้แทบจะไม่มีผนังทึบเลย เพราะต้องการให้เห็นแต่ต้นไม้และรับลม ให้ความรู้สึกเหมือนค่อยๆเดินเข้ามาในป่า

บ้านไม้หลังเล็ก แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น บ้านไม้หลังเล็ก ที่สร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นบ้านพักผ่อนที่เงียบสงบ เพราะปกติเจ้าของบ้านมีวิถีชีวิตประจำวันรวมถึงหน้าที่การงานอยู่ในกรุงเทพฯ จึงมุ่งหวังที่จะสร้างบ้านไว้ปลีกวิเวกแต่ลำพังเพียงผู้เดียว ที่ดินผืนนี้อยู่ในจังหวัดปริมณฑล แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของบ้านกลับทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ต่างจังหวัด ที่ดินขนาด 2 ไร่กว่านี้ เจ้าของบ้านเพียรค้นหามาหลายแห่งเพียงเพราะต้องการที่ดินริมน้ำหรือติดแม่น้ำ โดยก่อนหน้านี้เคยไปดูที่ดินริมแม่น้ำนครชัยศรี แต่ก็ยังไม่ถูกใจ จนในที่สุดเจ้าของบ้านได้เห็นแผ่นพับขายที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง ซึ่งภาพตามที่โครงการร่างไว้นั้นดูสวยงามตรงกับความต้องการพอดี เพราะมีหนองน้ำอยู่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านจึงตกลงใจซื้อตั้งแต่ยังไม่เห็นที่ดิน ทว่าก่อนที่จะสร้างบ้านก็จำเป็นต้องไปดูสถานที่จริง แต่สิ่งที่เห็นกลับทำให้ตะลึง เพราะที่ดินนั้นเป็นที่นาธรรมดา ไม่มีหนองน้ำดังภาพร่าง ภายหลังจึงได้รับคำอธิบายจากโครงการว่า ที่ดินทุกแปลงจะมีการขุดดินสร้างเป็นบ่อน้ำหรือหนองน้ำดังในภาพ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจคือ เพื่อนำน้ำในบ่อมาใช้รดน้ำต้นไม้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งถูกใจเจ้าของบ้านยิ่งนัก เพราะตั้งใจจะปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าอยู่แล้ว ความตั้งใจอีกประการคือ เจ้าของบ้านต้องการสร้าง บ้านไม้หลังเล็ก  รูปแบบเรียบง่ายไว้เป็นที่พักผ่อนที่สงบเงียบ ซึ่งตอนแรกเจ้าของบ้านยังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี จนกระทั่งได้คุยกับกับเพื่อนที่มีสามีเป็นสถาปนิกชื่อดัง แต่ไม่กล้าขอให้สถาปนิกท่านนี้ออกแบบให้ เพราะงานที่เขาทำล้วนเป็นงานของลูกค้าระดับเศรษฐี ทว่าพอทราบเรื่องเขากลับรับทำบ้านหลังนี้ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเห็นว่าเจ้าของบ้านทำงานเพื่อสังคมมามากแล้ว ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกปลื้มใจและขอบคุณสถาปนิกท่านนี้มาก จุดเริ่มต้นของ บ้านไม้หลังเล็ก นี้อยู่ที่หลังคาไม้ที่เจ้าของบ้านได้มาก่อนส่วนอื่น ๆ ส่วนตัวบ้านซื้อจากร้านขายเก่า ซึ่งทราบแต่เพียงว่าเป็นโรงเรียนเก่าที่เขารื้อถอนเพื่อสร้างตึกขึ้นแทน ลักษณะบ้านเป็นไปตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน คือแยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง โดยมีการก่อสร้างเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการก่อสร้างเรือนกลุ่มใหญ่ก่อน […]

เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน

พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนแต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโต เป็นเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอก

บ้านหนองฮ่อ ดีไซน์สงบนิ่งที่เผยความงามธรรมชาติ

จะดีแค่ไหนถ้าได้นั่งเงียบๆ ปล่อยใจสงบ เพื่อเปิดรับเสียงอันแผ่วเบา และสัมผัสธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปทุกวินาที วิวดอยสุเทพอยู่สุดปลายสายตากำลังกลืนแสงสุดท้ายของวัน เมื่อมองจากบ้านพักตากอากาศที่สถาปนิกออกแบบให้เป็น “สถาปัตยกรรมไร้เสียง” ที่จะไม่ตะโกนความเป็นตัวเองให้ดังเกินตัว จนกลบเสียงสรรพสิ่งแวดล้อมให้ดับไป แต่ถ่อมตัว แช่มช้า แจ่มใส มีเสน่ห์อย่างบุคลิกคนท้องถิ่นเจ้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Skarn Chaiyawat บ้านที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่แถวถนนหนองฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะพื้นที่บริเวณนั้นเป็น “ตีนดอย” อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก แต่ยังแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สงบสวยงาม จึงเหมาะสำหรับการพักผ่อนอยู่อาศัย คุณโป้ง – สการ จัยวัฒน์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท สถาปนิก สการ จัยวัฒน์ จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นออกแบบบ้านว่า “เป็นบ้านตากอากาศสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 3 คน พ่อแม่ลูก ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมที่กรุงเทพฯ จึงอยากมีบ้านสำหรับมาพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ลักษณะที่ดินเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว่า 300 ตารางวา และมีความพิเศษคือ เมื่อมองทะลุผืนป่าด้านหลังที่ดินจะเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ดอยสุเทพสวยมาก” ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่น่าประทับใจ การออกแบบบ้านจึงไม่ได้คิดอยู่แค่ตัวบ้านเท่านั้น แต่ออกแบบบ้านเพื่อให้วิวธรรมชาติเป็นหัวใจหลัก “เมื่อวิเคราะห์พื้นที่แล้ว จึงออกแบบบ้านเป็นรูปทรงตัวไอตรงๆ หันด้านยาวเปิดรับวิวภูเขาได้ทุกห้อง เพื่อให้ทัศนียภาพนี้ซึมซับอยู่ในทุกการใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน” บ้านไม้พื้นถิ่นโมเดิร์น สุนทรียภาพที่ก่อเกิดจากโครงสร้าง […]

บ้านไม้ริมคลอง ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาร่วมร้อยปี

บ้านไม้ริมคลอง ที่ประกอบด้วยบ้านไม้สักสีธรรมชาติฉลุลายแบบขนมปังขิงหนึ่งหลัง ส่วนอีกหลังเป็นบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลทาสีเขียวอ่อน ซึ่งผ่านกาลเวลามาได้เกือบร้อยปี

เพิ่มมูลค่าบ้านไม้เก่าเกือบร้อยปี ให้กลับมาสวย สร้างรายได้

รีโนเวตบ้านไม้เก่าอายุเกือบร้อยปีที่ถูกปล่อยร้าง และผลัดมือเปลี่ยนมาหลายเจ้าของ ให้กลับมาสวยงามและเพิ่มมูลค่าเชิงธุรกิจ โดยปรับเปลี่ยนเป็นบ้านพักรับรองพร้อมสระว่ายน้ำสุดชิล เป็นอีกไอเดียสำหรับคนที่มีบ้านเก่าและไม่อยากปล่อยไว้ให้ผุพังไปเฉยๆ ออกแบบ : Jhan-achitects โดย คุณจตุพล หาญโสภา เจ้าของ : คุณพิชชานันท์ ชัยงาม  Amata Boutique Pool Villa งานสระว่ายน้ำ : คุณสุกมล มุสิกะนันทน์ Poolandwellness การบรรจบกันของบ้านเก่าและโอกาส ใครจะเชื่อว่าการขับรถผ่านแถวคูเมืองประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ จะทำให้ คุณแบม-พิชชานันท์ ชัยงาม พบ บ้านไม้เก่า อายุเกือบร้อยปีซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 453 ตารางเมตร ตั้งอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นอาคารคอนกรีต ถึงแม้จะมีความทรุดโทรมตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงมีเค้าความงามอยู่มาก จึงไม่รอช้ารีบติดต่อไปยังเจ้าของบ้านหลังนั้นจนได้สัญญาเช่าเพื่อทำบ้านให้เป็นที่พักรับรองแขก โดยมีสัญญาใจว่าจะบูรณะและปรับปรุงบ้านหลังนี้โดยคงสภาพเดิมให้มากที่สุด รีโนเวตเสร็จใน 6 เดือน เจ้าของบ้านได้ให้โจทย์กับสถาปนิก คุณหนุ่ย-จตุพล หาญโสภา แห่ง Jhan-achitects (สถาปนิก ชาน) ผู้ออกแบบและปรับปรุง บ้านไม้เก่า หลังนี้ ว่าต้องการห้องพักจำนวน  4 ห้อง […]

บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง

บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]

บ้านไม้มินิมัล สเปซโปร่งๆ ที่อบอุ่นด้วยงานไม้

บ้านไม้มินิมัล เน้นเส้นสายของอาคารที่เฉียบคมดูเรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดของเทคนิคงานช่างมากฝีมือ ตลอดเวลา 30 ปีที่สวมหมวกนายช่างใหญ่เพื่อควบคุมการสร้างบ้านและอาคารให้สถาปนิกชั้นนำของไทยมาหลายต่อหลายหลัง นอกจากจะได้สร้างผลงานคุณภาพที่ทั้งสถาปนิกและเจ้าของบ้านไว้ใจแล้ว คุณขจี เกศจุมพล ยังบอกด้วยว่าเขาเองก็ได้เรียนรู้ภาษาของสถาปัตยกรรมนอกห้องเรียนอยู่มากมาย และสะสมเป็นประสบการณ์อันมีคุณค่ามาจนถึงวันที่เขาตัดสินใจนำมาใช้กับการรีโนเวตบ้านหลังเดิมของตัวเองให้ตอบรับการใช้งานได้มากขึ้น และกลายเป็น บ้านไม้มินิมัล ที่สวยเท่จนสถาปนิกเองยังเอ่ยชม “ผมซื้อบ้านนี้มาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซื้อเพราะชอบต้นแก้วที่อยู่หน้าบ้านนี่แหละ ส่วนอื่นๆ คิดว่าน่าจะรีโนเวตเองได้ ซึ่งตอนนั้นก็ทำไปหลายอย่างก่อนจะมาปรับอีกครั้งในรอบนี้ เพื่อให้รับกับความต้องการและยุคสมัยมากขึ้นก็เลยเพิ่มพื้นที่ชั้น 3 ขึ้นมา แล้วตกแต่งให้เป็นเหมือนเพ้นต์เฮ้าส์ที่ผมกับภรรยาอยู่ด้วยกัน ยกพื้นที่ชั้น 2 ให้ลูกสาว ชั้นล่างก็เป็นพื้นที่ส่วนกลางและที่อยู่ของน้องหมา 3 ตัว ส่วนลูกชายอยู่บ้านอีกหลังหนึ่งใกล้ๆ กัน” แนวทางการออกแบบตัวบ้านหลักๆ เน้นให้สอดคล้องกับบริบทของธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพราะคุณขจีต้องการเก็บร่มเงาและความสดชื่นทุกอย่างไว้ ระยะต่างๆ ของบ้านจึงกำหนดขึ้นมาจากการหลบเลี่ยงต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการเจาะช่อง ร่นระยะผนัง และเปิดคอร์ตให้ต้นไม้เหล่านี้ยังชูกิ่งก้านใบได้สวยงามเหมือนเดิม แถมยังใช้เป็นช่องแสงธรรมชาติเพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้เอง อีกทั้งเพิ่มความปลอดโปร่งให้ผู้อาศัยภายในบ้านไปในตัว “ผมชอบต้นไม้มาก เพราะให้ร่มเงา ให้ออกซิเจน กรองฝุ่นกรองแดด และช่วยให้บ้านเย็นสบาย ส่วนภายในก็ปล่อยให้เรียบโล่งแบบมินิมัล เพราะอยู่แล้วสบายตาสบายใจ ดูแลง่าย ถึงจะมีของเยอะแต่ก็ทำช่องเก็บของบิลท์อินซ่อนไปกับผืนผนังให้หมด เวลาอยากได้ของอะไรใหม่ ก็ต้องหาทางปล่อยของเดิมไป ไม่ว่าจะยกให้ลูกน้องหรือขายก็ตาม มันทำให้เรามีชาเลนจ์และสนุกกับข้าวของใหม่ๆ […]

LA EXTRAVIADA บ้านไม้-คอนกรีต ที่ออกแบบให้กลมกลืนไปกับเนินเขา เข้ากับทะเล

La Extraviada บ้านเนินเขา ที่ตั้งอยู่ริมหาด Mermejita ประเทศเม็กซิโก โดยซ่อนตัวอยู่บนเนินเขาที่เงียบสงบและรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันเขียวชอุ่ม