Half House บ้านที่ รีโนเวท พื้นที่ครึ่งหลัง เป็นพื้นที่กึ่งเอาต์ดอร์ของครอบครัว

บ้านหลังนี้เป็นบ้านจัดสรรอายุกว่า 30 ปีที่ถูก รีโนเวท เพื่อสร้างพื้นที่ร่วมระหว่างเจ้าของบ้าน น้องชาย พ่อแม่ และน้องหมาอีก 2 ตัว การออกแบบให้มีพื้นทีสำหรับทุกคน(และทุกตัว)ในครอบครัวจึงเป็นหัวข้อสำคัญ รวมทั้งการลดภาระการดูแลรักษา และทำความสะอาด เพื่อให้พ่อแม่สามารถอยู่ในบ้านหลังนี้ได้โดยสะดวก ก็เป็นอีกโจทย์ใหญ่ของบ้านหลังนี้ ออกแบบ: Out & About Architects #พื้นที่กึ่งภายนอกและอากาศที่ถ่ายเท ด้วยความที่มะลิ หมาน้อยตัวใหญ่ของบ้านหลังนี้เคยเกิดอาการขนร่วงจนโดนบ่น เมื่อถึงเวลาปรับพื้นที่บ้าน การออกแบบพื้นที่ให้มะลิได้มีอิสระที่มากขึ้นจึงทำให้เกิดเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกของบ้านหลังนี้ พื้นที่ที่ออกแบบใหม่นี้ เป็นทั้งห้องนั่งเล่น และห้องทานข้าวของสมาชิกทุกคนในบ้าน ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตหลักของบ้านก็ว่าได้ มะลิ และโชค สามารถวิ่งเล่นในพื้นที่นี้ได้โดยไม่มีใครบอกว่าทำเลอะ หรือขนร่วง ทั้งการเลือกบ้านที่แดดไม่สาดกระทบโดยตรงยังเปิดโอกาสให้ได้มีพื้นที่อยู่อาศัยในสภาวะที่ไม่ได้ปรับอากาศ ประหยัดค่าไฟ และดูแลรักษาได้ง่ายอีกด้วย เมื่อพื้นที่พร้อมมากขึ้น กิจกรรมสุขภาพของพ่อแม่จึงตามมา เพราะไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่พักผ่อนนั่งเล่นเท่านั้น แต่ในบางเวลาพื้นที่ส่วนนี้ยังกลายเป็นลานโยคะ และพื้นที่ไดร์ฟกอล์ฟของคุณพ่ออีกด้วย สร้างเสริมสุขภาพให้กับวัยเกษียณได้อย่างดี #ใช้วัสดุอย่างเข้าใจงบไม่บานเจ้าของบ้านอยู่สบายเริ่มจากการกำหนดว่าส่วนใดเก็บไว้ และส่วนใดจะรีโนเวท การออกแบบบ้านหลังนี้ส่วนหนึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆให้แก่การปรับปรุงบ้านจัดสรรในไทยให้เหมาะกับภูมิอากาศมากขึ้น การเลือกใช้ลอนใสเพื่อเปลี่ยนมุมรับแสงธรรมชาติให้ไม่นำพาความร้อน หรือ การเลือกใช้บล็อกช่องลมที่ยอมให้ลมธรรมชาติผ่านได้ตามทิศทางที่เหมาะสม จึงไม่เพียงสร้างความสอดคล้องต่อบริบทให้กับบ้าน แต่ยังเป็นวัสดุที่หาได้ไม่ยาก และใช้งานได้ดีอีกด้วย #พื้นที่ปิดล้อมส่วนตัวแต่เปิดรับสภาพอากาศที่ดีสุดท้ายแล้วความน่าสนใจของบ้านหลังนี้คือการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้าน แต่ในขณะเดียวกันก็เปิดให้เจ้าของบ้านนั้นได้ดื่มด่ำและใช้ชีวิตในสภาพอากาศแบบ Tropical อย่างไทย […]

โครงสร้างเฉลียงและชนิดของไม้ปูพื้นภายนอกอาคาร

นอกชานหรือชานบ้าน คือ พื้นที่เรือนที่ยื่นพ้นชายระเบียงออกมา มักพบได้ในบ้านไทยสมัยก่อน ลักษณะเป็นพื้นไม้กว้างขวาง อาจมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาโผล่ขึ้นมาที่กลางลาน ประดับด้วยไม้ดัดในกระถางสวยงาม ใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนหรือเป็นที่พูดคุย นั่งรับประทานอาหารรวมไปถึงใช้รับแขก โครงสร้างและการทำเฉลียงไม้ การออกแบบเฉลียงไม้ควรคำนึงถึงก่อนว่า จะใช้พื้นที่นี้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ใช้งานพร้อมกันกี่คน มีเฟอร์นิเจอร์สนามอะไรบ้างที่จะตั้งอยู่บนเฉลียง วิธีการก่อสร้างทำอย่างไร และกระทบต่อสิ่งก่อสร้างข้างเคียงเดิมหรือไม่ การทำเฉลียงไม้สามารถใช้ไม้จริงประเภทไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออื่นๆ ที่มีความแข็งและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โดยเลือกใช้ไม้ที่มีขนาดตั้งแต่หน้ากว้าง 4-6 นิ้ว และมีความหนาตั้งแต่ 1.25-2 นิ้ว โดยไม้พื้นดังกล่าวจะต้องยึดติดกับโครงสร้างด้านล่าง (ตง) ที่เป็นเหล็กกล่องหรือไม้ 1.ไม้เนื้อแข็งที่นำมาใช้งานต้องเคลือบน้ำยากันปลวกแบบใสและเคลือบทับด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้หรือสีย้อมไม้อื่น ๆ 2.หากเป็นพื้นไม้เทียม ควรเลือกใช้สีเคลือบแข็ง อีพ็อกซี่ หรือสีอะคริลิกชนิดใช้กับพื้นไม้เทียม ซึ่งจำหน่ายโดยผู้ผลิตพื้นไม้เทียมเท่านั้น 3.ควรติดตั้งพื้นไม้จริงและไม้เทียมให้มีระดับลอยสูงจากพื้นดินปกติอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความชื้นและน้ำ 4.ทั้งพื้นไม้จริงและไม้เทียม ควรติดตั้งบนตงเหล็กกล่องหรือไม้ ซึ่งระยะห่างของตงนั้น หากเป็นไม้จริงมีระยะห่างตงที่ไม่เกิน 60 เซนติเมตร และสำหรับไม้เทียมให้ดูรายละเอียดในคู่มือของผู้ผลิต ซึ่งจะบ่งบอกระยะห่างของตงตามขนาดพื้นไม้เทียมชนิดต่าง ๆ […]

ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา

บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]

นั่งเล่นไม่พึ่งแอร์ใน บ้านมินิมัลชั้นเดียว

ชีวิตมีอะไรให้เซอร์ไพรซ์เสมอ …จากแปลงที่ดินข้างบ้าน ซึ่งออกแบบไว้เป็นบ้านผู้สูงอายุให้คุณพ่อ กลายมาเป็น บ้านมินิมัลชั้นเดียว ของตัวเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects เปลี่ยนแผน จากบ้านพ่อสู่บ้านของตัวเอง เดิมทีบ้านของคุณดอน-ไกรพล ชัยเนตร และภรรยาคุณอุรัสสา ชัยเนตรนั้น มีจุดเริ่มต้นจากต้องการสร้างบ้านสำหรับคุณพ่อของคุณดอนซึ่งไม่ค่อยสบาย โดยใช่ที่แปลงสนามหญ้าด้านข้างของบ้านหลังเดิมเป็นทำเลที่ตั้ง บ้านจึงออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียว มีทางลาด และพื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ตรงกลางเพื่อพักผ่อน แต่เมื่อสร้างเทปูนไปได้สักพัก แผนการทั้งหมดก็เปลี่ยนไป เนื่องจากคุณพ่อคุ้นชินกับห้องเดิมในบ้านเก่าซึ่งใช้เป็นห้องพักแล้ว จึงไม่มีการย้ายมาแต่อย่างใด คุณดอนซึ่งเป็นสถาปนิกโดยอาชีพอยู่แล้ว จึงต้องปรับรูปแบบบ้านเสียใหม่เพื่อให้สอดรับกับการใช้งานของตนตามโครงสร้างเดิม ง่ายเหมือนเด็กวาด แต่มีรายละเอียด แนวคิดที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วคือ การออกแบบบ้านอย่างไรให้กลมกลืนไปกับบ้านหลังเก่า รูปแบบบ้านจั่ว สีขาว จึงเป็นความตั้งใจแรกในการออกแบบ และเพิ่มแนวคิดที่ต้องการให้อาคารดูง่ายๆ เหมือนภาพที่เด็กๆ วาด ก็เกิดขึ้นตามมา ส่วนหนึ่งเพื่อให้ดูไม่ขัดตากับบ้านหลังโดยรอบที่ยังบ้านของญาติๆ ในบริเวณใกล้ๆ กัน ซึ่งใช้สถาปนิกคนเดียวกันกับบ้านของคุณพ่อเมื่อ 40 ปีที่แล้วด้วย และส่วนหนึ่งเพรืคุณดอนเติบโตมาในบ้านหลังเดิมตั้งแต่เล็ก เป็นเสมือนตัวแทนบ้านในสมัยเด็กๆ ที่วาดเล่น ให้กลายมาเป็นบ้านจริงได้เมื่อโตขึ้น แต่การสร้างบ้านให้มีรูปทรงง่ายๆ เหมือนเด็กวาดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากต้องรับมือกับแดดฝนที่แรงเพราะจำเป็นต้องมีการระบายน้ำที่ดี การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน การได้รับแสงที่พอเหมาะ วิวสวนที่ได้รับ […]

บ้านไม้อบอุ่น ชวนห้อยขาล้อมคอร์ตสีเขียว

บ้านไม้อบอุ่น อาจเป็นโจทย์ที่กว้าง ผลลัพธ์สุดท้ายอาจต่างจากบ้านทรงจั่วที่หลายคนคิดไว้แต่แรก และบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลกลิ่นอายไทยๆ หลังนี้ ก็เช่นกัน ซึ่งสุดท้ายความสุขคือการกลิ้งตัวนั่งเล่นบนชานบ้านแห่งความสบายใจ เริ่มจากบ้านทรงจั่วสองชั้นที่เรียบง่าย ทำเลของบ้านหลังนี้อยู่ชานเมืองย่านฝั่งธนบุรี เป็นที่ดินเปล่าของครอบครัว เมื่อทางคุณอั๋นและคุณทิพ บุนนาค ต้องการสร้างบ้านใหม่ จึงมองหาสถาปนิกที่ชอบจากการติดตามผลงานที่ผ่านมา จนได้คุยกับ คุณจูน เซคิโนในตอนแรกคุณทิพย์อยากได้บ้านทรงจั่วสองชั้น ดูอบอุ่นเหมือนบ้านเก่าสมัยก่อน ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือความต้องการอะไรมากนัก แต่หลังจากพูดคุยกันได้สักพัก คุณจูนก็เริ่มนำเสนอบ้านชั้นเดียวที่มีสวนคอร์ตยาร์ดตรงกลางให้ อยู่แบบพอดีในบ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่น สถาปนิกมีเหตุผลในการออกแบบครั้งนี้ว่า พื้นที่จริงค่อนข้างใหญ่ และจากโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านที่มีแค่สองคน จึงคิดว่าการทำบ้านชั้นเดียวน่าจะเพียงพอ ดังนั้นแนวคิดการใช้ชีวิตในบ้านแบบบ้านสมัยก่อน เช่น การนั่งเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ จึงถูกตีความใหม่กลายเป็นชานบ้านขนาดใหญ่รับกับพื้นที่สวนสีเขียว ชานบ้านแบบลำลองด้านหลังอยู่ติดกับคลองขนาดเล็กที่กั้นหมู่บ้าน บริเวณนี้ทำชายคายื่นยาว รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างไม้ให้รับกับโครงบ้านสีขาว ทำให้รู้สึกเหมือนนั่งเล่นอยู่ในคาเฟ่แบบญี่ปุ่นหรือไต้หวันที่แฝงไว้ซึ่งความเรียบง่ายแบบมินิมัล สวนที่ต้นไม้ไม่ต้องเยอะ แต่ใช้งานได้จริง คอร์ตยาร์ดกลางบ้านทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางของบ้าน ทุกห้องสามารถรับวิวความสดชื่นได้ โดยการวางผังการใช้งานเป็นรูปตัวแอล (L) ล้อมไว้ ตรงกลางปลูกต้นบุนนาคเป็นไม้ประธาน เนื่องจากเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้าน ถือเป็นไม้มงคลน่าปลูกและให้ร่มเงาได้ดี บริเวณนี้ปลูกต้นไม้ไม่ต้องเยอะ เน้นดูแลง่าย พื้นปลูกสะระแหน่ประดับโดยรอบ สวนนี้ออกแบบโดย Kaizentopia และกลายเป็นจุดนั่งเล่นของบ้าน จะนั่งบนชาน หรือนั่งห้อยขาแบบศาลาริมคลองก็ได้ขณะที่สวนด้านหลังที่ติดคลอง ทำรั้วเป็นตะแกรงช่วยบังตาและกรองแดด มีชานบ้านรับสวนส่วนนี้เช่นกัน […]

MOCOLI HOUSE เท่ราวประติมากรรม ด้วยฟาซาดคอนกรีตหล่อผืนใหญ่

Mocoli House บ้านคอนกรีต ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ซ่อนความเป็นส่วนตัวไว้หลังผนังคอนกรีต แล้วเผยตัวเองออกสู่ภายนอกราวประติมากรรม ดึงดูดความสนใจด้วยเส้นสายและโครงสร้างอาคารสไตล์โมเดิร์น ภายใต้นิยามของคำว่า “เรียบง่าย” และ “เงียบสงบ” อันเป็นผลลัพธ์ของการตามหาจุดเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับพื้นที่พักอาศัย จนออกมาเป็น บ้านคอนกรีต สถาปัตยกรรมอันบริสุทธิ์ เชื่อมต่อจิตวิญญาณที่นิ่งสงบ เพื่อเป็นดังสถานที่หลบหนีจากความวุ่นวายและความตึงเครียดระหว่างวัน ผลงานการออกแบบโดย Orense Arquitectos  ได้ออกแบบบ้านหลังนี้ ภายใต้แนวคิดที่อยากให้เจ้าของบ้านมีความเป็นส่วนตัว และเลือกใช้วัสดุที่ให้ความรู้สึกเรียบง่ายดูสบายตาอย่าง คอนกรีต ไม้ และสีขาว ดังจะเห็นได้จากด้านหน้า สะดุดตากับผนังคอนกรีตสูงใหญ่ ราวกับนำมาตั้งขวางมุมมองจากสิ่งรบกวนภายนอก และอีกจุดประสงค์หนึ่งก็คือ แผ่นคอนกรีตที่ยื่นออกมานอกตัวบ้านนี้ ยังทำหน้าที่ช่วยป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ส่องปะทะเข้ามาในบ้านโดยตรง แต่ภายใต้ความดิบกระด้างของคอนกรีตและความเป็นเหลี่ยมมุมนั้น สถาปนิกเลือกใส่องค์ประกอบที่สื่อถึงธรรมชาติ ด้วยพื้นที่ทางเข้าบ้านที่ตกแต่งต้นด้วยต้นไม้ฟอร์มสวยหนึ่งต้น ซึ่งปลูกอยู่ในกระบะสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยสระน้ำตื้น ๆ โดยมีแผ่นปูนเป็นทางเดินข้ามเข้าสู่ตัวบ้าน ให้ความรู้สึกเรียบนิ่งตั้งแต่ครั้งแรกที่มาเยือน เมื่ออยู่ในบ้านบรรยากาศรอบ ๆ ดูนิ่งสงบและสะอาดตาด้วยการใช้โทนสีขาว ที่ อาบไล้ด้วยแสงธรรมชาติ ซึ่งส่องเข้ามาผ่านผนังกระจกใส ช่วยให้ห้องโถงมีความสว่างปลอดโปร่ง ก่อนนำขึ้นสู่พื้นที่พักผ่อนส่วนตัวบนชั้น 2 ผ่านบันไดสีขาว ออกแบบราวกันตกจากวัสดุโปร่งใส คล้ายประติมากรรมลอยตัว เชิญชวนให้เดินทางต่อไปยังชั้นบน ที่ตกแต่งผนังด้วยภาพวาดเรียงต่อกันไปแนวผนังเหมือนอยู่ในแกลเลอรี่ […]

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่ออกแบบด้วยแนวคิด “เรือนหมู่”

บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นสำหรับครอบครัวขยายที่รีโนเวตและสร้างบ้านใหม่ต่อจากบ้านเดิม โดยออกแบบเผื่อลูกหลานมีครอบครัวของตัวเอง และอยู่ร่วมบ้านเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับ “เรือนหมู่” ของคนไทยโบราณ แต่ซ่อนรูปอยู่ในบ้านร่วมสมัยที่ออกแบบด้วยดีเทลและวัสดุสมัยใหม่ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Space Story Studio ครอบครัวขยายเป็นวิถีของคนไทยในทุกยุคสมัย แต่กาลก่อนเมื่อลูกสาวมีครอบครัว ฝ่ายชายจะย้ายมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง โดยปลูกเรือนเชื่อมต่อกับชานเรือนพ่อแม่ หรือปลูกเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีลักษณะแบบ “เรือนหมู่” ที่เดินไปมาหาสู่และพึ่งพากันได้สะดวก เช่นเดียวกับ บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น หลังนี้ ที่ดูภายนอกไม่ต่างจากบ้านทั่วไป แต่ภายในกลับซ่อนสเปซแบบเรือนหมู่ ซึ่งออกแบบเผื่อการมีครอบครัวของลูกหลานและรองรับการรวมญาติในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างสะดวกสบาย จากครอบครัวเดี่ยวสู่ครอบครัวขยาย ภายในพื้นที่ 200 ตารางวานี้ เดิมมีบ้านสองชั้นอายุประมาณ 20 ปีซึ่งโครงสร้างหลักยังแข็งแรงดี แต่เมื่อครอบครัวที่มีคุณพ่อ คุณแม่ คุณตา คุณยาย และลูก 3 คน ที่เติบโตจนสำเร็จการศึกษาและพร้อมสร้างครอบครัวของตนเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำบ้านแบบครอบครัวขยาย โดยมีโจทย์สำหรับสถาปนิกคือ เป็นบ้านที่ทุกคนยังสามารถอยู่รวมกันได้ในบริเวณเดียวกัน โดยยังพื้นที่ส่วนตัวและดูแลบุคคลที่อยู่ร่วมกันภายในบ้านได้ทั่วถึง รวมทั้งรองรับญาติมิตรที่มาเยี่ยมเยียนได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงเวลา การแยกเพื่อรวมกัน บ้านทรอปิคัลโมเดิร์น รูปตัวแอล (L) เปิดคอร์ตด้านหน้าเป็นสระว่ายน้ำ และเปิดโล่งถึงภายในบ้านที่มีทางเดินและชานเชื่อมอาคารสองหลังเข้าด้วยกัน คุณท็อป-พิพล ลิขนะไพศาล […]