ฉนวนยาง กันความร้อน AERO-ROOF

“ฉนวนยาง กันความร้อน AERO-ROOF ด้วยโครงสร้างวัสดุเป็นเซลล์ปิดและมีเนื้อแน่น น้ำจึงไม่ซึมเข้าในเซลล์ และป้องกันความร้อนผ่านได้ดี หากหลังคารั่วหรือโดนความชื้นจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียประสิทธิภาพการกันความร้อน อีกจุดเด่นที่ชอบคือความปลอดภัย เพราะไม่ลามไฟ ไม่เกิดฝุ่นระคายเคืองทั้งในขณะติดตั้ง และในการอยู่อาศัยระยะยาว” – ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ บรรณาธิการแผนกสถาปัตยกรรม บ้านและสวน ฉนวนยาง ทำจากยาง EPDM หรือ Ethylene-Propylene Diene Rubber เป็นยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษ มีความยืดหยุ่นสูง มีคุณสมบัติทนความร้อน และความชื้นได้ดี วัสดุยางเป็นโครงสร้างเซลล์ปิด เนื้อยางประกอบกันแน่น น้ำไม่ซึมผ่าน แผ่นยางยืดหยุ่นดัดโค้งงอได้ไม่แตกหัก ทนต่อรังสี UV และสภาวะอากาศเมืองไทยได้ทุกฤดู อีกหนึ่งคุณสมบัติของยาง คือ มีน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งง่าย และช่วยให้โครงสร้างคาน และฝ้าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป แผ่นฉนวนแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนานกว่า 10 ปี ติดครั้งเดียวหายห่วงเรื่องซ่อมบำรุงไปอีกนาน อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องเศษฝุ่นในบ้านจากรอยแตกของแผ่นฉนวน AERO-ROOF® ผลิตขึ้นจากยางสังเคราะห์ชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเซลล์ชนิดปิด ส่งผลให้ตัวผลิตภัณฑ์สามารถป้องกันความชื้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการผสมสารกันไฟและเป็นวัสดุประเภท thermosetting ทำให้ฉนวนไม่หลอมเหลวและไม่ลามไฟเมื่อได้รับความร้อนหรือเปลวไฟ นอกจากนี้ AERO-ROOF® ยังมีคุณสมบัติเด่นอื่น […]

ทำไม ฉนวนใยหิน ROCKWOOL ถึงใช้ดี ปลอดภัย ช่วยประหยัดพลังงาน

ฉนวนกันความร้อน วัสดุที่หลายบ้านถามหา เพื่อแก้ปัญหายอดฮิตในประเทศไทยอย่างความร้อน วันนี้ บ้านและสวน มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ ฉนวนใยหิน ROCKWOOL มาแชร์ให้ทุกคนอ่านกัน ว่าทำไม ถึงเป็นวัสดุที่ดี น่าใช้กันความร้อน และยังช่วยกันเสียงรบกวน ได้อีกด้วย  ฉนวนใยหิน หรือ ROCKWOOL คืออะไร ? ดีอย่างไร ? ฉนวนใยหิน หรือ ROCKWOOL คือ ฉนวนกันความร้อน ผลิตจากการหลอมหินภูเขาไฟด้วยอุณหภูมิสูงและปั่นเป็นเส้นใย จากนั้นนำไปขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งฉนวนใยหินแบบแผ่น ฉนวนใยหินแบบท่อ และฉนวนใยหินแบบม้วน หรือฉนวนใยหินเสริมขดลวด  ด้วยคุณสมบัติของ ‘หิน’ วัสดุตั้งต้นของ ฉนวนใยหิน ทำให้ ฉนวนกันความร้อน ชนิดนี้ แข็งแรง ทนทานมาก รับน้ำหนักได้ดี ยุบตัวยาก มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนสูง นำความร้อนต่ำ สามารถใช้เป็น ฉนวนกันความร้อน กับงานหลังคา หรือ งานวางบนฝ้าเพดาน เพื่อลดความร้อนให้กับตัวบ้านและอาคาร เพื่อการประหยัดพลังงานได้  อีกทั้งยังสามารถ […]

วัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ

รวม 30 วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นเทรนด์การสร้างบ้านในอนาคต มีอะไรบ้างมาดูกัน โดยดูจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผ่านมาตรฐานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การรับรองฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อนขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของแต่ละผู้ผลิตสินค้า เช่น มาตรฐาน Jorakay Green Products ฉลาก SCG Green Choice เป็นต้น จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard ได้ เราจึงรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพมาฝากกัน วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุพื้น ผนัง หลังคา คอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาของ EKOBLOKลดความร้อน ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 50% นวัตกรรมคอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และหินเกล็ดเล็ก ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนผสมมากกว่า 50%โดยน้ำหนัก ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต มีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อย ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าในอาคาร น้ำหนักเบาเทียบเท่าคอนกรีตมวลเบา ประหยัดโครงสร้างรับน้ำหนัก และสะดวกในการขนส่ง วัสดุมีความหนาแน่นพอเหมาะกับการใช้งานในที่ชื้นได้ และรับน้ำหนักแขวนบนผนังได้ดี […]

รู้ต้นเหตุบ้านร้อน คุณสมบัติฉนวน และการเลือกที่ไม่ทำลายสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาสาเหตุที่ความร้อนเข้ามาในบ้าน และคุณสมบัติของฉนวน เพื่อเป็นข้อพิจารณาใน การเลือกฉนวนกันความร้อน ความร้อนเข้ามาในบ้านได้อย่างไร ความร้อนเข้ามาในบ้านด้วยการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นการส่งผ่านพลังงานความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะเดินทางไปหาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (จากร้อนไปเย็น) เพื่อปรับสมดุลของอากาศ เช่น น้ำแข็งกับน้ำในแก้ว ซึ่งน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงถ่ายเทความร้อนไปที่น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้น้ำแข็งละลาย และหยุดถ่ายเทความร้อนเมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่แผ่รังสีความร้อนปะทะกับอาคารซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ความร้อนจึงพยายามเข้ามาในอาคารด้วยการเคลื่อนที่ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางอยู่กับที่ เช่น การนำความร้อนผ่านผนังบ้าน (ผนังเป็นตัวกลาง) แต่จะร้อนเร็วช้าหรือมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิ และคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุ การพาความร้อน (Convection) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิโดยที่ตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปกับอุณหภูมิด้วย เช่น ลมเป็นตัวกลางที่พาความร้อนเข้ามาในอาคาร หรือ พาออกไปจากอาคารได้เช่นเดียวกัน การออกแบบอาคารที่ระบายอากาศได้ดี จะสามารถใช้ลมช่วยพาความร้อนออกไปจากอาคารได้รวดเร็ว ทำให้ห้องเย็นสบาย และไม่อับชื้น เห็นได้ชัดในบ้านไทยพื้นถิ่นที่นิยมยกพื้นสูง เพื่อให้ลมพาความร้อนออกจากใต้พื้นบ้าน การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทอุณหภูมิที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ […]

เทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน อะไรดีกว่ากัน

การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เป็นการลงทุนที่จะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว ไปทำความรู้จักฉนวนแต่ละชนิดก่อนเลือกใช้กัน ดูเหมือนอุณหภูมิในฤดูร้อนของบ้านเราจะพุ่งสูงขึ้นทุกปี หลายคนจึงอาจกำลังหาวิธีทำให้บ้านเย็นสบายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้รอบบ้าน ติดตั้งกันสาดบังแดด หรือกระทั่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศ อีกวิธีหนึ่งที่เราอยากแนะนำคือการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งได้ทั้งในบ้านเก่าและบ้านใหม่ ช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ในระยะยาว บ้านและสวน ขอพาไปทำความรู้จักกับ ฉนวนกันความร้อน ชนิดต่างๆ กันให้มากยิ่งขึ้น ก่อนเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้านของคุณ รูปแบบการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ส่วนใหญ่แล้วฉนวนกันความร้อนมักติดตั้งบริเวณหลังคา เพื่อป้องกันความร้อนโดยตรงจากแสงแดด แต่ก็สามารถติดตั้งตรงผนังบ้านได้เช่นกัน เพื่อช่วยกันความร้อนจากผนัง เก็บความเย็นภายในบ้าน รวมถึงช่วยดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย ฉนวนมีทั้งแบบหน่วงให้ความร้อนผ่านไปช้าลง และแบบสะท้อนความร้อนออก โดยการติดตั้งบริเวณหลังคามีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับฉนวนแต่ละประเภท ดังนี้ ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน – ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้าจะช่วยหน่วงความร้อนเอาไว้ไม่ให้ลงมายังห้องด้านล่าง โดยพื้นที่ใต้หลังคาควรมีช่องระบายอากาศด้วย เพื่อถ่ายเทความร้อนออกสู่ด้านนอกไม่ให้สะสมใต้หลังคามากเกินไป ฉนวนที่ติดตั้งเหนือฝ้ามีหลายรูปแบบ มีทั้งแบบแผ่นและแบบม้วนเพื่อให้ง่ายต่อการวางเหนือฝ้า และบางชนิดก็ติดมาพร้อมกับแผ่นฝ้าในตัว ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา – ฉนวนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาสามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด เพราะช่วยป้องกันความร้อนจากด้านบนไม่ให้ลงมาสะสมอยู่บริเวณใต้หลังคาบ้าน ฉนวนบางชนิดที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคาจะมีข้อจำกัดคือ ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับการก่อสร้างหลังคา แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถติดตั้งบริเวณช่องแป รวมทั้งมีแบบฉีดพ่น ซึ่งสามารถติดตั้งในภายหลังได้ ติดตั้งบนผิวหลังคา […]

10 วิธีสร้างบ้านให้เย็น อยู่สบาย ตามธรรมชาติ

รู้จักแนวทางการออกแบบโดยผสมผสานระหว่าง วิธีธรรมชาติ และการใช้เครื่องกล เพื่อออกแบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ ช่วยลดการใช้พลังงาน แนวทางการออกแบบบ้านให้เย็นสบายมี 2 วิธี คือ การออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติ (Passive Cooling Design) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ทิศทางแสงแดดและลม อีกวิธีเป็นการออกแบบโดยใช้เครื่องกล (Active Cooling Design) ซึ่งจะช่วยในสภาวะที่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย โดยควรใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน เพราะเมื่อออกแบบโดยอาศัยธรรมชาติได้ดีแล้ว แม้จะใช้เครื่องกลก็จะลดการใช้พลังงานได้ในระยะยาว แบบ บ้านเย็นวิถีธรรมชาติ มีแนวทางการออกแบบ ดังนี้ 1. วางแปลนบ้านถูกทิศให้หลบแดด รับลม วางแปลนบ้านตามทิศเหนือ-ใต้ จุดเริ่มต้นของ บ้านเย็น ที่อยู่สบาย คือ การวางตำแหน่งบ้านให้ถูกต้อง ด้วยการวางตัวบ้านขนานแนวโคจรของดวงอาทิตย์ ให้ด้านแคบของบ้านหันไปทิศตะวันออกและตะวันตกซึ่งมีแดดแรง แล้วหันด้านยาวของบ้านไปทางทิศเหนือและใต้ซึ่งได้รับแดดน้อยกว่า และทำช่องหน้าต่างเปิดรับลมธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมีทิศทางลมและแสงแดดดังนี้ ทิศทางลมประจำฤดู คือ ลมที่พัดผ่านเป็นประจำและมีทิศทางแน่นอนมี 2 ทิศทางคือ a.ช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดพาอากาศหนาวมา และช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงลมเปลี่ยนทิศจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ b.ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาฝนและความชื้นมา ทิศทางแดด c.ช่วงเดือนมีนาคม […]

แก้ปัญหา ฉนวนกันความร้อน PE หลุดล่อน

ฉนวนกันความร้อน หลุดร่วงลงมาแบบนี้ ทำอย่างไรดี? เมื่อเวลาผ่านไป ฉนวนกันความร้อน PE

รวมฉนวนกันความร้อน 4 ชนิดยอดนิยม พร้อมราคาขาย

การติดตั้งฉนวนที่หลังคานิยมติดตั้งใต้วัสดุมุงหลังคาและเหนือฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น มีฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ 4 ชนิด ได้แก่ ฉนวนไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เรียกง่ายๆ ว่าฉนวนใยแก้ว ได้จากการนำแก้วมาหลอม แล้วปั่นให้เกิดเส้นใยจำนวนมาก จนเกิดเป็นโพรงอากาศเพื่อเก็บกักความร้อน หุ้มด้วยวัสดุที่สะท้อนความร้อนอย่างอะลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้าน มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ใต้หลังคามาก และมีฝ้าเพดานปิด และระวังอย่าให้ฟอยล์ที่หุ้มฉนวนฉีกขาด ความชื้นจะทำให้ฉนวนยุบตัวจนประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนลดลง ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 250 บาท ฉนวนพอลิยูรีเทน (PU Foam) เป็นฉนวนที่ป้องกันความร้อนเข้ามาในบ้านได้ดีเยี่ยม มีน้ำหนักเบา และด้วยพื้นผิวที่นุ่ม มีรูพรุน จึงดูดซับเสียงได้ดีอีกด้วย ติดตั้งโดยใช้วิธีฉีดพ่นใต้หลังคาและบนฝ้าเพดาน สามารถพ่นได้หลายความหนา ยิ่งหนามากก็ยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่หากถูกเผาไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย เหมาะกับบ้านที่โชว์โครงสร้างหลังคา หรือบ้านที่มีพื้นที่เหนือฝ้าน้อยมาก ต้องใช้การฉีดพ่นตามช่องว่างเหนือฝ้าเพดานแทน ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 400 บาท ฉนวนพอลิเอทีลีน (PE Foam) เป็นการผสานแผ่นสะท้อนความร้อนกับพอลิเอทีลีนโฟม จึงมีน้ำหนักเบา และทนความชื้นได้ดี สามารถป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้านได้ในระดับหนึ่ง และระวังหากเพลิงไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย ติดตั้งง่าย […]

เปลี่ยนบ้านร้อน..เป็นบ้านเย็นทันใจ กับฉนวนกันความร้อนเอสซีจี รุ่น STAY COOL

ลองตามไปดูวิธีติดตั้งพร้อมพูดคุยกับเจ้าของบ้านหลังนี้ว่าทำไมพวกเขาจึงเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL

แผ่นเมทัลชีท ติดผนังดีหรือไม่

แผ่นเมทัลชีท นั่นสามารถนำไปเป็นส่วนต่างๆ ของบ้านได้เหมือนกันทั้งรั้ว ผนัง ฝ้า และอย่างอื่นได้อีกเยอะมากแล้วแต่ประเภท แล้วแต่การใช้งาน ซึ่งวันนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยว่า ถ้านำแผ่นเมทัลชีทติดผนัง ดีหรือไม่?