ไอเดียเก็บจักรยาน ให้กลายเป็นพร็อปส์สุดเท่

สร้างสรรค์บรรยากาศพื้นที่ภายในบ้าน ให้กลายเป็นจุดจอดจักรยานสุดเท่

Mediterranean Dreamin’ เมดิเตอร์เรเนียนที่ฝันถึง

เขาใหญ่คงเป็นดินแดนแห่งความใฝ่ฝันของใครหลายคนที่อยากมาสร้างบ้านหลังเล็กๆ และใช้ชีวิตพักผ่อนอยู่ที่นี่ หลายครั้งที่ “บ้านและสวน” เดินทางมาที่เขาใหญ่และเลือกสรรบ้านมานำเสนอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คุณผู้อ่านทุกท่าน ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้รับเกียรติจาก คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และครอบครัว สำหรับการเปิดบ้านสวยหลังนี้ให้เยี่ยมชม ในบรรดาบ้านหลายหลังที่ตั้งกระจายอยู่ภายในโครงการที่ดินจัดสรรบริเวณเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง บ้านสีเหลืองขนาดกะทัดรัดหลังนี้ดูโดดเด่นอยู่บนเนินเขาสูง ท่ามกลางบรรยากาศที่ร่มรื่นด้วยธรรมชาติ ทั้งยังรายล้อมด้วยงานจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเสริมความงามให้งานสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว “เมื่อสัก 5 ปีก่อน ผมมาดูที่ทางแถวนี้ เนื่องจากมีเพื่อนมาอยู่กันเยอะ บางคนแนะนำให้ผมซื้อที่เยอะๆ 70 – 80 ไร่ เอาไว้ทำการเกษตร พอไปดูที่ดินก็มาคิดว่าชีวิตเราคงไม่ใช่อย่างนั้น เลยเลือกที่ดินผืนเล็กที่แพงหน่อยดีกว่า แต่อยู่ในหมู่บ้าน มีสาธารณูปโภคพร้อม ตอนแรกซื้อไว้ 3 แปลง ไปๆมาๆกลายเป็น 8 แปลง ราว 4 ไร่เศษ เราปลูกบ้านสำหรับอยู่เอง และบริเวณรอบๆ ก็ทำบ้านรับรองให้แขกได้มาพัก” คุณขวัญชัยเล่าถึงเหตุผลในการสร้างบ้านหลังนี้ สไตล์การออกแบบบ้านได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแถบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมีสภาพอากาศคล้ายกับละแวกเขาใหญ่ คือกลางวันอากาศร้อน แต่กลางคืนจะเย็น ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือเป็นอาคารที่มีความสูงไม่เกินหนึ่งชั้น ตั้งแทรกอยู่บนความชันของเนินเขา หันหน้ารับทิวทัศน์ตามลักษณะภูมิประเทศ ส่วนหน้าเชื่อมแต่ละห้องกันด้วยซุ้มระเบียงทางเดินยาว ตีระแนงไม้เป็นหลังคาช่วยพรางแสงในช่วงกลางวัน […]

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

Ode to Two Little Love เพื่อสองหัวใจดวงน้อย

เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]

บ้านสวย เพราะต้นไม้ผสมผสาน

อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร

Tropical House of Phangan มุมสงบแห่งท้องทะเล

  เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]

Unconditional Love รักไม่รู้จบ

กาลเวลาไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่าต้องใช้เวลากี่ปีถึงเรียกสถานที่ที่เราพักพิงว่า “บ้าน” บางที่เราอยู่แค่ไม่กี่เดือนก็กลับรู้สึกอบอุ่นและมีความสุข ที่นั่นก็เป็นบ้านของเราได้ องค์ประกอบหลักที่เป็นหัวใจสำคัญคือครอบครัวและผู้ที่อยู่ในบ้านต่างหากที่ช่วยเติมเต็มให้คำว่าบ้านนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น บ้านสวยที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นห้องชุดขนาดใหญ่อายุกว่า 30 ปีของครอบครัว คุณแจง – ชมพูนุท และ คุณนน – ณัฐวรรธน์ เตชะไพบูลย์ คุณแม่คนสวยและลูกชายหนุ่มหล่อคนเดียวของบ้าน ห้องชุดแห่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ด้วยขนาดของแต่ละห้องและการใช้งานที่ครบครัน ในห้องชุดชั้นแรกใช้เป็นส่วนต้อนรับ มีการใช้งานเหมือนผังบ้านปกติ กล่าวคือจัดเป็นโถงรับแขก ครัวโชว์ ครัวไทย ส่วนรับประทานอาหาร ส่วนนั่งเล่นที่เชื่อมต่อกับห้องเก็บไวน์และมุมจิบไวน์ มีระเบียงยาวที่มองเห็นวิวเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้นบนเป็นห้องชุดแบบดูเพล็กซ์ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของบ้าน มีมุมรับประทานอาหารมุมนั่งเล่น และครัวเหมือนในชั้นแรก ส่วนชั้นลอยเป็นห้องนอนใหญ่ ห้องนอนคุณนน และห้องทำงาน โดยมีพื้นที่นั่งเล่นเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมของครอบครัว คุณแจงเล่าถึงที่มาของบ้านนี้ให้ฟังว่า “ตอนแต่งงานใหม่ๆ พี่อยู่บ้านสามี ยุคนั้นคอนโดมิเนียมเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม ทุกคนก็ตื่นเต้นไปจองกัน ตอนนั้นลูกชายสองขวบแล้ว เราก็อยากหาที่อยู่ใหม่ ถ้าปลูกบ้านต้องใช้เวลาปีถึงสองปี และยังมีอีกหลายคำถามตามมา เช่น ใกล้โรงเรียนลูกหรือเปล่า เดินทางสะดวกไหม เป็นความโชคดีของพี่ที่เพื่อนของสามีขายห้องข้างบนให้ เพราะไม่เคยมาอยู่เลย เขาชอบอยู่บ้านมากกว่า พี่ก็ย้ายมาอยู่เลย จากวันนั้นก็อยู่มาจนถึงวันนี้ พอที่นี่อยู่สบายก็ทำให้ลืมไปเลยว่าเราอยากปลูกบ้าน” การจัดสรรพื้นที่ที่ดีเป็นหัวใจหลักของการอยู่คอนโดมิเนียม ข้อดีของคอนโดมิเนียมในยุคก่อนคือมีพื้นที่กว้างขวางไม่ต่างจากบ้าน […]

วิลล่าสุขเสรี บ้านหลังนี้เพื่อครอบครัว

นิยามของบ้านที่หรูหราในความคิดของบางคนอาจเป็นเรื่องของงานออกแบบที่ดูวิบวับฟู่ฟ่าหรือมีความซับซ้อนจนดูน่าเกรงขาม แต่สำหรับ คุณวัชราวุธ วิคเตอร์ สุขเสรี กงสุลกิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรสวีเดน และผู้จัดการทั่วไปโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน กลับมองว่าความหรูหราของบ้านคือความรู้สึกที่อยู่สบายปลอดโปร่ง มองเห็นธรรมชาติ และอุ่นอวลพร้อมหน้าไปกับคนในครอบครัว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านพักตากอากาศขนาดใหญ่เพื่อรองรับทุกคนในครอบครัว โดยใช้เวลากว่า 2 ปีตระเวนหาที่ดินอันเหมาะสม จนมาพบทำเลที่ทุกคนในบ้านถูกใจ ด้วยระยะทางที่ห่างจากทะเลเพียง 20 เมตร จึงสามารถสัมผัสถึงเสียงคลื่น ลมทะเล และความสดชื่นจากธรรมชาติรอบตัวได้ดี “ผมทำงานอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน นับตั้งแต่โรงแรมเริ่มก่อสร้าง จนถึงวันนี้ก็ 26 ปีแล้ว รวมกับประสบการณ์การเดินทางไปทำงานกับโรงแรมอีกหลายแห่งทั่วโลก ทำให้ผมมีภาพของบ้านพักผ่อนหลังนี้อยู่ในความคิดค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่แรกเมื่อมาเห็นที่ดิน คือมองเอาไว้ต่างจากความคลาสสิกของโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อย่างสิ้นเชิง เพราะผมต้องการบ้านหลังใหญ่ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถใกล้ชิดกันได้ด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีพื้นที่แยกส่วนตัวรูปแบบบ้านเป็นสไตล์โมเดิร์นคอนเทมโพรารี ซึ่งลักษณะที่ดินนั้นยาวและลึกมากเกือบ 100 เมตร บนพื้นที่ 2 ไร่ เลยเป็นโจทย์ที่ยากหน่อยสำหรับสถาปนิก” แต่ด้วยความคุ้นเคยกับ คุณรุ่งโรจน์ ลีสินสวัสดิ์ สถาปนิกที่ร่วมงานกันมาหลายครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะตีโจทย์และแปลงความต้องการเหล่านี้ให้กลายเป็นบ้านรูปทรงคล้ายตัวเอช (H) เพื่อแยกพื้นที่ใช้งานระหว่างกันและมีความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างมิดชิด ทว่ายังเน้นมุมมองออกสู่ธรรมชาติของทะเล พร้อมทางเดินส่วนกลางซึ่งเปิดโปร่งเชื่อมโยงกันไว้ “ที่ผมกำหนดไว้ยังมีเรื่องของบ้าน 4 เสาที่เป็นเหมือนตัวแทนของสวรรค์ชั้น 4 […]

รักแรกพบ

  การผสมผสานสไตล์การตกแต่งให้สวยงามและลงตัวนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุ ของตกแต่ง หรือสีสัน เมื่อเราก้าวเข้ามาในห้องนี้ บรรยากาศในสไตล์ Eclectic เน้นความทันสมัย แต่ยังมีความนุ่มนวลและละเอียดอ่อนจากของสะสมมากมายที่จัดวางอย่างสง่างามและมีคุณค่า ร่วมด้วยการใช้โทนสีที่ดูสะดุดตาก็สร้างความน่าสนใจตั้งแต่แรกเห็น พื้นที่ 78 ตารางเมตรของห้องมีขนาดไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป คุณภาวิศ สิมะกุลธร เจ้าของบ้าน เล่าถึงเหตุผลในการเลือกคอนโดแห่งนี้ว่า “พี่หลงเสน่ห์ร่มเงาของจามจุรีที่สูงตระหง่านในโครงการ รู้สึกเหมือนได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติตลอดเวลา” ในส่วนของการตกแต่งภายในก็เผยให้เห็นถึงตัวตนของเจ้าของบ้าน คุณเอ – วัฒนา โกวัฒนาภรณ์ ผู้ออกแบบได้ใส่ใจถึงความต้องการของคุณภาวิศในทุกรายละเอียด “ห้องนี้พี่ซื้อปล่อยทิ้งไว้เป็นแรมปี จนได้มาพบและพูดคุยกับคุณเอก็ตัดสินใจปรับปรุงห้องใหม่ทั้งหมด ความต้องการแรกของพี่เลยคืออยากให้มีชั้นเก็บของเยอะๆ บรรยากาศส่วนใหญ่เน้นโทนสีน้ำเงินหรือครามซึ่งเป็นสีโปรด” คุณเอทำการบ้านอย่างหนักจนได้ผลลัพธ์ที่คุณภาวิศพอใจเป็นอย่างมาก จุดแรกที่ดูสะดุดตาคงหนีไม่พ้นแพนทรี่ที่คุณเอออกแบบในสไตล์ยุโรป ดูประณีตสวยงามและตอบสนองฟังก์ชันการใช้งานอย่างครบครัน จัดโชว์เครื่องถ้วย ชาม และแก้วอย่างน่าทะนุถนอม เน้นบรรยากาศแบบปาร์ตี้เล็กๆ ฝ้าเพดานเพิ่มลูกเล่น โดยออกแบบเป็นฝ้าหลุม โดดเด่นด้วยคิ้วบัวดูทันสมัยและหรูหรา โทนสีส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงินตามที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ถัดมาคือส่วนนั่งเล่นซึ่งคุณภาวิศมักใช้เป็นมุมอ่านหนังสือด้วย มองไปทางมุมไหนก็จะพบชั้นวางที่เต็มไปด้วยหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีตั้งแต่หนังสือนวนิยาย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ฯลฯ ที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือวอลล์เปเปอร์กรุผนัง คุณภาวิศเล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “ระหว่างเดินทางไปหาเพื่อนที่ปารีส พี่ไปเจอร้านที่ผลิตวอลล์เปเปอร์ให้แบรนด์ Hermes เลยสั่งทำลวดลายที่อยากได้ ใช้ระยะเวลาสามเดือนในการผลิต […]

ก่อนการเดินทางครั้งต่อไป

“เพราะชีวิตคือการเดินทาง” ประโยคนี้คงบ่งบอกตัวตนของ คุณโรเบิร์ต – เจษฎา โอวาทเวโรจน์ ได้ดี เขาคือเจ้าของบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ และกรรมการผู้จัดการบริษัท Global Tour Chiangmai ผู้อนุญาตให้เราได้มาเยี่ยมชมบ้านสวยๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินเชียงใหม่เท่าไรนัก “ลูกสาวสองคนไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จะกลับมาก็ช่วงปิดเทอม คนอยู่บ้านหลังนี้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นผม อะไรๆ ในบ้านจึงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็น” คุณโรเบิร์ตเกริ่นถึงบ้านหลังนี้ พร้อมพาเราเข้าไปนั่งพูดคุยที่เคาน์เตอร์บาร์กลางโถงรับแขก ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อถึงเวลากลับมาคุณโรเบิร์ตจึงต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก่อนออกเดินทางในครั้งต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบและตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเน้นความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่มีความสะดวกสบายอย่างลงตัว “ผมคิดคล้ายๆ เวลาผมไปพักโรงแรม ถ้าข้าวของกระจัดกระจายเกินไป ตอนจะออกเดินทางก็เก็บไม่ไหว กลับมาก็รกอีก คงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า” คุณโรเบิร์ตเล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้ม ก่อนเอ่ยต่อไปว่า “พอกลับมาผมจะนั่งดูหนังที่โซฟารับแขก ทำอาหารกินเอง และออกกำลังกาย ผมว่าทั้งการพักผ่อนและเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเดินทางเสมอเป็นสิ่งจำเป็นนะครับ” จริงอย่างที่คุณโรเบิร์ตกล่าว หากใครเคยเดินทางติดกันบ่อยๆ คงไม่แคล้วต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันบ้างละ การออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ความใส่ใจกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งฟิตเนสส่วนตัว สระว่ายน้ำ และสนามพัตต์กอล์ฟอยู่ภายในบริเวณบ้าน ตัวบ้านนั้นออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) โดยเป็นผนังทึบทางด้านถนนทั้งสองด้าน กันความวุ่นวายจากถนนออกไปเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว การออกแบบโครงสร้างทำควบคู่ไปกับการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมเกิดเป็นลักษณะประโยชน์นิยม (Functionalism) ที่งานสถาปัตยกรรมจะก่อร่างขึ้นมาเองจากความสมเหตุสมผลทางการใช้งานและความเหมาะสมของวัสดุและงานก่อสร้าง การใช้เหล็ก […]

บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน

แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่   กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]

พื้นที่กักเก็บ “ความทรงจำ”

บ้านสวย ทุกการเดินทางย่อมมีความทรงจำ ซึ่งอาจเป็นภาพที่คุณไม่มีวันลืม หรือแม้กระทั่งของสะสมที่มาพร้อมกับเรื่องราวมากมายให้รำลึกถึงความรู้สึกดีๆเหมือนเช่นบ้านสไตล์ยุโรปสี่ชั้นหลังนี้ที่กลายเป็นพื้นที่กักเก็บความทรงจำชั้นดีของเจ้าของบ้าน “เราหลงรักที่นี่ทันที ทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและความเงียบสงบ เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนและตอบโจทย์แรงบันดาลใจของเราได้เป็นอย่างดี”   คุณเฟิร์น – เกศชนก จีระวัฒนา ธาดาสีห์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงเกริ่นนำถึงความรู้สึกที่เห็นบ้านหลังนี้ครั้งแรก ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการ The Eyrie Khao Yai ด้วยความที่เป็นนักออกแบบและเป็นเจ้าของร้านอาหาร Featherstone Bistro Café & Lifestyle Shop และ Azure Café ทำให้การออกแบบบ้านนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเธอ  “ทิศทางในการออกแบบบ้านเริ่มมาจากของที่เฟิร์นสะสมตั้งแต่เด็กๆ ผสมผสานกับกลิ่นอายของบ้านสไตล์ยุโรปที่ชื่นชอบ บ้านพักส่วนตัวหลังนี้จึงถ่ายทอดออกมาผ่านคลังเก็บความทรงจำของเฟิร์นค่ะ” รูปลักษณ์ภายนอกของ บ้านสวย หลังนี้ ดูคล้ายหอคอยของปราสาทในยุโรป เรารู้สึกประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อทางเข้าของบ้านตั้งอยู่ที่ชั้นสาม ทั้งที่ปกติควรจะอยู่ชั้นล่างสุด พื้นที่แรกที่ทักทายเราคือส่วนนั่งเล่น ตามด้วยส่วนรับประทานอาหารและแพนทรี่ บรรยากาศในส่วนนี้ดูอ่อนหวานแบบสไตล์วินเทจ เลือกใช้โทนสีขาวครีมที่ดูสบายตา ผสมผสานอย่างลงตัวกับเฟอร์นิเจอร์แอนทีคที่คุณเฟิร์นหอบหิ้วข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปยุโรป ผนังในส่วนนั่งเล่นตกแต่งด้วยของประดับดีไอวาย ซึ่งคุณเฟิร์นสร้างสรรค์เองกับมือ ส่วนโต๊ะรับประทานอาหารและแพนทรี่คุมโทนด้วยสีของไม้ สร้างความอบอุ่นให้พื้นที่โดยรอบ เมื่อลงมายังชั้นล่างสุดที่เปรียบเสมือนชั้นใต้ดิน เราเห็นการตกแต่งผนังด้วยสีเขียวเข้ม (Hunter Green Mix) และผนังก่ออิฐ เข้ากันได้ดีกับชุดโซฟาเชสเตอร์ฟิลด์หนังอิตาลี […]

Humble Home อบอุ่นและอ่อนน้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปชมบ้านสวยกันไกลถึงบุรีรัมย์ จังหวัดเล็กๆ ในภูมิภาคอีสานใต้ บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นหลังนี้โดดเด่นด้วยตัวบ้านสีเทาขรึมตัดกับสีเขียวของสนามหญ้า เดิมเป็นบ้านที่ผ่านการออกแบบมาก่อนแล้ว โดยมีการลงเสาเข็มไปบางส่วน แต่ด้วยเซ้นส์ของ คุณอ้อ – ผณิภุช ชาญเลขา มัณฑนากร ซึ่งได้ปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับสถาปนิกเพื่อขอปรับแก้ไขโครงสร้าง โดยขยายพื้นที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางมากขึ้นสำหรับสมาชิก 5 คน ประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกๆอีก 3 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีช่วงวัยและความชอบแตกต่างกัน หลังการปรับโครงสร้าง บ้านหลังนี้จึงมีพื้นที่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่สำหรับรับรองแขกที่เป็นทางการ ห้องนั่งเล่นของครอบครัวที่เชื่อมต่อกับฟิตเนสและซาวน่า และห้องนอนส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ภายในบ้านออกแบบให้มีบรรยากาศโปร่งโล่ง โดยทำระเบียงทางเดินภายในบ้านให้เหมือนเดินรอบคอร์ตยาร์ดซึ่งจัดเป็นสวนแนวญี่ปุ่น สมาชิกในบ้านจึงมองเห็นกันและกันได้ มีการปรับระยะความสูงของฝ้าเพดานทั้งหมดให้สูงขึ้น เพื่อเปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติ ไม่เกิดมุมอับและอากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังนำองค์ประกอบแบบสมมาตรมาช่วยเน้นให้งานตกแต่งดูมีมิติและน่าสนใจ เช่น พื้น กรอบประตู และฝ้าเพดาน ที่ออกแบบเป็นกรอบรูปเรขาคณิตบางส่วนก็เล่นระดับหลายๆ ชั้น เป็นการสร้างกรอบนำแนวสายตา อีกทั้งเสริมให้พื้นที่นั้นๆ ดูเป็นสัดส่วนชัดเจนยิ่งขึ้น พระเอกอีกคนของบ้านหลังนี้ก็คือไม้มะค่า ซึ่งเป็นของสะสมของเจ้าของบ้านที่ทั้งสวยงามและมีคุณค่าทางจิตใจ จึงเลือกนำมาปูพื้น นอกจากให้ความรู้สึกอบอุ่นแล้ว ผู้ออกแบบยังได้นำมาเป็นแนวคิดหลักในการสรรหาวัสดุปิดผิวชนิดอื่นๆ เพื่อเลือกโทนสีที่ช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านเกิดความกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ ที่น่าสังเกตอีกประการก็คือการเลือกใช้โทนสีแบบสุภาพ แม้จะดูเรียบ ทว่าก็ให้ความรู้สึกสวยคลาสสิกแบบไร้กาลเวลา ดูสงบแต่ก็เปี่ยมด้วยความภูมิฐาน […]

อบอุ่น ละมุน ร่วมสมัย

ประตูไม้บานเล็กเปิดออกให้เห็นสวนหินสไตล์ญี่ปุ่นที่ดูเรียบง่ายสบายตาช่วยเพิ่มความรู้สึกสงบนิ่งเหมือนเช่นตัวบ้านที่ออกแบบให้มีรูปทรงแบบเรขาคณิตดูไม่หวือหวา ทว่าก็มีเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้เจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกบ้านหลังนี้ “เดิมทีผมมีบ้านอยู่อีกที่หนึ่ง หลังนั้นค่อนข้างเล็ก ก็เลยอยากได้บ้านที่มีสนามหญ้าหน้าบ้าน มีบ่อปลาคาร์พ มีมุมปาร์ตี้สังสรรค์กันเล็กๆ ภายในครอบครัว และผมก็มาเจอที่นี่ ชอบที่ตำแหน่งของบ้านมีลมพัดผ่านตลอดเวลา บรรยากาศในบ้านจึงเย็นสบาย” เจ้าของบ้านเกริ่นถึงที่มาของบ้านหลังนี้ให้ฟัง บนพื้นที่ประมาณ 360 ตารางเมตรที่มาพร้อมกับตัวบ้านของโครงการ เจ้าของบ้านต้องการแบ่งสัดส่วนและต่อเติมบ้านใหม่ทั้งหมด จึงค้นหาทีมสถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายในจากอินเทอร์เน็ต จนได้มาพบกับ คุณดาวุค – นิรัติศัย สลาม จากบริษัทพาย จำกัด ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเขาได้อย่างครบถ้วน “เจ้าของบ้านอยากได้บ้านที่ดูอุ่นๆ ไม่โมเดิร์นจนเกินไป มีบรรยากาศอบอุ่นแบบโฮมมี่ ผมจึงตีโจทย์เป็นบ้านสไตล์โมเดิร์นผสมกับคอนเทมโพรารีที่มีความร่วมสมัยครับ” คุณดาวุคเล่าถึงแนวทางออกแบบว่า เน้นความเรียบหรูภายใต้โทนสีขาวที่ดูสว่าง เริ่มที่ส่วนรับแขกออกแบบให้เชื่อมต่อไปถึงส่วนรับประทานอาหารและส่วนเตรียมอาหาร วัสดุส่วนใหญ่ที่บ้านหลังนี้เลือกใช้ก็เป็นวัสดุธรรมชาติอย่างหินอ่อนและไม้ “เจ้าของบ้านชื่นชอบหินและไม้อยู่แล้ว อยากให้บ้านทั้งหลังดูอบอุ่นด้วยโทนสีครีมและขาว ผมและทีมงานจึงออกแบบให้ที่นี่มีบรรยากาศที่ดูกลมกลืนกันทั้งหลังซึ่งกลมกลืนในที่นี้หมายถึงเข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกันระหว่างไม้กับหินครับ” ถัดจากส่วนรับแขกก็เป็นโต๊ะรับประทานอาหารสีขาวที่จัดวางอย่างโดดเด่น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจให้พื้นที่โดยรอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่ที่เจ้าของบ้านรักและชื่นชอบ โดยติดตั้งอยู่ในผนัง ทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ถัดมาคือห้องนั่งเล่นที่เจ้าของบ้านและครอบครัวมักใช้เวลาในช่วงหัวค่ำมารวมตัวพูดคุยกัน จัดวางโซฟาสีส้มบนพื้นพรมเนื้อนุ่มสีเทา – ดำ เข้ากันได้ดีกับฝ้าเพดานที่ออกแบบเป็นระแนงไม้ เพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเอง นอกจากนี้เมื่อมองทะลุประตูบานเลื่อนกระจกออกไปด้านนอกจะเห็นบ่อปลาคาร์พที่ทำหน้าที่เพิ่มความเป็นธรรมชาติและสร้างบรรยากาศน่าสบายให้บ้าน “ในห้องนั่งเล่นนี้ยังมีมุมสำหรับปาร์ตี้กันเล็กๆ ออกแบบให้มีมินิบาร์เพื่อรับรองแขกที่มาเยือน ด้านหลังเป็นตู้บิลท์อินสำหรับเก็บของและโชว์ถ้วยรางวัลที่เจ้าของบ้านได้มาจากการแข่งขันดริฟต์รถแข่ง”   เมื่อขึ้นไปยังชั้นบนจะเห็นมุมนั่งเล่นที่เชื่อมไปยังห้องนอนใหญ่ ห้องนอนลูกสาว และห้องนอนลูกชาย […]

Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง

แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]

บ้านซ่อนตัว

สบาย ปลอดภัย และเป็นส่วนตัว คือปัจจัยหลักที่เรานึกถึงก่อนจะสร้างบ้านหรือเลือกพื้นที่ส่วนตัว แบบบ้านโมเดิร์น หลังใหญ่ที่ดูน่าค้นหาหลังนี้สะดุดตาตั้งแต่ไกลด้วยที่ตั้งซึ่งอยู่ในเขตชุมชนของอำเภอเมืองนครปฐม แต่กลับมีความเป็นส่วนตัวอย่างมากด้วยรั้วปูนเว้นร่องเล็กๆ ที่ดูเท่และไม่ทึบจนเกินไป DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ : Backyard Architect เมื่อเข้ามาด้านในก็ยิ่งตื่นเต้น เพราะเราไม่อาจมองเห็นตัว แบบบ้านโมเดิร์น ทั้งหมดได้ จากมุมนี้สร้างความสงสัยว่าถ้าจะเข้าไปในตัวบ้านจริงๆ ต้องเข้าทางไหนกันแน่ คุณมีชัย เจริญพร สถาปนิกจากบริษัท Backyard Architect จำกัด เล่าให้ฟังว่า “เจ้าของบ้านต้องการความเป็นส่วนตัวสูงมาก บนที่ดินผืนนี้ประกอบด้วยบ้านจำนวน 3 หลัง โดยมีคอร์ตกลางเป็นตัวเชื่อมพื้นที่ทั้งหมด” นอกจากบ้านหลักของเจ้าของบ้านแล้ว บ้านหลังที่สองเป็นบ้านของพี่และน้อง ส่วนหลังสุดท้ายเป็นบ้านคุณพ่อคุณแม่ ตามความต้องการที่จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีความเป็นส่วนตัวด้วย สถาปนิกเสนอให้บีบพื้นที่ของบ้านให้กะทัดรัด และออกแบบให้มีสวนเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้งานร่วมกัน ซึ่งทำให้บ้านดูอบอุ่นขึ้นด้วย คุณมีชัยเล่าต่อไปว่า “เจ้าของบ้านอยากให้แต่ละพื้นที่ของบ้านมีการเล่นระดับและสเต็ปไม่เท่ากัน ผมได้นำโจทย์นี้มาพัฒนาต่อ โดยใช้บันไดเป็นตัวเชื่อม วัสดุหลักเป็นไม้ เพราะดูเรียบง่ายและอบอุ่น” การออกแบบโดยใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมอาคารทั้งสามหลังจึงทำให้เกิดพื้นที่ที่ลดหลั่นเป็นสเต็ป ซึ่งช่วยแยกความเป็นส่วนตัวของแต่ละครอบครัว อีกทั้งเป็นตัวบอกพื้นที่การใช้งานได้ดี เช่น บันไดด้านหน้าที่ใช้โครงเหล็กและไม้จริงเป็นระแนงบังสายตาจากภายนอก สร้างความเป็นส่วนตัว และใช้กับบ้านหลังแรกเท่านั้น

บ้านทรงสี่เหลี่ยมหลังคาจั่ว จุดเริ่มต้นของความพอดี

บ้านชั้นเดียว สีขาว หลังนี้ตั้งอยู่ในละแวกเส้นทางแม่ริม – โป่งแยง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านจัดสรรเก่า แต่ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นครึ้มจนปิดบังภาพเดิมของหมู่บ้านนี้ไปเกือบหมด คุณทองมา – จำเนียร ทองมา ศิลปินและประติมากรฝีมือเยี่ยม ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ เล่าถึงที่มาของบ้านให้ฟังว่า “ผมเจอที่ดินตรงนี้ ก็เพราะเพื่อนชวนให้มาตกแต่งห้องของเขา ซึ่งก็อยู่ข้างบ้านผมนี่เอง ผมเห็นที่ดินแล้วชอบ เพื่อนก็ชวนให้มาอยู่เป็นเพื่อนบ้านกัน ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน เพราะที่นี่มีสิ่งที่ผมชอบหลายอย่าง เช่น เป็นที่ที่อยู่กลางธรรมชาติ มีป่าและลำธารที่ได้ยินเสียงน้ำไหลรินตลอดเวลา อาจเป็นเพราะว่าผมทำงานที่ค่อนข้างดิบ ๆ จึงอยากอยู่แบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของผมได้ดี  ” บ้านชั้นเดียว สีขาว ไม่เกิน 4 เดือน บ้านชั้นเดียว หลังนี้ก็สร้างเสร็จ จากเดิมที่ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วยหญ้าสูงท่วมศีรษะ มีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินพร้อมปลูกที่อยู่อาศัยเหมือนเมื่อครั้งเป็นที่ดินจัดสรรตอนแรกเริ่มโครงการ บนพื้นที่ 1 ไร่ คุณทองมาได้วางแผนล่วงหน้าแล้วว่า จะทำเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะและส่วนพักอาศัย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้กินพื้นที่ประมาณเท่ากัน ด้านริมถนนเป็นส่วนสตูดิโอ ส่วนด้านหลังติดลำธารเล็กๆเป็นบ้านพัก โดยทุกหลังสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวสีขาว หลังคาจั่ว ดูสงบและสบายส่วนที่เป็นบ้านพัก วางแปลนเป็นรูปตัวแอล ( L ) […]

The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง

  เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ  ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน  เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]