ว่านธรณีสาร

แดงครีบยอด/มะขามป้อมดิน/เสนียด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll. Arg.
วงศ์: Phyllanthaceae
ประเภท
: ไม้พุ่ม อายุหลายปี
ลำต้น
: สูง 30-100 เซนติเมตร
ใบ: ใบเดี่ยว รูปรี ขนาดเล็ก
ดอก:
ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้นออกตามซอกใบ คล้ายต้นลูกใต้ใบ ดอกเล็กสีแดง ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้โคนกิ่งย่อย ดอกเพศเมียออกตามซอกใบอยู่ตอนบนของกิ่งย่อย
ผล: ผลแห้งแตก รูปทรงกลม ผิวเกลี้ยง สีน้ำตาล
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี
แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน
น้ำ: ปานกลาง
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำ
การใช้งานและอื่นๆ:
เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ทั้งต้นต้มน้ำ ดื่มแก้ปวดท้อง ใช้เป็นยาล้างตา ทาผิวหนัง แก้ฝีอักเสบ แก้คัน ทาท้องแก้ไข้ หรือทาท้องเด็ก ช่วยให้ไตทำงานปกติ ใบตำเป็นยาพอกเหงือก แก้ปวดฟัน พอกฝี แก้บวม และคันตามร่างกาย หรือนำมาบดให้เป็นผง ผสมกับพิมเสน ใช้กวาดคอเด็ก แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซางเด็กได้ดีมาก และยังช่วยขับลมในลำไส้ด้วย
ความเชื่อ: ในอดีตใช้สำหรับประพรมน้ำมนต์ โดยเฉพาะน้ำมนต์ธรณีสาร แต่ภายหลังหายากขึ้น จึงใช้ใบมะยมกับหญ้าคาแทน ว่านนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ช่วยป้องกันผีร้ายได้อย่างดี โบราณมักปลูกไว้หน้าบันไดบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและเก็บมาทำยาได้สะดวก