ต่อเติมกันสาด แก้ปัญหาฝนสาด แดดร้อน

หากเจอปัญหาฝนสาด แดดส่อง โรงจอดรถเปียก มาดูข้อพิจารณาในการ ต่อเติมกันสาด ให้ดูดีเข้ากับบ้าน ที่ช่วยให้บ้านอยู่เย็นสบายขึ้น เลือกรูปแบบและวัสดุกันสาด – ระแนงให้เหมาะกับบ้าน กันสาดและระแนงมีหลายรูปแบบ สามารถแบ่งตามวัสดุและการใช้งานได้ ดังนี้ ต่อเติมกันสาด ระแนงกรองแสง ช่วยกรองแสงสว่างให้ส่องเข้าบ้านน้อยลง ไม่ทำให้ภายในบ้านมืดทึบเกินไป ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบโล่ง หรือมุงวัสดุโปร่งแสงเพื่อป้องกันฝนและลดความเข้มแสงลงได้ด้วย ทั้งยังเป็นการเพิ่มองค์ประกอบอาคารให้มีดีเทลน่าสนใจได้ อะลูมิเนียม เป็นโลหะที่รีดขึ้นรูปให้มีขนาดหน้าตัดต่างๆ แม้จะเป็นวัสดุอะลูมิเนียมเหมือนกัน แต่มีหลายเกรด โดยอะลูมิเนียมคุณภาพสูง คือเกรด 6063T6 หรือ T6 จึงควรเลือกบริษัทผู้ผลิตและติดตั้งที่น่าเชื่อถือ เหมาะกับบ้านทุกสไตล์โดยเฉพาะสไตล์โมเดิร์น ข้อดี มีความทนทานสูง ปลอดสนิม น้ำหนักเบา ทำสีและผลิตสำเร็จจากโรงงาน ติดตั้งเร็ว วัสดุมีความแข็งแรง จึงใช้หน้าตัดเล็กกว่าวัสดุอื่น ทำให้ดีไซน์ดูโมเดิร์นบางเบา ข้อจำกัด ราคาค่อนข้างสูง และติดตั้งโดยช่างของบริษัท ไม้เทียม วัสดุทดแทนไม้ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ WPC (Wood Plastic Composite) มีขนาดมาตรฐานให้เลือกเป็นเส้น หรือแผง มีทั้งรุ่นที่ทำสีมาสำเร็จ และมาทำสีหน้างาน […]

รวมวัสดุหลังคาและกันสาด ป้องกันฝน ลดความร้อน

วิธีการเลือกวัสดุ หลังคาและกันสาด คือ พิจารณาความสามารถในการปกป้องตัวบ้านจากความร้อนและฝน อายุการใช้งาน และมีความสอดคล้องกับรูปลักษณ์อาคาร ซึ่งมีวัสดุหลังคาและกันสาดที่น่าสนใจหลายชนิดให้เลือกใช้กัน หลังคาและกันสาด แผ่นหลังคาอะคริลิกโปร่งแสง ของ Shinkolite เป็นวัสดุที่มีผิวเรียบ มันวาว ดูทันสมัย ไร้ปัญหากรอบแตก สีเหลือง ซีดจาง นานกว่า 10 ปี น้ำหนักเบากว่ากระจกครึ่งหนึ่งเป็นแผ่นตันจึงหมดปัญหาเชื้อรา น้ำเข้า ตะไคร่น้ำ น้ำเข้าแผ่น และเสียงดังเวลาฝนตก มีอุปกรณ์ติดตั้งที่มีมาตรฐานป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และมีบริการให้คำแนะนำด้านการออกแบบ พร้อมประเมินราคาค่าติดตั้ง –รุ่น “กันความร้อน” สามารถลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 5 องศาเซลเซียส ป้องกันความร้อนจากรังสีอินฟาเรต 48-59 เปอร์เซ็นต์ มี 4 สี คือ สีเทา สีน้ำตาล สีน้ำเงิน และสีเขียว ขนาด กว้าง 1.38 เมตร ยาว 3, 4, 5, 6 เมตร หนา 6 […]

กระเบื้องหลังคาเก่า-ใหม่ แตกได้ ร้าวได้ หน้าฝนทำให้น้ำรั่วซึม

กระเบื้องมุงหลังคาทั้งเก่าและใหม่ ย่อมแตกร้าวได้ อย่างหลังคาทาวน์เฮ้าส์อายุกว่า 30 ปีหลังนี้ ที่มีการรั่วซึมบริเวณหัวสกรูยึดกระเบื้อง ครอบข้าง และปีกนก ค.ส.ล. มาดูวิธีการซ่อมแซมจากผู้เชี่ยวชาญกัน Before – หลังคาบ้านเก่ารั่วซึม กระเบื้องหลังคาบ้านมีโอกาสรั่วซึมได้จากหลายสาเหตุ ผู้เชี่ยวชาญจาก จระเข้ – JORAKAY ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์กันซึมและซ่อมแซม ได้มาให้คำแนะนำว่า การรั่วซึมของกระเบื้องหลังคาที่แตก ร้าว มักเกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง มีสิ่งของตกกระทบ และวัสดุเสื่อมสภาพ หรือกระเบื้องมีการเผยอทำให้เกิดรอยแยกที่น้ำซึมลงไปได้ มาดูวิธีซ่อมแซมที่เจ้าของบ้านและช่างทำตามได้ง่ายๆ หลังคาน้ำรั่ว อุดรูรั่วที่เป็นจุด และบริเวณหัวสกรูยึดกระเบื้อง หากพบรอยรั่ว แตก ร้าวบนกระเบื้องมุงหลังคาไม่มาก สามารถอุดซ่อมได้ แต่ถ้ารูรั่วมีขนาดกว้าง หรือมีโอกาสลุกลาม ควรเปลี่ยนกระเบื้องแผ่นใหม่ การอุดรูรั่วที่เป็นจุด รูรั่วบริเวณหัวสกรูยึดกระเบื้อง หรือรอยแตกกว้าง 1-5 มิลลิเมตร ให้อุดด้วย โพลียูรีเทนอุดรอยต่อ ‘จระเข้ โพลี ยู ซีล’ แล้วทาทับอีกชั้นด้วย อะคริลิกทากันซึมหลังคาและดาดฟ้า “จระเข้ รูฟ ชิลด์”  ขั้นตอนการทำ ใช้แปรงทำความสะอาดบริเวณจุดที่รั่ว […]

Before / After เปลี่ยนดาดฟ้าเน่า รั่วซึม เป็นมุมพักผ่อน

ดาดฟ้ารั่ว มีรอยร้าว ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าไปในบ้าน มีวิธีทำกันซึม และปกป้องพื้นผิวแบบ Step by step แถมด้วยไอเดียการเปลี่ยนดาดฟ้าให้เป็นมุมพักผ่อน Before – ดาดฟ้าบ้านเก่า 40 ปี เจอปัญหา ดาดฟ้ารั่ว มีรอยร้าว น้ำซึม เหมือนบ้านเก่าอายุกว่า 40 ปีหลังนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก จระเข้ – JORAKAY ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์กันซึมและซ่อมแซม ได้มาให้คำแนะนำ พร้อมบอกวิธีซ่อมแซมอย่างละเอียด ให้เจ้าของบ้านและช่างทำตามได้ง่ายๆ ด้วย 4 ขั้นตอน คือ เตรียมพื้นผิว อุดรอยร้าว ทาซีเมนต์กันซึม ปกป้องพื้นผิว ก่อนการซ่อมแซม ควรวิเคราะห์หาสาเหตุการรั่วซึมเพื่อแก้ไขได้ตรงจุด โดยผู้เชี่ยวชาญจาก จระเข้ มาตรวจสอบพื้นที่พบว่า มีรอยร้าวขนาดเล็กที่พื้น มีจุดรั่วซึม คราบน้ำใต้พื้น และขอบมุมรอยต่อ ซึ่งปัญหารอยร้าวเกิดจากคอนกรีตเจอสภาพอากาศร้อนและเย็น แล้วมีการยืด-หดตัวจนเกิดการร้าว อีกทั้งคอนกรีตมีการสะสมความชื้นมาเป็นเวลานาน ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพ เมื่อไม่ใช่ปัญหาจากโครงสร้าง ก็สามารถซ่อมแซมด้วยการทำระบบกันซึมได้เลย มาเตรียมวัสดุและอุปกรณ์กัน ซีเมนต์ทากันซึม ชนิดยืดหยุ่น […]

ตรวจ-ซ่อมหลังคารับหน้าฝน

ก่อนเข้าหน้าฝน ควรสำรวจและปรับปรุงส่วนต่างๆ ของบ้านที่อาจรั่วซึมได้เมื่อต้องเจอฝนตกหนัก มาสำรวจและซ่อมแซม 4 จุดที่มักเกิดการรั่วซึมกัน ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว 1. หลังคา หลังคาเป็นส่วนของบ้านที่โดนแดดและฝนมากที่สุด จึงควรสำรวจเป็นจุดแรกและทำเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีวิธี ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว ดังนี้ การตรวจสอบ สังเกตจากภายนอก เป็นวิธีการเบื้องต้นในการตรวจหาสิ่งผิดปกติ เช่น รอยแตกร้าว กระเบื้องมีการเผยอขึ้นกว่าปกติ มีเศษกระเบื้องหรือปูนหล่นลงมา หากมีน้ำรั่วเข้ามา อาจมีเสียงหยดน้ำหรือเสียงน้ำไหล ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องรีบแก้ไข เปิดฝ้าเพดานดูใต้หลังคา ฝ้าเพดานชั้นบนควรติดตั้งช่องเซอร์วิสอย่างน้อย 1 จุด ซึ่งเป็นช่องฝ้าเพดานที่เปิดได้ ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร สำหรับขึ้นไปซ่อมบำรุง แนะนำให้ไปสำรวจ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงฝนตกก็จะเห็นน้ำรั่วได้ แต่น้ำอาจไหลมาจากจุดอื่นด้วย จึงควรสำรวจช่วงกลางวันอีกครั้ง โดยมองหาจุดที่มีแสงแดดลอดผ่านลงมา และจดตำแหน่งไว้เพื่อชี้จุดให้ช่างได้ถูกต้อง ตรวจหาคราบน้ำที่ฝ้าเพดานและผนัง หากพบผนังหรือฝ้าเพดานมีความชื้นผิดปกติ เป็นไปได้มากที่จะมีน้ำรั่วซึมเข้ามา ซึ่งในระยะแรกจะยังไม่เกิดคราบชัดเจน เมื่อความชื้นสะสมมากขึ้นจึงเกิดคราบน้ำ อาจเป็นคราบสีน้ำตาลหรือมีอาการโป่งพอง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดเชื้อรา มีกลิ่นอับ และฝ้าทะลุได้   ทำฝนเทียม […]

พิสูจน์! วัสดุทากันซึม แก้ปัญหาดาดฟ้า หลังคารั่วซึมได้จริงไหม

หลังคารั่ว ดาดฟ้ามีน้ำซึม ผนังมีรอยร้าวแก้ปัญหาได้ด้วยวัสดุกันซึม แล้วจะมั่นใจได้แค่ไหนว่าจะกันรั่วกันซึมได้จริงไหม มาพิสูจน์กับ ช่างประจำบ้าน กัน วัสดุทากันซึมชนิดอะคริลิก หลังคารั่ว ดาดฟ้ามีน้ำซึม ผนังมีรอยแตกร้าว แก้ไขได้ด้วยการทาวัสดุกันซึมชนิดอะคริลิก เน้นย้ำว่าใช้สำหรับพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขัง สามารถยึดเกาะได้หลายพื้นผิว เช่น กระเบื้อง เมทัลชีท คอนกรีต มีความยืดหยุ่นสูง 500% ปิดรอยแตกกว้างไม่เกิน 2 มิลลิเมตร และยังสะท้อนรังสีความร้อน 50-80% แต่จะไปทาหลังคาดาดฟ้ากันตอนนี้ก็จะพิสูจน์เห็นผลไม่ชัดเจน มาลงมือทดสอบโดยการทากับหวดนึ่งข้าวเหนียวที่มีรูพรุนกันไปเลย กันซึม หลังคารั่ว 1.วัสดุทากันซึมชนิดอะคริลิกเปิดใช้ได้ทันที ไม่ต้องผสม ทาง่ายคล้ายการทาสี แต่ถ้าพื้นผิวมีความขรุขระมากสามารถผสมน้ำ 5-10%ทาเป็นรองพื้นได้ 2.ทารอบแรกให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก ปล่อยให้แห้ง 4 ชั่วโมง จากนั้นทารอบสองทั้งด้านในและด้านนอก ปล่อยให้แห้งอย่างน้อย 48 ชั่วโมง 3.ทดสอบเทน้ำลงไป ไม่รั่วแม้แต่หยดเดียว กันซึม หลังคารั่ว ชัวร์สบายใจได้ 4.เมื่อแห้งแล้ว ยืดหยุ่นได้สูง 500% ปิดรอยแตกกว้างไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ทดสอบโดยทาบนฟองน้ำ ทั้งบิด […]

รวมวัสดุหลังคาโปร่งแสงยอดนิยม

หลังคาโปร่งแสง เหมาะสำหรับส่วนต่อเติมต่างๆ ทั้งห้องครัว โรงจอดรถ หรือกันสาดหน้าบ้าน ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ หลังคาโปร่งแสง เป็นได้ทั้งส่วนหนึ่งของหลังคาในงานออกแบบบ้านหรืออาคาร อีกทั้งยังสามารถใช้ทำกันสาด หรือส่วนต่อเติมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาห้องครัว โรงจอดรถ หรือกันสาดหน้าบ้าน ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ยอมให้แสงส่องผ่านได้ จึงทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างออกไป วันนี้จึงได้รวบรวมวัสดุ หลังคาโปร่งแสง ยอดนิยมในบ้านเรา มาแนะนำให้รู้จักกัน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ช่วยให้เจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกมาใช้งานได้ง่ายขึ้น แผ่นหลังคาอะคริลิกโปร่งแสง PLEXIGLAS หลังคาโปร่งแสง ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโน “Naturally UV Stable” ทนทานต่อรังสียูวี รับประกัน 30 ปี ไม่เหลือง และคงความใสสำหรับแผ่นใส และ 10 ปี สำหรับแผ่นสี แสงสามารถผ่านได้ 92 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันรังสียูวีได้เทียบเท่า UPF 50+ ป้องกันความร้อนได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ในรุ่น “Heatstop”  น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ทนต่อแรงกระแทกได้ดี แม้มีลูกเห็บตก ฝนตกเสียงไม่ดัง น้ำไม่เกาะ […]

วิธีเลือกเมทัลชีตอย่างมืออาชีพ

รู้หรือไม่ว่าวัสดุยอดฮิตอย่าง แผ่นเมทัลชีท มีให้เลือกมากมายหลายแบบ มาดูกันว่า มีวิธีการเลือกใช้อย่างไรบ้าง แผ่นเมทัลชีต (Metal Sheet) หรือแผ่นเหล็กรีดลอน เป็นวัสดุมุงหลังคาสุดฮิตที่ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี-อลูมิเนียม  (Zine-Aluminium ) มีลักษณะเป็นแผ่นยาว รอยต่อน้อย จึงนิยมใช้มุงหลังคาบ้าน กันสาด ผนังเมทัลชีต และกั้นรั้วเมทัลชีต แผ่นเมทัลชีท วิธีการเลือกเมทัลชีต 1. เลือกลอน แผ่นเมทัลชีท ให้เหมาะกับบ้าน รู้ไหมว่าแผ่นเมทัลชีต นั้นมีหลายลอน ทั้งลอนสูง ลอนเล็ก ลอนรูปกระเบื้อง ลอนสำหรับผนัง จึงสามารถเลือกรูปแบบลอนให้เข้ากับบ้านและการใช้งานได้ โดยมีหลักในการเลือกคือ เมทัลชีท พื้นที่ขนาดเล็ก จะเหมาะกับลอนเล็กและลอนเตี้ย เพื่อให้ดูสมส่วนกัน บ้านอยู่ในพื้นที่ฝนชุกลมแรง แนะนำให้ใช้ลอยสูงเพื่อช่วยระบายน้ำได้ดี บ้านที่มีสไตล์เฉพาะตัว เลือกใช้ลอนกระเบื้องที่เข้ากับสไตล์นั้นๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือก 2. ใช้ความหนา แผ่นเมทัลชีท ให้เหมาะกับการใช้งาน แผ่นเมทัลชีตมีหลายความหนา ซึ่งมีผลกับความแข็งแรง และระยะความห่างของแป ดังนั้นก่อนตกลงติดตั้งหลังคา ควรเช็คสเปกหลังคาว่ามีความหนาที่เหมาะสม และเช็คก่อนการติดตั้งว่าใช้เมทัลชีตตรงกับที่สเปกไว้หรือไม่ งานหลังคาขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว ใช้ความหนา […]

เช็ก 5 สัญญาณหลังคารั่ว รู้ก่อนเกิดปัญหา

ดูหลังคาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน ดูไม่ดีเสี่ยงเจอปัญหาหลังคารั่ว! ไปดูวิธีเช็กกันว่าหลังคาแบบไหนส่อแววเกิดปัญหาน้ำรั่วซึม หลังคารั่ว เป็นปัญหาที่ส่งผลไปยังส่วนอื่นๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งบ่อยครั้งปัญหาเหล่านี้มักจะแสดงอาการหรือมีท่าทีที่จะเกิดปัญหา ทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านมือสอง มาดูวิธีเช็กหลังคาก่อนซื้อกันดีกว่า เพื่อป้องกันปัญหารั่วซ้ำซากที่อาจเกิดขึ้น อาการที่ 1 รอยต่อสันหลังคาดูไม่เรียบร้อย หลังคารั่ว มักเกิดบริเวณรอยต่อสันหลังคาที่ไม่แนบสนิท เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกระเบื้องหลังคาในบริเวณครอบสันและตะเข้สัน ทำให้น้ำสามารถย้อนกลับเข้าไปใต้หลังคาได้ ซึ่งถ้าหากว่าในจุดนี้ดูไม่เรียบร้อยแล้ว แม้ว่าวันแรกๆจะไม่มีปัญหา แต่อายุการใช้งานก็จะไม่ยาวอย่างแน่นอน อาการที่ 2 หลังคาแอ่นเพราะโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากลักษณะโค้งแอ่นท้องช้างของผืนหลังคา เป็นเพราะการติดตั้งโครงหลังคาไม่ได้ระดับ หรือโครงสร้างรับน้ำหนักแผ่นกระเบื้องไม่ได้ เป็นผลให้ผืนหลังคาไม่เป็นระนาบเดียวกัน อันจะนำมาซึ่งปัญหาการ หลังคารั่ว ได้ในที่สุด อาการที่ 3 กระเบื้องหลังคาไม่ต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกัน กระเบื้องหลังคาโย้ไปโย้มาไม่เป็นแนวเดียวกัน เกิดจากการติดตั้งหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน และการติดตั้งแปหลังคาที่ไม่เท่ากัน เมื่อมุงกระเบื้องลงไปจึงทำให้กระเบื้องหลังคาไม่ต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกัน อาการนี้ก็จะนำมาซึ่งปัญหาการรั่วซึมได้เช่นกัน อาการที่ 4 รอยยึดและสกรูดูไม่เรียบร้อย บ้างก็สึกกร่อน บ้างก็ขึ้นสนิม หรือมีรอยแตกร้าวที่กระเบื้องหลังคา อาการเหล่านี้นานวันไปจะกลายเป็นจุดให้เกิดการรั่วซึมได้ จากจุดเล็กๆก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด อาการที่ 5 รอยต่อหลังคากับผนังมีรอยร้าว ทั้งรอยต่อกระเบื้องชนผนังแบบมีทับหลังและไม่มีหรือแบบเป็นปีกคสล. ถ้ามีรอยร้าวหรือช่องว่างก็จะทำให้น้ำรั่วเข้าไปในผนังหรือใต้ผืนหลังคาได้ ซึ่งจะลุกลามต่อได้ในที่สุด เรื่อง และ […]

แก้ปัญหา ฉนวนกันความร้อน PE หลุดล่อน

ฉนวนกันความร้อน หลุดร่วงลงมาแบบนี้ ทำอย่างไรดี? เมื่อเวลาผ่านไป ฉนวนกันความร้อน PE

คำนวณจำนวนกระเบื้อง ด้วยวิธีการคิดพื้นที่หลังคา

วิธี คำนวณจำนวนกระเบื้อง สำหรับมุงหลังค่าอย่างง่าย โดยคิดพื้นที่ของหลังคาออกมาเป็นตารางเมตร สำหรับนำไปคุยกับช่างและเตรียมงบประมาณได้ถูกต้อง วิธี คำนวณจำนวนกระเบื้อง เป็นสิ่งที่มีผู้อ่านถามกันเข้ามามากพอดูเหมือนกัน เพราะต้องการที่จะคำนวณราคาว่าบ้านของเรานั้น หากจะเปลี่ยนไปใช้หลังคาหนึ่ง ๆ ควรจะต้องเตรียมงบประมาณเอาไว้เท่าไรกัน? และในการคำนวณพื้นที่หลังคาอย่างง่ายนี้ก็ช่วยให้การพูดคุยกับช่างเป็นไปได้โดยเข้าใจตรงกันอีกด้วย สามารถทำให้คิดพื้นที่ของหลังคาออกมาเป็นตารางเมตรได้ไม่ยากเลย ในการ คำนวณจำนวนกระเบื้อง นั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้พื้นที่หลังคาก่อน โดยที่ในการคำนวณพื้นที่หลังคานั้นจะใช้สูตรการหาพื้นที่ 3 สูตร สูตรการหาพื้นที่▯ สูตรการหาพื้นที่ △ ด้านเท่า สูตรการหาพื้นที่ △ ด้านไม่เท่า จะเห็นได้ว่าที่จริงแล้ว เราสามารถหาพื้นที่ของหลังคาโดยพิจารณาให้หลังคาเป็น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และในกรณีที่หลังคาเป็นรูปทรงอิสระ ก็สามารถนำมาแตกองค์ประกอบเป็นสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าได้ สูตรของการหาพื้นที่ทั้งหมดมีดังนี้ สูตรที่ 1 (สูตรการหาพื้นที่▯) ให้นำด้านยาว และ ด้านกว้าง ของสี่เหลี่ยมมาคูณกันตามสูตร พื้นที่ ▯ = กว้าง x ยาว = X x Y (ตามภาพ) สูตรที่ 2 (สูตรการหาพื้นที่ […]

เคล็ดลับการ ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน

ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน ด้วย Basic Details ง่ายๆแต่ได้ผล ซึ่งสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหาได้ด้วยดีเทลเล็กๆ ในระหว่างก่อสร้าง พื้นส่วนต่อเติม หากมีการทำพื้นแยกโครงสร้างกัน เช่น พื้นส่วนต่อเติม ไม่ควรปูวัสดุทับรอยต่อ แนะนำให้ทำร่องของรอยต่อให้เป็นแนว เมื่อเกิดการแตกร้าว รอยร้าวจะอยู่ในแนวที่ทำไว้ ไม่ลามไปส่วนอื่น มีตัวอย่างดีเทลรอยต่อพื้นดังนี้ ปัญหาบ้านร้าว รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมระดับเดียวกัน ควรเว้นช่องประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น เมื่อพื้นส่วนต่อเติมทรุดก็จะไม่ทำให้พื้นบ้านเสียหายลุกลาม รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมต่างระดับ ให้เว้นระยะพื้นภายนอกกับพื้นบ้าน 15-20 เซนติเมตร แล้วโรยกรวดตกแต่ง หากพื้นทรุดตัวไม่เท่ากันก็จะไม่เห็นรอยแตก มุมผนัง ป้องกันมุมผนังหรือมุมเสาเสียหายจากการกระแทกด้วยการลบมุมให้มนหรือเอียง 45 องศา หรือจะที่อาจมีการกระแทกให้ครอบมุมด้วยวัสดุทนทาน เช่น เหล็กฉาก รอยต่อผนัง รอยต่อของวัสดุเป็นจุดที่เสียหายได้ง่าย แต่ละวัสดุสามารถดีไซน์ลดความเสียหายได้ เช่น ปูน ทรายล้าง หินล้าง เซาะร่องทุกระยะ 3-4 เมตร ลดปัญหาพื้นผิวแตกร้าวจากการขยายตัวของวัสดุ ไม้ การต่อไม้แบบ “เข้าลิ้น” […]

วัสดุมุงหลังคาแต่ละแบบ ดี ด้อย ต่างกันอย่างไร

นอกจาก รูปทรงของหลังคา แบบต่าง ๆ ที่ควรรู้จักแล้ว วัสดุมุงหลังคา ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสม ซึ่งตามท้องตลาดมีเเบบให้เลือกหลากหลาย โดยวัสดุทำหลังคาเเต่ละประเภทจะมีความสัมพันธ์ต่อรูปทรง น้ำหนัก และองศาความลาดเอียงของหลังคาบ้านด้วย จะเลือก วัสดุมุงหลังคา ชนิดใด แต่ละแบบเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ลองไปทำความรู้จักคุณสมบัติของแต่ละแบบกันเลย กระเบื้องเซรามิก เป็น วัสดุมุงหลังคา ที่พบเห็นได้ทั่วไป หลักในการผลิตกระเบื้องเซรามิกคือ ดินขาว ซึ่งต้องผ่านกระบวนการอบแห้งเพื่อไล่น้ำและความชื้นออก  จนได้ผงดินเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิต จากนั้นจึงค่อยผสมกับส่วนผสมอื่นที่ช่วยให้มีเนื้อเรียบเนียน และน้ำหนักเบาก่อนจะนำไปผ่านความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส กระเบื้องเซรามิกจึงจะมีความแข็งแรงทนทาน มีขนาดเท่ากันทุกแผ่น น้ำหนักเบา ส่วนใหญ่มักทำสี และเคลือบผิว จึงไม่ต้องการการดูแลมากนัก กระเบื้องคอนกรีต หรือกระเบื้องโมเนีย (Monier) แข็งแรงทนทาน แต่มีน้ำหนักมาก หลังคาที่จะมุงด้วยวัสดุชนิดนี้ จำเป็นต้องทำโครงสร้างให้แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของแผ่นกระเบื้องได้ กระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตมีให้เลือกใช้ทั้งแบบลอนโค้ง และลอนกาบกล้วย ขนาด 33 × 42 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยแผ่นละ 4 กิโลกรัม ใช้มุงหลังคาในมุมลาดเอียงประมาณ 17 – 18 องศาขึ้นไป บริเวณหัวกระเบื้องมีรูเจาะไว้(ไม่ต้องเจาะรูนำ) สำหรับใช้ตะปูเกลียวยึดติดกับแปเพื่อความแข็งแรง ด้านข้างมีรางลิ้นเพื่อให้ซ้อนกันสนิท ช่วยป้องกันการรั่วซึมระหว่างแผ่น ส่วนปลายกระเบื้องจะทำเป็นขอบบัวดักน้ำเพื่อป้องกันน้ำฝนไหลย้อนกลับ […]

งานรื้อถอน และราคาประเมินกลางที่ควรรู้สำหรับเจ้าของบ้าน

งานรื้อถอน เป็นอีกงานที่มองข้ามไม่ได้ในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะสร้างบ้าน หรือก่อสร้างอาคารใด ๆ โดยเฉพาะงานรีโนเวตที่จะต้องเข้าไปจัดการกับสภาพเดิมของพื้นที่ งานรื้อถอน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มเเรก ก่อนจะลงมือทำการก่อสร้างตามแบบต่อไป แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า งานรื้อถอน มีราคาค่าจ้างอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ บ้านและสวนจึงไม่รอช้ามาเฉลยคำตอบให้คุณแล้ว เช่นเดียวกับงานก่อสร้าง งานรื้อถอน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามแต่ละส่วนประกอบของบ้าน โดยราคานี้เราหามาจาก หนังสือบัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานปี 2567 (อ้างอิงตามบัญชีค่าแรงงาน กรมบัญชีกลาง) โดยกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ในความเป็นจริงอาจจะแพงกว่าราคานี้อยู่ที่ 10-40% ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ทำเลที่ตั้ง และการตกลงเรื่องการขนทิ้งกองเศษวัสดุอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้รื้อถอนจะรวมกองเศษวัสดุไปขายต่อเอง หากเจ้าของต้องการจัดการกับเศษวัสดุเอง ก็ต้องตกลงกันเป็นกรณีพิเศษไป *อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการประเมินงบประมาณ ทางที่ดีคือต้องสอบถามราคาและเปรียบเทียบจากช่างรับเหมารื้อถอนโดยตรง งานรื้อถอนโครงสร้าง งานรื้อถอนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก : 200-250 บาท/ลูกบาศก์เมตร งานรื้อถอนโครงสร้างไม้ : 150-250 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนหลังคา งานรื้อถอนโครงหลังคา : 25-30 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนวัสดุมุงหลังคา : 5-8 บาท/ตารางเมตร […]

หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป เลือกให้ถูก คุ้มราคา บ้านเย็นจริง!

หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป หรือที่ใครๆก็เรียกกันว่า หลังคาปิงปอง หลังคาแซนด์วิช กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เดิมทีหลังคาและผนังฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ มีไว้สำหรับใช้ในการกักเก็บอุณหภูมิของห้องเย็น แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีผู้นำมาใช้กับหลังคา นับว่าได้ผลดีทีเดียว แต่เหล่า หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป เหล่านี้ มีอยู่หลายประเภทให้เลือกใช้ เเถมยังมีความแตกต่างกันไป ทั้งราคาและคุณสมบัติ เราจึงอยากพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับประเภท คุณสมบัติ และข้อควรรู้เกี่ยวกับหลังคาฉนวนกันความร้อน ก่อนตัดสินใจนำมาใช้งานให้ถูกต้องตามจุดประสงค์ จำเป็นต้องติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาเมทัลชีทหรือไม่ ประเภทของหลังคาฉนวนกันความร้อน หลังคาฉนวนกันความร้อนสำเร็จรูป มักใช้เมทัลชีท หรือพลาสติกในการขึ้นรูปลอน ก่อนจะเเทรกชั้นของเเผ่นฉนวนไว้ด้านใน แล้วปิดท้ายด้วยวัสดุป้องกันฉนวนเสียหายอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำแผ่นฉนวนกันความร้อนนั้น มักมีความเเตกต่างหลากหลายกันออกไป เพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน เราสามารถเเบ่งประเภทได้ดังนี้ 1. แผ่นฉนวนกันความร้อน EPS (Expanded Polystyrene) EPS ย่อมาจาก Expanded polystyrene Foam ผลิตขึ้นจากแผ่นโฟมพอลิสไตรีน หรือที่เรียกกันติดปากว่า “โฟมขาว” โดยนำมารีดผนึกติดกันด้วยกาวพอลิยูรีเทน มีค่าความเป็นฉนวนดี แต่ด้อยกว่า PU เเละมีราคาที่ย่อมเยากว่า 2. แผ่นฉนวนกันความร้อน XPS (Extruded Polystyrene) XPS ย่อมาจาก […]

ติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างไรให้คุ้มทุน

ย้อนไปสักสิบปีก่อนอาจยังไม่ค่อยได้เห็นบ้านไหนในเมืองไทยติดตั้ง หลังคาโซล่าเซลล์ เท่าไรนัก อาจเนื่องด้วยต้นทุนที่สูง หรือการคืนทุนที่ไม่คุ้มเท่าไหร่กับเงินที่เสียไป แต่ปัจจุบันทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชากรหันมาสนใจมากขึ้นด้วยการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ บวกกับกระแสรักษ์โลกที่ผู้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาด จนหลายๆ บ้านเริ่มมีการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแพร่หลายมากกว่าเมื่อก่อน แต่การติดตั้ง ‘ หลังคาโซล่าเซลล์ ’ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะเรียกช่างมาแล้วจบเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ช่างเฉพาะทางและเราต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อความคุ้มค่าที่จะได้รับกลับคืนมา ครั้งนี้เราจึงมีข้อควรรู้ไว้ก่อนลงมือติดตั้งโซลาร์เซลล์มาให้ศึกษากันอย่างละเอียดก่อน ทำความรู้จักโซลาร์เซลล์กันก่อน หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่รับมาจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน  ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านและการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ระบบออนกริด (On-Grid System) ระบบที่ต่อเชื่อมสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ ระบบไฮบริด (Hybrid) ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานไดh ระบบออฟกริด (Off-Grid […]

รวมฉนวนกันความร้อน 4 ชนิดยอดนิยม พร้อมราคาขาย

การติดตั้งฉนวนที่หลังคานิยมติดตั้งใต้วัสดุมุงหลังคาและเหนือฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น มีฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ 4 ชนิด ได้แก่ ฉนวนไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เรียกง่ายๆ ว่าฉนวนใยแก้ว ได้จากการนำแก้วมาหลอม แล้วปั่นให้เกิดเส้นใยจำนวนมาก จนเกิดเป็นโพรงอากาศเพื่อเก็บกักความร้อน หุ้มด้วยวัสดุที่สะท้อนความร้อนอย่างอะลูมิเนียมฟอยล์ เพื่อหน่วงความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้าน มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ใต้หลังคามาก และมีฝ้าเพดานปิด และระวังอย่าให้ฟอยล์ที่หุ้มฉนวนฉีกขาด ความชื้นจะทำให้ฉนวนยุบตัวจนประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนลดลง ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 250 บาท ฉนวนพอลิยูรีเทน (PU Foam) เป็นฉนวนที่ป้องกันความร้อนเข้ามาในบ้านได้ดีเยี่ยม มีน้ำหนักเบา และด้วยพื้นผิวที่นุ่ม มีรูพรุน จึงดูดซับเสียงได้ดีอีกด้วย ติดตั้งโดยใช้วิธีฉีดพ่นใต้หลังคาและบนฝ้าเพดาน สามารถพ่นได้หลายความหนา ยิ่งหนามากก็ยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่หากถูกเผาไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย เหมาะกับบ้านที่โชว์โครงสร้างหลังคา หรือบ้านที่มีพื้นที่เหนือฝ้าน้อยมาก ต้องใช้การฉีดพ่นตามช่องว่างเหนือฝ้าเพดานแทน ราคาฉนวนกันร้อน เริ่มต้นตารางเมตรละ 400 บาท ฉนวนพอลิเอทีลีน (PE Foam) เป็นการผสานแผ่นสะท้อนความร้อนกับพอลิเอทีลีนโฟม จึงมีน้ำหนักเบา และทนความชื้นได้ดี สามารถป้องกันความร้อนก่อนเข้าสู่ภายในบ้านได้ในระดับหนึ่ง และระวังหากเพลิงไหม้จะเกิดควันและก๊าซที่เป็นอันตราย ติดตั้งง่าย […]

แบบหลังคา เลือกแบบไหนให้บ้านสวยและเหมาะสม

ไปรู้จัก แบบหลังคา ทรงหลังคา หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่ว หลังคาแบน และแบบต่างๆ ที่เหมาะสำหรับบ้านในเมืองไทย เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบ้าน