เคล็ดลับและวิธีรดน้ำต้นไม้อย่างถูกต้อง ซึ่งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน!

สิ่งที่ขาดไม่ได้สําหรับการจัดสวนคือไม้นานาพันธุ์แต่ที่สําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการดูแลต้นไม้เหล่านั้นให้สวยงามตลอดปี วิธีรดน้ำต้นไม้ เพราะต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ไม่ต่างอะไรกับสมาชิกคนหนึ่งในบ้าน เจ้าของสวนจึงต้องอาศัยความพิถีพิถันและการดูแลอย่างต่อเนื่อง หากละเลยก็อย่าหวังว่าจะได้ชมดอกชิมผลให้ชื่นใจ รวมถึงการดูแลเอาใจใส่เกินความต้องการก็อาจทําให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่น่าพอใจนัก โดยเฉพาะเรื่องของ วิธีรดน้ำต้นไม้ ซึ่งมีเทคนิคแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช รดน้ำมากก็ตาย น้อยก็ตายจะทําอย่างไรดี วิธีรดน้ําต้นไม้ เป็นงานที่ต้องทําทุกวัน วันละ1-2ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น หากรดน้ําในช่วงเย็นควรเลือกเวลาที่ยังมีแสงแดดอ่อนๆ สาดส่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความอับชื้น ทั้งยังเป็นช่วงที่พืชสามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารไปใช้บํารุงต้นได้ด้วย แต่หากวันใดฝนตกชุกก็ไม่ควรรดน้ําเพิ่ม สิ่งสําคัญคือ ระวังอย่าให้น้ํามากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้ามากไปดินจะแฉะจนทําให้รากเน่า ต้นตายได้ โดยเฉพาะกระบองเพชรและไม้อวบน้ําต่างๆ แต่ถ้าให้น้ําน้อยเกินไปกับพืชที่ชอบความชุ่มชื้น เช่น เฟินและไม้ใบบางชนิด ก็จะทําให้เติบโตได้ไม่สมบูรณ์ และอาจตายได้ในที่สุด ในช่วงฤดูร้อนซึ่งมีแสงแดดจัด อากาศร้อน ควรให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ บางวันที่อากาศร้อนมากควรเพิ่มการให้น้ําในช่วงบ่าย หรือเพิ่มระบบพ่นหมอกเพื่อเพิ่มความชื้นให้พรรณไม้ด้วย สําหรับ วิธีรดน้ําต้นไม้ ที่ปลูกประดับในอาคารก็มีเทคนิคการรดน้ําที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะไม้ประดับที่ปลูกบริเวณที่ได้รับแสงน้อย ให้หมั่นสังเกตดินในกระถาง หากดินยังเปียกอยู่แสดงว่ายังไม่ถึงเวลาให้น้ํา การปล่อยให้ดินชื้นแฉะอยู่เสมออาจเป็นสาเหตุทําให้รากเน่าได้และควรมีจานรองกระถางรองไว้ด้วยเพื่อความสะอาด หรือโรยกรวดรองก้นกระถางเพื่อไม่ให้รากพืชแช่น้ําในกรณีที่รดน้ํามากเกินไป นอกจากนี้ควรนําต้นไม้ออกมาฉีดพ่นน้ําล้างลําต้นและใบบ้างเพื่อไม่ให้ฝุ่นจับ 5 ไอเดียวิธีรดน้ำและดูแลต้นไม้วันหยุดยาว ที่เราไม่ได้อยู่บ้านหลายวัน ใบเป็นแบบนี้ โดนศัตรูตัวไหนเล่นงาน วิธีประหยัดการใช้น้ําในสวน มีหลายวิธีที่ช่วยประหยัดการใช้น้ําในสวน เช่น การปลูกต้นไม้ตามลําดับชั้น โดยปลูกไม้แขวน ไม้พุ่ม […]

วิธีทำลูกประคบจากผักสวนครัวข้างรั้ว

วิธีทำลูกประคบ เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาด้านการรักษาจากแพทย์แผนไทย โดยการนําสมุนไพรต่าง ๆ ไปนึ่งประมาณ 15 – 20 นาที แล้วนําไปประคบตามจุด หรือ ตําแหน่งที่ต้องการรักษา มีสรรพคุณช่วยในการรักษา รวมถึงช่วยในการไหลเวียนของเลือด ลดการอุดตันของเส้นเลือด การปวดบวมเกร็งของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังได้กลิ่นที่หอมสดชื่นของสมุนไพร ทําให้ผู้ใช้รู้สึกตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่า วิธีทำลูกประคบ 1.นําส่วนผสมทั้งหมดมาโขลกพอหยาบแล้วคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน 2.ใส่ส่วนผสมทั้งหมดในผ้าดิบแล้วห่อเป็นลูกประคบ รัดเชือกให้แน่น 3.เมื่อต้องการใช้ให้นําลูกประคบไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที จากนั้นนํามาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อย หมายเหตุ •ลูกประคบที่ไม่ร้อนให้นําไปนึ่งต่อ หรือควรมีสองลูกสําหรับสลับนึ่งและใช้งาน •ลูกประคบที่ใช้แล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็น และใช้ต่อได้อีกประมาณ 3-4 ครั้ง โดยเมื่อนํามาใช้ให้ชุบน้ําเล็กน้อยก่อนนําไปนึ่ง •สามารถปรับเปลี่ยนตัวสมุนไพรที่ช่วยแก้ปวดเมื่อยหรือมีสรรพคุณใกล้เคียงกันได้ตามสะดวกเช่นใบส้มป่อยใบพลับพลึงใบว่านน้ํา หัวเปราะหอม ขอขอบพระคุณความรู้จาก ภูมิภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและภูมิปัญญาสุขภาพ บางเดชะ ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรและพิพิธภัณฑ์หมอไทยในจังหวัดปราจีนบุรีที่ออกแบบให้อิงกับแปลนบ้านของหมื่นชํานาญแพทยา แพทย์หลวงประจําพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีกิจกรรมหลักคือจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับสมุนไพรและภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป โดยใช้พื้นที่รอบเรือนจัดเป็นสวนที่รวบรวมสมุนไพรสําหรับทํายาตํารับต่างๆเพื่อง่ายต่อการเก็บมาใช้งาน ร่วมกับการตกแต่งให้มีความสวยงามและร่มรื่น เหมาะกับการเข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นคือการนําไห ภาชนะแบบไทยๆที่มีส่วนสําคัญในการพัฒนาอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลําไส้หรือโพรไบโอติกของคนสมัยก่อน นํามาเป็นภาชนะปลูกต้นไม้ ช่วยให้สวนดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เรื่อง : ปัญชัช ภาพ : […]

น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง สูตรปฐม ออร์แกนิก สวนสามพราน

มนุษย์ถูกโรคภัยคุกคามสุขภาพร่างกายฉันใด ต้นไม้เองก็เป็นฉันนั้น โรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากแมลงศัตรูพืช ซึ่งหากใช้สารเคมีกําจัดก็อาจเป็นอันตรายกับเราได้ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง จึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยไล่แมลงร้ายได้อย่างปลอดภัยและไร้สารตกค้าง โดยน้ำหมักสูตรนี้สามารถไล่หนอน เพลี้ย แมลงวันแดง แมลงวันทอง และด้วงชนิดต่างๆได้ ส่วนผสม ฝักคูน 750 กรัม ลําต้นบอระเพ็ด 750 กรัม เหง้าว่านน้ํา 750 กรัม ลําต้นตะไคร้หอม 750 กรัม กากน้ําตาล 1 ลิตร น้ําเปล่า 2 ลิตร วิธีทํา หั่นฝักอ่อนคูน ลําต้นบอระเพ็ด เหง้าว่านน้ํา ลําต้นตะไคร้เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกเคล้ากากน้ําตาลและน้ํากับส่วนผสมอื่นๆให้เข้ากัน นําไปหมักในภาชนะพลาสติกทึบแสงนาน 15 วัน ก่อนใช้งานหมายเหตุ •เมื่อต้องการใช้งาน ให้ผสมน้ําหมักสมุนไพรไล่แมลง1ช้อนชาต่อน้ํา 1 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็นสัปดาห์ละ2ครั้ง •หากเกิดปัญหาศัตรูพืชลงแปลงเร่งด่วน สามารถใช้น้ําสมุนไพรรดแปลงแก้ปัญหาได้ในทันทีโดยไม่ต้องหมัก ขอขอบคุณ ปฐม ออร์แกนิก Patomโทรศัพท์ 098 259 7514 สวนสามพราน […]

รวม 20 ปัญหาในสวนยอดฮิต ตอบโดยกูรูมืออาชีพ

เพราะทุกปัญหาต้องมีคำตอบ เราจึงรวบรวมปัญหาในสวนยอดฮิตที่หลายคนเอามาถามกับทีมงานบ้านและสวนอยู่บ่อยครั้ง พร้อมคำตอบจาก 2 นักจัดสวนและภูมิสถาปนิกชื่อดัง คุณปณัฐ สุมาลย์โรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอโกล่าร์ จํากัด และคุณดนัยวิทย์ อยู่คง ภูมิสถาปนิก บริษัท โลโก้เท่ากับ จํากัด แต่จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.ถ้ามีต้นไม้ใหญ่แล้วต้องการขุดย้ายไปปลูกที่อื่นต้องทําอย่างไร เราต้องรู้ก่อนว่าชนิดพันธุ์ต้นไม้ที่เราจะขุดไปปลูกนั้นมีระบบรากเป็นอย่างไรและมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมแค่ไหน โดยไม่ควรเป็นต้นไม้ที่อยู่ในช่วงแตกยอดอ่อน เพราะใบยังต้องการน้ําเลี้ยงขึ้นไปบํารุงมาก สําหรับการขุดสด ส่วนมากจะใช้กับต้นไม้ทนแล้งและมีอัตราการเจริญ-เติบโตเร็วหรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 4 นิ้ว อย่างพวกแคนา ตีนเป็ดน้ํา ลั่นทม ทองหลางน้ํา เป็นต้น เราแค่ลิดใบ ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มใบให้บางเพราะเมื่อเราตัดรากต้นไม้ให้เล็กลง จํานวนใบก็ควรน้อยลงตามไปด้วยเพื่อลดการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ จากนั้นก็ล้อมโดยเซาะร่องดินห่างจากโคนต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของรากแก้ว ยิ่งขนาดตุ้มใหญ่โอกาสรอดก็มาก จากนั้นตัดรากแขนงออก มัดดินที่โคนติดกับรากด้วยเชือกฝางแล้วใช้กระสอบป่านคลุมตุ้มดินอีกทีเพื่อป้องกันตุ้มดินแตก ส่วนการล้อมเตือนหรือล้อมคาหลุมใช้กับต้นไม้ที่มีความเปราะบาง โดยจะขุดดินรอบลําต้นไปจนถึงรากแก้วแล้วตัดรากแขนงออกให้เหลือประมาณรากถึงสองราก หมักตุ้มกับหลุมไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนถึงหนึ่งเดือนครึ่งจนเริ่มมีรากแขนงแตกออกมา จากนั้นจึงตัดรากแก้วและรากที่เหลือออกทั้งหมดแล้วยกขึ้นมามัดโคนตุ้มดินเหมือนกับวิธีการล้อมสด 2.อันตรายไหม เมื่อผ่านไปสักพักต้นไม้ที่ล้อมมาปลูกเริ่มมีอาการใบร่วงเกือบทั้งต้น เป็นการปรับสภาพของต้นไม้ตามปกติอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะล้อมต้นไม้ดังกล่าวเอาไว้เป็นระยะเวลานานจนแตกใบและแตกพุ่มแล้วก็ตาม แต่เมื่อย้ายไปลงดินในที่ใหม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของอาการต้นไม้ตามไปด้วย แค่พรวนดินรอบๆโคนต้นโดยไม่ให้กระทบกระเทือนระบบราก และก่อนปลูกควรรองพื้นหลุมด้วยกาบมะพร้าวสับ  แล้วใส่น้ํายาเร่งรากและปุ๋ยอินทรีย์น้ําในอัตราส่วนเจือจางลงไปด้วยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของราก แต่หากมีอาการใบเหี่ยวแห้งติดกับต้น […]

8 ไอเดียปลูกไม้เลื้อยในแบบต่างๆ พร้อมบอกชนิดพรรณไม้ที่เหมาะกับการปลูก

ถือว่าเป็นโชคดีของบ้านเราที่สามารถปลูกไม้เลื้อยได้หลากหลายชนิด ความมหัศจรรย์ของไม้เลื้อยคือลำต้นที่สามารถทอดยาวเลื้อยพันสิ่งใกล้เคียงโดยมีอวัยวะพิเศษช่วยในการยึด ทำให้ไม้เลื้อยจำเป็นต้องมีที่หรืออุปกรณ์สำหรับช่วยยึดและพยุงต้นให้ลำต้นยืนได้ สามารถรับแสงแดดและแตกกิ่งก้านใบหรือออกดอกสวยงาม ซึ่งต้นไม้เลื้อยแต่ละชนิดก็มีลักษณะการยึดเกาะและความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป รวมถึงนำไปปลูกและสร้างความสวยงามในสวนได้ต่างกัน เราจึงได้รวมไอเดียปลูกไม้เลื้อยในแบบต่างๆให้นำไปปลูกตามกันดังนี้ 1.ผนังระแนง วัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อปกปิดสิ่งก่อสร้างที่ดูไม่สวยงาม ส่วนใหญ่จะใช้ต้นไม้เลื้อยที่มีรากพิเศษออกตามข้อที่สามารถเกาะแนบติดกับผนังได้ดี เช่น ตีนตุ๊กแก ไอวี่ และหัวใจแนบ ซึ่งผนังจำเป็นต้องมีผิวขรุขระและมีความชุ่มชื้นอยู่พอสมควร เช่น อิฐดินเผาหรือไม้เก่า นอกจากนั้นยังสามารถตีผนังด้วยระแนงหรือตาข่ายเพื่อปลูกต้นไม้ที่เถาไม่ใหญ่มากสามารถแตกกิ่งก้านยึดเกี่ยวได้ง่ายและมีมือพันขนาดเล็ก เช่น เหลืองชัชวาล พวงชมพู สร้อยอินทนิล เป็นต้น 2.โครงไม้เลื้อย สำหรับสวนที่มีพื้นที่ไม่มาก มีลักษณะแบบสวนอังกฤษหรือสวนที่ต้องการให้ไม้เลื้อยทำหน้าที่เหมือนต้นไม้พุ่มที่เป็นจุดเด่น  ใช้โครงไม้เลื้อยลวดลายหรือรูปทรงสวยงามน่าสนใจแล้วปล่อยให้ต้นไม้เลื้อยขึ้นพันโครงดังกล่าวแล้วตัดแต่งให้เข้ากับโครงไม้เลื้อยอยู่เสมอ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่มักเป็นต้นไม้พุ่มรอเลื้อยหรือกึ่งเลื้อยที่ขนาดต้นเล็กถึงกลาง ใบละเอียด ออกดอกง่าย  สามารถเลื้อยแบบพาดพิงหรือมียอดเลื้อยพันก็ได้แต่ต้องสามารถคงรูปทรงได้บ้าง ไม่โอนเอนติดดินและตัดแต่งเป็นลักษณะคล้ายต้นไม้พุ่มอยู่ได้ เช่น พวงแก้ว กุหลาบเลื้อย คอนสวรรค์  แฮ็ปปี้เนส เป็นต้น 3.ซุ้มไม้เลื้อย มักใช้พื้นที่บริเวณระเบียงหรือลานที่ใช้เป็นที่นั่งเล่นชมสวนหรือรับรองแขกได้ โดยมีเสาสำหรับรับน้ำหนักที่แข็งแรง 2 ต้นขึ้นไป มีคานและระแนงทำจากวัสดุแข็งเช่นเหล็กหรือไม้สำหรับให้ไม้เลื้อยทำหน้าที่เลื้อยพันไปมาและให้ร่มเงา ซึ่งต้นไม้ที่เลือกจำเป็นต้องเหมาะสมกับความแข็งแรงของซุ้ม โดยเฉพาะไม้เลื้อยที่มีลำต้นขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากอย่าง หิรัญญิการ์ สะแกวัลย์ หรือเล็บมือนาง ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกต้นไม้เลื้อยที่ออกดอกสะพรั่งสวยงามหรือมีกลิ่นหอมสดชื่นให้กับผู้ที่นั่งพักผ่อน  เช่น บานบุรี พวงคราม  พวงประดิษฐ์ […]

รวมไอเดียกระบะปลูกผักสวนครัวแบบต่างๆ สวยด้วยและกินได้ มีพื้นที่ไม่มากก็ปลูกได้

สวนสวยๆใครก็อยากมี แต่เราเชื่อว่ากระบะปลูกผักสวนครัวในบ้านที่สวยและกินได้ด้วยก็เป็นสวนอีกรูปแบบหนึ่งที่เจ้าของบ้าน หลายคนใฝ่ฝัน เพราะอะไรก็ตามที่เราลงมือปลูกเอง คอยเฝ้าดูการเจริญเติบโต กระทั่งเก็บมารับประทานได้ก็ถือเป็นความภูมิใจของผู้ปลูกไม่น้อย ทว่าจะทําสวนสวยด้วยกินได้ด้วยอย่างไรให้เก๋ เรามีตัวอย่างมาให้เลือก ไปทําตามกัน แต่ก่อนอื่น เรามาเตรียมพื้นที่กันคร่าวๆ เพื่อให้ปลูกได้ง่ายขึ้น ดังนี้ 1.เลือกพื้นที่ บริเวณที่จะทําแปลงผักสวนครัวควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวันหรืออย่างน้อย6ชั่วโมง หากเป็นบ้านจัดสรรก็ควรอยู่บริเวณทิศใต้หรือด้านที่ไม่ได้รับเงาจากตึกข้างเคียงมาบัง 2.เลือกรูปแบบสวนครัว บ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก สวนครัวกระถางหรือแขวนก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากมีพื้นที่เพิ่มขึ้นมาอีกสักหน่อยก็สามารถทําแปลงผักได้ จะทําเป็นแปลงแบบดั้งเดิมหรือยกกระบะขึ้นมาโดยออกแบบให้สวยงามเพื่อใช้ตกแต่งสวนด้วยในตัวก็ได้ 3.เลือกชนิดพืช นอกจากพืชผักที่เราชอบและใช้งานบ่อยๆแล้ว หากเลือกชนิดที่มีรูปทรง สีสัน และเท็กซ์เจอร์แตกต่างกันก็สามารถใช้ทดแทนไม้ประดับได้ หรือจะปลูกไม้ดอกไม้ใบสวยๆแซมในแปลงผักเพื่อช่วยตกแต่งก็ไม่เลว อีกทางเลือกคือ ใช้พืชสมุนไพรกลิ่นหอมจากต่างประเทศที่มีรูปทรงสวย เช่น โรสแมรี่ มินต์ ไธม์ พาร์สลีย์ พืชเหล่านี้มีเท็กซ์เจอร์ใบสวย ทําให้สวนของคุณดูไม่เรียบเกินไป 4.เลือกขนาด ข้อกําหนดในการทําแปลงผักไม่มีขนาดตายตัว แต่ความกว้างของแปลงควรมีระยะให้มือเอื้อมถึงเพื่อจัดการได้ง่ายโดยอยู่ที่ประมาณ1.20-1.50เมตร (สําหรับแปลงผักที่เข้าได้ทั้งสองด้าน) และเว้นระยะทางเดินประมาณ75เซนติเมตร ก็จะเข้าไปใช้งานได้ง่ายขึ้น กระบะต้นไม้ + ที่นั่ง ออกแบบที่นั่งที่ต่อเชื่อมกับกระบะต้นไม้ ใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองฟังก์ชัน คือนั่งและปลูกได้ในตัว ลักษณะนี้ควรหลีกเลี่ยงพืชที่มีใบคม มีขนหรือหนามซึ่งทําให้ระคายเคือง เช่น ตะไคร้ มะเขือ มะกรูด พริกชะอม […]

ไอเดียทำกระบะต้นไม้เก๋ ๆ ในสวน 4 แบบ จากหนังสือ สวนเล็ก…ดูแลง่าย

การทำกระบะต้นไม้ เพราะเป็นไอเดียการกั้นขอลบเขตพื้นที่ในสวนที่ช่วยให้จัดการต้นไม้ได้ง่าย ทั้งยังทำเป็นขอตกแต่งสวนได้ด้วยในตัว

10 มุมจิบกาแฟในสวนสวยๆ แบบไม่ต้องไปถึงคาเฟ่

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 หรือบางสถานที่ก็มีการล็อคดาวน์ทำให้เราต้องอยู่แต่ที่บ้านออกไปไหนไม่ได้ สร้างความหงุดหงิดใจให้กับเหล่าสายคาเฟ่หรือคอกาแฟอยู่ไม่น้อย แต่ถึงแม้เราจะอยู่ที่บ้านเราก็สามารถมีมุมจิบกาแฟในสวนสวยๆได้ โดยเราได้รวมรวมมุมจิบกาแฟในสวนที่สามารถทำได้ที่บ้านของคุณได้หลากหลายสไตล์ ให้สามารถนั่งพักผ่อนชิลล์ๆหรือจะถ่ายภาพอวดชาวโซเชียลก็ยังได้ 1.สวนไม้กระถางบนดาดฟ้า เจ้าของ :คุณพรกมล พุ่มฉัตร-คุณมนูญ ทองนพรัตน์ จัดสวน : Little Tree โดย คุณศิริวิทย์  ริ้วบำรุง และคุณจาตุรงค์ ขุนกอง สวนดาดฟ้าเล็กๆบนปกหนังสือ Easy Little Garden สวนเล็ก…ดูแลง่าย ของบ้านหลังนี้เป็นอีกไอเดียสวนที่จัดง่ายๆด้วย สวนไม้กระถาง ฟอร์มสวยและทนอย่างพวกแคคตัสและไม้อวบน้ำ ซึ่งนำไปปรับใช้กับพื้นที่จำกัดอย่างสวนระเบียง หรือสวนหลังบ้านได้ไม่ยากเลยทีเดียว ดาดฟ้าของบ้านหลังนี้เป็นพื้นคอนกรีตทั้งหมดและมีการยกพื้นบางส่วนขึ้นมาแต่แรก พื้นที่ส่วนที่ยกสูงปรับเปลี่ยนใหม่โดยปูพื้นไม้เทียมเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เอาท์ดอร์แบบลอยตัวจาก IKEA ดูแลรักษาง่าย ตกแต่งด้วยไม้กระถางทั้งหมดเน้นไม้ขนาดกลางและเล็กเน้นจัดกลุ่มกันและเล่นระดับสูงต่ำ เลือกใช้พรรณไม้ชนิดที่ทนอากาศร้อนและแล้งได้ดี โดยเฉพาะกลุ่มแคคตัสและไม้อวบน้ำ ได้แก่ พญาไร้ใบ ลิ้นมังกร ยูฟอร์เบีย อโล ยุกกา อากาเว่ เป็นต้น รวมทั้งไม้ประดับอื่น ๆได้แก่ โอลีฟ กระดุมไม้ใบเงิน ไทรประดับ สนเกรวิลเลีย กราซีเนีย เป็นต้น ใช้กระถางดินเผา กระถางคอนกรีต และกระถางไฟเบอร์กลาส คุมโทนสีเรียบ ๆไม่ฉูดฉาด […]

ทําความรู้จัก“Permaculture” วัฒนธรรมใหม่ของโลก ที่แก้ปัญหาปากท้องและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จากปัญหาวิกฤตโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ความสวยงามและการใช้งานอาจไม่เพียงพอเสียแล้วสําหรับการออกแบบสวนในปัจจุบัน สิ่งสําคัญคือสวนนั้นต้องช่วยให้เรามีชีวิตรอดในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คําว่า“Permaculture”จึงเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างทั่วทั้งโลก ใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือรู้จักเพียงผิวเผิน เรามาเริ่มทําความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย ที่มาที่ไป เพอร์มาคัลเจอร์เกิดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ.1978 โดยบิลมอลลิสันและ มาซาโนบุ ฟุกุโอกะ ซึ่งต้องการศึกษาหาแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อทําการเกษตรแบบยั่งยืน(Permanent Agriculture) ต่อมาจึงได้เกิดความเข้าใจว่า การจะทําการเกษตรรูปแบบนี้จําเป็นต้องทําวิถีชีวิตในทุกด้านให้ยั่งยืนด้วย แนวคิดดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปจนเป็นที่ยอมรับและศึกษาต่อไปในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก หากจะสรุปสั้นๆ เพอร์มาคัลเจอร์คือการทําเกษตรกรรมผสมผสานรูปแบบหนึ่งที่คนไทยก็คุ้นเคย ขนานไปกับวิถีชีวิตที่เป็นการรวมศาสตร์ในด้านต่างๆมาใช้ออกแบบวัฒนธรรมในทุกด้านของการดํารงชีวิตประจําวัน เพื่อผลิตอาหารและพลังงานให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล พร้อมรับมือสู่อนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนและปัญหาพลังงานที่ลดลงไปในทุกวัน จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ของวิถีชีวิตแบบเพอร์มาคัลเจอร์ไม่มีหลักตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์หรือความเหมาะสม เราได้รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจของวัฒนธรรมสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสวนที่บ้านคุณได้ไม่ยาก ดังนี้ ลําดับการวางผังสวน การวางผังหรือแบ่งสัดส่วนภายในสวนเป็นหัวใจสําคัญของการทําสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์รูปแบบที่นิยมทํากันจะเริ่มจากการเลือกบริเวณที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัยให้อยู่ตรงกลาง มีทางเข้า-ออกที่เชื่อมกับพื้นที่สาธารณะได้สะดวก ก่อนกําหนดโซนอื่นๆให้แผ่ออกเป็นรัศมีวงล้อมขยายซ้อนออกไปเรื่อยๆ โดยแต่ละลําดับของชั้นต่างๆ ด้านที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยคือการทําเกษตรที่ต้องการการดูแลหรือนํามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ขณะที่วงนอกสุดออกแบบให้มีลักษณะเป็นสวนป่าเพื่อรักษาและสร้างความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศเดิมหรือสวนป่าที่อยู่รอบๆ ทําให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้แบบเชื่อมถึงกันได้ การวางผังในลักษณะนี้นอกจากจะง่ายต่อการจัดการดูแลสวนที่ใช้พลังงานน้อยลงแล้ว ยังสอดคล้องกับการวางระบบอื่นๆ ทั้งการระบายน้ํา ให้แสงสว่าง และสาธารณูปโภค ซึ่งในโซนต่างๆที่มีกิจกรรมที่สามารถผลิตปัจจัย4ในการดํารงชีวิตได้ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อใช้ทําอาหาร ต้นไม้ที่มีใยหรือสีสําหรับทําเครื่องนุ่งห่ม ไม้หรือดินสําหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสมุนไพรสําหรับเป็นยารักษาโรค สร้างวงจรทรัพยากรที่เลียนแบบธรรมชาติ เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกันในพื้นที่ ป่าอาหาร […]

น้ำหูเสือโยเกิร์ตสมู้ตที เครื่องดื่มสมุนไพรบำรุงระบบหายใจ ที่ทำได้เองภายใน 5 นาที !

น้ำหูเสือโยเกิร์ตสมู้ตที เครื่องดื่มแสนอร่อยที่ให้รสชาติเปรี้ยวหวานกําลังดี มีรสเผ็ดร้อนเล็กน้อยและมีกลิ่นหอมคล้ายเครื่องเทศออริกาโน เหมาะเป็นเครื่องดื่มคู่กับมื้ออาหารที่ช่วยให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นยาบํารุงร่างกาย แก้อาการไอ ไอเรื้อรัง เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ อาหารไม่ย่อย รวมถึงช่วยแก้อาการหอบหืด ทําให้หายใจโล่งขึ้นอีกด้วย ส่วนผสม • โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1 ถ้วย หรือ ปริมาณ 135 กรัม • น้ําผึ้ง 3 ช้อนโต๊ะ • ใบหูเสือ 2-3 ใบ • น้ําแข็งก้อนใหญ่ 2-3 ก้อน วิธีทํา ปั่นส่วนผสมทั้งหมดในเครื่องปั่นน้ําผลไม้ให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน อาจเพิ่มรสเปรี้ยวด้วยมะนาว จากนั้นเทใส่แก้ว คุณป๊อป-อักขราทร ศิลปี เชฟและฟู้ดสไตลิสต์ผู้พัฒนาเมนูอาหารและแบรนด์สินค้ามานานกว่า10ปี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านอาหารให้มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิไทยประกันชีวิต และร้านอาหารมากมาย สามารถติดตามผลงาน หรือติดต่อคุณป๊อปได้ที่ เพจเฟซบุ๊ค อาหารของคุณยาย By ครูป๊อป หรืออินตราแกรม Pop_silp ต้นหูเสือ หรือ เนียมหูเสือ […]

ความลึกของบ่อเลี้ยงปลามีผลกับปลาอย่างไร

บ่อเลี้ยงปลา บ่อน้ำตกเป็นส่วนสุดท้ายที่น้ำไหลมารวมกัน จึงมีความลึกมากกว่าส่วนอื่นๆของน้ำตก ภายในบ่อนิยมเลี้ยงปลาและปลูกไม้น้ำโดยรอบเพื่อความงาม บ่อน้ำตกแต่ละแห่งอาจมีความตื้นลึกที่ต่างกันออกไป ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพของน้ำและปลาในบ่อ  ดังข้อมูลจากเล่ม การทำน้ำตกและลำธารในสวน บ่อเลี้ยงปลา หลายคนอยากทำบ่อเลี้ยงปลาในบ้าน ก่อนทำควรกำหนดตำแหน่งของบ่อให้ควรอยู่บนที่ราบ บริเวณใกล้ส่วนพักผ่อน  เพื่อรับมุมมองจากบริเวณที่ใช้งานบ่อยๆ และควรเป็นบริเวณที่มีร่มเงาไม่รับแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน รูปแบบของบ่อ มักออกแบบให้กลมกลืนกับสวนโดยรอบซึ่งมีทั้งรูปแบบธรรมชาติ และสมัยใหม่บ่อน้ำตกธรรมชาติ  มักออกแบบให้มีรูปทรงอิสระขอบบ่อมีความโค้งเว้ามีความกว้างและยาวอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และมีพื้นที่รองรับน้ำที่กว้างมากพอกับสัดส่วนโครงสร้างน้ำตกทั้งหมด บางแห่งอาจติดตั้งหัวน้ำพุรูปแบบต่าง ๆประกอบเข้าไป  รวมถึงติดตั้งไฟส่องสว่างใต้น้ำ เพื่อเพิ่มความงามยามค่ำคืน และที่สำคัญคือในบ่อควรติดตั้งหัวพ่นอากาศ ท่อน้ำหมุนเวียนจากบ่อกรอง ท่อน้ำล้น และมีสะดือบ่อในบริเวณส่วนที่ลึกที่สุดของบ่อ  จากสะดือบ่อจะมีท่อต่อไปยังบ่อกรองหรือบ่อพักต่อไป ขอบบ่อควรออกแบบให้สูงกว่าระดับพื้นสวนอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากพื้นสวนไหลลงบ่อ หากวางหินบริเวณขอบควรให้ปริ่มน้ำเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ  โดยส่วนที่จะวางหินออกแบบให้มีบ่าหรือปีกรับหินกว้างเท่ากับหรือมากกว่าขนาดหินที่วางเสมอ โดยให้บ่านี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำในบ่อ 15-30 เซนติเมตร หรืออย่างน้อย 5-10 เซนติเมตรอีกทั้งบ่าที่วางหินแต่ละส่วนไม่จำเป็นต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ให้อยู่ลึกบ้าง ตื้นบ้างตามความเหมาะสม แต่เมื่อวางหินลงบนบ่ารับนี้แล้ว ส่วนหนึ่งของก้อนหินจะจมปริ่มอยู่ในน้ำ และใช้ด้านหลังของก้อนหินเป็นแนวขอบบ่อ กั้นน้ำจากพื้นสวนไม่ให้ไหลลงบ่อ อีกทั้งรอบบ่อนิยมปลูกพรรณไม้ประกอบให้ดูเป็นธรรมชาติและช่วยลดความแข็งของหิน และขอบบ่อลงได้ส่วนหนึ่ง ส่วนบ่อน้ำตกสมัยใหม่  มักออกแบบเส้นสายของขอบบ่อให้ดูเรียบง่าย เป็นเหลี่ยม กลม หรือหากมีรูปทรงอิสระ ก็จะดูเด่นชัด  […]

สรุปสิ่งที่ควรรู้และขั้นตอนปลูกผักทานเอง แบบพร้อมเอาไปใช้ได้จริง

สำหรับใครที่กำลังมองหา วิธีปลูกผักทานเองแบบเร่งด่วน เราสรุปวิธีการและเนื้อหาสำคัญมาให้ทุกท่านเริ่มต้นลงมือทำกันได้แล้ว เดี๋ยวนี้!!! ไปทำกันเลย ! สํารวจพื้นที่ ไม่ว่าพื้นที่ปลูกผักของคุณจะเป็นระเบียงห้อง สวนหน้าบ้าน หรือดาดฟ้า ขนาดเล็กใหญ่แค่ไหน แต่ปัจจัยสําคัญคือเรื่องแสงแดดในบริเวณนั้นต้องได้รับอย่างน้อยครึ่งวัน หากได้รับแสงแดดน้อยกว่าครึ่งวัน ควรเลือกปลูกผักที่สามารถปรับตัวได้ในแสงรําไร เช่น เตยหอม สะระแหน่ ชะพลู วอเตอร์-เครส ใบบัวบก จากนั้นจึงเริ่มออกแบบแปลงให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่และชนิดผักที่ปลูก เช่น ไม้เลื้อยควรทําแปลงเป็นซุ้มหรือค้างที่มีที่สําหรับให้เถาพืชได้ยึดเกาะพื้นที่ 1 ตารางเมตรสามารถปลูกผักได้ 3 กิโลกรัม ในเวลา 45-60 วัน ซึ่งเราสามารถปลูกผักผสมกันได้ให้เกิดความหลากหลาย ควรยกแปลงผักเป็นเนินดินสูงขึ้นมาหรือสร้างกระบะปลูก เพื่อง่ายต่อการดูแล พื้นที่ที่มีความลาดเอียงหรือเป็นพื้นคอนกรีตควรทํากระบะหรือมีขอบแปลงชัดเจน เพื่อป้องกันดินถูกชะล้างในช่วงฝนตกหรือจากการรดน้ําต้นไม้ อาจเริ่มต้นปลูกเพียงแปลงเล็กๆหรือใส่กระถางก่อนจะขยายเป็นแปลงใหญ่ต่อไป นอกจากนี้ควรมีก๊อกน้ําหรือโอ่งรองน้ําฝนอยู่ในบริเวณใกล้ๆ สําหรับรดน้ําต้นไม้ หรือทําทางระบายน้ําอย่างเหมาะสม เลือกเมล็ดพันธุ์ แน่นอนว่าคุณควรเลือกพันธุ์ผักที่ชอบรับประทานและสามารถนํามาทําอาหารได้บ่อย หาซื้อพันธุ์ได้ง่าย มีลักษณะนิสัยเข้ากับสภาพอากาศและปริมาณแสงของพื้นที่ปลูก สําหรับผู้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลควรปลูกผักพื้นบ้านที่ทนต่อโรค มีแมลงรบกวนน้อย และปลูกง่าย อย่างพริก โหระพา กะเพรา แมงลัก มะเขือเทศ มะกรูด แตงกวา อีกทั้งยังให้ผลผลิตเร็ว สามารถเก็บมาทําอาหารได้บ่อย […]

คุยกับ “โครงการสวนผักคนเมือง” ที่ปรึกษาให้เราเริ่มต้นลงมือปลูกผักทานเองได้

ยุคที่มีโรคระบาดและเศรษฐกิจย่ําแย่ ผู้คนเริ่มประสบปัญหาทั้งเรื่องปากท้องและเรื่องสุขภาพ การปลูกผักรับประทานเองกลายเป็นอีกหนึ่งคําตอบที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจ แต่จะเริ่มต้นลงมือทําได้อย่างไร นั่นจึงเป็นที่มาให้เราได้พูดคุยกับกลุ่มสวนผักคนเมืองที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดกิจกรรมปลูกผักขึ้นในสังคมคนเมืองและย่านที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางให้คุณได้เริ่มต้นลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง กว่าจะเป็น โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหนึ่งในบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์ทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อเป็นทางออกของการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้สารเคมี การทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต่อมาหลายภาคี ทั้งกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายของมูลนิธิ เล็งเห็นว่าพื้นที่เมืองซึ่งมีทางออกของปัญหาด้านอาหารการกินและสุขภาพน้อยกว่าพื้นที่ในชนบทที่เป็นแหล่งผลิต จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้คนในเมืองได้มีสุขภาพดีผ่านอาหารการกินและการทําเกษตร มูลนิธิจึงดําเนินการในนามของ“โครงการสวนผักคนเมือง” ต่อมาหลังวิกฤติน้ําท่วมในช่วงปี พ.ศ.2554 คนเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยิ่งตระหนักและตื่นตัวกับวิกฤติดังกล่าวมากขึ้นเพราะต้องพึ่งการนําเข้าอาหารจากการขนส่งภายนอกเพียงอย่างเดียว ยกเว้นคนเมืองที่ปลูกผักบริโภคเอง ทั้งที่ร่วมกับโครงการและยังไม่ร่วมหลายครอบครัว โดยเฉพาะสวนดาดฟ้าที่ยังคงมีวัตถุดิบทําอาหารรับประทานได้ปกติ ถ้าปลูกคนเดียวไม่ได้ก็ต้องช่วยกัน “สวนผักคนเมืองนอกจากสร้างอาหารสําหรับบริโภคได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทําให้คนมืองได้กลับมาทํางานด้วยกัน เราคิดว่าพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรกรรมหรือเพาะปลูกอาหารควรจะทําให้คนเมืองหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน สร้างการมีส่วนร่วมกันในองค์กรและชุมชนผ่านการปลูกผัก ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องทําให้คนหันกลับมาพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเดิมอีกด้วย”คุณวรางคนางค์ นิ้มหัตถา หัวหน้าโครงการสวนผักคนเมืองมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เล่าให้เราฟัง นอกเหนือจากประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนักถึงความสําคัญของอาหารอินทรีย์แล้ว ยังทําให้คนเป็นผู้บริโภคที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์และเป็นผู้ผลิตไปด้วยในตัว จนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรร่วมกัน โดยกลุ่มคนที่จะสามารถเป็นสมาชิกของโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.ต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางของชุมชน องค์กร หรือพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลูกผักด้วยกัน ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันได้ และยังให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหาความรู้ รวมถึงเก็บผลผลิตเล็กๆน้อยๆจากแปลงไปได้ 2.ต้องรวมกลุ่มกันอย่างน้อย10ครอบครัวขึ้นไป 3.ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ ให้ความสําคัญกับการปลูกที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การปลูกผักลงดิน เพราะในเมืองยังมีผืนดินที่สามารถปลูกได้ดี พรรณไม้ทั่วไปสามารถงอกเงยในดินได้ไม่ยาก […]

ไอเดียแต่งสวน 33 มุมสวนหน้าบ้านและหลังบ้าน พื้นที่เล็กแคบก็ทำตามได้

ไอเดียแต่งสวน ไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรรหรือบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถจัด สวนหน้าบ้าน ขนาดเล็ก และมีมุมสวนหลังบ้าน เป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวได้  

ตามหาไอเดียจัดสวนในสวนคาเฟ่

วันนี้ขอเอาใจคนชอบสวนป่า ด้วยสวนทรอปิคัลแบบในเล่ม ซึ่งมีแนวคิดดีๆจากสวนหลายต่อหลายแห่ง  รวมไปถึงสวนในคาเฟ่ที่จะพาไปชมกัน …

ไอเดียไปปิกนิกในสวนแบบคนรักธรรมชาติ

แม้ว่าการปิกนิกในสวนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจจะไม่ใช่วัฒนธรรมพื้นฐานของบ้านเรา แต่หากจะเรียกว่าเป็นการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านก็อาจทําให้การไปปิกนิกดูเป็นกิจกรรมที่เข้าถึงได้และสามารถทําได้บ่อยในวันพักผ่อน เพื่อออกไปนั่งๆนอนๆ พูดคุย และทํากิจกรรมร่วมกันในครอบครัวหรือหมู่เพื่อนฝูง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เท้าของเราได้สัมผัสกับพื้นหญ้าหรือสายลมที่พัดผ่านใบหน้า นับว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะทําให้เราได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น มองหาที่ปิกนิก แค่พื้นหญ้านุ่มๆบริเวณสนามหลังบ้านก็เพียงพอให้เราอยากไปนั่งพักผ่อนและทอดอารมณ์ได้แล้ว หรือบางบ้านที่มีพื้นที่ระเบียงหรือลานพื้นแข็งที่ได้ร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่สําหรับวางโต๊ะสนามหรือทํากิจกรรมอื่นก็อาจปรับเปลี่ยนมุมดังกล่าวให้ได้มู้ดแอนด์โทนใหม่ เกิดบรรยากาศของสวนในวันพักผ่อนที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่หากใครมีพื้นที่บริเวณบ้านและสวนไม่มากนัก อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะกับการพักผ่อนแบบปิกนิก เราอาจมองหาสวนสาธารณะในละแวกบ้าน อุทยานแห่งชาติหรือสถานที่ตากอากาศที่น่าสนใจและเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปพักผ่อนและรับประทานอาหารได้เพื่อเป็นจุดหมายปลายทางให้เรา กลุ่มเพื่อน หรือญาติได้มาพบปะพูดคุย อีกทั้งยังมีพื้นราบสําหรับนั่งพักผ่อนเพื่อนั่งชมธรรมชาติและสวนที่อยู่รอบๆในช่วงเช้าหรือเย็นที่อากาศกําลังสบายในช่วงวันหยุด แนะนําให้ศึกษารายละเอียดของสถานที่ที่เราจะไปพักผ่อนว่าต้องขออนุญาตหรือจองสถานที่ก่อนเข้าไปใช้บริการหรือไม่ จัดอะไรใส่ตะกร้า แม้ว่าการไปปิกนิกของเราจะเป็นการพักผ่อน แต่หากเป็นสถานที่สาธารณะอื่นๆก็ควรศึกษาก่อนว่ามีกฎหรือข้อห้ามประการใดบ้าง จากนั้นจึงมาประเมินว่าระหว่างที่นั่งปิกนิกนั้นมีกิจกรรมอะไรง่ายๆที่ทําได้ด้วยตัวเองบ้าง เช่น ฟังเพลงอ่านหนังสือ เล่นบอร์ดเกม หรือทําอาหาร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อสัมภาระที่เราจําเป็นต้องจัดใส่ตะกร้ามาปิกนิก โดยต้องคํานึงว่า การมาปิกนิกใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือครึ่งวันเท่านั้น การเตรียมกิจกรรมหรือสัมภาระมากจนเกินไปก็อาจเป็นเรื่องเกินความจําเป็นและทําไม่ได้ทั้งหมด อุปกรณ์ที่เตรียมมาควรมีขนาดและจํานวนไม่มากเน้นความสะดวกต่อการพกพาและเพียงพอต่อการใช้งาน โดยมากควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุที่ทนต่อแรงกระแทกและไม่แตกหักง่ายเช่นไม้ พลาสติก(แบบใช้ได้หลายครั้ง) เมลามีน โลหะ เนื่องจากเราจําเป็นต้องขนย้าย ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุที่ทําให้ของที่เตรียมไปเสียหายได้ ส่วนภาชนะที่ใส่ควรมีความแน่นหนาและป้องกันความเสียหายในการขนย้ายได้ระดับหนึ่ง แต่หากไม่ได้มีของมากมายนัก อาจใช้เป็นกล่องไม้หรือตะกร้าหวาย ก็ช่วยสร้างมู้ดแอนด์โทนที่เหมาะสมกับการปิกนิกมากยิ่งขึ้น เตรียมที่นั่งๆนอนๆ อดีตคนส่วนใหญ่คุ้นตากับการไปปิกนิก ที่เป็นการเตรียมเสื่อไปปูกับพื้นดินหรือสนามหญ้าสําหรับเป็นทั้งที่นั่ง นอนเล่น วางสัมภาระและรับประทานอาหารไปด้วยในตัว ซึ่งขนาดของเสื่อควรเหมาะสมกับจํานวนผู้ใช้และการใช้งาน หากใช้เสื่อผืนเล็กเกินไปก็อาจไม่สะดวกต่อการนั่งเอกเขนกพักผ่อน แต่หากใช้ผืนใหญ่เกินไปก็จะไม่ตึงได้รูปทรงที่สวยงามพอดี นอกจากนี้ยังสามารถเตรียมหมอนขนาดเล็กหรือเก้าอี้สนามมาจัดรวมไว้ด้วยกัน โดยควรเลือกโทนสีหรือชนิดของผ้าที่เข้ากันกับเสื่อเพื่อความสวยงามของมุมพักผ่อน บางครั้งเราอาจใช้กล่องหรือตะกร้าที่แข็งแรงเป็นโต๊ะกลางสําหรับวางอาหารและทํากิจกรรมตามความเหมาะสม หรือใครจะนําของเหลือใช้อย่างลังไม้ กล่องกระดาษ […]

คู่มือเก็บกระเป๋าไปแคมปิ้งสไตล์คนรักสวนและธรรมชาติ

นี่คือคู่มือแคมปิ้งฉบับพึ่งเริ่มต้นสำหรับเหล่าผู้รักการผจญภัยหรือหลงใหลในเสน่ห์ของธรรมชาติที่มีให้เราค้นพบไม่จบสิ้น เพราะการแคมปิ้งเป็นการนําตัวเองกลับไปสู่วิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับชีวิตของชาวป่าหรือมนุษย์เมื่อครั้งอดีต ซึ่งอยู่อาศัยและพึ่งพิงธรรมชาติกันอย่างอ่อนน้อม ขณะเดียวกันก็เหมือนเป็นการหลบหลีกตัวเองจากวิถีชีวิตปกติและเรื่องเครียดในที่ทํางาน เพื่อปลดปล่อยหัวใจให้ไหลไปกับวิวทิวทัศน์และความสวยงามของธรรมชาติที่อยู่รอบตัวแทน เริ่มต้นออกเดินทาง ก้าวแรกของการเดินทางคือการมองไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติก็เริ่มกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ ในบ้านเรามีภูมิประเทศและป่ามากมายที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว หากสามารถเดินทางได้มากกว่า2วันขึ้นไปก็เหมาะกับการเดินทางบนเส้นทางธรรมชาติตามป่าเขาในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเส้นทางเดินป่าแต่ละเส้นก็จะมีระดับความยากง่ายและระยะเวลาในการเดินแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระยะทาง ความห่างไกลชุมชน อุปสรรค และศักยภาพของผู้เดินป่า ควรศึกษาข้อมูลดังกล่าวให้ดีก่อนออกเดินทาง หากมีเวลาไม่มากควรเลือกจุดกางเต็นท์หรืออุทยานแห่งชาติที่มีจุดพักกางเต็นท์ในบริเวณที่รถยนต์สามารถเข้าถึงได้เลยหรือที่เรียกว่าคาร์แคมป์ เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทาง ขณะเดียวกันก็สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ไม่ต่างจากการกางเต็นท์บนเส้นทางเดินป่าเท่าใดนัก ปัจจุบันสามารถจองการเข้าใช้บริการอุทยานแห่งชาติผ่านแอพพลิเคชั่นQueQ รวมถึงต้องลงทะเบียนเข้า-ออกผ่านแอพพลิเคชั่นไทยชนะทุกครั้ง โดยที่นักท่องเที่ยวไม่จําเป็นต้องโทรศัพท์ไปจองกับอุทยานโดยตรง เพื่อควบคุมจํานวนนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ด้วย เตรียมสัมภาระใส่เป้ เพราะสัมภาระคือภาระของการเดินป่าเช่นกัน สําหรับผู้ที่เพิ่งเดินป่าครั้งแรกควรเตรียมไปเฉพาะสิ่งของที่จําเป็น อย่างอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่มอุปกรณ์ค้างแรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด อีกทั้งควรเตรียมของใช้ที่เผื่อสําหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือสภาพอากาศที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตด้วยเช่นกัน เช่น ร่ม เสื้อกันฝน หรือชุดกันหนาว สิ่งสําคัญอีกอย่างที่ไม่ควรหลงลืมคือ เมื่อนําสัมภาระอะไรเข้าป่าไปแล้ว ก็ต้องนําของทุกอย่างรวมทั้งขยะติดกลับมาด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุย่อยสลายยากอย่างพลาสติกหรือโฟม ควรนําไปในปริมาณที่น้อยที่สุด กระเป๋าสําหรับใส่อุปกรณ์ควรเป็นเป้ที่ทําจากวัสดุแข็งแรงแน่นหนา สะพายได้คล่องตัวและมีน้ําหนักเบา ขนาดที่แนะนําสําหรับการเดินป่าในประเทศไทยที่ใช้บริการลูกหาบช่วยแบกอาหารหรืออุปกรณ์กางเต็นท์ สามารถใช้เป้ขนาดความจุ35-45ลิตรแต่สําหรับผู้ที่ต้องแบกอุปกรณ์เดินป่าชุดเล็กและข้าวของเครื่องใช้ในการดํารงชีพไปเอง ควรเตรียมเป้ขนาด40-55ลิตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่นักเดินป่าในประเทศไทยนิยมใช้ ส่วนเป้ขนาด50-55ลิตรขึ้นไปจะเหมาะกับผู้ที่เดินป่าระยะไกลเป็นเวลาหลายวันด้วยอุปกรณ์เดินป่าครบชุด รวมถึงเครื่องครัว อาหาร และเสื้อผ้าสําหรับป้องกันความหนาว ที่หลับที่นอน ที่อยู่อาศัยในป่าก็คือเต็นท์ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของนักท่องเที่ยวและสถานที่ตั้งแคมป์ ส่วนใหญ่จะแยกเป็นเต็นท์สําหรับผู้เดินป่าแบบแบ็กแพ็คที่มีน้ําหนักเบาเป็นพิเศษและมีขนาดสําหรับ1-2คน […]

ไอเดียจัดมุมสวนเล็กแคบ ให้ใช้งานได้มากประโยชน์ [บอกชื่อต้นไม้]

ลองไปดูกันว่าไอเดียการจัดมุม สวนหลังบ้าน และมุมข้างบ้านให้สามารถใช้ประโยชน์เป็นมุมนั่งเล่นได้นั้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง และปลูกต้นอะไรให้ได้มุมสวนแบบนี้