ปรับปรุงบ้านพักครูอายุ 50 ปี ด้วยดีไซน์ใหม่แบบจัดเต็ม แต่ลดทอนให้เรียบง่าย งบไม่บานปลาย ใช้งานได้ดีกว่าเดิม

บ้านพักครู อาคารไม้เก่า ๆ ไร้การดูแล ที่อยู่ของครูบรรจุใหม่ เหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่มักเห็นได้ตามนิยาย หรือละครไทย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ครูหลายคนต้องพบเจอ และอาคารหลังนี้ก็เช่นกัน อาคารบ้านพักครูอายุ 50 กว่าปี ของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จากเดิมที่เป็นอาคารเก่าทรุดโทรม วันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ โดยฝีมือการออกแบบของ Parin+Supawut ซึ่งเป็นการออกแบบปรับปรุงอาคารด้วยความคาดหวังว่า จะให้เป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านพักครูในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป #เน้นซ่อมไม่เน้นสร้างใหม่ให้งบประมาณทำงานได้จริง “บ้านพักครูของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคารหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 จากแบบสำเร็จโดยเป็นอาคารบ้านพักครูแบบกรมสามัญตามพิมพ์เขียนที่ถูกใช้ในโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านพักครูมักจะเป็นส่วนที่งบประมาณการปรับปรุงนั้นไม่เคยตกลงมาถึง นั่นทำให้บ้านพักครูเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นผลให้ภาระกลับไปตกอยู่กับครูทั้งหลายต้องออกไปเช่าบ้านพักด้วยเงินของตัวเองเดือนละหลายพันบาท “การออกแบบในครั้งนี้จึงเป็นการเน้นกระบวนการซ่อมแซม และรักษาโครงสร้างเก่าของบ้านไว้แทนที่การออกแบบอาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในรูปแบบเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังที่จะทำให้ บ้านพักครู เป็นอาคารที่ใช้ได้จริง อยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ และมีการปรับปรุงพื้นที่หลาย ๆ ส่วนให้ลงตัวต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ครัวให้เชื่อมต่อกับห้องนั่นเล่น การเปิดช่องแสงเพิ่ม เพื่อสร้างส่วนพักผ่อน และอ่านหนังสือที่รับแสงธรรมชาติไม่อุดอู้อย่างเดิม โดยในการใช้งานวัสดุนั้น ก็นำไม้อัดที่เลือกใช้ไปออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง ที่มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับการใช้งาน ร่วมกับบ้านพักครูหลังนี้ไปพร้อมกัน” #ดีไซน์ให้มากเพื่อลดภาระงานก่อสร้างให้น้อย […]

MTCH – Ari คาเฟ่มัทฉะ ปรับลุคใหม่ อบอุ่นปนเท่สไตล์นีโอ-อินดัสเทรียล

MTCH คาเฟ่มัทฉะสาขาอารีย์ (ซอยราชครู 5) ที่ขอรีโนเวทร้านใหม่ให้ดีไซน์ทันสมัยขึ้นในลุคที่เรียกว่า “นีโอ-อินดัสเทรียล” พร้อมโจทย์ที่อยากให้ร้านสร้างประสบการณ์การดื่มมัทฉะที่ดี มีบรรยากาศน่านั่งขึ้นกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ต้องการให้ที่นี่ช่วยสะท้อนคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ที่มีความร่วมสมัย ทุกคนเข้าถึงง่าย ตามสโลแกน “Matcha for Everyone” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Minimus MTCH คือแบรนด์มัทฉะร่วมสมัยจริงจังและให้ความสำคัญกับที่มาของรสชาติมัทฉะ มีสาขาทั้งที่ The Circle Ratchapruk และ Sukhumvit 23 สำหรับสาขานี้ ขอบอกว่าไม่ใช่สาขาน้องใหม่ แต่คือสาขาเดิมที่ขอรีโนเวทให้มีดีไซน์ทันสมัยขึ้น ออกแบบโดย Studio Minimus ซึ่งเคยฝากผลงานไว้ที่สาขา Sukhumvit 23 มาแล้ว เดิมอาคารนี้เคยเป็นบ้านเก่ายุค 70’s มีกลิ่นอายมิดเซนจูรี่ มีทั้งความเท่ โฉบเฉี่ยว ดูร่วมสมัย และแปลนการใช้งานที่ไม่เหมือนบ้านทั่วไป จึงท้าทายและชวนเซอร์ไพรส์นักออกแบบหลาย ๆ จุด อาทิ ครีบคอนกรีตบนเปลือกอาคารด้านหน้าซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องแสง ภายในมีการเล่นแกนเฉียง หรือเส้นตัดเฉียงทั้งหลัง บันไดเจาะช่อง Void เชื่อมชั้นล่างและบน แถมยังมีห้องใต้หลังคาพร้อมบันไดลิงตั้งอยู่โดดเด่น โดยองค์ประกอบทั้งหมดนี้ […]

G NIMMAN CHAING MAI เปิดรับการพักผ่อนจากธรรมชาติ แม้ในพื้นที่จำกัด

โรงแรมบรรยากาศผ่อนคลายเปิดรับธรรมชาติ G NIMMAN โรงแรมใหม่ย่านถนนมินมานเหมินท์ที่ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ

TIN TIN ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร สร้างประสบการณ์ใหม่คล้ายอยู่ในถ้ำมรกต

TIN TIN ตัวอย่างการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ในประเทศอินเดีย กับคอนเซ็ปต์ที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ คล้ายกำลังเดินลัดเลาะอยู่ในเขาวงกต โอบล้อมด้วยเส้นโค้ง และโมเสกสี่เหลี่ยมสีเขียวมรกต ที่นี่ตั้งอยู่ที่เมืองจัณฑีครห์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย มีความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย สร้างดีไซน์โค้งมนพลิ้วไหว เป็นผลงานการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ของสถาปนิกอินเดีย Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบที่มีแนวคิดการเลือกใช้วัสดุพื้นเมืองมาสร้างให้เกิดเอกลักษณ์ได้อย่างน่าสนใจ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเสมือนการออกแบบเชิงทดลองของพวกเขา ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจในการเล่นสนุกไปกับการสร้างมุมมองและประสาทสัมผัสที่แตกต่างจากร้านทั่วไป เพราะมีทั้งพื้นที่ซอกแซก และเส้นโค้งโอบรับ ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือการสร้างเท็กซ์เจอร์ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่าง อันเกิดขึ้นจากการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นของอินเดียเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องโมเสกสีเขียวมรกต น้ำตาล ขาว และเทา ร่วมกับหินขัด ซึ่งเป็นเทคนิคและมีวิธีการทำมือทุกขั้นตอน ใช้เวลานานกว่า 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ กล่าวได้ว่าเป็นเสมือนงานคราฟต์ที่ช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาให้แก่สถานที่ได้มีเรื่องราวน่าสนใจ ผ่านเทคนิคและวิธีการก่อสร้างโดยช่างผู้ชำนาญในพื้นที่ การผสมผสานกันระหว่างส่วนของผนัง ซุ้มทางเดินโค้ง เพดานโค้งมน ประกอบกับเส้นเลย์เอ๊าต์ ที่คดโค้งสลับไปมา สิ่งเหล่านี้คือการบ่งบอกถึงความต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ ให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แม้จะมองเห็นแพตเทิร์นซ้ำ ๆ หรือคล้าย ๆ กัน […]

ทดลองออกแบบ บ้านระบบกริดเสา สู่การอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์

บ้านก็เป็นปัจจัยหลักที่รองรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขยาย” บ้านระบบกริดเสา ” จึงเป็นพื้นที่รองรับการปรับเปลี่ยนและการขยายตัวของกิจกรรมในอนาคต

Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เป็นสถานแห่งงานศิลป์แบบเต็มพิกัด!

หอศิลป์เปิดใหม่! รีโนเวทจากอาคาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันดีในย่านเยาวราช ซอยนานา (ถ้าไม่คุ้นก็ดรุณศึกษาที่เราเคยอ่านกันนั่นไง) วันนี้ ตึกเก่าอายุกว่า 60 ปี ทั้ง 3 หลังจะได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะ และอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในอนาคต ในนาม Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) โดยผู้ขับเคลื่อนโปรเจ็กต์นี้ก็คือคุณ มาริษา เจียรวนนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ศิลปะมากมาย เช่น การพา “เจ๊ไฝ” ไปแสดงศิลปะการทำอาหารในต่างประเทศ แผนขั้นสมบูรณ์ของ Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ศิลปะขนาดหลายพันตารางเมตร โดยมีงานศิลปะใหญ่ 4 ครั้งต่อปี มีสเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา อดีตผู้อำนวยการแกลเลอรี Hauser & Wirth จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเป็นภัณฑารักษ์ แม้ว่าโครงการทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่วันนี้ทุก ๆ คนก็สามารถแวะไปชมนิทรรศการพิเศษที่ชั้นล่างของอาคารได้แล้วกับงานแรกนี้ Nine Plus Five โดยศิลปินมิเชล โอแดร์ […]

Accent Lighting แสงสร้างมิติ ไอเดีย ออกแบบแสงสว่าง ในบ้าน

หากต้องการสร้างบรรยากาศให้มุมใช้งานภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมมีความพิเศษโดดเด่นขึ้น หรือแค่อยากเน้นบางมุมให้มีความรู้สึกถึงการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง วันนี้ room ได้รวบรวม การออกแบบแสงสว่าง เพิ่มมิติด้วยแสงไฟมาฝาก โดยเป็นวิธีการใช้แสงไฟเพื่อเน้นจุดสนใจ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Accent Lighting นับเป็นไอเดีย การออกแบบแสงสว่าง ในการช่วยสร้างความพิเศษ และความสวยงามให้กับมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน หรือคอนโดมิเนียมให้มีมิติสวยงามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคแบบซ่อนไฟที่ทำได้ทั้งบนฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ไฟซ่อนฝ้าหลืบ มีลักษณะเป็นหลืบฝ้าติดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยส่วนมากมักซ่อนไฟเพื่อเน้นพื้นที่ผิวผนัง หรือเน้นผลงานศิลปะและยังสามารถทำเป็นหลืบไฟซ่อนรางม่าน โดยเพิ่มไฟให้แสงส่องลงมาที่ม่านช่วยให้ดูไม่ทึบ สามารถเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ LED T8 แทน LED Stripe Light ได้ โดยวางหลอดให้เหลื่อมกันเพื่อไม่ให้เกิดเงาระหว่างหลอด เพิ่มมิติให้มุมนั่งเล่น ด้วยการตกแต่งไฟเพิ่มแสงสว่างบริเวณรางม่าน และผนังด้านข้างขับบรรยากาศให้ยิ่งอบอุ่นเจ้าของ : คุณกฤษณะพันธ์ วกิณิยะธนีออกแบบ : Ham Architects โทร. 09-1829-6356ภาพ : W Workspace เนื้อหาฉบับเต็ม https://www.baanlaesuan.com/241364/design/living/aree-condo ไฟซ่อนในเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน นอกจากแสงไฟที่เฟอร์นิเจอร์จะช่วยทำให้ห้องดูมีมิติสวยงามแล้ว ยังช่วยเรื่องการมองเห็นในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่น การติดตั้งไฟซ่อนบริเวณหัวเตียง หรือการติดตั้งไฟหลืบใต้เตียงที่เอื้อประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ […]

BAKE TILL WE DIE รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เก่า สู่คาเฟ่บรรยากาศตึกแถวยุโรป

BAKE TILL WE DIE จากร้านขนมอบที่มีลูกค้าเจ้าประจำติดใจในรสชาติ สู่ร้านทำเลใหม่ที่ย่านสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม กับบรรยากาศอบอุ่นตกแต่งร้านคล้ายบ้านตึกแถวในยุโรป หรือที่เจ้าของร้านให้นิยามการออกแบบนี้ว่า “Urban European House” เน้นโชว์ความดิบของวัสดุและธรรมชาติ ผสานกลิ่นอายเมดิเตอร์เรเนียนลงไปเล็กน้อยให้ดูน่ารัก จากชื่อร้าน “BAKE TILL WE DIE“ แน่นอนว่าย่อมเกิดจากแพสชั่นและความหลงใหลในการทำขนม ที่คุณหลุยส์-บุญธิดา ทรัพย์ไพศาล เจ้าของร้านลงมืออบขนมแบบโฮมเมดด้วยตนเองทุกเมนู โดยมีคุณบอส-อธิราช สะบาย ที่มีความหลงใหลในเรื่องกาแฟมาช่วยกันทำคาเฟ่ในฝันให้สมบูรณ์แบบ โดยทั้งคู่ได้มองหาทำเลสำหรับใช้เป็นบ้านพักส่วนตัวด้วย จนมาลงตัวกับบ้านทาวน์เฮ้าส์เก่าอายุกว่า 30 ปี ขนาดสองชั้น ห้องหัวมุม ซึ่งมีศักยภาพเอื้อต่อการต่อยอดสู่งานออกแบบ ก่อนตกลงซื้อแล้วทำการรีโนเวทใหม่ใช้เวลาราว 2 เดือน ให้กลายเป็นคาเฟ่ขนาดเล็ก ๆ แต่อบอุ่น ตามสไตล์ที่พวกเขาชื่นชอบ ระหว่างทางของการรีโนเวทเปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่ เจ้าของเล่าว่าบ้านเดิมมีการต่อเติมพื้นที่จอดรถออกไปจนชิดกับถนน เมื่อรีโนเวทใหม่จึงต้องทุบพื้นที่ตรงนั้นออก เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างก่อนเข้าสู่ตัวร้าน แล้วกั้นผนังใหม่ตามดีไซน์อย่างบ้านตึกแถวในยุโรป กลายเป็นเปลือกอาคารที่โดดเด่นด้วยช่องหน้าต่างและประตูขนาดโอเวอร์ไซส์ ส่วนพื้นที่ภายในได้เปลี่ยน Circulation ใหม่ทั้งหมด โดยการเปลี่ยนตำแหน่งบันไดให้ไปอยู่ชิดริมผนังอีกฝั่ง เพื่อเปิดพื้นที่ว่างสำหรับรองรับลูกค้า และจัดการทุบผนังตลอดแนวที่ขนานไปกับซอยด้านข้างออก ก่อนจะดับเบิ้ลความหนาของผนังขึ้นจากเดิม 10 เซนติเมตร […]

บ้านใจกลางเมือง ที่สะท้อนตัวตนการอยู่อาศัยแบบส่วนตัวในพื้นที่กึ่งกลางแจ้ง

บ้านใจกลางเมือง ที่เจ้าของต้องการหนีความวุ่นวายและพักผ่อน โดยมีพื้นที่พักผ่อนที่ได้รับแสงแดดและลมธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต

HUONG’S HOUSE บ้านคอนกรีต ดีไซน์ดิบ หยิบธรรมชาติเข้ามาหลอมรวม

บ้านคอนกรีต กับการออกแบบได้อย่างชาญฉลาดในการจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับสมาชิก 5 คน โดยในความดิบกระด้างของโครงสร้างและวัสดุนั้น สถาปนิกสัญชาติเวียดนาม H-H Studio ไม่ลืมหยิบเสน่ห์ความเป็นธรรมชาติ และกาลเวลาเข้ามาช่วยเติมความงดงามที่ไร้การปรุงแต่ง หลังจากตัดสินใจซื้อบ้านเก่าในเมืองดานังขนาด 240 ตารางเมตร พร้อมที่ดินข้างบ้านขนาด 120 ตารางเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับพื้นที่ของตัวบ้าน เพื่อทำการรีโนเวตใหม่ให้เป็นบ้านที่เหมาะกับสมาชิกทั้ง 5 คน ซึ่งประกอบด้วยคู่สามีภรรยา และลูก ๆ อีก 3 คน ภายใต้แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายเข้ากับสภาพภูมิอากาศของเวียดนาม กลายเป็น บ้านคอนกรีต ที่มีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนได้อย่างเป็นส่วนตัว และสะท้อนการอยู่อาศัยของครอบครัวแบบดั้งเดิม การออกแบบอาคารมีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) โครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยสูงขนาด 2 ชั้น ชั้นล่าง เมื่อเข้ามาจากหน้าบ้านจะพบกับห้องโถงเพดานสูงโปร่งเชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ที่สามารถเดินออกไปยังส่วนพักผ่อน ซึ่งอยู่ใต้ท้องคานของห้องนอนใหญ่ ส่วนต่อขยายใหม่จากตัวบ้านเดิม เป็นพื้นที่ไฮไลต์ของบ้านที่เหมาะมานั่งรับลมชมวิวสวนและสระน้ำเล็ก ๆ เสมือนเป็น พื้นที่ Buffer Spaces ที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้ทำหน้าที่ช่วยระบายอากาศในฤดูร้อน ซึ่งตรงกับทิศใต้ที่มีลมและแสงแดดตลอดวัน สร้างสภาวะน่าสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย แตกต่างจากบรรยากาศของบ้านเก่าก่อนได้รับการรีโนเวตที่ตัวบ้านเป็นผนังทึบทั้งหมด การรีโนเวตครั้งนี้จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้บ้านมีบรรยากาศปลอดโปร่ง ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างไปของธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลา นอกจากชั้นล่างจะเป็นส่วนพักผ่อนร่วมกันแล้ว ยังออกแบบให้มีห้องนอนเล็กสำหรับคุณยายที่มักเดินทางจากเมืองเว้มาเยี่ยมหลาน […]

“ที่ว่างอาคาร” และ “ระยะร่น” เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเขตเมือง หรือบ้านต่างจังหวัด ก่อนสร้างบ้านเราต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระยะร่น และที่ว่างอาคารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากบ้านของเพื่อนบ้าน ระยะร่นจากถนน และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยที่ดี การสร้างอาคารให้มีระยะร่น หรือที่ว่างระหว่างอาคาร จะช่วยให้อากาศและลมถ่ายเทได้สะดวก สร้างสุขอนามัยที่ดี ทั้งยังง่ายต่อการซ่อมแซมตัวบ้าน ไปจนถึงการต่อเติมอาคาร โดยไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านและมีความเป็นส่วนตัว ที่สำคัญยังช่วยป้องกันเหตุอันไม่คาดฝันได้หลายเหตุการณ์ อาทิ เหตุอัคคีภัย คลื่นเซาะแนวตลิ่ง ฯลฯ ส่วนจะมีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องคำนึงถึงนั้น room มีข้อมูลมาฝากดังนี้ สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อาคารอยู่อาศัยและอาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% และบ้านสามารถใช้พื้นที่ 70 % ของผืนที่ดินทั้งหมด ในลักษณะใดก็ได้ ระยะห่างที่เหมาะสมภาพบน – ช่องเปิดต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร และสำหรับบ้าน 3 ชั้น หรือสูง 9 เมตร ขึ้นไป ต้องห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตรภาพล่าง – สามารถสร้างบ้านชิดที่ดินได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ถ้าชิดกว่านั้นต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน […]

LP18 ทาวน์เฮาส์ที่รีโนเวตให้มีพื้นที่รอบบ้านเหมือนบ้านเดี่ยว

บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าอายุ ประมาณ 30 ปี ที่คุณ เซ่ง จิรเมธ ชนะธุรการนนท์ ได้รับมาจากพ่อและแม่ แต่ด้วยความที่มีบ้านของตัวเองอยู่แล้ว การทำบ้านหลังนี้จึงเป็นทั้งบ้านที่เอาไว้พักอาศัยเมื่อเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และเผื่อเอาไว้สำหรับให้คนมาเช่าได้ในบางช่วงเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมีการออกแบบให้มีพื้นที่ Common Area ขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่น การรีโนเวตนั้นได้มีการจัดการกับพื้นที่ชั้นล่างโดยการแบ่งพื้นที่เสียใหม่ เพื่อให้พื้นที่ส่วนกลางมีความต่อเนื่องที่ดีขึ้น โดยที่โถงทางเข้าบ้านนั้นเกิดจากการเปลี่ยนระเบียงชั้นสองเดิมด้วยการทุบออก แล้วจึงออกแบบทำโครงสร้างเหล็กเข้าไปแทน เป็นทั้งการจัดการพื้นที่หน้าบ้านและปรับพื้นที่ใช้งานที่ชั้นบนไปพร้อมกัน เนื่องจากพื้นที่ของบ้านนั้นเดิมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม การยกพื้นทั้งบริเวณจึงเป็นสิ่งจำเป็น จากหน้าบ้านจะมีการค่อยๆปรับระดับของพื้นให้สูงขึ้นจากพ้นจากแนวระดับน้ำท่วม จากประตูใหญ่จะเป็นพื้นที่จอดรถที่เข้าบ้านได้จากประตูด้านข้าง Façade นี้ออกแบบเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อาศัยในบ้านเป็นสำคัญ โดยที่ยังสามารถมองออกไปด้านนอกรวมทั้งยอมให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาภายในบ้านได้อยู่ แต่ด้วยบล๊อคช่องลม ผู้ที่อยู่ภายนอกบ้านจะมองเข้ามาภายในได้อย่างขึ้นนั่นเอง เมื่อเข้าสู่ตัวบ้าน จะพบกับพื้นที่ Semi Outdoor ที่ผู้ออกแบบเรียกว่า “ศาลา” พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนส่วนหน้าบ้าน หากแต่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว สามารถเปิดเชื่อมโยงกับส่วนนั่งเล่นและส่วนกินข้าว เพื่อสร้างบรรยากาศคล้ายการนั่งในสวนให้กับบ้านทาวน์โฮม โดยที่มีทางเดินข้างบ้านคั่นกลางเอาไว้ ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการออกแบบให้มีพื้นที่ทางเดินรอบบ้าน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่แตกต่างให้กับบ้านแบบทาวน์เฮาส์จากเดิมจะนึกไปว่าความเป็นบ้านทาวน์เฮาส์นั้นไม่สามารถที่จะมีสวนและพื้นที่รอบๆได้ ทางเดินข้างบ้านนี้สร้างให้เกิดความรู้สึกของความเป็นบ้านมากขึ้น และเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนทางเดินนี้เป็นพื้นที่ภายในบ้านได้เพียงแค่ปิดประตูหน้าบ้านและหลังบ้านเท่านั้น วัสดุที่เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นกระเบื้องลายหินและผนังปูนขัดเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา เลือกใช้ไม้สีอ่อนในส่วนของบานประตูต่างๆรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์เกือบทั้งหมดเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างให้ดูนุ่มนวลน่าสัมผัสมากขึ้น มีการออกแบบที่เน้นเหลี่ยมมุมที่ดูเป็นระเบียบ แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยพื้นผิวเดิมของเพดานเอาไว้หลังจากรื้อฝ้าเดิมออกจนเห็นท้องพื้นแต่แต่เดิมที่เป็นไม้และคานปูนเปลือย สร้างให้เกิดความแตกต่างที่น่าสนใจ ข้อดีของการเปิดเพดานจนถึงท้องพื้นชั้นสองจะช่วยให้บ้านที่มีการยกพื้นเพิ่มจากเดิมมีพื้นที่จากพื้นถึงเพดานมากขึ้น ทั้งเพดานที่ดูดิบยังช่วยพรางงานระบบที่เดินท่อใหม่ให้ดูเรียบร้อยไปด้วยกันได้ดี นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนการคงไว้ซึ่งเรื่องราวของบ้านก่อนที่จะรีโนเวตเอาไว้อีกด้วย […]

ถอดบทเรียน 10 ข้อจากเสวนา BACC circle หัวข้อ “20 ปีแห่งการเดินทาง การสร้างเขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก  WEST KOWLOON ให้อะไร?” ต่อคุณและวงการศิลปะไทย

West Kowloon Cultural District Authority พื้นที่สำหรับประชาชน และความเป็นไปได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ ในการที่ศิลปินท้องถิ่นจะไม่ถูกทอดทิ้ง และการขยับเข้าสู่ระดับโลกคือสิ่งเป็นไปได้ นี่คือ 10 บทเรียนที่ คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มาร่วมถ่ายทอดให้เราฟัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 นอกจากการพูดคุยที่สนุกสนาน คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร […]

บ้านเชียงใหม่ รีโนเวทแต่พอดี น้อยแต่มาก ลงตัว แบบล้านนามินิมัล

ด้วยองค์ประกอบคุ้นตาของบ้านโมเดิร์นในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านปูนสีขาว วงกบไม้ และผนังอิฐแดง แต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนมือ สู่เจ้าของคนใหม่ การใช้งานใหม่ การออกแบบรีโนเวทอย่างเข้าใจ จึงทำให้บ้านหลังนี้ สำเร็จออกมาสวยงามลงตัว แต่ยังเปี่ยมเสน่ห์กลิ่นอายบ้านโมเดิร์นไทย ๆ แบบชาวเจียงใหม่เจ้า แสนจะลงตัว จากความต้องการมีบ้านพักอาศัยที่อยู่ใกล้ที่ทำงาน ขนาดกะทัดรัด และสามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง คุณหมอเดือน (นันทิสา โชติรสนิรมิต) จึงเริ่มตระเวนมองหาบ้านที่ขายในละแวกที่ต้องการ และได้มาพบกับบ้านเก่าที่ติดป้ายขายในซอยวัดอุโมงค์ ที่อยู่ไม่ไกลจากสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ทำงาน และติดต่อ Studio Mai Mai ให้มาช่วยประเมินความเป็นไปได้ในการรีโนเวทบ้านให้ได้ดั่งใจ #เก็บส่วนดีเดิมเพิ่มเติมส่วนใหม่หลังจากสถาปนิกจาก Studio Mai Mai สำรวจบ้านจึงพบว่า ตัวบ้านมีความทรุดโทรมตามกาลเวลา (คาดว่ามีอายุราว 30 ปี) มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้นเป็นโครงปูนผสมไม้ มีหลังคาเป็นเป็นเพิงหมาแหงนลาดลงมาด้านหลังซ้อนกันสองระดับทำให้เกิดช่องแสงระหว่างหลังคากลางบ้าน เมื่อเห็นว่าตัวบ้านมีโครงสร้าง รูปทรง และสัดส่วนที่สวยงามอยู่แล้ว สถาปนิกและเจ้าของบ้านจึงตัดสินใจยึดโครงสร้างเดิมไว้ และปรับเปลี่ยนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้สอยใหม่ #การใช้สอยใหม่ที่เข้ากับวิถีชีวิตเจ้าของบ้านมีโจทย์ในการทำบ้านใหม่ที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ อยากให้มีห้องเอนกประสงค์ใกล้ทางเข้าบ้านที่มีห้องนํ้าในตัวแยกขาดจากตัวบ้านหลัก อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ ชั้นสอง เปลี่ยนจากสามห้องนอนหนึ่งห้องนํ้า ให้เป็นสองห้องนอนใหญ่ที่มีห้องนํ้าในตัว เนื่องจากใกล้บ้านมีที่จอดรถให้เช่าจึงสามารถตัดที่จอดรถหน้าบ้านนำมาใช้ทำสวนหย่อมขนาดเล็กได้ ทำให้บ้านมีสวนทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านที่จะช่วยเพิ่มความร่มรื่นและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย #สว่างกว่าสบายกว่าจากจุดเด่นตรงช่องแสงระหว่างหลังคาของบ้านเดิม […]

นวัตกรรม เซลลูโลส จากเศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร

เซลลูโลส มีประโยชน์มีส่วนช่วยในการลดปัญหามลภาวะ อีกทางหนึ่งสร้างธุรกิจสร้างสรรค์จากการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างหลากหลาย

สิ่งทอ จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิล

สิ่งทอ ที่ผลิตจากเส้นใยและไหม แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและใช้ทุกวันอีกอย่างที่อาจจะมองข้ามไปนั่นคือ “เฟอร์นิเจอร์” จนสิ่งทอกลายมาเป็นอุตสาหกรรม

ไอเดียออกแบบ – ตกแต่งด้วย วัสดุแก้ว

วัสดุแก้ว สามารถนำมาตกแต่งบ้านได้ในสไตล์ที่หลากหลาย ที่พัฒนาจากนวัตกรรมวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุธรรมชาติที่ผ่านกรรมวิธีที่นำเป็นเทรนด์แต่งบ้าน

วัสดุขยะ จากงานอีเว้นต์ ทางเลือกใหม่โปรดักต์ยั่งยืน

room ขอแนะนำเหล่า วัสดุขยะ น่าสนใจที่ล้วนแล้วแต่เป็นทางออกของการใช้เศษเหลือจากจัดงานอีเว้นต์แทบทั้งสิ้นไม่ว่า กากกาแฟ เศษอาหาร ขวดพลาสติก