TACHIKAWA ANNEX HOUSE บ้านไม้หลังใหญ่ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่อยู่อาศัย โกดังเก็บสินค้า และสตูดิโอถ่ายภาพ

บ้านไม้ หลังใหญ่ ตอบโจทย์ธุรกิจเสื้อผ้าของเจ้าของบ้าน ตั้งอยู่ใน Tachikawa City เมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ของประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการดีไซน์พื้นที่กว้างขวางสำหรับใช้เป็นโกดังและสตูดิโอถ่ายภาพ บ้านไม้ หลังคาทรงจั่งขนาดใหญ่นี้ มีโครงสร้างที่ถือเป็นเอกลักษณ์อย่าง การออกแบบให้มีเสาสองต้นขนาดใหญ่ที่โผล่ทะลุขึ้นมาถึงชั้นสอง เพื่อทำหน้าที่รองรับคานไม้ในลักษณะรูปตัววีเชื่อมต่อกับแปหลังคา ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและลวดลายดูสวยงาม ผนังและเพดานกรุด้วยแผ่นไม้อัด ส่วนพื้นกรุกระเบื้องปูพื้นพอร์ซเลนดีดำเข้ม พื้นที่ใช้สอยเป็นแบบโอเพ่นแปลนดูโล่งกว้าง และเนื่องจากทิศหน้าบ้านหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้บ้านชั้นสองได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอและลดการใช้พลังงาน สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้วัสดุโปร่งแสงอย่าง แผ่นพอลิคาร์บอเนตแบบสองชั้นซึ่งมีโครงสร้างกลวง (Polycarbonate with thick void layer) มากรุที่ผนังบ้านด้านหน้า จนกลายเปลือกอาคารที่เด่นกว่าใคร ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติที่น่าสนใจ อาทิ ช่วยกรองแสง ช่วยถ่ายเทความร้อนต่ำ และเป็นฉนวนกันความร้อน จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ดีกว่าการกรุผนังด้วยกระจกที่มีความหนาเท่ากัน โดยเจ้าของสามารถเปิดประตูออกมารับลมและชมวิวด้านนอกที่เห็นรางรถไฟพลาดผ่าน ได้ผ่านทางเดินบนระเบียงขนาดยาว หลังคาทำจาก Galvanized color steel sheet ทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดก่อนทุกรูปแบบ ทั้งยังสะท้อนความร้อนได้ดี จึงไม่ดูดซับความร้อน ช่วยให้บ้านเย็นสบายในหน้าร้อน ชั้นล่างใช้เป็นโกดังเก็บสินค้าและสตูดิโอถ่ายภาพ สำหรับใช้งานในฐานะที่เจ้าของบ้านทำธุรกิจเสื้อผ้า แต่เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าพื้นระดับปกติประมาณ 1 เมตร จึงต้องทำบันไดเล็ก […]

BAANLUMPHUN บ้านโมเดิร์นที่ตีความใหม่จากสถาปัตยกรรมนอร์ดิก

“บ้านลำพูน” บ้านพักอาศัย 2 ชั้น ขนาด 260 ตร.ม. ที่ได้รับการออกแบบด้วยกลิ่นอายแบบ บ้านนอร์ดิก และสร้างบนที่ดินเปล่าผืนหนึ่งในจังหวัดลำพูน

DOT HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก กับพื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก เพียงพอสำหรับการพักอาศัยและทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ออกแบบโดย Boano Prišmontas สตูดิโอออกแบบสัญชาติอังกฤษ นี่คืองานออกแบบ บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก ในกรุงลอนดอน ที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์พร้อมฟังก์ชันที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์พื้นที่ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมุมทำงาน พักผ่อน ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือเล่นวิดีโอเกม ‘Dot House’ หลังนี้ มาพร้อมนิยามความอิสระแบบขั้นสุด เหมาะกับคนที่ต้องการปลีกวิเวก หรือแม้แต่เป็นไอเดียสำหรับการสร้างบ้านบนที่ดินขนาดจำกัด และในสวนหลังบ้าน ให้กลายเป็นบ้านที่อยู่ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงพอสำหรับพักอาศัยและใช้ทำงาน ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 2 ส่วน คือ ห้องพัก และห้องน้ำ ห้องน้ำถูกซ่อนอยู่หลังประตูบานเลื่อนไม้อัดสั่งทำพิเศษ ด้านบนเหนืออ่างล้างมือออกแบบให้มีสกายไลท์รับแสงธรรมชาติจากด้านบน ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับบ้าน แทบไม่ต้องเปิดไฟในวันที่อากาศดี เมื่อเปิดบานเลื่อนออกยังช่วยเชื่อมพื้นที่ระหว่างภายในกับห้องน้ำให้ดูกว้างขึ้นด้วย พื้นผิวภายในบ้านประกอบด้วยไม้อัดเบิร์ช FSC แบบเปลือยบนเพดาน พื้นปูกระเบื้องคอนกรีต ผนังกรุแผ่นไม้อัดลามิเนต และผนังห้องน้ำกรุกระเบื้องหินขัด สร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติผ่านผิวสัมผัสของวัสดุ และเนื่องจากเป็นเมืองหนาวจึงออกแบบให้มีระบบทำความร้อนใต้พื้น ช่วยให้บ้านหลังน้อยอบอุ่นแม้ในช่วงฤดูหนาว นอกจากใช้พื้นที่ที่จำกัดได้อย่างชาญลาดแล้ว เฟอร์นิเจอร์ยังมีฟังก์ชันพิเศษอย่าง การออกแบบผนังแบบเจาะรู ที่สามารถเสียบไม้สำหรับทำเป็นชั้นวางของได้หลากหลายระดับ แล้วแต่ความต้องการ พร้อมโต๊ะพับประหยัดพื้นที่สำหรับซ่อนคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เหนือผนังซ่อนจอโปรเจ็กเตอร์สามารถเลื่อนลงมาได้อัตโนมัติ สำหรับใช้ชมภาพยนตร์ยามค่ำคืน […]

ITCH HOUSE บ้านประหยัดพื้นที่ ผสมความต่างให้หลอมรวม

บ้านประหยัดพื้นที่ กลางกรุงโซล โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสีงาช้าง และการจัดวางแปลนใช้งานที่ชาญฉลาด แม้อยู่ในพื้นที่ที่ยาก และมีขนาดแสนจำกัด ก็สามารถสร้างบ้านออกมาได้สวย พร้อมดีไซน์ที่สะท้อนตัวตน ITCH House บ้านประหยัดพื้นที่ ของคู่รักนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในซอยหน้าสวนสาธารณะ Seonggwak ย่าน Sindang-dong, Jung-gu กลางกรุงโซล จากธรรมชาติของสถานที่ตั้งที่ต้องเดินผ่านบันไดที่ทั้งแคบและสูงชัน ทั้งยังรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนแออัดหลายสิบหลัง กับขนาดพื้นที่ที่จำกัด จึงไม่ง่ายเลยที่จะสร้างบ้านให้ออกมาน่าอยู่ ประหยัดพื้นที่ และโดดเด่นไปจากบริบทรอบ ๆ ดังนั้น การออกแบบบ้านบนที่ดินขนาดเล็กรูปร่างคล้ายธงสามเหลี่ยมนี้ จึงมาพร้อมความท้าทายของงานออกแบบ นอกจากนั้นยังต้องใส่สไตล์ความชอบที่แตกต่างของเจ้าของบ้าน เพื่อให้ทุกอย่างถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้คอนเซ็ปต์การออกแบบให้บ้านหลังนี้ออกมาอบอุ่นและปลอดโปร่ง เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบฟาซาด โดยเลือกนำแสงเข้ามาในบ้านผ่านกำแพงก่ออิฐสีงาช้างแบบเว้นช่อง ด้านหลังกำแพงเว้นที่ว่างให้เป็นเส้นทางสัญจรเล็ก ๆ รอบตัวบ้าน เพื่อช่วยขยายความรู้สึกของพื้นที่ให้บ้านไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านในชั้นล่างมีพื้นที่รวม 27 ตารางเมตร ภายในจะประกอบด้วยพื้นที่ห้องครัว พร้อมโต๊ะรับประทานอาหาร ที่สามารถใช้เป็นที่นั่งทำงานได้แบบอเนกประสงค์ สดชื่นสบายตาไปกับการเปิดมุมมองออกสู่เฉลียง รับกับแนวต้นไผ่สีเขียวที่ปลูกไว้ พื้น ผนัง เพดาน และเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเป็นไม้ ช่วยสร้างความรู้สึกอบอุ่น พร้อมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัย ที่ซ่อนอยู่ภายในผนังเพื่อไม่ให้เกะกะพื้นที่ ทำให้บ้านขนาดเล็กดูกว้าง และเป็นระเบียบยิ่งขึ้น ขณะที่ชั้น […]

ต่อเติมบ้าน จัดสรรให้เติมเต็มพื้นที่ใช้สอย

ไอเดีย ต่อเติมบ้าน จัดสรรย่านพัฒนาการ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตอบโจทย์การขยับขยายของครอบครัว เมื่อว่าที่คุณพ่อคุณแม่คู่แต่งงานใหม่วางแผนเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ตัวน้อย จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วยการต่อเติมกล่องขนาด 4 x 11 เมตร ออกมาจากตัวบ้านเดิม แรกเริ่มก่อนก่อสร้าง ตั้งใจให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่นั่งเล่น และห้องเก็บของ เพื่อเติมเติมการใช้งานของบ้านหลัก ทีมสถาปนิกจาก Fatt! Studio ทำงานร่วมกับวิศวกรในการออกแบบเสาโครงสร้าง 4 ต้น เพื่อรองรับส่วนต่อเติมยาวกว่า 11 เมตร โดยมีโครงสร้างคานยื่นออกไปทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นทางเดียวที่ทำให้พื้นที่ชั้นล่างกว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่นและทำกิจกรรมแบบกึ่งเอ้าต์ดอร์ ที่โปร่งสบายในลักษณะคล้ายใต้ถุนบ้าน นอกจากนี้ ยังออกแบบให้สะพานเชื่อมทางสัญจรกับตัวบ้านหลัก โดยไม่กระทบกับโครงสร้าง Precast เดิม ดังนั้น จึงเชื่อมต่อกับผนังเบาตามสันฐานเดิมของอาคาร จากเดิมที่ส่วนต่อเติมนี้ควรจะเป็นพื้นที่ของคุณพ่อ-คุณแม่ในช่วงสุดสัปดาห์ แต่เมื่อสมาชิกใหม่ลืมตาดูโลก พื้นที่ภายในกล่องจึงถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เพื่อให้เป็นพื้นที่ของเด็กๆ โดยเฉพาะ ส่วนพื้นที่ด้านล่างก็ได้มีการปรับบ่อน้ำโดยย้ายตำแหน่งและลดขนาดเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านตัวน้อย พร้อมมีบันไดวนขึ้นไปสู่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัว การต่อเติมบ้านหลังนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ในการปรับปรุงต่อเติมบ้านจัดสรรให้กลายเป็นบ้านที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง พื้นที่ใช้สอย: 80 ตารางเมตร ออกแบบ: FATTSTUDIOออกแบบภายใน: Surapat Puanmuangออกแบบแสงสว่าง: FATTSTUDIO collaborate with TRUELIGHTวิศวกรโครงสร้าง: Nuttapol Wangsittikulวิศวกรงานระบบ: […]

DM HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิต คำนึงเรื่องแสงและลม พร้อมดีไซน์จับคู่สีสุดลงตัว

บ้านโมเดิร์น ดีไซน์น่ารัก มาพร้อมโจทย์ของการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เหมาะกับการอยู่อาศัย ทั้งการหลบเลี่ยงแสงแดด แต่พร้อมเปิดพื้นที่เพื่อต้อนรับลมและอากาศธรรมชาติได้เต็มที่ บ้านโมเดิร์น หลังนี้ ตั้งอยู่ที่ประเทศสเปน ออกแบบโดย Horma – estudio de arquitectura เด่นด้วยการนำรูปทรงเรขาคณิตมาใช้เป็นลูกเล่นให้กับบ้าน ทั้งยังใช้แผ่กระจายสเปซใช้งานที่หลากหลาย ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ทั้งตอบโจทย์และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัว โปรเจ็กต์นี้ออกแบบตามทิศทางที่เหมาะสม โดยตั้งใจเปิดพื้นที่ของบ้านให้หันไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อปกป้องตัวเองจากดวงอาทิตย์ทางทิศตะวันตก ขณะที่ทิศเหนือเป็นตำแหน่งของห้องนอน ซึ่งเป็นทิศที่ไม่มีแสงแดดมารบกวน การใช้งานพื้นที่ถูกแบ่งให้แต่ละโซนมีความต่อเนื่องเชื่อมกัน ชั้นล่างใช้สำหรับรับแขก พักผ่อน และนันทนาการ ขณะที่อาคารส่วนหลัง คือพื้นที่สำหรับพักผ่อนที่มีความเป็นส่วนตัว ซึ่งถูกแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ดีเทลการออกแบบที่สำคัญอีกอย่าง นั่นคือกับจับคู่สีระหว่างผนังสีขาวกับผนังกรุกระเบื้องเซรามิกสีแดง ที่ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ทั้งภายใน-ภายนอก ผสมกับเฟอร์นิเจอร์ไม้เมเปิ้ลและไม้เชอร์รี่ ที่ปรากฏอยู่ในแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรม ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้เกิดบรรยากาศรวมถึงสีสันที่ลงตัว ออกแบบ : Horma – estudio de arquitectura (https://hormaestudio.com/)Nacho Juan, Clara Cantó, Jose Iborra, Ana Riera, Belén Iglesias, Andrés […]

PUNTA COLORADA III SHELTER บ้านไม้ชั้นเดียว กับแนวคิด “รบกวนป่าให้น้อย สัมผัสธรรมชาติได้มาก”

บ้านไม้ชั้นเดียว กลางผืนป่าใกล้ชายหาดที่เปิดออกสู่มหาสมุทรในประเทศอุรุกวัย โดดเด่นด้วยคอนเซ็ปต์การออกแบบบ้านให้อยู่ร่วมกับป่าแบบได้ไม่เบียดเบียนของทีมสถาปนิก TATÚ Arquitectura โดย บ้านไม้ชั้นเดียว หลังนี้ มาพร้อมกับความท้าทาย เพราะมีลักษณะเป็นเนินดินลาดเทลงไป และเพื่อเอาชนะปัญหานี้ ทีมสถาปนิกจึงได้ออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะระบบฐานรากอาคารได้อย่างน่าสนใจ พร้อมกับแนวคิดความพยายามรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด และจากความตั้งใจที่จะรักษาระบบนิเวศรอบ ๆ บ้านให้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยสภาพของที่ตั้งดังกล่าว ทีมสถาปนิกจึงตัดสินใจว่า จะใช้ระบบฐานรากแบบไม้ค้ำถ่อที่ประกอบด้วยเสาเข็มคอนกรีตรองรับบนพื้น ปล่อยให้โครงสร้างทั้งหมดแขวนอยู่บนพื้นผิวที่ไม่เรียบของพื้นดินนั้น โดยไม่ต้องใช้วิธีการปรับหน้าดิน หรือรบกวนธรรมชาติใด ๆ เลย รูปทรงของตัวบ้านมีความเรียบง่าย สร้างขึ้นในตำแหน่งตามแนวยาว พร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครัน แบ่งพื้นที่ใช้งานด้วยการบรรจุส่วนของห้องนอนให้อยู่ทางทิศเหนือ ไล่ลำดับการใช้งานจากส่วนที่ไพรเวทที่สุด ไปยังพื้นที่ครัว มุมพักผ่อนนั่งเล่น จนไปจบที่ระเบียงเปิดโล่งทางทิศใต้ ที่ออกแบบให้ยื่นออกไป เพื่อสัมผัสกับภูมิทัศน์ของราวป่าได้เต็มอิ่ม แม้จะเป็นบานทรงกล่องที่ทำจากไม้ดีไซน์เรียบง่ายขนาดเล็ก แต่ก็สร้างความเซอร์ไพร้ส์ให้ เพราะภายใต้หลังคาทรงจั่วที่ครอบอยู่นั้น ผู้ออกแบบยังออกแบบพื้นที่เผื่อไว้สำหรับเป็นห้องนอนอีกหนึ่งห้องบนชั้นสอง ซึ่งมีช่องหน้าต่างกระจกเล็ก ๆ ให้สามารถมองออกไปสัมผัสวิวสีเขียวได้จากมุมสูง สำหรับในวันที่อากาศปลอดโปร่ง หากโชคดีก็สามารถมองเห็นวิวทะเลได้ด้วย ออกแบบ : TATÚ Arquitectura (https://en.tatuarq.com/) ภาพ : Marcos Guiponi เรียบเรียง : Phattaraphon […]

NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน

“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]

บ้านตากอากาศสไตล์โมเดิร์นนิสม์ในแบบ PDM ทั้งเรียบง่าย กะทัดรัด กับวิวแม่น้ำสุดร่มรื่น

หากใครที่ชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบโมเดิร์นนิสม์ที่มีจังหวะพื้นผิววัสดุและแสงธรรมชาติอันสวยงาม ที่นี่คือบ้านตากอากาศขนาดกำลังดี จัดวางด้วยเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสุดสร้างสรรค์จาก PDM BRAND รับรองว่าบ้านหลังนี้ คือที่สุดของบ้านในดวงใจอีกหลังหนึ่งอย่างแน่นอน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR  เพราะนี่คือ บ้านตากอากาศ ของคุณดิว-ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งและ Creative Director PDM Brand สำหรับวันว่างที่อยากปลีกจากเมืองกรุงฯ เพื่อใช้เวลาพิเศษกับครอบครัว และเพื่อนฝูง ที่นี่จึงเป็นเหมือนพื้นที่พิเศษของครอบครัวและเพื่อนฝูงในวันสุดสัปดาห์ ท่ามกลางธรรมชาติชานเมืองในพื้นที่นครชัยศรีกับวิวแม่น้ำกว้างไกลสุดสายตาและทุ่งนาที่รายล้อม เมื่อเลี้ยวออกทางหลวงชนบทในพื้นที่ลำพญา-นครชัยศรี ลัดเลาะเข้ามาจนถึงริมแม่น้ำนครชัยศรี เราจึงได้พบกับบ้านหลังนี้ตั้งเด่นอยู่ในพื้นที่สุดซอยที่จัดสรรค์แบ่งแปลงไว้อย่างลงตัว บ้านหลังนี้เป็น “บ้านตากอากาศ” ที่เจ้าของตั้งใจไว้สำหรับให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งมิตรสหายได้แวะมาใช้เวลาร่วมกัน การเลือกทำเลที่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯอย่างนครชัยศรีจึงเป็นที่ๆทุกๆคนจะแวะมาที่นี่ได้อย่างไม่ยากเย็น และแน่นอนว่าการออกแบบบ้านหลังนี้ก็ทำขึ้นเพื่อรองรับช่วงเวลาพิเศษนั้นเช่นกัน การออกแบบบ้านหลังนี้มีจุดประสงค์ในการเป็น “บ้านตากอากาศ” เป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการออกแบบให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้ง่าย จึงทำให้แต่ละพื้นที่นั้นถูกคิดคำนวญมาเป็นอย่างดีให้ลงตัวและไม่ใหญ่โตจนเกินไป โดยแบ่งพื้นที่สังสรรค์ออกเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่ชั้นล่างบริเวณใต้ถุนบ้าน และพื้นที่รับแขกนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่ชั้นบนซึ่งต่อเนื่องกับชานชมวิวของบ้านหลังนี้ บานเปิดของบ้านหลังนี้มีความพิเศษที่สามาถเปิดออกได้จนสุดบานตั้งแต่พื้นจรดเพดาน มีการเลือกใช้วัสดุ Texiline ที่มีความโปร่งแสง สามารถกันแดดฝนได้ แต่ก็ยังสามารถมองทะลุผ่านจากภายในและยอมให้ลมไหลผ่านได้ในระดับที่ไม่อึดอัด ในยามที่เจ้าของบ้านต้องการรับลมและชมวิวก็สามาถเปิดบ้านออกรับธรรมชาติได้แทบจะในทันที การเลือกออกแบบให้บ้านหลังนี้เป็นบ้าน “ใต้ถุนสูง” นั้น นอกจากจะเป็นความจำเป็นจากการที่พื้นที่นครชัยศรีเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพฯซึ่งมีระดับน้ำในฤดูน้ำหลากที่ค่อนข้างสูงแล้ว การเลือกให้พื้นที่ส่วนตัวอยู่บนชั้นสองยังทำให้พื้นที่เหล่านั้น พ้นไปจากมุมมองสายตาของเพื่อนบ้าน ซึ่งเมื่อต้องการการเปิดโล่งเพื่อรับทิวทัศน์เช่นนี้แล้ว การเปลี่ยนมุมมองไปอยู่ที่ชั้นบนจึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ โครงสร้างของบ้านหลังนี้เป็น “คอนกรีตหล่อในที่” ในเกรด […]

3X3 RETREAT บ้านเล็ก เท่าแมวดิ้น! แต่อยู่สบายกลางป่าใหญ่

ใครจะเชื่อว่าพื้นที่ 3×3 เมตร จะสามารถสร้างบ้านหนึ่งหลังได้ Estudio Diagonal สถาปนิกจากประเทศชิลี ได้ออกแบบบ้านน้อยกลางสวนป่าสำหรับอยู่อาศัยในพื้นที่น้อย แต่สัมผัสธรรมชาติได้ชนิดที่เรียกได้ว่า “อย่างเยอะ” 3×3 Retreat เป็นบ้านพักกึ่งตากอากาศที่แบ่งเป็นพื้นที่นอกชาน และพื้นที่ภายในบ้านขนาดสองชั้น ชั้นล่างใช้พื้นที่ชานบ้านแทนพื้นที่รับแขก ทุกคนที่มาที่บ้านจะได้รับบรรยากาศธรรมชาติเต็มตา ณ ห้องรับแขกเอ๊าต์ดอร์แห่งนี้ ถัดเข้ามาภายในเป็นพื้นที่สำหรับครัว และStorage เมื่อปีนบันไดลิงขึ้นสู่ชั้นบน ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนกับพื้นที่ส่วนตัวที่มีทั้งห้องนอน และห้องน้ำ เรียกได้ว่าครบทุกองค์ประกอบที่บ้านควรจะต้องมีเลยทีเดียว ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการทำบ้าน “เล็กแบบพอดีอยู่” ที่ใครจะนำไปใช้กับบ้านสวนของตัวเองก็ไม่ขัด แต่พออายุมากแล้ว อาจจะปีนขึ้นไปนอนยากสักหน่อย อันนี้ก็คงต้องปรับไปตามสังขารกันอีกที ออกแบบ : Estudio Diagonalภาพ : Nicolás Saiehเรียบเรียง : Wuthikorn Sut

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งสร้างจากเหล็กรีไซเคิล

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งกลางทุ่งหญ้า ให้โมเมนต์การพักผ่อนที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรกับธรรมชาติในประเทศออสเตรเลีย บ้านตากอากาศ ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี แถมยังมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกได้แห่งนี้ ตั้งอยู่ใน Berry หมู่บ้านเล็ก ๆ ในประเทศออสเตรเลีย โดดเด่นด้วยหน้าตาของอาคารที่มีลักษณะเป็นหอคอยสีทองแดงสองหลังต่างขนาดกันสองฝั่ง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพักอาศัย อาทิ เตียงนอน ดาดฟ้า เตาผิง และห้องน้ำ ความน่าสนใจของที่นี่ คือโครงสร้างของเปลือกอาคารทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ซึ่งเคยเป็นทุ่นลอยน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ภายในกรุไม้เนื้อแข็ง และทำช่องเปิดแบบบานเกล็ดเต็มผืนผนังด้านหนึ่ง โดยมีรอกแบบแมนนวลสามตัว คอยทำหน้าที่ยกและลดระดับผนังด้านข้างของอาคารขึ้นลง เพื่อสร้างส่วนยื่นสำหรับช่วยป้องกันแสงแดดในฤดูร้อน มีพื้นที่ใช้สอย 3×3 เมตร ชั้นล่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกพรั่งพร้อม ทั้งพื้นที่ปรุงอาหาร จัดเก็บสิ่งของ และเตาผิง ขณะที่เตียงนอนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้บันไดบนชั้นลอย ส่วนห้องน้ำถูกแยกส่วนให้อยู่ที่อาคารหลังเล็ก เชื่อมต่อกันด้วยดาดฟ้าที่ขึ้นได้จากบันไดด้านข้างอาคาร สำหรับอาคารหลังเล็กได้ออกแบบให้มีถังเก็บน้ำฝน แถมมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลสำหรับใช้ทำปุ๋ยหมัก เป็นการออกแบบที่นอบน้อม โดยพยายามลดผลกระทบที่อาจมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ส่วนพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเตาผิง เตาประกอบอาหาร หรือไฟฟ้าที่ให้ส่องแสงยามค่ำคืน ก็มาจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ที่นี่จึงเปรียบเสมือนสถานที่หลบภัยทางจิตวิญญาณ ให้เจ้าของบ้านได้ปลีกวิเวก เพื่อมาสัมผัสกับการพักผ่อน เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มองเห็นทัศนียภาพของชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียได้แบบพานอรามาจากภูเขาสู่ท้องทะเล ออกแบบ : Casey Brown […]

Dog and Human House สถาปัตยกรรมเพื่อความสุขของคนและน้องหมา

Dog and Human House โครงการออกแบบที่มีจุดเริ่มจากความรักที่เจ้าของมีต่อน้องหมา จนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่ตั้งใจกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ให้ปรับเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้มุมมอง และความรู้สึกของสุนัขด้วยความเต็มใจ การันตีถึงความใส่ใจในกระบวนความคิดการออกแบบตลอดจนการเลือกวัสดุของโครงการนี้ด้วยรางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2022 ประเภทบ้านพักอาศัย โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับงานออกแบบบ้านส่วนใหญ่ จุดเริ่มต้นมักจะเกิดขึ้นเพื่อสร้างให้คนอยู่อาศัยเป็นหลัก แต่สำหรับโครงการออกแบบ Dog and Human House นั้นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ต่างออกไป โดยหากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2018 ที่ทาง คุณนรวีร์ วัยนิพิฐพงษ์ คุณหมอด้านกระดูกและข้อ ต้องการจะหาพื้นที่สีเขียวสำหรับให้สุนัขที่รักวิ่งเล่นได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสุนัขที่เขาเลี้ยงนั้นเป็นน้องหมาพันธุ์ใหญ่ และมีหลายตัว ทำให้จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้างขวาง ให้น้อง ๆ ได้วิ่งแบบเต็มฝีเท้า ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความสุขของสุนัข คุณนรวีร์วางใจให้ คุณเอกภาพ ดวงแก้ว สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง EKAR Architect รับหน้าที่ออกแบบโครงการ รวมถึงร่วมกันมองหาความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับน้องหมา จากจุดเริ่มต้นที่จะออกแบบเพียงสนามวิ่งเล่น จึงขยับขยายกลายเป็น ‘บ้าน’ ของคุณหมอและพื้นที่ของ DOX House ที่บริการสระว่ายน้ำ รับทำความสะอาดและโรงแรมสุนัขในเวลาต่อมา เพื่อแบ่งปันความสุขให้กับคนที่รักสุนัขเหมือนกัน โดยยังมี ‘น้องหมา’ เป็นหัวใจหลักของการออกแบบเช่นเดิม […]

BAUTISTA HOUSE บ้านริมทะเลแคริบเบียน สวรรค์ของคนรักสายลมแสงแดด

Bautista House บ้านริมทะเล ในประเทศเม็กซิโก ได้รับการออกแบบโดยมีจุดเด่นอยู่ที่การให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานและระบบนิเวศ พร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อเปิดประสบการณ์การพักผ่อน ให้สามารถสัมผัสกับความบริสุทธิ์และความสวยงามของธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ โปรเจ็กต์ บ้านริมทะเล สำหรับใช้ตากอากาศหลังนี้ สร้างขึ้นบนพื้นที่เล็ก ๆ ของชายหาด Riviera Maya เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นตัวช่วยในการพักอาศัย เด่นด้วยสถาปัตยกรรมคอนกรีตหล่อ โดยใช้เทคนิคการยกโครงสร้างของบ้านให้ลอยสูงขึ้นจากพื้นด้วยเสารูปกากบาท เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อพื้นที่และสิ่งแวดล้อม แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ชั้น เชื่อมแต่ละพื้นที่ด้วยบันไดเวียนคอนกรีตขนาดใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนจุดนำสายตาของบ้าน ล้อมรอบด้วยระเบียงไม้ขนาดใหญ่ โดยมีสระว่ายน้ำ และห้องรับประทานอาหารที่เปิดมุมมองให้ได้สัมผัสกับวิวป่าชายหาดและทะเลแคริบเบียน แปลนของอาคารอยู่ในลักษณะรูปตัวแอล (L) ขยายพื้นที่ชั้นล่างให้แผ่ออกไปในรูปแบบของเฉลียงขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องตัวบ้านจากแสงแดด พร้อมการเปิดผนังทุกชั้นเพื่อการระบายอากาศที่ดีผ่านประตูไม้บานเฟี้ยมที่พับเข้าหากันได้ (มีเฉพาะห้องนอนเท่านั้นที่มีระบบปรับอากาศ) และสำหรับในบางช่วงที่เกิดพายุเฮอริเคน บานเฟี้ยมที่ว่าเหล่านี้ยังช่วยปกป้องบ้านได้จากแรงลม เปลี่ยนบ้านที่เปิดโล่งเป็นกล่องปิดที่แข็งแรง เป็นบ้านพักตากอากาศที่แข็งแรงพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติได้อย่างดี และไม่ว่าจะอยู่มุมไหนทุกพื้นก็สามารถเสพวิว รับแสง และสัมผัสกับสายลมแห่งท้องทะเลที่พัดเย็นได้ทุกช่วงเวลา ออกแบบ : PRODUCTORA (http://productora-df.com.mx/en/) ภาพ : Onnis Luque เรียบเรียง : Phattaraphon

HOUSE BETWEEN THE WALL บ้านระหว่างกำแพงในสไตล์มินิมอล

บ้านมินิมอล ของคู่รักนักออกแบบที่หลงรักในความเรียบน้อยและเน้นบ้านอยู่อาศัยที่ให้ความเป็นส่วนตัว จึงออกมาเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างกำแพงสองผืนที่ช่วยตัดออกจากความวุ่นวายของเมือง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A House Between the Wall นั้นไม่ได้เป็นเพียงชื่อบ้าน แต่ยังเป็นแนวความคิดในการออกแบบบ้านที่เลือกให้ ‘กำแพง’ เป็นมากกว่าผนังขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวออกจากโลกที่วุ่นวายด้วยการสร้างสเปซขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้สเปซดังกล่าวกลายเป็น ‘บ้านระหว่างกำแพง’ ภายใต้รูปทรงทางสถาปัตยกรรมในลุค บ้านมินิมอล และตรงไปตรงมา แต่ทว่าก็ซุกซ่อนรายละเอียดของการออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างใส่ใจ บ้านระหว่างกำแพงหลังนี้ออกแบบโดย คุณธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร และ คุณกนกกาญจน์ เฮงอุดมทรัพย์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง ANATOMY ARCHITECTURE + ATELIER ซึ่งนอกจากออกแบบแล้ว ทั้งคู่ยังเป็นเจ้าของบ้านอีกด้วย เมื่อสถาปนิกต้องมาออกแบบบ้านของตนเอง บ้านหลังนี้จึงมีความพิเศษที่น่าสนใจหลายจุดด้วยกัน เนื่องจากแต่เดิมทั้งคู่เคยอาศัยแบบคอนโดมิเนียมที่มีพื้นที่จำกัดมาก่อน นั่นจึงทำให้บ้านระหว่างกำแพงหลังนี้ได้กลายเป็นการออกแบบเพื่อเติมเต็มฟังก์ชันที่ขาด และเพิ่มเติมสเปซที่ต้องการ ตัวบ้านเป็นการออกแบบและก่อสร้างบนที่ดินของครอบครัว ลักษณะเป็นที่ดินเปล่าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 324 ตารางวา มีความยาวถึง 80 เมตร  ด้านหน้าหันไปทางทิศเหนือ บริบทโดยรอบเป็นชุมชนพักอาศัย […]

บ้านริมน้ำ สไตล์นอร์ดิก Norwegian Bathhouse

บ้านริมน้ำ กับเรืออีกหนึ่งลำ ผลงานการออกแบบที่ประยุกต์จากวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Norwegian Bathhouse หรือบ้านริมน้ำขนาดเล็กของนอร์เวย์ ที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุ และกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยขึ้น โครงสร้างหลักของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กวางบนหินแกรนิตแบบดั้งเดิม ใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จวางตัวเปิดรับวิวทะเล โดยที่จากบนบกจะเข้ามุมที่บดบังสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างพอดิบพอดี ในส่วนหลังคานั้นเลือกใช้เมทัลชีตเพื่อน้ำหนักที่เบาและก่อสร้างได้ง่าย ทำสีกันสนิมในโทนสีดั้งเดิมเข้ากันได้ดีกับบริบทโดยรอบ ภายในจัดวางห้องแบบ Studio Type เรียบง่าย เรียกได้ว่าห้องเดียว “ครบทุกสิ่ง” ทั้งครัวขนาดเล็ก พื้นที่นั่งเล่น และเตาผิงสำหรับประกอบอาหารได้ในตัว ในวันแสนสบาย บ้านหลังนี้สามารถเปิดบานหน้าริมทะเลออกได้จนหมดสามารถหย่อนใจรับแดดได้อย่างเต็มตา สำหรับใครที่อยากทำบ้านตากอากาศเรียบง่ายเป็นของตัวเอง บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ลองจินตนาการถึงบ้านน้อยหลังนี้มาตั้งติดเจ้าพระยาของเรา น่าจะดูดีเลยทีเดียว ออกแบบ Handegård Arkitekturภาพ Carlos Rollan เรื่อง Wuthikorn Sut

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมัล กะทัดรัด ในสัดส่วนที่พอเหมาะ

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมอล ที่ออกแบบในสัดส่วนที่พอเหมาะพอดีสำหรับสองคน พร้อมแก้ปัญหาที่ดินหน้าแคบด้วยการผสานการปิดทึบสลับกับช่องเปิด

WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ

บ้านชั้นเดียว ที่สะท้อนเงาอยู่บนผิวน้ำ พร้อมภาพวิวของต้นไม้สีเขียวที่เติบโตอยู่รายล้อมนี้ คือบ้านที่ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ คุณบิ๊ก-สุจินดา ตุ้ยเขียว สถาปนิกแห่งใจบ้านสตูดิโอ และคุณบี๊ท-โสภิดา จิตรจำนอง ฟรีแลนซ์อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ ทั้งคู่ค่อย ๆ ช่วยกันเติมแต่งภาพบ้านในฝันหลังแรกทีละนิด ๆ แต่มากด้วยแพสชั่นให้สำเร็จเป็นจริง สำหรับการใช้ชีวิตที่แสนเรียบง่าย แต่เพียบด้วยความสุข “ทุกอย่างค่อนข้างกะทันหัน มีเวลาแค่ประมาณสามเดือนครึ่งให้ออกแบบและก่อสร้าง ก่อนที่เราจะย้ายมาอยู่ที่นี่” เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ บอกกับเรา ก่อนที่จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสตูดิโอเล็ก ๆ ในเมืองเชียงใหม่ คุณบี๊ทเล่าว่า หลังจากอพาร์ตเมนต์เก่าที่เคยอาศัยอยู่หมดสัญญา และขายตึกต่อให้เจ้าของใหม่รีโนเวตเป็นคอนโดมิเนียม เธอและคุณบิ๊กได้ตัดสินใจมาเช่าที่ดินริมน้ำแปลงข้าง ๆ Sher Maker สตูดิโอออกแบบของพี่ตุ่ย รุ่นพี่จากสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง หลังจากแอบมองที่ดินแปลงนี้จากร้านกาแฟ Asama Cafe ฝั่งตรงข้ามมานาน “ตอนแรกก็ลังเล หลายคนก็ไม่เห็นด้วย ถามว่าทำไมไม่ซื้อบ้านไปเลย แต่ด้วยความกะทันหันแบบนี้ เราก็ไม่อยากกดดันตัวเองทำสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะกับเรา บวกกับแอบมองที่ดินตรงนี้มานาน พอรู้ว่าปล่อยเช่า และพอเราลองคำนวณเรื่องงบประมาณดูแล้วว่า คุ้มกว่าการเช่าบ้านและรีโนเวตใหม่ก็ตัดสินใจเลย” ด้วยความชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเงื่อนไขของงบประมาณ ทำให้บ้านหลังนี้เป็นเสมือนสนามที่ให้ทั้งคู่ได้ทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ […]

อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม

ออกแบบโดย Bangkok Tokyo Architecture (http://www.btarchitecture.jp) บ้านทาวน์โฮมในย่านฝั่งธนฯ หลังนี้ ถูกส่งต่อมาในครอบครัวจนมาถึงมือของศิลปินท่านหนึ่ง ที่ต้องการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานของตนเอง การออกแบบจึงเด่นชัดในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเจ้าของบ้าน สร้างสภาวะแห่งแรงบันดาลใจจากบรรยากาศอิงธรรมชาติ สร้างความสุขสงบภายในบ้าน แม้จะอยู่ในเขตเมืองที่หนาแน่น แต่กลับสามารถออกแบบพื้นที่ภายในได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ Bangkok Tokyo Architecture รับหน้าที่ในการปรับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบเลือกทำเป็นอย่างแรก นั่นคือการทุบเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีพื้นที่ต่อเติมข้างบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อเสริมการใช้งานให้ครบถ้วน พื้นที่ภายในแบบ ONE ROOM SPACE เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านมีอิสระในการใช้งานและปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต เพื่อให้ตอบรับกับอาชีพนักวาดภาพ และการสร้างผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการทำงานก็ดี รวมไปถึงการแสดงงานในอนาคตด้วยเช่นกัน จากประตูใหญ่ เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ประตูเหล็กทึบและผนังจะช่วยปิดกั้นความวุ่นวายจากภายนอก โดยทางเข้าบ้านนั้นถูกจัดเป็นส่วนหย่อมในแบบกำลังดีที่คำนึงถึงการดูแลง่าย แต่ก็ยังสร้างความร่มรื่นได้ในวันสบาย ๆ ที่สามารถเปิดประตูรับลมและแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะทำงานตัวใหญ่ กึ่งกลางเป็นชั้นวางผลงานที่สามารถเครื่องย้ายได้ มีเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่จัดวางไปในพื้นที่ Circulation ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเดินไปสู่ครัวด้านหลัง และห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของเจ้าของบ้านแต่อย่างใด พื้นที่ทั้งสองชั้น แม้จะอยู่คนละระดับกัน แต่ก็ยังรู้สึกเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน จากการที่ผู้ออกแบบเลือกเจาะพื้นชั้นสองให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงชั้นล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ และแสงธรรมชาติที่ส่องสว่างทั่วถึงทั้งบ้าน รวมทั้งช่วยเปิดมุมมองทางสายตาให้เห็นกันและกันได้ในทุก […]