Nhanh Lan Rung House รีโนเวทบ้าน สู่ความอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในตึกแถว

รีโนเวทบ้าน ขนาดกะทัดรัด ตอบโจทย์สมาชิกในบ้านทั้ง 4 คน แบบครบทุกฟังก์ชัน ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในบ้านตึกแถว โปรเจ็กต์ รีโนเวทบ้าน พักอาศัย ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้ตอบโจทย์สมาชิกในบ้าน น้องแมว และคุณยายที่แวะมาเยี่ยมเยือนนอนพักกับลูกหลานในบางครั้งคราว ภายใต้บริบทของความเป็นบ้านตึกแถวที่มีความแคบลึก และทำเลที่ต้องหันหน้ารับแดดบ่ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากปัญหาความร้อน และพื้นที่คับแคบดังกล่าว จึงนำมาสู่การออกแบบเพื่อแก้ไขช่วยปรับเปลี่ยนบ้านให้น่าอยู่ มีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังต้องระบายอากาศ และรับแสงสว่างได้อย่างดี T H I A architecture จึงพยายามกำหนดทิศทางการออกแบบบ้านร่วมกับเจ้าของ เพื่อให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านในฝันอย่างที่ต้องการ เริ่มตั้งแต่หน้าบ้านที่แบ่งความต่างของแพตเทิร์นเปลือกอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็นส่วนของประตูบ้านที่กรุด้านหลังโครงเหล็กสีขาวด้วยแผงเหล็กเจาะรู สำหรับพรางสายตาจากคนที่เดินผ่านไปมา แต่ยังยอมให้แสงและอากาศไหลผ่านเข้ามาด้านในได้ ส่วนข้างบนเป็นโครงสร้างระแนงเหล็กแนวตั้งที่ยึดกับโครงสร้างเดิม ออกแบบให้สูงจรดหลังคา มีประโยชน์เพื่อให้ไม้เลื้อยมีที่ยึดเกาะกลายเป็นฟาซาดธรรมชาติที่ทั้งสวยงาม บดบังสายตา ป้องกันแสงแดด และความร้อนได้ในอนาคต จากพื้นที่ระหว่างประตูเหล็กหน้าบ้านก่อนเข้าถึงพื้นที่ด้านใน ผู้ออกแบบได้เว้นช่องว่าง หรือลานเล็ก ๆ ไว้ให้แสงและอากาศสามารถไหลเวียนเข้าสู่พื้นที่ชั้น 1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนนั่งเล่น ครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ก่อนคั่นพื้นที่ส่วนนี้กับห้องนอนคุณยายที่อยู่หลังบ้าน ด้วยคอร์ตยาร์ดที่เจาะเป็นช่อง […]

Ruen Lek เรือนเล็ก บ้าน และคาเฟ่แบบเรือนไทยโครงสร้างเหล็ก บรรยากาศโฮมมี่ในเมืองจันท์

Ruen Lek เรือนเล็ก  คือบ้าน คือออฟฟิศ คือคาเฟ่ของ Baan Lek Villa โฮมสเตย์ขนาดเล็กในเมืองจันท์ โดยคนจันท์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจันท์ GLA Design Studio DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: GLA DESIGN STUDIO ‘Ruen Lek เรือนเล็ก‘ เป็นอาคารที่ออกแบบอย่างเรือนพื้นถิ่น มีการเปิดรับภูมิอากาศทรอปิคัลใต้ถุนสูง ถูกแทนที่ด้วยฟังก์ชันของคาเฟ่ ทำเพื่อรับแขกที่ไม่ได้มาค้างคืน ณ บ้านเล็กวิลล่า แต่อยากมาเสพบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองจันทบุรีในแบบชั่วครั้งชั่วคราว “อยากกลับไปบ้าน หอบงานไปทำแบบสบาย ๆ ในพื้นที่ที่เราออกแบบเอง ตอนแรกก็ทำบ้านเล็กวิลล่า แต่พอถึงเวลาก็เต็มตลอด รับแขกตลอด ก็เลยทำเรือนเล็กขึ้นมา ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ส่วนชั้นล่างก็ให้น้องชายทำคาเฟ่ที่ตอบโจทย์กับแขกของบ้านเล็กวิลล่าไปพร้อมกัน” – รินระดา นิโรจน์ (สถาปนิก) บ้านบ้านที่ชอบในความทรงจำ ‘เรือนเล็ก’ ออกแบบชั้นล่างให้เป็นระดับเดียวกับพื้นดินของบริเวณโดยรอบ เช่นเดียวกับ บ้านเล็กวิลล่า ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการคงความเป็นใต้ถุนบ้านเอาไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นทำงานร่วมกัน เรือนทั้งสองหลังก่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แขกที่มาคาเฟ่ชอบไปนั่งเล่น […]

WEL-D PAVILLION ศาลาไทย-ญี่ปุ่น ห้องรับแขกของบ้าน ที่เป็นมากกว่าห้องรับแขก

พื้นที่พิเศษของบ้าน “ศาลา” อเนกประสงค์ ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องรับแขก ท่ามกลางธรรมชาติในบรรยากาศสวนญี่ปุ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Shadeworks Design อาคารชั้นเดียว ที่โดดเด่นด้วยการเปิดรับธรรมชาติ ทั้งภายในและภายนอก เชื่อมโยงบึงน้ำ สวนญี่ปุ่น บรรยากาศการพักผ่อน ด้วยการเชื่อมโยงผ่านการเลือกใช้วัสดุและจังหวะของพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ของการหลอมรวม หรือ “Weld” อันเป็นที่มาของชื่ออาคาร ซึ่งออกแบบโดย Shade Works Design และออกแบบสวนโดย Wabisabi Spirit แห่งนี้ ศาลาแห่งนี้ มีฟังก์ชั่นคือการเชื่อม “ความสัมพันธ์” ระหว่าง ธรรมชาติ และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านสองหลังที่กำลังขยับขยาย รองรับคนสามรุ่นของครอบครัวให้ได้มีเวลาร่วมกันในพื้นที่ และเวลาคุณภาพ ทั้งยังเป็นพื้นที่รับแขกได้ในตัวอีกด้วย #สวนหลากมุมมอง แม้จะเป็นสวนญี่ปุ่น และอาคารที่ออกแบบตามแนวทางประเพณีนิยมของห้องแบบญี่ปุ่น แต่การออกแบบก็เลือกใช้โครงสร้างสมัยใหม่อย่างโครงสร้างเหล็ก และบานเปิดอะลูมิเนียมที่บางเบา จึงทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกสร้างช่องเปิดที่ดูแทบจะไร้ขอบกั้นเพื่อการรับมุมมองสวนที่แตกต่างไปในแต่ละส่วนได้อย่างดี นอกจากนี้ การออกแบบแกนของอาคารที่รับกับมุมมองสวน และการจัดวางผนังในแกนต่าง ๆ ยังสร้างให้เกิดวิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละห้อง สัมพันธ์ไปกับองค์ประกอบสวนญี่ปุ่นที่บรรจงจัดวาง แม้จะเป็นสวนเดียวกันแต่ให้ความรู้สึกของเรื่องราวที่แตกต่าง ด้วยมุมมองที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ที่ออกแบบให้สอดคล้องกันอย่างลงตัว #เปิดรับธรรมชาติในบรรยากาศพิเศษ นอกจากการเปิดมุมมองของสวน และการจัดวางผนังที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกปิดกั้นแล้ว การออกแบบให้ธรรมชาติได้สอดแทรกเข้ามาในพื้นที่ของอาคารยังเป็นอีกจุดเด่นของอาคารแห่งนี้อีกด้วย โดยมีสกายไลท์ […]

LAAB is More บ้านธรรมดาที่แฝงความพิเศษ

ความธรรมดาอันแสนพิเศษ ของบ้านที่ถูกห้อมล้อมด้วยญาติมิตร วิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท ด้วยภาษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย อย่างเป็นกันเองแบบ “บ้านบ้าน” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Sifah “ลาบ” ไม่ใช่แค่อาหารเหนือ แต่เป็นวิถีชีวิตของบ้านหลังหนึ่ง นี่คือภาพแทนของการตามหา “ความธรรมดา ที่เท่ เป็นพิเศษ” ด้วยชีวิตด้านหนึ่งของเจ้าของบ้านเป็นนักถ่ายภาพ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นที่ส่วนตัวและความสงบในการทำงาน บวกกับความชื่นชอบการเล่นสเก็ตบอร์ด มีวิถีแบบร่วมสมัย ส่วนชีวิตอีกด้านหนึ่ง เจ้าของบ้านเป็นคนชอบกินลาบ มีความสุขกับการทำลาบกันเองในหมู่เพื่อนฝูงพี่น้อง และเติบโตมากับทุ่งนา จึงมีตัวตนของวิถีชนบทอยู่ภายใน คำว่า “ลาบ” คำนี้ จึงเป็นความหมาย และนิยามของบ้านที่เป็นส่วนตัว พร้อมเปิดรับบรรยากาศเครือญาติแบบไทย ๆ ไปพร้อมกัน ที่นี่จึงเปี่ยมไปด้วยความสุขของการใช้ชีวิต (Joyful of Living) ที่มีความเป็นลูกผสม ระหว่างความสุขแบบชาวเมือง และความสุขแบบชาวบ้านที่เรียบง่าย #ความลาบร่วมสมัย บ้านหลังนี้ตั้งกลางพื้นที่ชุมชน ที่ถูกห้อมล้อมด้วยญาติพี่น้องในระยะประชิด ซึ่งยังใช้ชีวิตอยู่ในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบชนบท เช่น การทำอาหารจากเตาไฟ ที่ยังจุดถ่านเอง บ้านหลังนี้จึงออกแบบให้ตอบรับความงาม (Aesthetic) ในวิถีลูกผสมนี้ โดยสามารถรองรับจังหวะชีวิตร่วมสมัย (Functional Design1) และรองรับจิตวิญญาณชีวิตชนบทให้เกิดความแนบแน่น (Functional […]

Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน

Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]

“บ้านใกล้วัด” ไอเดียการใช้เมทัลชีทในบ้านสไตล์โมเดิร์น

บ้านที่ใช้ เมทัลชีท มาเป็นองค์ประกอบหลักในส่วนของผนังและบานเปิดได้อย่างน่าสนใจ ในรูปแบบที่ดูทันสมัย พร้อมตอบโจทย์การเป็นบ้านพักตากอากาศ

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก เล่นระดับ พร้อมฟังก์ชันอยู่ร่วมกับน้องแมว

บ้านสไตล์โมเดิร์นนอร์ดิก ที่อยู่ได้จริงในภูมิอากาศไทย หลังนี้เป็นบ้านขนาดชั้นครึ่ง ที่ใช้การเล่นระดับเพื่อปรับการใช้งานพื้นที่ให้พอดีกับ 2 คน กับ 1 แมว อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ativich #พื้นที่ดินเดิม เพิ่มเติมคือออกแบบใหม่เดิมพื้นที่ส่วนนี้คือทาวน์เฮาส์ จำนวน 3 คูหา ที่ได้ถูกรื้อถอนออกไปเพื่อใช้ในการปรับให้กลายเป็นพื้นที่ใหม่ นั่นก็คือบ้านเดี่ยวขนาด 1 หลัง ซึ่งออกแบบให้มีการเล่นระดับซ่อนเหลื่อมความสูงกันใน 2 ส่วนของตัวบ้าน #จังหวะทีละครึ่ง ไม่ห่างเกินไป ใช้งานได้ดีจะเห็นได้ว่า จากที่จอดรถสู่ห้องนั่งเล่นมีการยกพื้นขึ้นครึ่งชั้น และจากห้องนั่งเล่นไปสู่ห้องนอนได้ยกพื้นขึ้นไปอีกครึ่งชั้น และทับอยู่เหนือที่จอดรถอย่างพอดิบพอดี การออกแบบนี้ไม่ใช่แค่เพียงเป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ของบ้านแต่ละส่วนให้มีมุมมองสายตาต่อเนื่องกัน เพื่อเป็นผลในการสร้างความรู้สึกโปร่งโล่งมากขึ้น แต่ยังเป็นการเชื่อมต่อการรับรู้ต่อกันของสมาชิกในบ้าน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ต่อกันได้อย่างดีอีกด้วย #บ้านน้องแมว บนพื้นที่แบบโมเดิร์นนอร์ดิกหลังคาจั่วของบ้านหลังนี้ ออกแบบตามความชื่นชอบของเจ้าของบ้านที่ต้องการบ้านคล้ายกระท่อมสองหลังปลูกติดกัน การออกแบบให้กลายเป็นหน้าจั่วเล็ก ๆ นี้ จึงเป็นทั้งภาพจำของบ้านที่แสดงถึงบรรยากาศอบอุ่นซุกซนส่วนภายในนอกจากพื้นที่หลักที่เล่นระดับกันแล้ว ก็ยังมีมุมปีนป่าย หรือหย่อนใจให้กับน้องแมวตัวโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน้าต่างบานใหญ่ที่เติมแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในได้ตลอดวัน และหน้าต่างกลมที่หันออกไปยังสวนที่เป็นมุมโปรดของน้องแมวไปโดยปริยาย #Designtips ออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกในไทยหลังคาจั่วทรงสูง ไร้ชายคา อาจฟังดูย้อนแย้งกับภูมิอากาศไทย แต่สไตล์นอร์ดิกก็เกิดขึ้นได้หากอย่างจะทำ โดยที่เราควรจะมองหาทิศแดดที่ถูกต้องเสียก่อนว่าหน้าจั่วด้านที่เปิดรับแสงนั้นหันสู่ทิศเหนือหรือไม่ เพราะทิศเหนือเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง จึงได้รับแสงสว่างกำลังดี และรับความร้อนน้อยกว่าทิศอื่น […]

บ้านโมเดิร์นที่เนี๊ยบราวกับสูทสั่งตัด เด่นด้วยหลังคาบางเฉียบตัดกับท้องฟ้า

บ้านโมเดิร์น ที่เนี๊ยบราวกับสูทสั่งตัด เด่นด้วยหลังคาบางเฉียบตัดกับท้องฟ้า โดยหลังคาที่ยื่นออกมาทำหน้าที่คุ้มแดดคุ้มฝนให้กับบ้านแบบรอบทิศ

บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น 3 ชั้น ที่ใช้สัจวัสดุในมุมศิลป์ เปิดรับธรรมชาติให้พื้นที่อยู่อาศัย

บ้านทรงจั่ว 3 ชั้นโดดเด่นด้วยอิฐที่ผสมผสานสไตล์ที่ตอบโจทย์ของครอบครัว บนผืนที่ดินย่านชานเมืองนนทบุรีโดยใช้ประโยชน์ของธรรมชาติบนแนวคิดการออกแบบทั้งพื้นที่บริบท การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบ และสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยได้อย่างเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects แนวคิดการออกแบบ บ้านทรงจั่ว หลังนี้ออกแบบให้ผู้พักอาศัยให้ความรู้สึกถึงสภาวะน่าสบายมากที่สุด ทำให้พื้นที่ชั้นแรก ออกแบบห้องนั่งเล่นเชื่อมต่อส่วนรับประทานอาหาร ที่ยาวเป็นระนาบเดียวกันที่เปิดออกสู่พื้นที่เอ๊าต์ดอร์ข้างบ้าน สร้างความต่อเนื่องทางพื้นที่และเสริมบรรยากาศสวนเขียวขจีที่ช่วยให้ร่มรื่นอีกทั้งพรางความเป็นส่วนตัวได้ดี Alkhemist Architects สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ ใช้แสงและลมธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ประโยชน์จากแสงทางทิศเหนือที่ความร้อนนั้นเข้ามาอย่างพอดีไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การวางผังของอาคารจึงคิดถึงพื้นที่ว่างให้แสงและลมให้สามารถระบายอากาศได้ดี ด้านข้างของพื้นที่บ้านจึงมีสวนพื้นที่สีเขียวยาวขนานไปกับตัวบ้าน ดังนั้นห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารชั้นหนึ่ง จึงเปิดรับพื้นที่สวนได้ 180 องศา ทำให้บ้านเกิดพื้นที่กิจกรรมจากภายในสู่ภายนอก ช่องเปิดต่าง ๆ ที่ออกแบบนนั้นก็มีส่วนสำคัญที่เชื้อเชิญให้ผู้อยู่อาศัยเกิดการใช้งานทั้ง ช่องเจาะ หน้าต่าง ประตูบ้าน จนไปถึงบันไดที่เป็นตัวเชื่อมสู่พื้นที่ใช้งานอื่น ๆ การวางบันไดทางขึ้นสู่ชั้น 2 เป็นรูปตัวแอล(L)ให้ความรู้สึกลื่นไหลทางพื้นที่ไปสู่ห้องนั่งเล่นที่ถูกวางไว้ด้านหลังซึ่งมีความส่วนตัวมากขึ้นกว่าชั้นที่หนึ่ง พื้นที่ถูกออกแบบให้เป็น Sunken เป็นพื้นที่ต่างระดับลงไป ให้ความรู้สึกอบอุ่น โฮมมี่ หรือเป็นคอมฟอร์ตโซนมากขึ้น จะเห็นได้ว่าห้องนั่งเล่นทั้งสองห้องแม้จะใช้งานพักผ่อนเหมือนกัน แต่มีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจนและถูกแบ่งใช้งานตามแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม บริเวณชั้นสองเมื่อเดินแยกจากบันไดขึ้นชั้นสามที่ทำหน้าที่แจกจ่ายพื้นที่ใช้สอย อีกทั้งยังให้ความเป็นส่วนตัวพรางห้องนอนมาสเตอร์ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของชั้นสองได้ดี ชั้น 3 จะเป็นโซนของห้องนอนลูก ๆ 2 […]

ปรับปรุงบ้านพักครูอายุ 50 ปี ด้วยดีไซน์ใหม่แบบจัดเต็ม แต่ลดทอนให้เรียบง่าย งบไม่บานปลาย ใช้งานได้ดีกว่าเดิม

บ้านพักครู อาคารไม้เก่า ๆ ไร้การดูแล ที่อยู่ของครูบรรจุใหม่ เหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่มักเห็นได้ตามนิยาย หรือละครไทย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ครูหลายคนต้องพบเจอ และอาคารหลังนี้ก็เช่นกัน อาคารบ้านพักครูอายุ 50 กว่าปี ของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จากเดิมที่เป็นอาคารเก่าทรุดโทรม วันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ โดยฝีมือการออกแบบของ Parin+Supawut ซึ่งเป็นการออกแบบปรับปรุงอาคารด้วยความคาดหวังว่า จะให้เป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านพักครูในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป #เน้นซ่อมไม่เน้นสร้างใหม่ให้งบประมาณทำงานได้จริง “บ้านพักครูของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคารหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 จากแบบสำเร็จโดยเป็นอาคารบ้านพักครูแบบกรมสามัญตามพิมพ์เขียนที่ถูกใช้ในโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านพักครูมักจะเป็นส่วนที่งบประมาณการปรับปรุงนั้นไม่เคยตกลงมาถึง นั่นทำให้บ้านพักครูเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นผลให้ภาระกลับไปตกอยู่กับครูทั้งหลายต้องออกไปเช่าบ้านพักด้วยเงินของตัวเองเดือนละหลายพันบาท “การออกแบบในครั้งนี้จึงเป็นการเน้นกระบวนการซ่อมแซม และรักษาโครงสร้างเก่าของบ้านไว้แทนที่การออกแบบอาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในรูปแบบเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังที่จะทำให้ บ้านพักครู เป็นอาคารที่ใช้ได้จริง อยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ และมีการปรับปรุงพื้นที่หลาย ๆ ส่วนให้ลงตัวต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ครัวให้เชื่อมต่อกับห้องนั่นเล่น การเปิดช่องแสงเพิ่ม เพื่อสร้างส่วนพักผ่อน และอ่านหนังสือที่รับแสงธรรมชาติไม่อุดอู้อย่างเดิม โดยในการใช้งานวัสดุนั้น ก็นำไม้อัดที่เลือกใช้ไปออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง ที่มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับการใช้งาน ร่วมกับบ้านพักครูหลังนี้ไปพร้อมกัน” #ดีไซน์ให้มากเพื่อลดภาระงานก่อสร้างให้น้อย […]

ทดลองออกแบบ บ้านระบบกริดเสา สู่การอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์

บ้านก็เป็นปัจจัยหลักที่รองรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขยาย” บ้านระบบกริดเสา ” จึงเป็นพื้นที่รองรับการปรับเปลี่ยนและการขยายตัวของกิจกรรมในอนาคต

บ้านใจกลางเมือง ที่สะท้อนตัวตนการอยู่อาศัยแบบส่วนตัวในพื้นที่กึ่งกลางแจ้ง

บ้านใจกลางเมือง ที่เจ้าของต้องการหนีความวุ่นวายและพักผ่อน โดยมีพื้นที่พักผ่อนที่ได้รับแสงแดดและลมธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต

HUONG’S HOUSE บ้านคอนกรีต ดีไซน์ดิบ หยิบธรรมชาติเข้ามาหลอมรวม

บ้านคอนกรีต กับการออกแบบได้อย่างชาญฉลาดในการจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับสมาชิก 5 คน โดยในความดิบกระด้างของโครงสร้างและวัสดุนั้น สถาปนิกสัญชาติเวียดนาม H-H Studio ไม่ลืมหยิบเสน่ห์ความเป็นธรรมชาติ และกาลเวลาเข้ามาช่วยเติมความงดงามที่ไร้การปรุงแต่ง หลังจากตัดสินใจซื้อบ้านเก่าในเมืองดานังขนาด 240 ตารางเมตร พร้อมที่ดินข้างบ้านขนาด 120 ตารางเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับพื้นที่ของตัวบ้าน เพื่อทำการรีโนเวตใหม่ให้เป็นบ้านที่เหมาะกับสมาชิกทั้ง 5 คน ซึ่งประกอบด้วยคู่สามีภรรยา และลูก ๆ อีก 3 คน ภายใต้แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายเข้ากับสภาพภูมิอากาศของเวียดนาม กลายเป็น บ้านคอนกรีต ที่มีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนได้อย่างเป็นส่วนตัว และสะท้อนการอยู่อาศัยของครอบครัวแบบดั้งเดิม การออกแบบอาคารมีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) โครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยสูงขนาด 2 ชั้น ชั้นล่าง เมื่อเข้ามาจากหน้าบ้านจะพบกับห้องโถงเพดานสูงโปร่งเชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ที่สามารถเดินออกไปยังส่วนพักผ่อน ซึ่งอยู่ใต้ท้องคานของห้องนอนใหญ่ ส่วนต่อขยายใหม่จากตัวบ้านเดิม เป็นพื้นที่ไฮไลต์ของบ้านที่เหมาะมานั่งรับลมชมวิวสวนและสระน้ำเล็ก ๆ เสมือนเป็น พื้นที่ Buffer Spaces ที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้ทำหน้าที่ช่วยระบายอากาศในฤดูร้อน ซึ่งตรงกับทิศใต้ที่มีลมและแสงแดดตลอดวัน สร้างสภาวะน่าสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย แตกต่างจากบรรยากาศของบ้านเก่าก่อนได้รับการรีโนเวตที่ตัวบ้านเป็นผนังทึบทั้งหมด การรีโนเวตครั้งนี้จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้บ้านมีบรรยากาศปลอดโปร่ง ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างไปของธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลา นอกจากชั้นล่างจะเป็นส่วนพักผ่อนร่วมกันแล้ว ยังออกแบบให้มีห้องนอนเล็กสำหรับคุณยายที่มักเดินทางจากเมืองเว้มาเยี่ยมหลาน […]

LP18 ทาวน์เฮาส์ที่รีโนเวตให้มีพื้นที่รอบบ้านเหมือนบ้านเดี่ยว

บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าอายุ ประมาณ 30 ปี ที่คุณ เซ่ง จิรเมธ ชนะธุรการนนท์ ได้รับมาจากพ่อและแม่ แต่ด้วยความที่มีบ้านของตัวเองอยู่แล้ว การทำบ้านหลังนี้จึงเป็นทั้งบ้านที่เอาไว้พักอาศัยเมื่อเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และเผื่อเอาไว้สำหรับให้คนมาเช่าได้ในบางช่วงเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมีการออกแบบให้มีพื้นที่ Common Area ขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่น การรีโนเวตนั้นได้มีการจัดการกับพื้นที่ชั้นล่างโดยการแบ่งพื้นที่เสียใหม่ เพื่อให้พื้นที่ส่วนกลางมีความต่อเนื่องที่ดีขึ้น โดยที่โถงทางเข้าบ้านนั้นเกิดจากการเปลี่ยนระเบียงชั้นสองเดิมด้วยการทุบออก แล้วจึงออกแบบทำโครงสร้างเหล็กเข้าไปแทน เป็นทั้งการจัดการพื้นที่หน้าบ้านและปรับพื้นที่ใช้งานที่ชั้นบนไปพร้อมกัน เนื่องจากพื้นที่ของบ้านนั้นเดิมได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม การยกพื้นทั้งบริเวณจึงเป็นสิ่งจำเป็น จากหน้าบ้านจะมีการค่อยๆปรับระดับของพื้นให้สูงขึ้นจากพ้นจากแนวระดับน้ำท่วม จากประตูใหญ่จะเป็นพื้นที่จอดรถที่เข้าบ้านได้จากประตูด้านข้าง Façade นี้ออกแบบเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อาศัยในบ้านเป็นสำคัญ โดยที่ยังสามารถมองออกไปด้านนอกรวมทั้งยอมให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาภายในบ้านได้อยู่ แต่ด้วยบล๊อคช่องลม ผู้ที่อยู่ภายนอกบ้านจะมองเข้ามาภายในได้อย่างขึ้นนั่นเอง เมื่อเข้าสู่ตัวบ้าน จะพบกับพื้นที่ Semi Outdoor ที่ผู้ออกแบบเรียกว่า “ศาลา” พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนส่วนหน้าบ้าน หากแต่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว สามารถเปิดเชื่อมโยงกับส่วนนั่งเล่นและส่วนกินข้าว เพื่อสร้างบรรยากาศคล้ายการนั่งในสวนให้กับบ้านทาวน์โฮม โดยที่มีทางเดินข้างบ้านคั่นกลางเอาไว้ ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการออกแบบให้มีพื้นที่ทางเดินรอบบ้าน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่แตกต่างให้กับบ้านแบบทาวน์เฮาส์จากเดิมจะนึกไปว่าความเป็นบ้านทาวน์เฮาส์นั้นไม่สามารถที่จะมีสวนและพื้นที่รอบๆได้ ทางเดินข้างบ้านนี้สร้างให้เกิดความรู้สึกของความเป็นบ้านมากขึ้น และเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็สามารถเปลี่ยนทางเดินนี้เป็นพื้นที่ภายในบ้านได้เพียงแค่ปิดประตูหน้าบ้านและหลังบ้านเท่านั้น วัสดุที่เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นกระเบื้องลายหินและผนังปูนขัดเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา เลือกใช้ไม้สีอ่อนในส่วนของบานประตูต่างๆรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์เกือบทั้งหมดเพื่อลดทอนความแข็งกระด้างให้ดูนุ่มนวลน่าสัมผัสมากขึ้น มีการออกแบบที่เน้นเหลี่ยมมุมที่ดูเป็นระเบียบ แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยพื้นผิวเดิมของเพดานเอาไว้หลังจากรื้อฝ้าเดิมออกจนเห็นท้องพื้นแต่แต่เดิมที่เป็นไม้และคานปูนเปลือย สร้างให้เกิดความแตกต่างที่น่าสนใจ ข้อดีของการเปิดเพดานจนถึงท้องพื้นชั้นสองจะช่วยให้บ้านที่มีการยกพื้นเพิ่มจากเดิมมีพื้นที่จากพื้นถึงเพดานมากขึ้น ทั้งเพดานที่ดูดิบยังช่วยพรางงานระบบที่เดินท่อใหม่ให้ดูเรียบร้อยไปด้วยกันได้ดี นอกจากนี้ยังเปรียบเสมือนการคงไว้ซึ่งเรื่องราวของบ้านก่อนที่จะรีโนเวตเอาไว้อีกด้วย […]

บ้านเชียงใหม่ รีโนเวทแต่พอดี น้อยแต่มาก ลงตัว แบบล้านนามินิมัล

ด้วยองค์ประกอบคุ้นตาของบ้านโมเดิร์นในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านปูนสีขาว วงกบไม้ และผนังอิฐแดง แต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนมือ สู่เจ้าของคนใหม่ การใช้งานใหม่ การออกแบบรีโนเวทอย่างเข้าใจ จึงทำให้บ้านหลังนี้ สำเร็จออกมาสวยงามลงตัว แต่ยังเปี่ยมเสน่ห์กลิ่นอายบ้านโมเดิร์นไทย ๆ แบบชาวเจียงใหม่เจ้า แสนจะลงตัว จากความต้องการมีบ้านพักอาศัยที่อยู่ใกล้ที่ทำงาน ขนาดกะทัดรัด และสามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง คุณหมอเดือน (นันทิสา โชติรสนิรมิต) จึงเริ่มตระเวนมองหาบ้านที่ขายในละแวกที่ต้องการ และได้มาพบกับบ้านเก่าที่ติดป้ายขายในซอยวัดอุโมงค์ ที่อยู่ไม่ไกลจากสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ทำงาน และติดต่อ Studio Mai Mai ให้มาช่วยประเมินความเป็นไปได้ในการรีโนเวทบ้านให้ได้ดั่งใจ #เก็บส่วนดีเดิมเพิ่มเติมส่วนใหม่หลังจากสถาปนิกจาก Studio Mai Mai สำรวจบ้านจึงพบว่า ตัวบ้านมีความทรุดโทรมตามกาลเวลา (คาดว่ามีอายุราว 30 ปี) มีลักษณะเป็นบ้านสองชั้นเป็นโครงปูนผสมไม้ มีหลังคาเป็นเป็นเพิงหมาแหงนลาดลงมาด้านหลังซ้อนกันสองระดับทำให้เกิดช่องแสงระหว่างหลังคากลางบ้าน เมื่อเห็นว่าตัวบ้านมีโครงสร้าง รูปทรง และสัดส่วนที่สวยงามอยู่แล้ว สถาปนิกและเจ้าของบ้านจึงตัดสินใจยึดโครงสร้างเดิมไว้ และปรับเปลี่ยนเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้สอยใหม่ #การใช้สอยใหม่ที่เข้ากับวิถีชีวิตเจ้าของบ้านมีโจทย์ในการทำบ้านใหม่ที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ อยากให้มีห้องเอนกประสงค์ใกล้ทางเข้าบ้านที่มีห้องนํ้าในตัวแยกขาดจากตัวบ้านหลัก อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องปรับจากแบบบ้านเดิมคือ ชั้นสอง เปลี่ยนจากสามห้องนอนหนึ่งห้องนํ้า ให้เป็นสองห้องนอนใหญ่ที่มีห้องนํ้าในตัว เนื่องจากใกล้บ้านมีที่จอดรถให้เช่าจึงสามารถตัดที่จอดรถหน้าบ้านนำมาใช้ทำสวนหย่อมขนาดเล็กได้ ทำให้บ้านมีสวนทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านที่จะช่วยเพิ่มความร่มรื่นและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย #สว่างกว่าสบายกว่าจากจุดเด่นตรงช่องแสงระหว่างหลังคาของบ้านเดิม […]

บ้านสีขาว ที่แต่งแต้มสีสันด้วยการอยู่อาศัย

เจ้าของบ้านตั้งใจสร้าง บ้านสีขาว ใหม่เพื่อสร้างครอบครัวและอยู่อาศัยในอนาคต Anonym ผู้ออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ผู้อยู่อาศัยเป็นหัวใจหลักสำคัญ

Beach House บ้านตากอากาศ สไตล์ ป็อป ปองกูล รับวิวทะเล พร้อมปาร์ตี้

บ้านตากอากาศ ไม่ใช่บ้านที่อยู่ประจำวัน คีย์หลักของการรีโนเวทบ้านหลังนี้จึงตั้งใจทำให้เมื่อได้มีโอกาสมาใช้บ้านหลังนี้ ให้ความรู้สึกแตกต่างจากบ้านหลังแรก ทั้งแต่งเติมสีสัน เพิ่มความสนุก รองรับฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ จนถึงจำนวนคนที่สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างครบถ้วน

MAE RIM HOUSE บ้านจั่วกลางสวนป่า ฟีลตากอากาศ แต่ใช้อยู่จริง

บ้านชนบทท่ามกลางธรรมชาติที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบ้านหลังใหม่ที่อยู่เคียงข้างบ้านหลังเก่า อันเปี่ยมความทรงจำ บ้านขนาด 4 คนอยู่นี้ มีโจทย์ใหญ่คือการนำข้าวของเครื่องใช้จากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ มาใช้เกือบทั้งหมด บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านตากอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่าบ้านตากอากาศทั่วไป ทั้งยังต้องการความมิดชิดเป็นส่วนตัวแบบบ้านในเมือง แต่สามารถเปิดรับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างเต็มที่อีกด้วย.และเพราะในบ้านหลังนี้แทบทั้งหมดเป็นของที่ขนย้ายมาจากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ เป็นของที่ผูกพันกับครอบครัว หรือเป็นของสะสมตั้งแต่สมัยยังใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้โทนสีน้ำตาลเทา(Taupe) ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้หลากหลายรูปแบบทั้งเก่าและใหม่ รวมไปถึงธรรมชาติรอบๆบ้านมาใช้ทั้งภายนอกและภายในบ้านหลังนี้ การออกแบบบ้านหลังนี้ จึงมีความโดดเด่นของการใช้หลังคาจั่ว ครอบทับลงไปบนอาคารรูปสี่เหลี่ยมทรงกล่อง การกดหลังคาจั่วให้ลาดต่ำลงนั้น นอกจากจะทำให้สัดส่วนบ้านดูเป็นมิตรขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยภายในอีกด้วย #พื้นที่ส่วนตัวที่สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดจั่วหลังคา และอาคารทรงกล่องด้านล่างนั้น แท้จริงแล้วมีการเชื่อมต่อกันในแบบ double height เกิดเป็นพื้นที่ใช้สอยแบบผังเปิด (Open Plan) ขนาดใหญ่ ที่รวมเอาพื้นที่ครัว และนั่งเล่นเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่นั่งเล่นนี้ สามารถเปิดออกสู่ชานบ้านที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติได้อย่างดี ทั้งโถงสูงนั้นช่วยให้สามารถสร้างการไหลเวียนของอากาศ และระบายความร้อนได้ ด้วยพัดลมเพดานที่กลางห้อง จึงทำให้บ้านหลังนี้ แทบไม่ต้องพึ่งพาการปรับอากาศเลยตลอดทั้งวัน #ห้องนอนใต้หลังคารับวิวภูเขาและแม่น้ำในฝั่งทิศเหนือ และใต้ของบ้านนั้น จะเป็นพื้นที่ของห้องนอนที่แบ่งเป็นห้องสำหรับผู้สูงอายุที่ชั้นล่าง และห้องนอนสไตล์ห้องใต้หลังคาที่ชั้นบน ห้องนอนทั้งสองฝั่งนั้นจะหันออกสู่วิวภายนอกอาคาร รวมทั้งการแยกห้องนอนออกเป็นสองฝั่งเช่นนี้ ก็ทำให้แต่ละห้องรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวมากขึ้นอีกด้วย #DesignTips #แสงตกกระทบเชื่อมโยงภายในและภายนอกไฟแสงสว่างในบ้านหลังนี้นั้น แทนที่จะใช้โคมดาวน์ไลท์ซึ่งเป็นแสงแบบ direct light ส่องจากฝ้าลงมาพื้นตามปกติ […]