Bioclimatic Community Mosque of Pamulangดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในมัสยิดผ่านอิฐบล็อก 30,000 ก้อน

Bioclimatic Community Mosque of Pamulang มัสยิด ที่ดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในผ่านอิฐบล็อกกว่า 30,000 ก้อน

TANATAP RING GARDEN พื้นที่ทดลองการใช้งานท่ามกลางความสัมพันธ์ของธรรมชาติและสเปซ

โปรโตไทป์ขนาดเล็กในการออกแบบ พื้นที่สีเขียว แบบต่างระดับทั้งยกขึ้นและกดลงเพื่อสร้างสเปซของหลังคาเดินได้ ภายใต้โครงสร้างแบบของอัฐจันทร์

SUNNE VOYAGE และเรือลำใหม่ ในทะเลที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในระยอง

การเดินทางยังดำเนินต่อ เพราะนี่คือเรือลำใหม่ จาก Sunne Voyage ที่ตั้งใจสร้างบรรยากาศแบบเรือประมงดั้งเดิมของทะเลระยอง จากเรือลำแรก Sunne Voyager สู่เรือลำที่สอง Sunne Explorer ที่ยังคงวิ่งไปกลับท่าเรือแหลมตาล สู่เกาะมันนอก แต่สิ่งที่แตกต่างไปคือครั้งนี้ทาง Sunne Voyage ตั้งใจออกแบบลำเรือให้มีความดั้งเดิมมากที่สุด ด้วยความตั้งใจนำเสนอประสบการณ์ใหม่ ผ่านบรรยากาศของเรือท่องเที่ยวที่แตกต่าง ด้วยลำเรือขนาดกะทัดรัดเรียบง่าย แต่กลับโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ พร้อมนำเสนอคุณค่าของฝีมือช่างต่อเรือประมงไทย ที่ส่งต่อประสบการณ์รุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน เรือ Sunne Explorer เกิดจากการต่อยอดประสบการณ์การทำเรือลำแรกของ Sunne Voyage ซึ่งได้เพิ่มความท้าทายในการออกแบบ โดยคงรูปแบบแปลนเรือประมงดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เช่นการที่ห้องคนขับอยู่ด้านท้ายเรือ ปรับทรงเรือให้ออกมาสวยงาม สมดุล และแตกต่างจากเรือนำเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญต้องเหมาะสมกับการล่องเรือ ทั้งการสู้คลื่นและแล่นได้อย่างราบรื่น เพื่อให้แขกที่มาใช้บริการได้ใกล้ชิด และได้รับความสุขจากธรรมชาติเต็มที่ ส่วนความแตกต่างจากเรือลำแรก เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำที่นั่งมาไว้ด้านหน้าเรือ และห้องคนขับในเรือแบบเดิมถูกเปลี่ยนไปไว้ด้านหลัง ทรงเรือแบบนี้ หัวเรือจำเป็นจะต้องชันกว่าด้านหลังเพื่อสู้คลื่น แต่มีการปรับทรงเรือจนได้ที่นั่งที่มีองศาเหมาะสม มีความสบายขณะล่องเรือ สามารถชมวิวได้รอบทิศทาง แถมยังรับลมทะเลได้มากกว่าที่เคย บาร์หลังเรือ และห้องคนขับ ออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถดูแลผู้โดยสารได้ทั่วถึง เพื่อความปลอดภัยของทุกคนขณะอยู่ในน้ำตลอดเวลา ใต้ท้องเรือยังมีที่นั่งและห้องน้ำแบบ […]

รักษ์โลก ไปกับ MADMATTER STUDIO แบรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่เติบโตไปกับความยั่งยืน

คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น
คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน

เปิดแล้ว! LIXIL Experience Center  สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของห้องครัวและห้องน้ำจากหลากแบรนด์ดัง

ลิกซิล (LIXIL) ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center หรือ LEC โชว์รูมมิติใหม่ในสไตล์การตกแต่งเรียบหรูแบบญี่ปุ่น ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensory experience ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสทั้งผลิตภัณฑ์จริง และผ่านโลกดิจิทัลด้วยตัวเองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน LIXIL Experience Center ได้รับการออกแบบเพื่อปลุกเร้าทุกประสาทสัมผัสด้วยดีไซน์ เสียง และกลิ่นที่ล้ำสมัยและเป็นเอกลักษณ์  โดยผู้เข้าชมจะได้สัมผัสนวัตกรรมจากพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ได้แก่ โกรเฮ่ (GROHE) อเมริกันสแตนดาร์ด(American Standard) และ อิแน็กซ์ (INAX) ที่มาพร้อมดีไซน์ที่โดดเด่นและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับอยู่ในสปาส่วนตัวในพื้นที่จัดแสดง GROHE SPA ที่มาพร้อม GROHE AquaSymphony ที่แสดงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันน้ำตามความต้องการใช้งาน หรือชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำ ณ  พื้นที่จัดแสดงพิเศษหลายจุดที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง LEC ซาโตชิ โคนาไก (Satoshi Konagai) ลีดเดอร์ LIXIL Water Technology ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำ ลิกซิลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ความใกล้ชิดของเรากับผู้บริโภคทำให้ได้รู้ข้อมูลตลาดเชิงลึกในส่วนที่ไม่มีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งเรามองว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญหน้ากับแนวโน้มระดับมหภาค (macro trends) ที่สำคัญสามด้าน ทั้งด้านสุขภาพและความเป็นที่อยู่ที่ดี ความยั่งยืน และการขยายตัวของสังคมเมือง LEC กรุงเทพฯ จะช่วยปูทางประสบการณ์ส่วนบุคคลให้ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์หลากหลายหมวดหมู่ และจากหลากหลายแบรนด์ภายใต้ลิกซิล […]

Loqa แบรนด์วัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษวัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์

วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]

เปลี่ยนโฉม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สู่ลุคโมเดิร์นขาวคลีน

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โฉมใหม่ ที่เปลี่ยนคราบขนบอาคารราชการยุคเก่าทิ้งไป สู่สถาปัตยกรรมลุคโมเดิร์นเรียบง่ายทันสมัย ดึงดูดใจให้ผู้คนทั่วไปทุกระดับชั้น สามารถเข้ามาหาความรู้มากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supermachine Studio อาคาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปิดใช้ทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นที่ปรึกษาและให้การอุปถัมภ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากประวัติอาคารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพตัวอาคารที่ค่อนข้างเก่า อีกทั้งยังมีความเป็นทางการ ตามแบบประเพณีนิยมการออกแบบอาคารราชการทั่วไป ที่มักมีรายละเอียดเด่น ๆ อย่างหลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นที่สูงชัน เสาโรมันขนาดใหญ่ พื้นทรายล้าง หลังคาแบบยื่นยาว รวมถึง Drop-off ขนาดใหญ่ และฯลฯ มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของนายแพทย์ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ท่านต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและภาพลักษณ์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยมอบให้สถาปนิก Supermachine Studio เป็นผู้ออกแบบ […]

CURV POT HANGER ยกกระถางต้นไม้ แขวนไว้กับผนัง

labrador ชวน Garden Atlas ลุกมาเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ให้กับห้องเดิมๆ และต้นไม้แสนรัก ด้วยกระถางต้นไม้รักษ์โลก CURV pot hanger

แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน

ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]

มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต

“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]

บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]

IBOBI SUPER SCHOOL โรงเรียนอนุบาลบนดาดฟ้ากลางเมืองเซินเจิ้น

IBOBI SUPER SCHOOL โรงเรียนอนุบาลบนดาดฟ้ากลางเมืองเซินเจิ้น ที่เน้นออกแบบพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ให้เด็กๆ ได้ออกมาเรียนรู้การใช้ชีวิตกลางแจ้ง

room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum

room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum

Module collection จาก DEESAWAT โต๊ะก็ดี เก้าอี้ก็ได้ กระถางต้นไม้ก็ยังได้อีก!

Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]

INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด

PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]

Low Cost Housing แบบบ้านงบจำกัด ยกระดับคุณภาพชีวิต

Low Cost Housing โครงการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ด้อยโอกาสในกรุงเทพฯ ภายใต้งบจำกัดกับวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้จริง

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

Bugar Collection นำพาวัสดุยั่งยืนพื้นถิ่นในวิถีชาวบ้านอย่าง ไม้ไผ่ และไม้ตาล มาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบร่วมสมัย

Bugar Collection นำพาวัสดุยั่งยืนพื้นถิ่นในวิถีชาวบ้านอย่าง ไม้ไผ่ และไม้ตาล มาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบร่วมสมัย