เพิ่มความสุขในพื้นที่เพียง 23 ตารางเมตรกลางกรุงไทเป

ไอเดียแต่งคอนโด ภายใต้พื้นที่เพียง 23 ตารางเมตรให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าในทุกตารางเมตรกลางกรุงไทเป ด้วยการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างคุ้มค่า

YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่กล่องไม้ท่ามกลางป่าคอนกรีต

YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่ขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่เพียง 30 ตารางเมตรในรูปลักษณ์ของกล่องไม้สุดอบอุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าคอนกรีต

KAITHONG ORIGINAL สาขาใหม่สีขาวบริสุทธิ์ ตัวแทนความจริงใจที่บอกเล่ารสชาติอาหารคุณภาพ

ไก่ทอง ออริจินัล  สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ถ่ายทอดบรรยากาศธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เหมือนอาหารที่ปรุงจากใจทุกเมนู ไก่ทอง ออริจันัล ร้านอาหารไทยสไตล์ออเรียลทัลที่ส่งต่อความอร่อยมายาวนานกว่า 24 ปี ล่าสุดกับการเปิดสาขาที่ 4 ที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี โดยคุณหนู-แสงอรุณ มนตรีวัต ผู้บริหารและสานแบรนด์ต่อจากคุณแม่อรุณี มนตรีวัต ยังคงเน้นย้ำคุณภาพอาหารที่ปรุงจากใจ เพื่อมอบให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารอร่อย ๆ ไม่ว่าจะสาขาไหนรับรองไม่ผิดหวัง และสำหรับสาขานี้ ขอเน้นการบริการที่โฟกัสและดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ กับจำนวนที่นั่งที่รองรับลูกค้าเพียง 12 โต๊ะเท่านั้น ท่ามกลางบรรยากาศปลอดโปร่งสบาย ๆ สัมผัสได้ถึงความฮาโมนี มีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มเรื่องราว สื่อถึงความความรักอันบริสุทธิ์และจริงใจ เหมือนแม่ที่คัดสรรแต่อาหารคุณภาพดีให้คนในครอบครัวได้รับประทาน โดยครั้งนี้ดีไซเนอร์จาก Trimode Studio ขอเลือกหยิบแนวคิดความเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์มาถ่ายทอดลงสู่พื้นที่ เพราะธรรมชาติถือเป็นต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง และเป็นผู้ให้อย่างไม่มีเงื่อนไข ดุจเดียวกับความรักของแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านไก่ทองตั้งใจมอบให้แก่ลูกค้ามาโดยตลอด  จากความหมายอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ได้รับการคลี่คลายผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความเป็นงานคราฟต์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างงานอันเป็นเอกลักษณ์ของ Trimode Studio รวมเข้ากับโจทย์ของคุณหนูที่ต้องการให้ร้านมีบรรยากาศลักชัวรี่เหนือกาลเวลาและเรียบง่ายไปพร้อมกัน ภายใต้ข้อดีของทำเลที่มีช่องแสงขนาดใหญ่ถึงสามด้าน ดีไซเนอร์จึงนำแสงมาเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพื่อเชื่อมโยงแสงภายนอกเข้ามาสู่ภายใน กลายมาเป็นงานดีไซน์ที่ชวนให้จินตนาการถึงถ้ำในธรรมชาติ ที่พาทุกคนลัดเลาะผ่านสเปซทางเข้าด้านหน้า ก่อนเผยให้เห็นสเปซโล่งกว้างด้านใน […]

TONY FRUIT OFFICE ออฟฟิศที่ปกคลุมไปด้วยความเขียวชอุ่ม

Tony Fruit Office ออฟฟิศกลางเมืองโฮจิมินห์ สดชื่นด้วยฟาซาดเขียวชอุ่มแบบโมดูล่าร์ที่ทำหน้าที่กรองแสงแดด ความร้อน และเสียงรบกวนรอบ ๆ ของเมืองหลวง

SUJI HOTEL โรงแรมกลางนาบนถนนสายประวัติศาสตร์ในการขนส่งลิ้นจี่ให้นางสนม

โรงแรมกลางนา แห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Leijiawan ใกล้ ๆ กับเมืองฉงชิ่ง ท่ามกลางหมู่บ้านที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันสมบูรณ์ บนเทือกเขาพระจันทร์ที่มีความสูงประมาณ 800 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกของ โรงแรมกลางนา เป็นเทือกเขาสูง อีกสองด้านขนาบไว้ด้วยเนินเขา ส่วนด้านที่เหลือเป็นช่องว่างที่สามารถมองเห็นวิวเมืองที่ห่างไกลออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร ภายในไซต์มีนาขั้นบันไดที่ล้อมรอบไว้ด้วยชาวบ้านและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมให้ได้เห็นอยู่ นอกจากภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมในชนบทที่เงียบสงบแล้ว รอบ ๆ ยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นถนนโบราณ Ba Shu ที่มีชื่อเสียงที่สุด กล่าวกันว่านี่เป็นวิธีขนส่งลิ้นจี่จากทางใต้ของจีนไปยังเมืองหลวงของฉางอานเป็นระยะทางหลายพันไมล์สำหรับเลดี้หยางหยู่ฮวน นางสนมอันเป็นที่รักยิ่งของจักรพรรดิซวนจงในราชวงศ์ถัง ที่นี่จึงเรียกอีกอย่างว่าถนนโบราณลิ้นจี่ ทุกวันนี้คุณยังสามารถเห็นขอบเขตของยุคสมัยนั้นและรูปแกะสลักหินหน้าผาที่นักเขียนหลงเหลืออยู่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หลังจากศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่แล้วพบว่าจะเก็บผืนนาเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อคงเสน่ห์ของวิถีชีวิตและไม่เป็นการทำลายภูมิทัศน์การเกษตร ดังนั้นตัวอาคารจึงถูกวางตัวไว้รอบ ๆ ผืนนา เกิดเป็นความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่มีทิวทัศน์ร่วมกันเป็นนาข้าวผ่านการ “มองเห็น” ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนอย่างชัดเจน คือส่วนที่เป็นพื้นที่พับลิกอย่าง ห้องสมุด และสระว่ายน้ำ ตั้งเรียงกันอยู่ทางทิศเหนือของผืนนามีป่าเป็นแบ็กกราวนด์ ร้านอาหารเป็นอาคารหลังเดียวที่สร้างขึ้นในพื้นที่นา และโซนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างห้องพักที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เนื่องจากข้อกำหนดในการใช้งาน จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบห้องพักจำนวนเพียงพอคือทั้งหมด 25 ห้อง แต่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอาคารจึงถูกจำกัดความสูงไม่ให้สูงจนเกินไป โดยออกแบบเป็นอาคารขนาด 3 ชั้น ที่พยายามให้ทุกห้องหันหน้าไปทางผืนนา […]

MOTHER PEARL ร้านชาไข่มุกรักษ์โลกขนาด 32 ตารางเมตร

ออกแบบอินทีเรีย์และเเบรนด์ใหม่ทั้งหมดในการเปลี่ยน MOTHER PEARL จากเดิมที่มีภาพจำเป็นสีพาสเทลสุดละมุน ให้กลายมาเป็นโทนสีที่ดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

NJ HOUSE รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ให้โปร่งโล่งด้วยคอร์ตยาร์ด

รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เพื่อรองรับการขยายครอบครัวในอนาคต โดยทำการรื้อถอนบ้านเดิมกว่า 60% และที่เหลือทำการสร้างใหม่เพื่อแก้ปัญหาแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน ในไอเดียแบบ “ด่านเก็บค่าผ่านทาง” เพื่อการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน เริ่มเป็นพื้นที่จำเป็นในช่วงนี้ของไทยเราอย่างมาก เพราะจากกรณีที่รัฐบาลไทย นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงกลาโหมตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ครบ 100 ล้านโดส ครอบคลุมคนไทยจำนวน 50 ล้านคน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร ให้สำเร็จภายในปี 2564 นั้น ทำให้เมื่อคำนวญถึงสถานการณ์ปัจจุบันแล้วจะพบว่า จากวันนี้ไปจนถึงสิ้นปีซึ่งก็คือ 200 กว่าวัน การฉีดวัคซีนจะต้องมีผู้รับวัคซีนถึงวันละ 450,000 โดสขึ้นไป จึงจะสำเร็จได้ ซึ่งปัจจุบันก็เรียกได้ว่ายังถือว่าห่างไกลอยู่หลายเท่านัก แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปเพราะยังมีอีกหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้ในที่สุด NBBJ บริษัทออกแบบชั้นนำที่มีออฟฟิสกระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ได้นำเสนอวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถกระจายการให้วัคซีนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วเข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ด้วยการปรับช่องการจราจรหรือพื้นที่จอดรถ ให้กลายเป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนแบบ “Drive-through” หรือก็คือการขับรถเข้าไปรับวัคซีนแบบไม่ต้องลงมาติดต่อเลย ด้วยโครงสร้างผนังที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ออกแบบมาให้ปรับใช้กับลักษณะการจราจรโดยทั่วไปได้ทันที ขนส่งด้วยรถเทรลเลอร์และประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ผนังโค้งเหล่านี้จะมีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับแพทย์และพยาบาลในการแจกจ่ายวัคซีนโดยง่าย สามารถนำไปติดตั้งตามพื้นที่สัญจรหรือลานจอดรถในทุกพื้นที่ของเมืองเมื่อผู้ต้องการรับวัคซีนขับรถมาถึงจุดจอด ด้วยระบบการลงทะเบียนออนไลน์ที่กำหนดให้ผู้ที่อยู่ในรถสามารถเข้ารับวัคซีนได้แล้วนั้น ผู้รับวัคซีนก็เพียงแค่แสดง QR ยืนยันการอนุมัติการรับวัคซีนจากระบบ และเข้ารับวัคซีนในพื้นที่ใดก็ได้ที่มีศูนย์ “Vaccine Drive-through” เมื่อพยาบาลได้ฉีดวัคซีนให้แล้ว ก็นั่งดูวิดีทัศน์เพื่อสอบอาการ ก่อนจะขับออกไปสู่จุดหมายปลายทางในที่สุด และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวได้รับการปูพรมวัคซีนจนครบแล้วก็สามารถรื้อถอนโครงสร้างไปยังพื้นที่ต่อไปได้โดยง่าย การรับวัคซีนในรถเช่นนี้ ช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อจากการชุมนุมได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน เอาเข้าจริง ถ้าคำนวญจากปริมาณรถที่วิ่งเข้า “ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วน” […]

BEAM CAFE รีโนเวตตึกแถวตอนลึกเป็นคาเฟ่สไตล์มิดเซนจูรี่

BEAM CAFE คาเฟ่สไตล์มิดเซนจูรี่ที่แก้ปัญหาพื้นที่หน้าแคบตอนลึก ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ตอน คือ ส่วนแล้วทำการวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของแต่ละส่วนก่อนออกแบบ

EASTERNGLASS CAFE คาเฟ่ในโรงงานทำแก้วแฮนด์เมด ได้อารมณ์อินดัสเทรียลสุดเท่แบบแท้ ๆ

ปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในยุคโควิด-19 ให้คนไทยรู้จักแบรนด์แก้วทำมือสุดประณีตรายใหญ่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ กับการเปลี่ยนพื้นที่ในโรงงานให้เป็นคาเฟ่ เต็มอิ่มกับบรรยากาศอินดัสเทรียลสุดเท่ ๆ พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแก้วบูรพา หรือ EasternGlass Manufacturer Co., Ltd ที่ดำเนินงานมากว่า 70 ปี EasternGlass Cafe จากพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนของสำนักงานด้านหน้า มาวันนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น EasternGlass Cafe สไตล์อินดัสเทรียลสุดเท่ ให้บรรยากาศของการมาเยือนโรงงานแท้ ๆ เชื่อมต่อกับโกดังขนาดใหญ่ เปิดต้อนรับลูกค้าให้เข้ามาพักผ่อนจิบกาแฟอร่อย ๆ พร้อมกับช้อปปิ้งแก้วแฮนด์เมดสวย ๆ เกรดส่งออกสุดประณีต โดยฝีมือจากช่างเป่าแก้วชาวไทย ซึ่งยังคงดำรงวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาตลอด ที่นี่จึงถือเป็นโรงงานผลิตแก้วทำมือเพียงแห่งเดียวและเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตลอดการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำโป๊ะแก้วครอบโคมไฟสมัยคุณปู่ เรื่อยมาถึงรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ และคุณอา ที่เน้นส่งออกผลิตภัณฑ์แก้วหลากหลายรูปแบบ จนถึงทายาทรุ่นที่สามในยุคปัจจุบัน สินค้าของโรงงานเน้นส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศกว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม ร้านอาหาร และแบรนด์ของตกแต่งบ้าน ในแถบประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวียน โรงงานจึงถึงคราวต้องปรับตัวเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ด้วยการบริหารของคุณปีเตอร์-พีรัท จงอัศญากุล โดยเขาได้เล่าถึงการกลับมาตีตลาดในไทย และเปิดพื้นที่ให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสคาเฟ่ในโรงงานว่า “ช่วงหลังเราเพิ่งเห็นเทรนด์เมืองไทยว่า ลูกค้าให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น รวมทั้งเหล่าดีไซเนอร์ที่ต้องการพร็อปส์ที่เป็นงานคราฟต์ […]

บ้านหน้าแคบ โชว์คานคอนกรีตดิบ ๆ กับฟาซาดมีชีวิตจากเหล่าต้นไม้สีเขียว

บ้านหน้าแคบ ขนาดจำกัด ที่เจ้าของอยากมีพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อน ดื่มด่ำกับธรรมชาติได้ทุกอณูหลังนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัด Bac Ninh ประเทศเวียดนาม เด่นด้วยหน้าตาของ บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องคอนกรีตสูงชะลูด ด้านหน้าเต็มไปด้วยแมกไม้สีเขียว ทำหน้าที่ราวกับเป็นฟาซาดธรรมชาติ ช่วยให้บ้านร่มรื่นเย็นสบาย และซ่อนพื้นที่พักอาศัยไว้ด้านใน เพื่อปกป้องสายตาจากภายนอกและมลภาวะของเมือง  จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านรูปทรงสะดุดตา อัดแน่นด้วยต้นไม้เกือบทุกพื้นที่หลังนี้ มีต้นทางมาจากการเอาชนะปัญหาหลาย ๆ ข้อที่บ้านนี้ต้องพบเจอ เช่น 1.ลักษณะของที่ดินที่ทั้งแคบและลึกเพียง 80 ตารางเมตร (4 x 20 เมตร) 2.มีเพียงหน้าบ้านที่ติดถนนด้านเดียว ที่เปิดรับแสงสว่างและอากาศได้ 3.เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้มักมีปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางเสียง ทีมผู้ออกแบบจาก Kien Truc NDT จึงต้องการหาวิธีแก้ปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้ให้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยตั้งใจให้บ้านที่หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ไม่ได้รับแสงแดดตรง ๆ ให้มีพื้นที่ไว้นั่งเล่นยื่นยาวออกมา เจ้าของบ้านสามารถพักผ่อนนั่งเล่น หรือปลูกต้นไม้ได้ตามชอบใจ เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่กันชนกลางแจ้งที่เหมาะกับทั้งการเจริญเติบโตของต้นไม้ รวมถึงช่วยนำแสงสว่างและระบายอากาศให้บ้านปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน แล้วร่นระยะพื้นที่พักอาศัยให้ขยับไปไว้ด้านหลังแทนเพื่อความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้การทำพื้นที่หน้าบ้านให้มีแต่ต้นไม้ราวกับเป็นกำแพงนี้ ยังเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงเสียงและฝุ่นละอองในเมืองได้ด้วย พื้นที่ภายในบ้านขนาด 4 ชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนแยกกัน […]

IN HARMONY WITH NATURE CAFE ผสานสีเขียวตัวแทนธรรมชาติ ลงในคาเฟ่สไตล์ลอฟต์กลางกรุงนิวยอร์ก

คอนกรีตดิบกระด้างที่ถูกแต่งแต้ม และแทรกด้วยองค์ประกอบสีเขียวดูตัดกันภายใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งนี้ หากมองให้ลึกลงไปถึงแนวคิด ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงการใช้สีเขียวเพื่อสร้างความสะดุดตาเท่านั้น แต่มีความหมายเชิงสัญญะซ่อนอยู่ เพื่อสื่อถึงเป็นธรรมชาติที่คนในเมืองส่วนใหญ่ต่างโหยหา ท่ามกลางการใช้ชีวิตแบบเร่งรีบวุ่นวาย จนแทบหามุมสงบ ๆ และผ่อนคลายอย่างแท้จริงไม่ค่อยจะเจอ สตูดิโอ Reutov Design จึงขอจัดเสิร์ฟความต้องการนั้น ให้บรรจุลงใน คาเฟ่นิวยอร์ก แห่งใหม่ อีกหนึ่งโปรเจ็กต์อันโดดเด่นของทีม ด้วยการบูรณะพื้นที่ขนาด 46 ตารางเมตร ที่อยู่บริเวณบนชั้นล่างของอาคารเก่าให้กลายเป็นคาเฟ่สีเขียวโปร่งโล่ง ผสมผสานการตีความสร้างสรรค์ของการออกแบบและองค์ประกอบที่หยิบยกไอเดียมาจากธรรมชาติ ผ่านการใช้งานที่สดใสและมีสีสัน ภายในห้องคอนกรีตเผยผิวเปลือยเปล่า สีเขียวถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ กระตุ้นให้ทุกคนเกิดความกระปรี้กระเปร่า สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือเหล่าท่อตกแต่งที่ชวนให้จินตนาการถึงลำต้นของไผ่ขนาดใหญ่ผาดผ่านอยู่บนฝ้าเพดาน และโชว์ตัวสวยเท่ในแบบสไตล์ลอฟต์ ซึ่งให้ทั้งมุมมองที่แปลกตาและทันสมัย นอกจากนั้นยังมีไอเดียการนำแผ่นกระจกโทนสีเขียวมาติดตั้งให้ตัดกันกับพื้นหลังคอนกรีตผิวขรุขระ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผนังด้านหลังที่นั่ง และด้านหน้าเคาน์เตอร์ พร้อมกับจัดวางเก้าอี้ PAPYRUS RONAN & ERWAN BOUROULLEC by Kartell ด้วยการผสมผสานกันทั้งวัสดุแก้วและท่อโลหะสีเขียว จึงนับเป็นการถ่ายทอดให้เห็นว่า รูปแบบธรรมชาติและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นั้น สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร อีกทั้งสีเขียวยังช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลายและมีสมาธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของการออกแบบคาเฟ่กลางเมือง เพื่อให้ที่นี่เป็นดังโอเอซิสใช้หลบพักจากความวุ่นวาย แล้วมาเพลิดเพลินไปกับกาแฟรสเลิศ และฟังดนตรีไพเราะ ก่อนก้าวออกไปนอกร้านพร้อมลุยชีวิตกลางมหานครนิวยอร์กอย่างกระปรี้กระเปร่า ออกแบบ […]

HOUSE BECOMES CAFE สรุป กฎหมายอาคาร น่ารู้ในการรีโนเวตบ้านเป็นคาเฟ่

เปิดคาเฟ่เล็ก ๆ ต้องรู้เรื่อง กฎหมายอาคาร ด้วยหรือ? ในปัจจุบัน ธุรกิจคาเฟ่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในการสร้างสรรค์พื้นที่คาเฟ่ใหม่สักแห่ง นอกจากต้องคำนึงถึงความสวยงามโดดเด่นแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทั้งยังอาจรวมไปถึงความคล่องตัวทางธุรกิจในเชิงภาษีและบัญชีอีกด้วย แม้ว่าในบางครั้ง ร้านกาแฟขนาดเล็ก อาจไม่ถูกบังคับภายใต้ข้อกฎหมายบางข้อ แต่การศึกษาทำความเข้าใจ ก็ช่วยให้มองเห็นประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึง และหากปฏิบัติตามได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการในระยะยาวอย่างแน่นอน 01 เปลี่ยนอาคารเดิมเป็นคาเฟ่ จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตไหม? ก่อนอื่นต้องทราบว่าอาคารเดิมได้ขออนุญาตไว้เป็นอาคารประเภทใด เช่น หากตามใบอนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพักอาศัย การปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นร้านกาแฟ ซึ่งถือเป็นการใช้สอยเพื่อการพาณิชย์ จำเป็นต้องทำหนังสือขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ ข.๓) ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (เช่น สำนักเขตหรือองค์การบริหารส่วนตำบล) ให้ถูกต้อง เนื่องจากตามกฎหมาย อาคารพาณิชย์จะกำหนดความสามารถของโครงสร้างในการรับน้ำหนักจร (Live load) ที่มากกว่าอาคารพักอาศัย จึงจำเป็นต้องทำการตรวจสอบว่าอาคารดังกล่าวมีความสามารถที่จะรับน้ำหนักจรในระดับเดียวกับอาคารพาณิชย์ได้จริงหรือไม่ โดยแนบเอกสารรับรองที่ออกให้โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีกำหนดลักษณะของอาคารพาณิชย์อีกหลายประการที่มีผลกับความปลอดภัยและการใช้งาน ดัดแปลงอาคารแบบไหนไม่ต้องยื่นขออนุญาต หากว่าอาคารเดิมได้รับอนุญาตให้ใช้งานเป็นอาคารพาณิชย์อยู่แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการดัดแปลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งกฎหมายมีระบุขอบเขตไว้ว่าลักษณะใดที่ ไม่ต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ได้แก่ 01 เพิ่มหรือลดพื้นชั้นใดชั้นหนึ่งของอาคารไม่เกิน 5 ตารางเมตร […]

Moonler เล่าเรื่องงานคราฟต์เชียงใหม่ผ่านเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรี

คอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีจากแบรนด์ไทย Moonler นำเสนออีกมิติของงานคราฟต์ บอกเล่าเรื่องราวของผืนป่าอันอุดม และวิถีช่างไม้ของเชียงใหม่ พลิกภาพจำงานหัตถกรรมดั้งเดิมสู่ความเป็นไปได้ใหม่ภายใต้รูปลักษณ์ความงามอันเป็นสากล และตอบรับกับวิถีชีวิตร่วมสมัย Moonler เปิดตัวมายาวนานมากกว่าหนึ่งทศวรรษ จากจุดเริ่มต้นในปี 2008 ที่ความหลงใหลในงานไม้ของคุณภูวนาถ ดำรงพร และหุ้นส่วนได้ทำให้เกิดเวิร์กช็อปเฟอร์นิเจอร์ไม้จามจุรีเล็กๆ ย่านบ้านถวายในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนองานเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่แตกต่างจากในท้องตลาดทั้งในด้านคุณภาพ และรูปลักษณ์ การเติบโตและขยับขยายหลายต่อหลายครั้งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พาให้วันนี้มูนเลอร์กลายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ในดอยสะเก็ด ที่ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบหัตถอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ผสมผสานงานฝีมือที่โดดเด่น และคุณภาพในแบบอุตสาหกรรม ไปพร้อม ๆ กับสั่งสมประสบการณ์การทำงานร่วมกับหลากหลายนักออกแบบทั้งไทย และต่างประเทศ เมื่อ 3 ปีก่อน คุณรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ นักออกแบบผลิตภัณฑ์มือรางวัล ได้เข้ามารับหน้าที่ดีไซน์ไดเร็กเตอร์คนล่าสุด เขารู้จักกับมูนเลอร์ผ่านโครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและนักออกแบบโครงการหนึ่งของภาครัฐ และในช่วงนั้นเอง พวกเขาร่วมมือกันสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นใหม่ขึ้น 10 ชิ้น เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการ “10 Years Moonler” ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของมูนเลอร์ ยุคแห่งการรีแบรนด์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวงานคราฟต์จากเชียงใหม่ในอีกมิติที่ต่างออกไป พร้อมๆ กับการออกสำรวจเส้นทางใหม่ในโลกการออกแบบ ที่ดีไซน์ไดเร็กเตอร์คนใหม่นี้จะพามูนเลอร์ไป วัตถุดิบหลักของมูนเลอร์คือ ไม้จามจุรีหรือฉำฉา ซึ่งเนื้อไม้มีสีสัน ลวดลายสวยงามคล้ายไม้วอลนัท แข็งแรง […]

THE RAJASTHAN SCHOOL พื้นที่เรียนรู้และเล่นสนุกที่มีหลังคาเป็นก้อนเมฆ

นี่คือพลังการสร้างสรรค์ ที่ได้ผลลัพธ์เป็นพื้นที่เรียนรู้และเล่นสนุกที่มีหลังคาเป็นก้อนเมฆ เย็นด้วยลมธรรมชาติ และสว่างด้วยแสงจากดวงอาทิตย์

FLAT+WHITE CAFE คาเฟ่ขาวนวลมินิมัลในย่านทองหล่อ

ถ้าถามว่าเมนูกาแฟอะไรคือเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดกระแสกาแฟ Thrid Wave ก็คงบอกได้ทันทีว่าคือ Flat White ประกอบกับที่เจ้าของร้าน(และบ้านที่ชั้นบน) เคยไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมื่อกลับมาไทยเขาจึงเปิดร้านกาแฟของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Flat+White Cafe เพื่อบ่งบอกตัวตนและความผูกพันกับกาแฟที่นั่น “ความนุ่มละมุนจากครีมนม” คือคอนเซ็ปต์ที่ถูกนำมาใช้ สองส่วนหลักที่เห็นได้ชัดคือ “สีสันบรรยากาศ” และ “เส้นสายโค้งรับต่อเนื่อง” ตลอดทั้งโครงการ การเลือกใช้ “สีขาว” เป็นหลักนี้ เพื่อสื่อถึงความนวลเนียนของนมบนกาแฟที่ถูกเจือด้วยสีน้ำตาลอ่อน ๆ ผนวกกับพื้นผิวที่ใช้เทคนิคปูนปั้นสร้างความนูนต่ำเกิดเป็นแสงเงาคล้ายคลื่นบาง ๆ ทำให้รู้สึกถึงความนุ่มละมุนมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับการที่เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านแห่งนี้ ก็เหมือนได้เข้าไปอยู่ในครีมนมอันนวลเนียน อีกส่วนคือ “เส้นสายต่อเนื่อง” ที่ถูกใช้ตั้งแต่ฟาซาดภายนอก จนไหลเข้าสู่ภายในนั้นเปรียบเหมือนเทคนิค Latte Art ของการเทแบบ Free Pouring การสร้างลวดลายที่เกิดจากการซ้อนทับของชั้นเลเยอร์จากนม เมื่อถูกเทลงไปแล้วส่ายสะบัดจนเกิดเป็นลวดลาย ภายนอกนั้นใช้สเตนเลสแผ่นทำสีขาวด้านซ้อนเรียงกันและโค้งรับขับเน้นบริเวณทางเข้าไหลเข้าสู่ภายใน ทุกพื้นที่มีการเน้นด้วยเส้นและการซ้อนกันของฝ้าเพดาน สร้างความต่อเนืองโค้งมนช่วยลบความรู้สึกเป็นเหลี่ยมของอาคาร “เมื่อจะออกแบบร้านการแฟร้านนี้ ผมอยากให้มันร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันไปตลอดทั้งอาคาร ตั้งแต่แรกเห็นที่จากภายนอกจนเข้าสู่ภายใน ไปจนถึงทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น ลวดลาย สีสัน […]

LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน

LITTLE ISLAND สวนสาธารณะลอยน้ำกลางแม่น้ำฮัดสัน ที่ตั้งอยู่บนกระถางคอนกรีตยักษ์จำนวนกว่า 132 กระถางที่เชื่อมกันจนเกิดเป็นสวน พร้อมพันธุ์ไม้นานาพรรณ

บันทึกเพื่อพิทักษ์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในมุมมองของ วีระพล สิงห์น้อย และฤกษ์ดีโพธิวนากุล

จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]