MESSICO&NUVOLE FLAT รีโนเวตห้องเก่าให้สดใส พร้อมฟังก์ชันใช้งาน และมุมจัดเก็บช่วยประหยัดพื้นที่

Messico&Nuvole Flat โปรเจ็กต์ รีโนเวตห้องเก่า ซึ่งอยู่ในชั้นใต้ดินของอาคารยุค70’s กลางเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ให้กลับมามีศักยภาพตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ แน่นอนว่าเพื่อให้เข้ากับบุคลิกที่สดใส Davide Beretta Studio จึงได้ออกแบบห้องพักนี้ ให้เต็มไปด้วยพลังที่สนุกสนานกระปรี้กระเปร่า สีสันสดใส ซุ้มโค้งน่ารัก เฟอร์นิเจอร์สั่งทำพิเศษ สลับกับไม้ และต้นไม้เขียวขจี ทั้งหมดเปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ปรุงออกมาได้อย่างกลมกลม ภายในห้องพักที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 105 ตารางเมตร โดยมีโจทย์ รีโนเวตห้องเก่า จากเจ้าของว่า อยากได้พื้นที่โล่งกว้างและใช้งานได้เต็มที่ จากแผนผังการใช้งานเดิมดีไซเนอร์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางใด ๆ จะเน้นก็แต่เฉพาะการตกแต่งในแง่ของบรรยากาศ และการใช้งานพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด จากทางเข้าก่อนเลี้ยวมาตามผนังสีน้ำเงินเข้ม ฝั่งตรงข้ามทางเดินได้ออกแบบผนังตู้เก็บของ สำหรับจุของได้เพียบและเป็นสัดส่วน ก่อนเปิดมุมมองสู่โถงกลางขนาดกว้างไว้ใช้พักผ่อน ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์แต่เพียงน้อยชิ้น ก่อนแต่งแต้มความสดใสด้วยสี่เหลี่ยมสีเหลืองขอบโค้งมนบนผนังด้านหนึ่ง ดูเข้ากับขอบประตูที่วาดกรอบเส้นโค้งสีน้ำเงิน ส่วนมุมด้านหนึ่งใกล้กับชั้นหนังสือบิลอินท์ ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากประเทศเม็กซิโก ด้วยการแขวนเปลญวนสีแดงสด ใช้นอนเล่นสบาย ๆ ด้านบนแขวนประดับด้วยเหล่าพรรณไม้สีเขียวดูสดชื่น นอกจากนี้ถ้าไม่บอกแทบไม่มีใครรู้ว่ายังมีลูกเล่นซ่อนอยู่ นั่นคือเตียงนอนพับได้ ซึ่งดูแนบเนียนไปกับผนังราวกับติดภาพวาดขนาดใหญ่ เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็แค่ดึงลงมา กลายเป็นเตียงนอนขนาดใหญ่น่าสบาย แถมยังมีเคาน์เตอร์บาร์เล็ก ๆ สำหรับทำอาหารง่าย ๆ อีกหนึ่งจุด ที่พลางตัวมาในรูปแบบของตู้ขนาดย่อมสีขาว […]

YAMA COFFEE.TEA.DESSERT ปลุกพลังด้วยสีเหลืองและกาแฟเวียดนาม

คาเฟ่คอนกรีต สีเทาตัดกับสีเหลืองสดใสที่เจิดจรัสทั้งบรรยากาศและรสชาติของกาแฟแห่งนี้คือ YAMA Coffee.tea.dessert คาเฟ่อีกหนึ่งสาขาของแบรนด์กาแฟสัญชาติเวียดนามที่มีชื่อว่า YAMA – You Are My Angel โดยมาเปิดสาขา ณ เมือง Tay Ninh พร้อมการปรับปรุงคุณภาพของกาแฟ เพื่อให้เข้าถึงรสนิยมและรสชาติที่คนท้องถิ่นโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จะต้องประทับใจ ด่านแรกเด่นสะดุดตาด้วยกล่องกระจกบรรจุลูกบอลสีเหลืองจนเต็ม ดึงดูดลูกค้าสายคาเฟ่ฮอปปิ้ง ซึ่งเป็นความตั้งใจของสถาปนิกจาก Ksoul Studio ที่ต้องการให้ที่นี่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ ก่อนพาทุกคนเข้าสู่พื้นที่คาเฟ่ด้านในที่มีบรรยากาศดิบเท่จากปูนซีเมนต์และคอนกรีต คาเฟ่คอนกรีต สีเทาจากปูนซีเมนต์และคอนกรีตอันแสดงถึงแนวคิดของความเป็นเมือง ร่วมกับสเตนเลสเพื่อสื่อถึงความทันสมัย ตัดกับองค์ประกอบสีเหลืองซึ่งเป็นสีประจำแบรนด์YAMA อันเปรียบดังตัวแทนของดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงลงมายังแผ่นดิน เพื่อปลุกทุกคนให้มีชีวิตชีวาเต็มไปด้วยพลัง จากวัสดุเด่น 3 อย่าง ได้แก่ ซีเมนต์ คอนกรีต และสแตนเลส สถาปนิกได้นำมาออกแบบพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของคาเฟ่ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 195 ตารางเมตร ที่เห็นเด่นชัดเมื่อก้าวเข้ามาในคาเฟ่อย่าง เคาน์เตอร์บาร์ ได้รับการออกแบบขึ้นจากซีเมนต์ แล้วหุ้มด้วยสแตนเลสพื้นผิวมันวาว เพื่อให้เกิดมุมมองที่ดูเปล่งประกายส่องสะท้อนสื่อถึงความทันสมัย ขณะที่เฟอร์นิเจอร์สำหรับนั่งพักจิบกาแฟชิล ๆ ทั้งหมดได้รับการปรับแต่งและผลิตขึ้นโดยเฉพาะสำหรับแบรนด์ YAMA เท่านั้น อาทิ โต๊ะสเตนเลส […]

THAILAND HI เที่ยวเมืองไทยในร้านอาหารประเทศยูเครน

เป็นอีกครั้งที่ ร้านอาหารไทย จะได้เฉิดฉายในต่างแดน แต่ครั้งนี้ไม่เพียงแค่เมนูและรสชาติที่อร่อยติดอันดับโลก แต่ยังส่งต่อถึงดีไซน์ร้านที่ดึงความเป็นไทยพื้นถิ่น ส่งออกไปยังสเปซที่มีความร่วมสมัยและเป็นสากล ด้วยแนวคิดที่ว่า “ท่องเที่ยวเมืองไทยแบบไม่ต้องออกจากเมือง” ในสายตาของชาวโลก ประเทศไทยมีการผสมผสานมิติเชิงวัฒนธรรมเเละวิถีชีวิตที่หลากหลายอย่างลงตัว ด้านดีไซน์ก็เช่นกัน balbek bureau สตูดิโอออกแบบจากประเทศยูเครน จึงขอถ่ายทอดความเป็นไทยในสายตาคนต่างชาติ ด้วยการออกแบบ ร้านอาหารไทย เหมือนยกเมืองไทยมาไว้กลางกรุงเคียฟ เมื่อนึกถึงความเป็นไทยมักมีแสงสว่างเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานอินทีเรียร์อยู่เสมอ การออกแบบภายในจึงเน้นบรรยากาศแบบเอ๊าต์ดอร์ผ่านคอร์ตยาร์ดขนาดเล็ก ซึ่งตกแต่งด้วยพรรณไม้สไตล์ทรอปิคัล กระทั่งถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมทางเสียง ทั้งเสียงจากการทำอาหารที่มักได้ยินกันตามสตรีทฟู้ดผ่านทางครัวแบบเปิด ไปจนเสียงจากบทสนทนาที่จะช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ดีไซเนอร์เลือกหยิบของตกแต่งที่เห็นได้ทั่วไปในเมืองไทย โดยเลือกใช้ไม้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการตกแต่ง ธีมสีน้ำตาลของงานไม้ได้ส่งต่อไปถึงของตกแต่งเเละวัสดุคุ้นตาอื่น ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดูอบอุ่น  เช่น เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ศิลาดล และงานหวาย ส่วนใหญ่เจ้าของเลือกสรรมาจากสวนจตุจักร และแหล่งขายเฟอร์นิเจอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับเฟอร์นิเจอร์วินเทจที่หาซื้อได้จากยุโรป เเถมไม่ลืมสีสันจากลวดดัดสีแดงช่วยเติมความสนุกแบบไทย ๆ ด้วยสเปซที่ขาวคลีนและเป็นภาษาสากลจึงช่วยขับเน้นให้พื้นที่ที่เติมแต่งไปด้วยของดีไซน์ไทยสีน้ำตาล กลายเป็นงานตกแต่งสไตล์อิเคล็กติกรสอร่อยที่มีกลิ่นอายไทยเป็นเครื่องปรุงสำคัญ Idea to Steal ออกจากขีดจำกัดของการใช้โคมไฟสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ ด้วยการใช้ไฟเส้นอย่างที่มักใช้กับการดัดตัวอักษรมาดัดโค้งเป็นเกลียววงกลม เติมความสนุกด้วยเส้นสายและแสงสี ข้อมูล เจ้าของ : Misha Katsurin เเละ Dasha […]

NEUEHOUSE BRADBURY นั่งทำงานในตึกเก่าท่ามกลางประวัติศาสตร์

NEUEHOUSE BRADBURY พื้นที่ทำงานสุดคลาสซี่สำหรับคนมีสไตล์ทุกสาขาอาชีพ ออกแบบภายใต้แนวคิด Home of the New กับการเอาของเก่ามาเคล้าของใหม่

103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า

คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]

ร้านขายผัก ที่ออกแบบโดย Nendo มาเพื่อช่วยกระจายผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร

ร้านขายผัก หน้าตาเหมือนร้านค้าริมทางที่ขายผักคุณภาพดี แต่หน้าตาไม่ดี ช่วยเติมเต็มเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โปรเจ็กต์ ร้านขายผัก ริมทางเล็ก ๆ นี้ มีที่มาจากการมองเห็นปัญหาผักไม่สวย หรือแค่รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน มักต้องกลายเป็นเศษเหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ด้วยมาตรฐานการขนส่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น แต่ผักไม่สวย ไม่ได้แปลว่าจะด้อยคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตอย่างเต็มที่ nendo บริษัทออกแบบชื่อดังจึงได้เข้ามามองหากลไกใหม่ ๆ เพื่อนำพาผักเหล่านี้ให้ได้มีทางออกไปสู่มือผู้บริโภคได้ดีขึ้นในราคาย่อมเยา nendo ได้นำเสนองานออกแบบแผงขายผักที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นระบบการประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง และการใช้งานได้ตามผลผลิตที่ต้องการนำมาวางขาย ก่อนนำไปให้เกษตรกรจัดวางไว้ตามริมถนนใกล้กับพื้นที่ทางการเกษตร ที่มาของผลผลิตเหล่านั้น ทุก ๆ คนเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านั้น ก็จะสามารถซื้อและจ่ายเงินได้ผ่านกล่องรับเงินที่ติดตั้งไว้ตามราคาบนแผ่นป้าย หรือจะยิง QR CODE จ่ายก็ทำได้เช่นกัน วิธีการนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้บริโภคจะได้ผักสดใหม่(ใหม่จริงเพราะปลูกแล้วก็ถอนมาวางเลย) ในราคาย่อมเยา ที่สำคัญผู้ผลิตก็จะได้ระบายผลผลิตที่ส่งเข้าระบบ Modern Trade ไม่ได้ ให้มีทางออก ไม่ต้องนำไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จากตัวอย่างดี ๆ นี้ ลองหันกลับมามองที่เมืองไทย เราอาจคุ้นเคยกับแผงขายผักเช่นนี้ตามริมทางขณะขับรถไปต่างจังหวัด แต่ถ้าลองพัฒนาให้เข้าระบบ E-Commerce ปรับปรุงระบบ QR […]

SORVETE DA RESERVA ICE CREAM SHOP ออกแบบร้านไอศกรีมยุค NEW NORMAL

ร้านไอศกรีมอารมณ์ไม้ ที่ขอเน้นแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ตอบรับยุค New Normal ตอบโจทย์ความปลอดภัยด้านสุขภาพและงานบริการ อย่าง ร้านค้า และร้านอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจทั้งต่อตัวลูกค้าและผู้ให้บริการเอง ดังตัวอย่างการออกแบบร้านขายไอศกรีม ในประเทศบราซิลแห่งนี้ ดีไซเนอร์จากสตูดิโอ PORO Arquitetura ได้ออกแบบร้านไอศกรีมให้บรรจุอยู่ในอาคารขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพียง 40 ตารางเมตร โดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วน ด้านหน้าเป็นพื้นที่นั่งพักคอยเล็ก ๆ ระหว่างกำลังรอสั่งซื้อไอศกรีม ซึ่งที่นี่เน้นการซื้อกลับไปรับประทานมากกว่าการนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่เคาน์เตอร์ของพนักงานจะถูกกั้นด้วยแผ่นโปร่งใส ที่เจาะช่องว่างเล็ก ๆ ไว้สำหรับจ่ายเงินและรับไอศกรีม ลึกเข้าไปด้านในอีกชั้นคือส่วนของพื้นที่ครัว ฐานการผลิตไอศกรีมสูตรโฮมเมดรสชาติแสนอร่อย ขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งกลิ่นอายของงานดีไซน์ โดยมีไม้ และธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนช่วยเติมเต็มยุค New Normal นอกจากการวางผังพื้นที่ใช้งานเเล้ว ความโดดเด่นของที่นี่ คือการทำโครงสร้างไม้ตกแต่งไล่ลงมาจากฝ้าเพดาน ทำเป็นชั้นวางของ เรื่อยลงมาจนถึงการเป็นเคาน์เตอร์ไม้ริมผนังกระจกหน้าร้าน ไม่ลืมตกแต่งด้วยกระถางต้นไม้ที่ปลูกพรรณไม้ในร่มเขตร้อนหลายชนิด ช่วยเติมบรรยากาศความสดชื่นได้เป็นอย่างดี ก่อนเพิ่มสีสันให้ร้านด้วยกระเบื้องไฮดรอลิกสีน้ำเงิน ที่ดีไซเนอร์เลือกมาปูพื้น โดยอ้างอิงจากสีของทะเลสาบ Almécegas Lake ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของเมือง Pedrinhas ซึ่งเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับกระเบื้องสีขาวด้านหน้าเคาน์เตอร์ ที่ออกแบบให้มีเส้นสีน้ำเงินตัดผ่านแบบทแยงมุม ก่อนนำมากรุลงไปแบบแรนดอมดูสนุกและสดใสมากขึ้น ออกแบบ : PORO […]

WEATHER HOUSE บ้านสีขาวดีไซน์จากลวดตาข่ายถัก อยู่กับธรรมชาติได้ทุกฤดูกาล

บ้านที่ห่อหุ้มด้วยแผง ลวดตาข่ายถัก นี้  ใครได้เห็นแล้ว อาจต้องแอบงงว่า นี่คือ “บ้าน” หรือ “สวนสาธารณะ” กันแน่! เพราะถูกตกแต่งด้วยต้นไม้ พร้อมกับมีสนามหญ้าเล็ก ๆ ให้นั่งชมวิวบนชั้นดาดฟ้า ซึ่งมีแนวคิดมาจากบริบทของเมือง ที่เต็มไปด้วยสวนสาธารณะน้อยใหญ่ ร่วมถึงการอยากหยิบยกธรรมชาติให้เข้ามาใกล้ตัวมากที่สุด โดยที่นี่ตั้งอยู่ในเขตที่พักอาศัยในย่านชินากาวะ ทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน อาคารสำนักงาน และตึกสูงระฟ้า แต่ถ้าหากเราซูมเอ๊าต์ออกมาดู จะเห็นว่าพื้นที่เมืองถูกสอดแทรกด้วยสวนสาธารณะทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เชื่อมโยงกันด้วยทางเท้า สถาปนิกเจ้าถิ่นอย่าง n o t architects studio จึงเกิดไอเดียในการออกแบบบ้านที่มี ลวดตาข่ายถัก ทำหน้าที่เป็นผนังบ้านแบบโปร่ง โดยให้ชื่อว่า “Weather House” เพื่อช่วยเปิดมุมมอง ไปพร้อมกับแรงบันดาลใจที่มาจากบริบทของเมือง ทำให้การอยู่อาศัยไม่ต่างจากการเดินเล่นในสวนสาธารณะ โดยสามารถใช้ชีวิตในบ้าน ที่ปรับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน ฤดูกาล และสภาพแวดล้อม ตัวบ้านถูกห่อหุ้มด้วยแผงลวดตาข่ายโปร่ง เป็นเหมือนผนังบางเบาที่สร้างขอบเขตให้กับบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็เปิดรับให้บริบทโดยรอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับสภาพแวดล้อมภายใน และเนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่ติดกับถนนสาธารณะ เมื่อปลูกไม้เลื้อยปกคลุมพื้นที่บางส่วนของผนังลวดตาข่ายด้านติดถนน ยิ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่าง “บ้าน” กับ “พื้นที่สาธารณะ” ดูคลุมเครือ […]

Domestic Loom รีดีไซน์กี่ทอผ้าสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอ

ในขณะเราพยายามนำพางานหัตถกรรมดั้งเดิมให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่นอกเหนือไปจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ยุคสมัย ทั้งแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และกระบวนการเบื้องหลังงานฝีมือก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงต้องการการพัฒนาไม่แพ้กัน Domestic Loom คือกี่ทอผ้าดีไซน์ใหม่ ที่ชวนให้เราหันกลับมามองต้นทางของงานหัตถกรรมสิ่งทออีกครั้ง Domestic Loom กี่ทอผ้าฝีมือการออกแบบของ คุณพิบูลย์ อมรจิรพร สถาปนิกและนักออกแบบจาก Plural Designs ถือเป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ในการ “รีดีไซน์” เครื่องไม้เครื่องมือเบื้องหลังงานหัตถกรรมสิ่งทอ ให้ตอบโจทย์ยุคสมัย และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของช่างผีมือยุคใหม่ได้ดียิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของโปรเจ็คต์นี้มาจากประสบการณ์ของคุณพิบูลย์ ที่ได้มีโอกาสเดินทางพบปะ ทำงานร่วมกับช่างทอ และนักออกแบบสิ่งทอในหลากหลายชุมชนหัตถกรรม ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมจะพบว่าเครื่องมือหลักของช่างทอทั่วประเทศ ล้วนเป็นกี่ไม้เรียบง่าย ที่ผลิตขึ้นใช้เองในท้องถิ่น และแน่นอนว่าคนทอไม่ได้เป็นผู้สร้าง และคนสร้างไม่เคยได้ลองใช้ทอ คุณพิบูลย์: “ในชุมชนช่างทอ เราจะเห็นกี่ทำจากโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ คล้ายกันแทบทุกหมู่บ้าน อาจเป็นเพราะทำง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่นได้เลย แต่ก็ยังไม่เห็นกี่ที่มีการพัฒนาให้ดูสวยขึ้น ช่วยให้นั่งใช้งานได้สบายขึ้น กี่แบบดั้งเดิมมีเสา 4 ด้าน ดูเกะกะ มักใช้งานไม่สะดวกสำหรับช่างทอผู้เฒ่าผู้แก่ จริง ๆ ผมเคยคิดไว้นานแล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองทำ คราวนี้ได้คุยกับอาจารย์นุสรา เตียงเกตุ ที่ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้า บ้านไร่ใจสุข จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ก็บอกให้ลองทำดู เพราะส่วนใหญ่ช่างทอกับช่างทำกี่ […]

SCOTTS TAIKOO LI ไอเดียออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด ขนาดเล็ก กับการเปลี่ยนประตูเป็นที่นั่ง

Scotts Taikoo Li ร้านฟาสต์ฟู้ด เสิร์ฟอาหารฟิชแอนด์ชิปส์สไตล์อังกฤษ ที่เดินทางข้ามทวีปมายังเมืองเฉิงตู ประเทศจีน โดดเด่นและเห็นชัดเจนจากบริเวณหัวมุมถนนด้วยประตูที่เป็นทั้งฟาซาดและที่นั่ง ใช้งานได้แบบมัลติฟังก์ชัน ก่อนนำมาสู่การออกแบบ ร้านฟาสต์ฟู้ด โดย Unknown Works สตูดิโอออกแบบจากอังกฤษ ที่เน้นจัดเสิร์ฟอาหารจานด่วนที่มีคอนเซ็ปต์ตั้งต้นมาจากร้าน Scotts สาขาแรกที่ Yorkshire ประเทศอังกฤษ ก่อนขยายมาสู่สาขาใหม่ในจีน ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนในย่าน Taikoo Li  ที่มีขนาดเพียง 33 ตารางเมตร พร้อมแนวคิดการออกแบบพื้นที่ใช้งานอย่างคุ้มค่าและสวยงาม ฟาซาดของร้านทำหน้าที่เป็นทั้งประตูที่โอบล้อมร้านในช่วงปิดบริการ และสร้างฟังก์ชันสำหรับขยายการใช้งานพื้นที่ในช่วงเปิดบริการ หัวใจสำคัญคือวัสดุที่ใช้ทำฟาซาดอย่าง พลาสติกใยแก้วเสริมแรง (GRP) สีขาวอะลาบาสเตอร์ทำเป็นบานประตูขนาด 1.1 x 3 เมตร โดยด้านนอกสลักเป็นแพตเทิร์นลวดลายกราฟิกที่เกี่ยวกับร้านฟิชแอนด์ชิปส์ บางพื้นที่สามารถพลิกกลายเป็นโต๊ะ หรือเปิดออกเป็นกันสาด พร้อมให้บริการที่นั่งเเบบเอ๊าต์ดอร์ เเถมยังเป็นกรอบหน้าบานสุดเท่สำหรับที่นั่งภายในร้านได้อีกด้วย  เส้นสายของงานกราฟิกเชื่อมต่อจากบานประตูภายนอกเข้าสู่ภายในทุกส่วนเป็นกริดเส้นตรงเรขาคณิต ตั้งแต่พื้นที่ขนาดใหญ่อย่าง ครัว และเคาน์เตอร์บาร์ ไปจนถึงกริดขนาดเล็กที่สุดของร้านอย่าง พื้นผิวกระเบื้อง ทั้งนี้ยังไม่ลืมการเล่นกับไฟนีออน โดยนำมาใช้ทำเป็นชื่อร้านสีเเดงสด ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นชินตา นับเป็นการจับมือกันระหว่างรูปลักษณ์โมเดิร์นแบบอังกฤษกับไลฟ์สไตล์สตรีทสบาย ๆ แบบจีนได้อย่างลงตัว […]

บ้านสามชั้นที่ถูก ต่อเติม จากบ้านจัดสรรเดิมเป็นพื้นที่พิเศษของครอบครัวขยาย

จากบ้านเดี่ยวสองชั้นเดิมต้องมีการ ต่อเติม เพราะด้วยความที่ปัจจุบันผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้นแบ่งออกเป็นสองครอบครัวที่มีเด็กอยู่ 2 คน รวมทั้งผู้สูงอายุอีก 1 ท่าน จึงทำให้บ้านขนาด 150 ตารางเมตร เดิมนั้นเริ่มที่จะไม่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยภายในบ้านอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการสร้างบ้านอีกหลังในที่ดินที่ยังเหลืออยู่จึงเกิดขึ้น เป็นส่วนต่อเติมที่เข้ามาเติมเต็มทั้งการใช้งาน และเสริมให้บ้านเดิมนั้นกลายเป็นบ้านแฝดสองหลังที่ลงตัวทั้งรูปลักษณ์และการใช้ชีวิต บ้านบนพื้นที่สวนเดิม ผู้ที่เข้ามารับหน้าที่ออกแบบต่อเติมบ้านหลังนี้คือ TOUCH Architect สิ่งที่ถูกและพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างบ้านอีกหลังก็คือพื้นที่สามเหลี่ยมทางทิศตะวันออกของบ้านที่เดิมเคยเป็นพื้นที่สวนเดิมนั่นเอง ทุกที่ในบ้านคือPlaygroundของเด็กๆ การออกแบบนั้น เน้นการใช้งานสำหรับเหล่าเด็ก ๆ ที่จะได้มีพื้นที่เล่น เรียนรู้ และเติบโตไปพร้อม ๆ กับบ้าน บ้านหลังใหม่นี้จึงเป็นบ้านที่มีพื้นที่แคบยาวออกแนวสูงจนถึงชั้นที่สามแต่กลับโปร่งโล่งด้วยการเชื่อมโยงพื้นที่และเปิดโถงจาก Play Area จนถึงชั้นบนที่เป็น Living room รวมทั้งการเลือกใช้บานกระจกเปิดรับแสงธรรมชาติเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ภายในภายนอกเข้าด้วยกันอีกทาง เปิดโล่งตั้งแต่พื้นจนถึงดาดฟ้า การออกแบบโดยยึดหลักMontessori(แนวการศึกษาที่เน้นความอิสระและสร้างสรรค์ของผู้เรียน)ทำให้พื้นที่เล่น สวน และองค์ประกอบถูกร้อยเรียงเป็น Playgroud ขนาดใหญ่ที่ลูก ๆ สามารถเรียนรู้ไปกับทุกพื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น Play Area ที่ชั้นล่าง สวนริมรั้ว หรือแม้แต่สวนดาดฟ้าที่ชั้นบน ประกอบกับพื้นที่นอกรั้วที่มีต้นไม้ใหญ่ถึง 3 ต้น จึงทำให้แม้พื้นที่สวนของบ้านหลังนี้แผ่ไกลออกไปจากรั้วของบ้านเอง ร้อยเรียงพื้นที่ด้วยเปลือกอาคาร […]

82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82

เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]

MARE ร้านศัลยกรรมความงาม ที่ดึงเอาบรรยากาศของสวนสาธารณะมาไว้ในร้าน

ร้านเสริมสวยขนาดเล็ก ที่จัดการพื้นที่ด้วยการใช้ “ม่าน” เป็นตัวแบ่งสเปซ ทำให้พื้นที่ขนาดกะทัดรัดนี้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้ตามการใช้งาน ดูโปร่งโล่ง ที่สำคัญคือสามารถมองเห็นวิวสวนได้อย่างเต็มตา

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

THE SECRET GARDEN พลิกโฉมอพาร์ตเมนต์ด้วยสีสันและเฟอร์นิเจอร์

รีโนเวตอพาร์ตเมนต์ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง แต่เน้นไปที่การตกแต่งภายในและเลือกเฟ้นเฟอร์นิเจอร์ จนลืมบรรยากาศเก่า ๆ ไปโดยสิ้นเชิง

CHAMPA GALLERY ควบรวมเรือนหอและร้านผ้าซิ่นไว้ในโฮมออฟฟิศ

CHAMPA GALLERY โปรเจ็กต์รีโนเวตตึกแถวเก่าอายุ 34 ปี ให้กลายเป็นเรือนหอ พร้อมกับผนวกโชว์รูมและออฟฟิศไว้ในที่เดียวกัน ในสไตล์ลอฟต์โคโลเนียล

งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1

งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]

HOUSE OF PASSAGES รีโนเวตบ้านจีนเก่าให้โมเดิร์น โดยยังคงกลิ่นอายของวันวาน

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ที่มีความทรุดโทรมมากให้กลับมามีชีวิตชีวาโดยยังคงกลิ่นอายในวันวานไว้ ตั้งแต่การเก็บรูปทรงอาคาร สี และวัสดุแบบเดิม