10 ปี ที่ผ่านมาของ BACC สนทนากับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ถึง 10 ปี หลังจากนี้ไป

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือที่เราคุ้นกันในชื่อหอศิลป์ BACC นั้น เป็นหอศิลปวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนนิทรรศการที่น่าสนใจอยู่เสมอ และหอศิลป์แห่งนี้ก็ได้ดำเนินการมาจนครบ 10 ปี แล้ว ด้วยพันธกิจในการขับเคลื่อนให้ประชาชนเข้าใจคุณค่าและความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นไปจนถึงบริบทของโลก และอย่างที่เป็นข่าวในการต่อสัญญาโดยกรุงเทพมหานครไปอีก 10 ปี วันนี้ room จึงพามาพูดคุยกับ ผอ. ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่-ผู้อำนวยการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถึง 10 ปี ที่ผ่านมา และอีก 10 ปี ที่หอศิลป์ฯแห่งนี้ กำลังก้าวเดินไป ทั้งบทบาทหน้าที่ที่อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และแนวโน้มของนิยามความเป็นเมืองแห่งศิลปะของกรุงเทพฯ กทม. เคาะต่อสัญญา อีก 10 ปี ให้กับหอศิลป์เกิดอะไร? ทำไมถึงเป็นประเด็น? room : จากข่าวของการต่อสัญญา อีก 10 ปี โดยกรุงเทพมหานครให้กับทางหอศิลป์ฯ จริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หอศิลป์ฯ ยังดำเนินการเหมือนเดิม หรือมีอะไรเปลี่่ยนแปลงไปหรือไม่? BACC : […]

เจาะลึกปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล กับ ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ

ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีส่วนก่อปัญหานี้แค่ไหน ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างไหม? วันนี้ room หาคำตอบมาให้แล้ว ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เป็นอีกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพราะภาพข่าวของสัตว์ทะเลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายยากเหล่านี้ ภาพของเกาะขยะกลางทะเลขนาดใหญ่เท่าประเทศย่อม ๆ หรือแม้แต่ไมโครพลาสติกที่กลับมาสู่คนเมืองในรูปการปนเปื้อนทางอาหาร แต่ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากที่ใด เรามีส่วนกับการก่อปัญหานี้มากแค่ไหน และเราจะมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขได้ปัญหานี้ได้อย่างไร วันนี้ room จึงได้มาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอย่าง ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้า หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล​ (Marine​ Plastics​ Abatement หรือ​ MPA)​ คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย​ (AIT)​ มาอธิบายและไขข้อสงสัยให้กับเราอย่างหมดเปลือก ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล ปัญหาที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด room : ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง? ศ.ดร.ธรรมรัตน์ : “จริง ๆ ปัญหาขยะทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมในทะเลอย่างเดียว มีการศึกษาว่า 80% นั้นมาจากขยะบนบกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาขยะทางบกก่อนแล้วไหลลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศในทวีปเอเชียนั้นเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก” room […]

เดอะ ฟอเรสเทียส์ ออกแบบเพื่อยกระดับความสุขในทุกมิติของการใช้ชีวิต

เจาะลึกวิสัยทัศน์ของ ‘เดอะ ฟอเรสเทียส์’ โดย MQDC โครงการอสังหาฯที่ใหญ่สุดของไทย และแห่งแรกในโลกที่ออกแบบทุกมิติเพื่อการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ โดยมีแนวคิดมุ่งการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อมควบคู่กันไป เพื่อส่งเสริมผู้คนที่อยู่อาศัยและเข้ามาใช้พื้นที่ได้มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขมากขึ้น

TENEMENT H. ตู้กึ่งฉากที่มุ่งหวังความเป็นไปได้ในการนำเศษอะลูมิเนียมกลับมาสร้างมูลค่า

ส่วนหนึ่งในนิทรรศการของกลุ่มนักออกแบบ Design PLANT และ Emerging PLANT ที่รวมตัวกันนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิด DOMESTIC ในงาน Bangkok Design Week 2021

รีโนเวตบ้านหลังเล็กให้ ‘น้อยแต่มาก’ กลิ่นอายสแกนดิเนเวียน

บ้านหลังเล็กที่ได้รับการ รีโนเวท ให้ ‘น้อยแต่มาก’  เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศให้โปร่งสบายด้วยแสงธรรมชาติ จัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงพื้นที่ใช้สอยแทนการกั้นผนังห้องที่ทำให้อับทึบ ทั้งยังออกแบบให้ทุกพื้นที่ในบ้านสามารถใช้เป็นที่ทำงานได้ หลายครั้งที่ความท้าทายในการออกแบบของเหล่าสถาปนิกคือการ รีโนเวท บ้านเก่าที่ทรุดโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงท้าทายไปอีกขั้นกับการรีโนเวตบ้านเก่าอายุร่วมสิบปีที่มีสเปซที่สวยงามอยู่แล้ว ให้ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีก อย่างเช่นบ้านหลังนี้ ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยเพียง 160 ตารางเมตร จึงถือเป็นโจทย์ท้าทาย ที่ทำให้ผู้ออกแบบต้องค้นหาคำตอบของการออกแบบ โดยมีความชอบ และไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านทั้งสองที่หลงรักสไตล์การตกแต่งอย่างเรียบง่ายเป็นสมการสำคัญ  เพื่อให้ทุกสเปซในบ้านขนาดกะทัดรัดนี้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เจ้าของ: คุณดุษฎี บุญชัยศรี และ คุณสริตา อุสาหพานิช ออกแบบ: คุณไธปันฬ์ นพลัดดารมย์ เเละ คุณอิทธิวัฒน์ พูนธนาทรัพย์ จาก Thaipanstudio น้อยแต่มาก ‘LESS IS MORE’ คือคำอธิบายถึงความชอบและสไตล์การตกแต่งที่เจ้าของบ้าน ส่งต่อให้กับผู้ออกแบบ เพื่อนำไปตีความให้กลายเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมที่สามารถอยู่อาศัยได้ โดยผู้ออกแบบเริ่มจากศึกษา และค้นหาจุดเด่นเดิมของบ้านไปพร้อมกับการเปลี่ยนให้คำว่า “น้อยแต่มาก” เป็นรูปธรรมด้วยแนวคิดการออกแบบ จนมาลงตัวกับสไตล์ “สแกนดิเนเวียน” ที่เน้นให้สเปซและฟังก์ชันมีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา สร้างบรรยากาศการใช้พื้นที่ได้อย่างดีเยี่ยมด้วยแสงธรรมชาติ และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เพื่อแสดงฟังก์ชันแทนการกั้นผนังห้องแบบอับทึบ ช่วยให้พื้นที่ชั้น 1 มีลักษณะคล้ายโถงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นทุกพื้นที่ถึงกันทั้งหมด โดยมีห้องครัวขนาดใหญ่แยกออกไปชัดเจนด้วยบานประตูกั้น ช่วยป้องกันกลิ่นและควันจากการทำอาหาร ทุกพื้นที่พร้อมสำหรับทำงาน พื้นที่อื่น ๆ ของบ้านมีหัวใจสำคัญของการออกแบบอยู่ที่ […]

YUNOMORI ONSEN & SPA SATHORN พลิกโฉมอพาร์ตเมนต์เก่าให้กลายเป็นสปาสะท้อนปรัชญา “วะบิ-ซะบิ”

ยูโนะโมริ ออนเซ็น แอนด์ สปา (Yunomori Onsen & Spa) สาขาสาทร ในลำดับที่ 3 ต่อจากสาขาสุขุมวิท ซอย 26 และสาขาพัทยา ของ ยูโนะโมริ ที่ขึ้นชื่อด้านบริการสปาและทรีตเม้นต์ที่ผสานศาสตร์แห่งการบำบัดจากสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

BILID ฉากหวายสะท้อนความคิดที่แตกต่าง พลิกด้านต่างอารมณ์

ฉากหวายกั้นพื้นที่ BILID ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการจับคู่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่กับโรงงานผู้ผลิต ภายใต้โปรเจ็กต์ Emerging PLANT พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบจากประสบการณ์จริง สนามธุรกิจของจริง สำหรับนักออกแบบรุ่นเล็ก ภายใต้การดูแลของรุ่นพี่มืออาชีพ BILID คือฝีมือการออกแบบของคุณศรัณย์พร บุญโต นักออกแบบรุ่นเล็กที่ร่วมมือกับแบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายชั้นนำของไทยอย่าง Corner 43 Decor ภายใต้คำแนะนำด้านการออกแบบจาก คุณธีรพจน์ ธีโรภาส ผู้ก่อตั้ง Kitt-Ta-Khon แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้วยงานหัตถกรรมร่วมสมัย หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คุณศรัณย์พรได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Emerging PLANT ที่จัดขึ้นโดย Design PLANT และเริ่มทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดแสดงผลงานร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบสตูดิโอในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ —- Did you know? – Design PLANT การรวมตัวกันของนักออกแบบจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ ตั้งแต่รุ่นเก๋าไปจนถึงรุ่นใหม่ไฟแรง โดยในแต่ละปีจะร่วมกันจัดนิทรรศการงานออกแบบเพื่อนำเสนอผลงานภายใต้แนวคิดที่น่าสนใจ และตอบโจทย์บริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น ๆ จนกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีพลังการขับเคลื่อนวงการออกแบบไทย – Emerging PLANT คือเวทีรุ่นเล็กที่จัดขึ้นโดย Design […]

ขายหัวเราะ ครึ่งศตวรรษบันทึกความขำรอบ บ้านและสวน

บ้านและสวน ขายหัวเราะ จับมือกันสร้างสรรค์ฉบับพิเศษของตัวเอง ทั้งผสมผสาน แลกเปลี่ยน เพื่อทดลองความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์รายวาระที่แตกต่าง

FH Office ถอดรหัสสุขภาพด้วยโมดูลาร์สถาปัตยกรรม

หากกล่าวถึงชื่อ FH Office หรือ ฟาร์มาฮอฟ เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะคุ้นหู แต่หากเป็นชื่อ ฟาสซิโน (Fascino) ร้านจำหน่ายยา และเวชภัณฑ์แบบครบวงจรที่มีสาขาทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง นั้น หลายคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เนื่องจากแบรนด์ฟาสซิโนนั้นเป็นหนึ่งในเครือของบริษัทฟาร์มาฮอฟ และด้วยการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 37 ปี ทำให้พื้นที่สำนักงานเดิมไม่ตอบโจทย์กับการเติบโตของธุรกิจและทีมงาน ทางบริษัทจึงตัดสินใจขยับขยายพื้นที่ใช้งาน โดยได้วางใจให้ คุณวรัญญู มกราภิรมย์ และคุณสณทรรศ ศรีสังข์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง TA-CHA Design มารับหน้าที่ในการออกแบบในครั้งนี้ FH Office เป็นอาคารประเภทมิกซ์ยูสประกอบด้วยพื้นที่สำนักงาน 5 ชั้น โดยชั้น 6-7 เป็นพื้นที่พักผ่อนของผู้บริหาร รูปทรงอาคารมีลักษณะคล้ายตัวแอล (L) และเว้นระยะร่นตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้สำหรับรถดับเพลิงสามารถขับได้รอบอาคาร ซึ่งก่อนจะเป็นอาคารที่เห็นในปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นพื้นที่โครงการมีอาคารสูง 3 ชั้น อยู่ก่อนแล้ว โดยจุดประสงค์แรกเริ่มคือการรีโนเวตอาคารเดิม แต่เมื่อทดลองกำหนดพื้นที่ใช้สอยในผังแล้ว ก็พบว่าอาคารดังกล่าวไม่สามารถรองรับความต้องการด้านการใช้งานได้เพียงพอ ดังนั้น จากแนวคิดการรีโนเวต จึงเปลี่ยนเป็นการรื้อถอนอาคารเดิม และสร้างอาคารใหม่สูง 7 ชั้น […]

CHIVI HOUSE บ้านอิฐ ที่เติบโตไปพร้อมกับเรา

บ้านอิฐ หลังเล็กชานเมืองดานังของเวียดนาม ดูเป็นมิตรด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่ตอบรับกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้น อีกทั้งยังทำให้บ้านเปลี่ยนแปลงและเติบโตตามกาลเวลาไปพร้อมกับผู้อยู่อาศัย ออกแบบ: Hinz Studio, Vietnam  หากกล่าวถึงผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มาแรงในบรรดาประเทศเเถบอาเซียน “ประเทศเวียดนาม” ย่อมติด 1 ใน 3 อันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ การออกแบบสถาปัตยกรรมของเวียดนาม ยังมีรูปแบบและการใช้วัสดุใกล้เคียงกับบ้านเรา อาทิ บ้านอิฐ ซึ่งส่งผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ ตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โครงการ Chivi House บ้านสองชั้นขนาดพอเหมาะ ผลงานจาก Hinz Studio สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม ที่มีประสบการณ์การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมด้วยอิฐมาแล้วหลายโครงการ ชื่อ Chivi House เกิดจากการรวมกันของชื่อลูกสาวทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน (Chi และ Vi) ด้วยขนาดกะทัดรัดเพียง 137 ตารางเมตร เเละตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของทางสามแยกพอดี ทำให้สถาปนิกเลือกดึงประโยชน์ของที่ตั้งมาใช้กับสเปซของบ้านให้ได้มากที่สุด ด้วยการวางตำแหน่งฟังก์ชันทางสัญจรอย่างบันได และห้องน้ำให้ชิดกับผนังด้านที่อยู่ติดกับที่ดินเพื่อนบ้าน โดยให้ผนังด้านนี้เป็นผนังทึบทั้งหมด ส่วนด้านหน้าบ้านและด้านที่ติดถนนได้ออกแบบช่องเปิด และก่อผนังอิฐ ที่มีการเว้นจังหวะให้เกิดช่องลมเพื่อ ให้ลมและแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้ตลอดทั้งวัน ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวให้สมาชิกในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม นับเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง […]

ชวน JAIME HAYON คุยเรื่องดีไซน์ วิถีชีวิต และ FRITZ HANSEN

เมื่อปีกลาย Jaime Hayon (ไฮเม่ ฮายอน) ดีไซเนอร์ระดับโลกสัญชาติสเปน แปลงโฉมบ้านเก่าอายุกว่า 70 ปี ในซอยสมคิด ย่านชิดลม ให้กลายเป็น House of Fritz Hansen Bangkok โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังจากเดนมาร์ก และในโอกาสที่เขาเยี่ยมเยือนไทยเพื่อเปิดนิทรรศการ Jaime Hayon Design Showcase  เราจึงขอชวนคุณไปพูดคุย พร้อมทำความรู้จักกับดีไซเนอร์คนดังแบบเจาะลึก ทั้งแนวคิดงานดีไซน์ การใช้ชีวิตและการทำงานกับ Fritz Hansen (ฟริตซ์ ฮานเซ่น) หากใครได้พูดคุยกับ Jaime Hayon สักครั้ง เชื่อว่าต้องสัมผัสได้ถึงพลังงานแห่งการสร้างสรรค์อันเต็มเปี่ยม สำหรับ room เขาคือนักออกแบบผู้ไม่เคยกลัวที่จะทำทุกอย่างตามความคิด ไม่เคยยินยอมทำอะไรซ้ำสอง ไม่เชื่อเรื่องการหยุดพักเพื่อเฉลิมฉลองกับความสำเร็จ และปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือ การมีเวลาที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับการออกเดินทางเพื่อเรียนรู้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และใช้ชีวิต “ผมพยายามเป็นผู้กำหนดเทรนด์อยู่เสมอ ผมชอบออกนอกกรอบ เล่นนอกกฎ อย่างงานออกแบบเก้าอี้ดีไซน์แรก ๆ ของผม ผมเลือกใช้พลาสติก ใช้แม่สีอย่างไม่ลังเล เป็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลือง เพราะตอนผมได้เข้ามาสัมผัสโลกดีไซน์ใหม่ […]

AUA โฉมใหม่ เมื่อ “อิฐ” ถ่ายทอดภาษาสถาปัตยกรรม

อาคารใหม่ของ AUA (เอยูเอ) หรือโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สะท้อนถึงอีกก้าวของการเติบโตผ่านภาพของสถาปัตยกรรมอิฐสูงตระหง่าน ที่เด่นสง่าท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อมย่านราชดำริ ที่นี่คืออาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมแห่งใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาใช้งานได้ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน หากใครมีโอกาสใช้เส้นทางถนนราชดำริหรือใช้บริการ BTS สายสีลมเชื่อว่าน้อยคนนักจะไม่สะดุดตากับอาคารอิฐสูงตระหง่านที่โดดเด่นท่ามกลางอาคารกระจกที่อยู่รายล้อม อาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกาหรือ AUA (เอยูเอ) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 ก่อนจะย้ายมาเช่าที่ดินของสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทางเอยูเอได้หมดสัญญาเช่าและจะต้องทำการส่งมอบที่ดินคืน แต่ด้วยความที่ผูกพันกับที่ดินผืนนี้มายาวนาน ทำให้ทางนายกสมาคมฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่จะขยับขยายให้อาคารทำหน้าที่มากกว่าโรงเรียนสอนภาษาอย่างที่ผ่านมา เพื่อให้กลายเป็นอาคารสาธารณะในเชิงวัฒนธรรมของประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาจัดกิจกรรมได้ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังคงความเป็นเอยูเอ ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ก้าวทันยุคสมัยในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของ AUA โฉมใหม่ สำหรับการสร้างอาคารสาธารณะบนที่ดินที่มีศักยภาพสูงและมูลค่ามหาศาลใจกลางเมืองนั้นต้องอาศัยผู้ที่มองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันระหว่าง AUA และบริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) โดยได้แบ่งที่ดินขนาด 5.6 ไร่ที่เช่าสำนักงานพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งส่วนแรก คือ ส่วนครึ่งด้านหน้าที่ดินที่ติดกับถนนราชดำริ สำหรับเป็นโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ส่วนครึ่งหลังของที่ดินนั้น ในอนาคตจะกลายเป็นโครงการคอนโดมิเนียมระดับลักชัวรี่ ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสถานสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกานั้นได้รับการออกแบบโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ […]

บ้านโมเดิร์น สีขาว ที่ ออกแบบ ผัง วางสเปซแนวทะแยง และพรางตาด้วย ฟาซาด

บ้านโมเดิร์นสีขาว รูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวที่เกิดจากแนวคิดอันเรียบง่าย การออกแบบผังบ้านในลักษณะของรูปโดนัท มีคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของที่ดิน และสร้างสเปซที่เปิดมุมมองสู่ธรรมชาติ และสร้างบรรยากาศน่าสบายให้กับทุกมุมบ้าน เจ้าของ Gems Heritage Co., Ltd. ออกแบบ Archive Studio โทร. 0-2235-6695 แม้ภายนอกของ บ้านโมเดิร์นสีขาว ย่านลาดพร้าวหลังนี้จะดูมีเส้นสายโฉบเฉี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกรายละเอียดและทุกเส้นสายที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุและผลที่แสนเรียบง่าย  ซึ่งเป็นงานถนัดของ Archive Studio กับการออกแบบบ้านขนาด 2 ชั้นพร้อมพื้นที่ใช้สอยกว่า 533 ตารางเมตรของเจ้าของบ้านคู่แต่งงานใหม่ที่วางแผนจะมีลูกสองคนในอนาคต  โดยสร้างอยู่บนที่ดินว่างเปล่าใกล้กันกับบ้านเดิมของครอบครัว  ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และฝ่ายภรรยามักอยู่บ้านเป็นหลัก  ทีมสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบสเปซที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยให้กับเจ้าของบ้านในทุกมิติ  ทั้งงานสถาปัตยกรรม  งานตกแต่งภายใน  และภูมิสถาปัตยกรรม  เพื่อให้ทุกองค์ประกอบของบ้านเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยทีมสถาปนิกได้คิดและออกแบบอย่างตรงไปตรงมา  ซึ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงกายภาพกับพื้นที่ข้างเคียง  ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบตำแหน่งและขนาดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จนพัฒนาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน   ด้วยลักษณะอันจำกัดของที่ดิน  จึงต้องสร้างอาคารให้ประชิดติดที่ดิน  เกิดเป็นการบังคับมุมมองให้เหลือเพียงด้านหลังที่ติดกับบึงน้ำทางทิศตะวันตก ผู้ออกแบบจึงตั้งใจเปิดมุมมองฝั่งนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับเจ้าของบ้าน โดยร่นระยะจากขอบที่ดินมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด  ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย (Minimum Setback) แล้วออกแบบแปลนบ้านให้มีลักษณะคล้ายโดนัทหรือการมีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางบ้าน  นอกจากจะลดความอึดอัดจากการถูกปิดล้อมแล้ว  ยังทำให้ทุกฟังก์ชันในบ้านสามารถมองเห็นวิวคอร์ตยาร์ดได้  รวมถึงทำหน้าที่กระจายแสงธรรมชาติให้สามารถเข้ามาในบ้านได้อย่างทั่วถึง  ช่วยให้เกิดบรรยากาศชวนผ่อนคลายและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวความพิเศษของบ้านหลังนี้ นอกจากเรื่องฟังก์ชันทั่วไปแล้ว  ยังมีโชว์รูมจิเวลรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษอันมีผลต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม  เนื่องจากผู้ออกแบบต้องจัดวางฟังก์ชันเพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานและการเข้าถึงอย่างชัดเจน  โดยไม่ทำให้เจ้าของบ้านต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ฉะนั้นด้านขวามือของบ้านจึงถูกกำหนดให้เป็นส่วนของโชว์รูมจิเวลรี่  โดยสามารถเข้าถึงคอร์ตยาร์ดกลางบ้านได้เช่นเดียวกันส่วนเรื่องมุมมองความเป็นส่วนตัวนั้น ผู้ออกแบบได้ออกแบบฟาซาดจากคานเหล็กขนาดใหญ่ความยาวกว่า […]

BASIC SPACE COFFEE การเปลี่ยนผ่านที่เลือกเก็บความทรงจำเดิมไว้ใต้หลังคาสังกะสี

งานออกแบบชิ้นล่าสุดของ BodinChapa Architects กับการเลือกเก็บและนำความทรงจำทรงคุณค่าของร้านกาแฟเจ้าเก่าเจ้าเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาตีความหมายผ่านการประยุกต์ใช้สิ่งเดิมในบทบาทหน้าที่ใหม่ ซึ่งกลายมาเป็นภาพปัจจุบันอันร่วมสมัยของ Basic Space Coffee

GARAGE HOUSE บ้านกึ่งอู่รถยนต์ที่สร้างการอยู่ร่วมแบบตัดขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง

พื้นที่ซึ่งสะท้อนความชื่นชอบในเรื่องรถยนต์อย่างแจ่มแจ้งของผู้เป็นเจ้าของ ที่ได้รับการออกแบบโดยแบ่งแยกส่วนพักอาศัย กับพื้นที่ซึ่งตอบโจทย์ความฝันในวัยเด็กอย่างเป็นสัดส่วนลงบนที่ดินผืนเดียวกันอย่างลงตัว

SCOPE PROMSRI ตกแต่งพร้อมเข้าอยู่ให้ทุกห้องหรูหรา ด้วยเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ LIGNE ROSET จากฝรั่งเศส

SCOPE Promsri เพื่อให้การสร้างสรรค์ความเป็นที่สุดครั้งใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทย นี่คือโครงการคอนโดมิเนียมที่กล้าลงทุนเลือกเฟอร์นิเจอร์สุดหรู และยังกล้าที่จะให้ลูกบ้านได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองได้ตามใจชอบ

CERULEAN COFFEE SHOP คาเฟ่มินิมัลที่เข้ากันดีกับฮันอกแห่งย่านอินซาดง

ตีความฮันอกจากความเป็นบ้าน สู่ Cerulean Coffee Shop คาเฟ่รูปลักษณ์ทันสมัย เพื่อทำให้ที่นี่เป็นสถานที่เชื่อมโยงผู้คนกับสถาปัตยกรรม โดยใช้กาแฟเป็นตัวประสาน

PONT COFFEE SHOP กาแฟสถานย่านยงซานที่มีสะพานเป็นจุดเชื่อม

คาเฟ่ของ Pont แบรนด์เครื่องคั่วกาแฟสัญชาติเกาหลี ที่ปรับปรุงจากบ้านไม้เก่าย่านยงซาน กรุงโซล ซึ่งพื้นที่เดิมของอาคารเคยเป็นสำนักงานการรถไฟ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1940 อาคารทั้งสองด้านหันหน้าไปทางถนนแต่ละด้าน และมีประตูซึ่งดูเหมือนทางลัดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง