ONCE AGAIN IN NANA

วันน้ีเราจะพาคุณออกค้นหาความหมายใหม่ของซอยเก่าในเมืองใหญ่ อย่างซอยนานา ซึ่งตั้งอยู่บนถนนไมตรีจิตต์ วงเวียน 22 กรกฎา ที่ถูกปลุกจากหลับใหลด้วยความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน ศิลปะ และคนทําธุรกิจ ที่เห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์และการอยู่ร่วมกับคนในชุมชน ภายใต้สถาปัตยกรรมอายุ 100 กว่าปีที่ยึดโยงผู้คนจากอดีตกับปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน

 

nana-02

A WALK TO REMEMBER

กรุงเทพมหานครมีชุมชนเก่าแก่ท่ีมีเรื่องเล่าให้เราพูดถึงมากมาย แต่ซอยนานาเป็นหนึ่งในไม่กี่ชุมชนที่ผู้คนยังสามารถรักษาเรื่องราวในอดีตและมรดกทางสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดีแม้จะผ่านเวลามากว่าศตวรรษ และเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบในวงเวียนประวัติศาสตร์ หลังผ่านพ้นยุครุ่งเรืองสมัยยังเป็นชุมชนค้าขายขนถ่ายสินค้าของชาวจีน และแหล่งรวมหมอแมะระดับตํานาน จนเป็นที่มาของชื่อตรอกซินแสโกย ณ เวลานั้น ตามคําบอกเล่าของ อาซ้ง ชายไทยเชื้อสายจีนวัย 75 ปีที่เกิดและเติบโตที่นี่ ส่วนชื่อนานานั้นเป็นชื่อของตระกูลมหาเศรษฐีมุสลิมเจ้าของสถานที่ และเจ้าของฉายาราชาที่ดินกรุงเทพฯ โดยมีคุณเล็ก นานา (ทายาทรุ่นที่ 4) เป็นเจ้าของในปัจจุบัน

จากโฉนดเก่าของ คุณแอนท์-อัศวิน โรจน์เมธาทวี เจ้าของเทพบาร์ หนึ่งในผู้เช่าปัจจุบัน ตลอดจนคําบอกเล่าของอาซ้ง เราได้คําตอบว่า อาคารบ้านเรือนในซอยนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลท่ี 6 โดยได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป และเปิดให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยพร้อมกับทําการค้าโดยชาวจีน ผ่านยุค รุ่งเรืองก่อนความเงียบเหงาจะเข้ามาเยือน หลังลูกหลานในซอยโยกย้ายถิ่นฐานตามความเจริญ กระจายตัวไปตามส่วนต่าง ๆ ของเมือง

อาซง้ หนงึ่ ในสองของคนเกา่ แกท่ เี่ กดิ เตบิ โต และยงั คงใชช้ วี ติ อยทู่ นี่ ี่ “อากง ของผมโลส้ ําเภาจากเมอื งจนี มาทนี่ ี่ และเปน็ ผเู้ ชา่ คนแรกของซอย แลว้ กอ็ ย ู่ มาจนรุ่นผม สมัยก่อนเขาเรียกที่นี่ว่า ตรอกซินแสโกย เพราะมีหมอแมะ อยเู่ ยอะ”
อาซ้ง หนึ่งในสองของคนเก่าแกที่เกิด เติบโต และยังคงใช้ชีวิตอยู่ที่นี่  “อากงของผมโล้สำเภาจากเมืองจีนมาที่นี่ และเป็นผู้เช่าคนแรกของซอย แล้วก็อยู่มาจนรุ่นผม สมัยก่อนเขาเรียกที่นี่ว่า ตรอกซินแสโกย เพราะมีหมอแมะอยู่เยอะ” 
ห้องแถวในซอยนานาในวันนี้ยังคงกลิ่นอายเก่าในวันวาน และบางส่วนยังคงได้รับการ เช่าอาศัยโดยคนไทยเชื้อสายจีน
ห้องแถวในซอยนานาในวันนี้ยังคงกลิ่นอายเก่าในวันวาน และบางส่วนยังคงได้รับการเช่าอาศัยโดยคนไทยเชื้อสายจีน

 

nana-04

NEW ALTERNATIVE ART SPACE

หลังการโยกย้ายของลูกหลานและการเกิดขึ้นของ About Studio/About Café คาเฟ่และสตูดิโอแสดงงานศิลปะแห่งแรกในซอยนานาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน (ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) กลายเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ  ที่เชื่อมโยงดึงดูดคนทําและคนเสพศิลปะให้เข้ามาใช้สอยพื้นที่ ก่อเกิดความหมายใหม่ในฐานะสตูดิโอทํางานและบ้านของศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศอย่างไม่ได้นัดหมาย อาทิ คุณธวัชชัย พัฒนาภรณ์ แห่ง PATANI STUDIO ช่างภาพที่มาเปิดสตูดิโอทํางานภาพถ่ายพร้อมกับอยู่อาศัย DARKLE นักเขียน ผู้กํากับ และช่างภาพชาวอังกฤษที่อยู่ที่นี่มากว่า 13 ปี และ Francois ศิลปิน ชาวฝรั่งเศสที่อาศัยและทํางานศิลปะที่นี่ จนตัดสินใจเปิด Art Space ในซอยร่วมกับ Jeff เพื่อนของเขาไม่กี่ปีก่อน

“ผมรู้จักที่นี่เมื่อหลายปีก่อน ตอนที่มาขอยืมพื้นที่ About Studio/About Café เพื่อจัดงาน Poetry Night ทุกเดือน ระหว่างนั้นผมโซซัดโซเซไปในตรอกที่ไม่ธรรมดาแห่งนี้ ในช่วงแรกของการหาพื้นที่ส่วนตัว ผมใช้เวลาหลายสัปดาห์ตะลอนไปทั่วทุกซอยในกรุงเทพฯ บรรจงถ่ายรูปเก็บรวบรวมภาพตึกแถวทั่วบริเวณ ยิ่งทําให้มั่นใจว่าไม่มีที่ไหนดีกว่านี้อีกแล้ว” DARKLE ศิลปินต่างชาติคนแรกที่เข้ามาอยู่ในซอยนานาเล่าถึงจุดเริ่มต้นให้เราฟัง

“ครั้งแรกที่เห็นที่นี่ผมนึกถึงร้านจีนในย่านโทรม ๆ ของตรอกเล็กโบราณทรงเสน่ห์ พื้นที่ทุกด้านเต็มไปด้วยเสียงดังจากเครื่องยนต์สามล้อ แตรมอเตอร์ไซค์ เสียงเอี๊ยดอ๊าดของล้อรถเข็นขายอาหารขึ้นสนิมบดพื้นคอนกรีต รวมทั้งเสียงโหวกเหวกของผู้ใช้แรงงาน สีที่ผุกร่อน กําแพงโทรมๆ ไม้กระดานที่เผยร่องรอยเก่าแก่ ทําให้ที่นี่มีคาแร็คเตอร์เฉพาะตัว เกือบทั้งหมดล้วนหยาบดิบและจริงแท้ คล้ายกับสิ่งมีชีวิตที่หายใจได้”

หนังสือเก่า ของสะสม และแหล่งข้อมูลในการสร้างภาพยนตร์ของ DARKLE
หนังสือเก่า ของสะสม และแหล่งข้อมูลในการสร้างภาพยนตร์ของ DARKLE
ผลงานภาพถ่ายจากการ จัดนิทรรศการคร้ังก่อนของ DARKLE ตามไปดูผลงานของเขา ได้ท่ี IG: @_darkle
ผลงานภาพถ่ายจากการจัดนิทรรศการคร้ังก่อนของ DARKLE ตามไปดูผลงานของเขาได้ที่ IG: @_darkle

สําหรับ Francois นั้นเล่าว่า ที่นี่เงียบสงบ แต่เต็มไปด้วยชีวิต แรงบันดาลใจ และวัตถุดิบในการทํางาน ศิลปะมากมาย ต่างจากความเป็นเมืองในย่านทองหล่อ เอกมัยที่วุ่นวายแต่แห้งแล้งเย็นชา ส่วนสเปซของสถานที่ก็พอดิบพอดีกับชีวิตและการทํางานถ่ายภาพ แถมยังเดินทางสะดวกสบาย

หลังจากใช้ชีวิตและทํางานศิลปะอยู่ที่นี่สักพัก เขาก็เช่าห้องแถวตรงหัวมุม โดยแบ่งพื้นที่ด้านหลังทําเป็น Art Space ภายใต้ชื่อ NACC ส่วนพื้นที่ด้านหน้าซึ่งติดกับถนนเปิดเป็นฟู้ดคอร์ต โดยได้ทายาทรุ่นที่ 3 ของ ร้านผัดซีอิ๊วราดหน้าที่ถือกําเนิดขึ้นในซอยนี้มาเปิดขายทุกเย็น เกิดเป็นการหลอมรวมเอาวิถีของคนดั้งเดิมเข้ากับวิถีของผู้มาใหม่ได้อย่างลงตัว นอกจาก NACC แล้ว ซอยนานายังมีพื้นที่ซึ่งเปิดกว้างทางศิลปะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Cho Why และ ArtistResidency น้องใหม่อย่าง Project 189 Bangkok อีกด้วย

อาจเพราะการเข้ามาของศิลปินไทยและเทศนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีความเฉพาะตัวและค่อนข้างมีการเป็นอยู่ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงบริบทโดยรอบ ซอยนานาจึงยังคงสงบนิ่ง และดำเนินไปในแบบของตนเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ซอยแห่งนี้มีชาวตะวันตกเข้ามาใช้ชีวิตและทํากินอยู่ท่ามกลางกลุ่มพ่อค้าชาวจีน

nana-08
(ซ้าย) Francois ขณะกำลังติดตั้งนิทรรศการ AM Projects: Last Night in Bangkok ใน NACC (ขวา) Jeff อีกหนึ่งผู้ก่อตั้ง NACC กำลังติดตั้งนิทรรศการในอาคารเก่าอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดกว้างทางศิลปะ : www.facebook.com/naccbkk

nana-07


 

 

nana-10

NEW OPPORTUNITY IN NANA

จากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน ตามมาด้วยศิลปินหลากเชื้อชาติ จนถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจบาร์และคาเฟ่ เช่น 23 Bar & Gallery, Tep Bar, Nahim Cafe & Handcraft และ Teens of Thailand ซอยนานาที่เคยหลับใหลถูกปลุกให้ตื่นขึ้นและพลิกโฉมหน้าตัวเองอย่างเห็นได้ชัด

คุณแอนท์ – อัศวิน โรจน์เมธาทวี เจ้าของบาร์วัฒนธรรมชื่อดัง Tep Bar เล่าว่า ก่อนหน้านี้ในซอยเป็นแหล่งมั่วสุมของเด็กดมกาว นักเล่นไฮโล รวมไปถึงโสเภณีที่หากินอยู่ในวงเวียน ไม่เพียงเท่านั้น ที่นี่ยังชุกชุมไปด้วยหนู แมลงสาบที่มาสังสรรค์ในขยะกองโต “ผมไล่สำรวจโลเกชั่นที่เหมาะกับร้านตั้งแต่กรุงเทพฯ ชั้นในมาจนเจริญกรุง แต่ย่านนั้นโดนต่างชาติกว้านเซ้งต่อและมาปล่อยเช่าอีกทีเลยค่อนข้างหมดหวัง แต่เราจําได้ว่าเคยมา About Café เมื่อ 10 กว่าปีก่อนเลยนั่งสามล้อมาที่นี่ พอมาเห็นก็ชอบมากจึงพยายามเก็บเรื่องเล่าของตึกไว้ ตอนนั้นด้านหน้าตึกเป็นที่อยู่ของพวกเล่นยา เล่นไฮโล บางเวลาก็เป็นที่ขายบริการของโสเภณี มันก็เป็นเรื่องน่าคิดนะว่าเราอยากให้ลูกเล็กเด็กแดงในซอยนี้ฟังเสียงเล่นไฮโลหรือเสียงระนาดตอนเย็น”

จากห้องเช่าที่เคยถูกปฏิเสธจากลูกค้าที่มาดูกว่า 50 คนเมื่อหลายปีก่อน ทุกวันนี้ห้องแถวในซอยนานาถูกเช่าจนเกือบหมด ไม่เพียงเท่านั้นการเกิดขึ้นของบาร์และคาเฟ่ที่ยังรักษาไว้ซึ่งความเก่าอันเป็นจุดแข็งที่หาซื้อหรือสร้างใหม่ไม่ได้ในปัจจุบัน ดึงดูดให้คนหลากหลายกลุ่มมมาสัมผัสมรดกทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่า และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่แทรกซึมอยู่ในทุก ๆ ย่างก้าวของพวกเขาโดยไม่รู้ตัว

คุณแอนท์เจ้าของ Tep Bar บาร์วัฒนธรรมคอนเซ็ปต์เท่อย่างไทย
คุณแอนท์เจ้าของ Tep Bar บาร์วัฒนธรรมคอนเซ็ปต์เท่อย่างไทย

 

SPECIAL THANKS :
นายซ้ง แซ่โง้ว และครอบครัว, คุณใหม่ Site.Specific. Co., Ltd., คุณธวัชชัย พัฒนาภรณ์ PATANI STUDIO, ทีมสถาปนิกบูรณสถาน คุณอัศวิน โรจน์เมธาทวี, DARKLE (IG: @_darkle) และ Francois Langello

 

เรื่อง : polarpoid
ภาพ : ดํารง
แปลสัมภาษณ์ : ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์
คอลัมน์ : go around
Room Magazine : March 2016 No. 157