BIOMARBLE เมื่อเศษกระดาษกลายเป็นหินอ่อน

ในยุคที่ขยะล้นเมือง และทรัพยากรกำลังจะหมดโลก นวัตกรรม วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งในด้านการออกแบบ และ BioMarble คือหนึ่งในโปรเจ็คต์ที่น่าจับตาของปีนี้

นวัตกรรม งานดีไซน์วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม  BioMarble เกิดจากฝีมือการคิดค้นของ Hannah Elisabeth Jones ซึ่งเป็นโปรเจ็คต์ในการศึกษาด้านสิ่งทอที่ Manchester School of Art ตัววัสดุทำจากขยะกระดาษ นำมาผ่านกรรมวิธีหล่อขึ้นรูปและย้อมสีเป็นชิ้นส่วนโมดูลาร์หกเหลี่ยม ในชุดสีที่แตกต่างกัน

นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble หินอ่อน
Clwydian Range’, 2017 จัดแสดงที่ MATERIAL LAB – SURFACE AND MATERIALS SHOW
นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble หินอ่อน
สีสันได้แรงบันดาลใจจากภูเขา Clwydian และภูมิทัศน์ของเวลส์
นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble หินอ่อน
สีสันได้แรงบันดาลใจจากภูเขา Clwydian และภูมิทัศน์ของเวลส์
นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble
สีสันได้แรงบันดาลใจจากภูเขา Clwydian และภูมิทัศน์ของเวลส์
นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble
‘Growth’, 2017 ในงาน Degree Show Exhibition ที่ MANCHESTER SCHOOL OF ART
นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble
‘Growth’, 2017 ในงาน Degree Show Exhibition ที่ MANCHESTER SCHOOL OF ART

ด้วยผิวสัมผัสที่แตกต่าง และสะดุดสายตา ผนวกเข้ากับโครงสร้างวัสดุที่มีทั้งความยืดหยุ่นคล้ายผ้า ขณะเดียวกันก็สามารถคงตัวเป็นรูปทรงได้เหมือนวัสดุเนื้อแข็ง BioMarble จึงเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ และหาไม่ได้ง่ายนักในวัสดุทั่วไป

นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble
Static Movement II’, 2017 ที่ Manchester School of Art

Hannah ได้แรงบันดาลใจจากการเย็บผ้า “ควิลท์” แบบดั้งเดิมที่เกิดจากการนำเศษผ้ามาต่อกันจนเป็นผืนใหญ่ ซึ่งก็เป็นคอนเซ็ปต์เดียวกับการนำวัสดุจากเศษขยะกระดาษมาต่อกันจนเกิดรูปทรงแปลกใหม่ BioMarble ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และแฝงเจตนาในการบอกเล่าถึงแนวคิดวัสดุยั่งยืน สะท้อนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม กระตุ้นจิตสำนึกในการลดขยะ และการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ใหม่

นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble

นวัตกรรม งานดีไซน์ วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม BioMarble
Static Movement II’, 2017 ที่ Manchester School of Art

นอกเหนือไปจากขยะกระดาษที่มีอยู่มากมายจนกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ดูเหมือนไม่มีวันหมด ระบบการผลิตแบบโมดูลาร์ก็ช่วยให้ BioMarble มีอนาคตอีกยาวไกลในการพัฒนาสู่วัสดุในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งในตอนนี้ BioMarble ก็ได้ออกแสดงในงานแฟร์ต่างๆ มากมาย รวมถึงยังได้รับความสนใจจากองค์กร และแกลอรี่ต่างๆ ในฐานะงานศิลปะ ใครสนใจติดตามเพิ่มเติมได้ทันทีที่ www.hannahelisabethdesign.co.uk

เรื่อง MNSD
ภาพ Hannah Elisabeth Jones

Water Weed เก้าอี้ที่นำเศษวัสดุสร้างปัญหากลับมาสร้างมูลค่าในงานหัตถกรรม

วัสดุทดแทนไม้ ราคาไม่แพงแถมใช้งานได้ดีอีกด้วย