ถอดรหัสงานออกแบบจาก 5 บ้านหลังเล็ก

3 – Wonderful Welcome Home !! ยินดีต้อนรับกลับสู่รังแห่งรัก

ด้วยข้อจำกัดเรื่องที่ดินในย่านพักอาศัยของกรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแบบหน้าแคบและลึกเหมือนตึกแถว จะทำอย่างไรให้แสงธรรมชาติลอดผ่านหน้าต่างเข้ามาอย่างทั่วถึง ผู้ออกแบบได้แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้วิธีเจาะผนังเปิดช่องแสงทุกด้าน ดังนั้นสิ่งที่บ่งบอกความสนุกและเป็นกิมมิกของบ้านหลังนี้ได้ดีเห็นจะเป็นรูปฟอร์มของช่องแสง โดยมีที่มาจากรูปร่างของตัวบ้านในสัดส่วนเดียวกับรูปด้านของหน้าบ้านทุกประการ

บ้านหลังเล็ก

_MG_9769 copy

_MG_9828

ช่องเปิดรูปบ้านนี้คืออีกนัยหนึ่งที่สถาปนิกต้องการแทนความหมายของบ้านนก โดยจัดวางตำแหน่งของช่องแสงแบบสุ่มจะโผล่หน้าออกมาจากตรงไหนก็ได้ ดีเทลนี้จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมสายสัมพันธ์ในครอบครัว ขณะเดียวกันก็ประสบผลสำเร็จในเรื่องของฟังก์ชันเพราะช่วยให้อากาศไหลเวียนทั่วถึงทั้งบ้าน

ออกแบบ : ALTS Design Office
อ่านต่อ : Wonderful Welcome Home !! ยินดีต้อนรับกลับสู่รังแห่งรัก

 

มากด้วยฟังก์ชั่นในหนึ่งห้อง

4 – LESS IS MORE (HAPPINESS) เมื่อความสุขแปรผกผันกับพื้นที่

ความพิเศษของบ้านขนาด 100 ตารางเมตรหลังนี้ นอกจากส่วนของร้านอาหารดีไซน์น่ารักด้านล่างแล้ว ชั้นสองยังมีห้องพักขนาดดูเพล็กซ์หนึ่งห้องนอนที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

บ้านหลังเล็ก

เมื่อพื้นที่มีขนาดเล็ก งานดีไซน์จึงไม่สามารถตอบโจทย์ความสวยงามได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมฟังก์ชันการใช้งานเอาไว้ด้วย อย่างบันไดยกสเต็ป สถาปนิกได้ออกแบบลูกตั้งสูง 30 เซนติเมตร และลูกนอนยาว 60 เซนติเมตร นอกจากใช้เป็นบันไดแล้วยังเป็นที่นั่งสำหรับทำงานได้ด้วย ส่วนวัสดุที่เลือกใช้จะเน้นให้น้อยชิ้นแต่ลงตัวที่สุด ในส่วนที่เป็นวัสดุปิดผิวส่วนใหญ่เป็นไม้โอ๊กชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่จะแตกต่างกันบ้างก็ตรงเฉดสีและแพตเทิร์นเท่านั้น ส่วนราวเหล็กสำหรับแขวนผ้า อะลูมิเนียมสีขาวในส่วนของวงกบและวอลล์เปเปอร์สีขาว ทั้งหมดคือองค์ประกอบที่ช่วยให้ห้องดูกว้างขึ้น

ห้องดูเพล็กซ์ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เพียงน้อยชิ้น แต่ไปเน้นของสะสมของเจ้าของบ้านแทน ส่วนเสากลางบ้านเป็นเสาต้นซีดาร์ ขนาด 10 x 10 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของหลังคา

ส่วนของห้องนอน เจ้าของบ้านเลือกให้ท่ีนอนติดพื้นมากที่สุด เพราะห้องมีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพียง1.60เมตรเท่านั้น และใช้ผ้าม่านสีขาวโปร่งแสงกั้นสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัว

นอกจากเรื่องดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งานแล้ว ผู้ออกแบบยังใส่ใจถึงการใช้ชีวิตของผู้อาศัย โดยการออกแบบให้ภายในห้องมีแสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามาตลอดทั้งวัน การใช้ราวแขวนผ้าเป็นพาร์ทิชันกำหนดทางเดินภายในห้องโดยไม่กั้นผนัง ช่วยให้ห้องไม่รู้สึกแน่นเกินไป รวมถึงการกำหนดให้ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานของห้องนอนมีขนาดเพียง 1.60 เมตร เพราะเจ้าของบ้านและภรรยาชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณอื่นเสียส่วนใหญ่ ห้องนอนมีไว้เพื่อการนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว จึงไม่จำเป็นต้องมีดีเทลมากนัก และออกแบบบันไดทางขึ้นไปสู่ชั้นสองซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยไว้นอกอาคาร เพื่อความเป็นส่วนตัวอย่างชัดเจน

ออกแบบบันไดทางขึ้นไปสู่ชั้นสองซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยไว้นอกอาคาร เพื่อความเป็นส่วนตัวอย่างชัดเจน

ออกแบบ : คุณซุมิโออุ มิซูโมโตะ และ คุณโยชิทากะ คูกะ จากบริษัท ALTS Design Office
อ่านต่อ : LESS IS MORE (HAPPINESS) เมื่อความสุขแปรผกผันกับพื้นที่

 

ฝ้าสูง ก็เพิ่มพื้นที่ใช้งานได้อีกเยอะ

5 – บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า”

เทรนด์การอยู่อาศัยในเมืองที่น่าสนใจในปัจจุบันอย่างหนึ่งคือมีการออกแบบพื้นที่พักอาศัยในแนวตั้งกันมากขึ้น แม้แต่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน การเสาะหาพื้นที่ว่างกลางเมืองสักผืนเพื่อสร้างบ้านนั้น เรียกได้ว่า“แทบเป็นไปไม่ได้” เสียแล้ว คนรุ่นใหม่จึงเริ่มหันมาหาที่อยู่อาศัยในขนาดที่พอดีกับกำลังซื้อของตนเองและตอบโจทย์เรื่องงบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดของเขาได้อย่างดี

บ้านหลังเล็ก ใต้หวัน

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-5

งานออกแบบบ้านหลังนี้ปรับให้ลงตัวกับความเป็นไปได้และข้อจำกัดที่มีอยู่ ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือขนาดพื้นที่ที่มีเพียง 33 ตารางเมตร ประกอบกับมีระยะพื้นถึงฝ้าเพดานในส่วนนั่งเล่นและห้องนอนที่ค่อนข้างสูงราว 3.60 เมตร และพื้นที่ครัวที่สูงถึง 4.50 เมตร ทำให้สัดส่วนในห้องยิ่งดูสูงชะลูดและรู้สึกแคบมากกว่าบ้านทั่วไปทว่าข้อจำกัดที่ยิ่งมาก หลายครั้งก็อาจกลายเป็นจุดสร้างความน่าสนใจให้งานออกแบบได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-13

ท้ายที่สุดด้วยระยะฝ้าที่สูงเกือบสองเท่าของบ้านทั่วไปนักออกแบบได้มองเห็นข้อดีของส่วนนี้ด้วยการออกแบบฟังก์ชันสนุก ๆ โดยเพิ่มช่องแบบกล่องลึกเข้าไปเหนือผนังส่วนห้องครัวคล้าย “ห้องขนาดจิ๋ว” เชื่อมชั้นล่างและบนด้วยบันไดเหล็ก เป็นการขยายพื้นที่ใช้งานในแนวตั้งโดยสามารถใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นที่เก็บของ หรือแม้แต่นั่งเล่นนอนเล่นได้ตามอัธยาศัย

ออกแบบ : Seren Huang และ Debby Wu จาก Folk Design Taipei, Taiwan
อ่านต่อ : บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า”

 

 อ่านต่อ :

HUMAN SCALE สัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ : ห้องนอน

HUMAN SCALE สัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ : ห้องน้ำ

HUMAN SCALE สัดส่วนมนุษย์กับการออกแบบ : ห้องครัว

 


เรียบเรียง pari
ภาพ แฟ้มภาพนิตยสาร room