นิทรรศการ SPACES WITHIN SPACE , A Vision of Co-Living Generation

SPACES WITHIN SPACE,
A Vision of Co-Living Generation

นิทรรศการ SPACES WITHIN SPACE,  A Vision of Co-Living Generation – นวัตกรรมพื้นที่ที่สามพบพื้นที่ที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ วิถีแห่งการอยู่อาศัยแห่งอนาคต ที่เกิดขึ้นจากการทับซ้อนทางดีไซน์ ที่นำมาสู่ความคุ้มค่าของการใช้ชีวิตเมืองในบริบทใหม่ที่น่าอัศจรรย์ ผ่านความร่วมมือระหว่าง AP THAILAND x  FABRICA ดีไซน์สตูดิโอชั้นนำจากอิตาลี ที่รวบรวมหนุ่มสาวนักคิด นักออกแบบจากหลากหลายเชื้อชาติ มาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่ที่สาม ที่สะท้อนภาพการใช้ชีวิตในโลกแห่งอนาคต ผ่านโปรเจคพิเศษเพื่อสังคมที่ชื่อว่า SPACE SCHOLARSHIP

บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญต่อการคิดค้นและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตสำหรับของคนเมือง ครอบคลุมทุกมิติทั้งในด้าน ‘คุณภาพ’ ‘บริการ’ ‘ความสะดวกสบาย’ และ ‘ความปลอดภัย’ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้าง ‘คุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย’

 

SPACE SCHOLARSHIP 

การให้ทุนการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นการให้ “ที่พักอาศัย”ในคอนโดมิเนียมที่บริหารจัดการโดยบริษัทในเครือเอพี เพื่อเชื่อมต่อการใช้ชีวิตของน้องๆ ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยเฉพาะเรื่องที่พักอาศัย จำนวน 7คน ซึ่งกำลังจะย้ายเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ได้เริ่มต้นชีวิตระหว่างเรียนร่วมกันได้อย่างมีความสุข สร้างสรรค์ และปลอดภัย ภายในห้องชุดที่ได้รับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยเป็นพิเศษโดยทีม AP Design Lab ร่วมมือกับ Fabrica ดีไซน์สตูดิโอที่รวบรวมหนุ่มสาวนักคิด นักออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ที่จำกัด ให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าในทุกตารางเมตร

AP SPACE SCHOLARSHIP  อีกหนึ่งโครงการ CSR ภายใต้การดำเนินการของเอพี ที่นำเสนอวิธีคิดใหม่ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยใช้ความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์สเปซสำหรับการอยู่อาศัยร่วมสร้างสรรค์และยกระดับศักยภาพของคนไทยบนพื้นฐานของการให้

SUM CONCEPT

สิ่งที่แนวคิด ‘SUM’ ตั้งคำถามคือ เราจะสร้างพื้นที่แห่งการแบ่งปันไปพร้อมๆ กับการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ได้อย่างไร‘SUM’ คือพื้นที่ในการอยู่ร่วมกันที่ช่วยส่งเสริมการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ โดยผลรวมของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดคือการเรียบเรียงองค์ประกอบอัน หลากหลายให้เติมเต็มและเพิ่มคุณค่า

ROOM FOR 3

นวัตกรรมการกิน-อยู่-หลับ-นอน Co-Living Innovation ห้องชุดขนาด 30 ตารางเมตร ออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยร่วมกันของนิสิต นักศึกษาผู้หญิง 3 คนที่ศึกษาอยู่ต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัย ดีไซเนอร์จัดวางพื้นที่ภายในไว้เป็นสัดส่วน และโปร่ง โล่ง มีจุดเด่นที่น่าสนใจคือ การออกแบบที่เชื่อมโยงความต่างทางวัฒนธรรม โดยสะท้อนผ่านโต๊ะ 1 ตัวที่อยู่กลางห้อง การทับซ้อนทางดีไซน์สร้างฟังก์ชั่นที่มากกว่าหนึ่งให้เกิดขึ้น ตอบทั้งความเป็นส่วนตัวและเชื่อมต่อชีวิตภายในห้องของคน 3 คนเข้าด้วยกัน

ROOM FOR 4

กำแพงที่เป็นทั้งโคมไฟ ครัวที่เป็นห้องสมุด เมื่อโจทย์ในการออกแบบพื้นที่ในอนาคตถูกท้าทายด้วย การทลายกรอบทางวัฒนธรรม สมการ 1+1 = 3จึงเปรียบเหมือนการทับซ้อนทางดีไซน์ที่นำมาสู่การ ค้นพบพื้นที่ที่ 3 พื้นที่ในมิติใหม่ที่จะทลายกรอบทางความคิดในการออกแบบวันนี้ ไปพร้อมๆ กับเปลี่ยนพฤติกรรมมุนษย์สู่โลกอนาคตอย่างไม่รู้ตัว เชิญค้นหาพื้นที่ที่ 3 ในห้องชุดขนาด 46 ตารางเมตร พื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยร่วมกันของนิสิต นักศึกษาชาย 4 คนที่ศึกษาอยู่ต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัยด้วยตัวคุณเอง

THE RAIL & THE HANGING

CROSS FUNCTION X MOVEABLE

พื้นที่เก็บของไม่ควรแย่งพื้นที่อยู่อาศัย อนาคตถ้าราคาที่ดินบ้านเราสูงเท่าย่านกินซ่าของกรุงโตเกียวที่ราคาประมาณ 40.32ล้านเยนต่อตารางเมตร หรือประมาณ 11.7ล้านบาทต่อตารางเมตร การออกแบบพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยจะท้าทายเพียงใด พื้นที่เก็บของคือโจทย์ที่มักถูกลืมเสมอ และในเมื่อทุกตารางคือมูลค่า

THE RAIL& THE HANGING จึงเป็นตัวอย่างความคิดที่สะท้อนบริบทของการออกแบบพื้นที่ในโลกอนาคตที่ว่า พื้นที่เก็บของไม่ควรมาแย่งพื้นที่อยู่อาศัยไปทั้งหมดการออกแบบราวเหล็กและตะขอ พร้อมไอเดียเฟอร์นิเจอร์แขวนที่เคลื่อนย้ายได้ สร้างสเปซใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์

 

THE LEARNDING KITCHEN 

PLAY + LEARN = PLEARN

เมื่อคำว่า ‘เล่น’ รวมกับคำว่า ‘เรียน’ชีวิต ‘เพลินเพลิน’ คือคำตอบที่จะเกิดขึ้นบนสเปซครัวแห่งนี้ ที่ Space Scholarship Room ศักยภาพทางความคิดใช่ว่าจะถูกลิมิตอยู่แต่บนโต๊ะทำงานรูปทรงสี่เหลี่ยม ในเมื่อหลากหลายทฤษฎีล้วนกล่าวถึง ความสำเร็จของแนวคิดเรียนไปเล่นไป (Learning through play)เมื่อโจทย์ในการออกแบบคือห้องพักสำหรับ นักศึกษาชั้นปีที่ 1ซึ่งทั้ง 4 คน ต้องเริ่มเรียนรู้ทั้งจากตำราและประสบการณ์ชีวิตไปพร้อมๆ กัน

HOME WITHIN HOME

SOCIAL X DISCONNECT

เล็กไปไหมสำหรับพื้นที่นอน การออกแบบห้องนอนสำหรับนิสิต นักศึกษาผู้หญิง 3 คนที่เดินทางมาจากคนละจังหวัด ภายในห้องชุดขนาด30 ตารางเมตร กับความตั้งใจที่อยากให้ทุกคนรู้สึกเหมือนอยู่บ้านภายใต้ข้อจำกัดของสเปซ ดูเหมือนห้องนอนทรงแคปซูลที่ดีไซเนอร์ออกแบบเชื่อม 3 ยูนิตเกาะแนวผนังเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมบานหน้าต่างคือ โซลูชั่นของการสร้างพื้นที่ส่วนตัว แล้วกับคำถามที่ว่าเล็กเกินไปไหมสำหรับการนอน ตามหลัก Human Dimension มนุษย์เอเชียเราต้องการพื้นที่แนวราบ สำหรับยืดตัวนอนประมาณ 170-180 เซนติเมตร

THE DOOR KNOBS

FUN X SPACE

บนพื้นฐานของแนวคิดในการใช้งานที่ไม่ขัดต่อสัญชาตญาณมนุษย์การออกแบบ Door Knob ในโลกนี้มีกระบวนความคิดที่ซับซ้อนมากกว่าที่เรารู้ ประตูแต่ละประเภทต้องการ Door Knob ต่างรูปแบบบนหน้าบานของตู้เสื้อผ้าดีไซเนอร์ได้ออกแบบ Door Knob ให้สนุกผ่านดีไซน์ที่หลากหลาย ก้านเหล็กหลากหลายรูปทรง ทั้งแนวตั้ง แนวนอนที่ยื่นจากหน้าบาน ทำหน้าที่เชื้อเชิญให้เราจับ-ดึง-แขวน รวมถึงเพิ่มฟังก์ชั่นซองเก็บเอกสารร่วมด้วย

THE COCOON

PRIVACY VS PUBLIC

พฤติกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบ มนุษย์วันนี้ต้องการเชื่อมต่อสังคมขณะเดียวกันก็ต้องการความเป็นส่วนตัว การออกแบบพื้นที่ Living Room สำหรับอนาคตต้องไม่ขัดขืนต่อพฤติกรรมข้างต้น COCOON ถ้าแปลตามตัวหมายถึงดัดแด้หรือรังไหมที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มตัวอ่อน ดีไซเนอร์นำแนวคิดดังกล่าวมา ประยุกต์ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เพียงผนังชิ้นเพียงก็ทำให้ฟังก์ชั่นนี้โอบล้อมคนนั่ง สร้างพื้นที่ส่วนตัวให้เกิดขึ้น ในพื้นที่ส่วนรวมได้อย่างชัดเจน

CO-LIVING TABLE

SHARING X PRIVACY

ทลายความต่างทางวัฒนธรรมสะท้อนผ่านโต๊ะ 1 ตัวที่อยู่กลางห้อง การทับซ้อนทางดีไซน์สร้างฟังก์ชั่นที่มากกว่าหนึ่งให้เกิดขึ้น ตอบทั้งความเป็นส่วนตัวและการแบ่งปันพื้นที่ชีวิตภายในห้องของคน 3 คนเข้าด้วยกัน ลองพับดู…จะกินข้าวด้วยกันหรือทำการบ้านคนเดียว

เชิญทุกท่านร่วมค้นหาพื้นที่ที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ ผ่านนิทรรศการ
‘SPACES WITHIN SPACE’

ได้ตั้งแต่ 22 – 26 พ.ย. 60 เวลา 10:00 – 18:00
Woof Pack Bangkok
ศาลาแดง ซอย 1

ข้อมูล: www.apthai.com/spacescholarship

เรียบเรียง: Tatsareeya S.
ภาพ: สิทธิศักดิ์ น้ำคำ