การอ่านยังคงคึกคัก รวม หอสมุด สุดเท่ส่งท้ายปี 2017

“นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” เป็นคำกล่าวที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีมักจะบอกกับลูกศิษย์ลูกหาในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เห็นจะจริงเพราะในฐานะของคนทำหนังสือการอ่านและสถานที่ที่ดีต่อการอ่านยังคงเป็นสิ่งที่เราใช้ในการผ่อนคลายและพอกพูนความรู้ใหม่ๆเข้าสู่ตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

เชื่อหรือไม่ว่าแม้ปีนี้จะเป็นปีที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติสำหรับคนทำหนังสือมีนิตยสารและสำนักพิมพ์หลายรายได้ปิดตัวลงจนหลายๆคนเริ่มตัดพ้อว่าหรือนี่จะคือจุดจบของหนังสือบนหน้ากระดาษแต่จากความคึกคักของงานหนังสือหลายๆงานก็เป็นเครื่องการันตีได้ว่า “การอ่าน” ยังคงมีชีวิตชีวาด้วยเหตุนี้เองเราจึงอยากพาคุณผู้อ่านไปพบกับหอสมุด…สวรรค์ของนักอ่านจากทั่วโลกที่เพิ่งเปิดตัวกันไปในปีนี้ถึง 7 แห่งเลยทีเดียวจะเป็นที่ไหนกันบ้างนั้น…ใบ้ให้นิดนึงว่ามีประเทศไทยด้วยนะเออ

1. Tianjin Binhai Library

หอสมุด

ออกแบบ : MVRDV + Tianjin Urban Planning and Design Institute

สถานที่ตั้ง : นครเทียนจิน ประเทศจีน

ภาพ : Ossip van Duivenbode

หอสมุด Tianjin Binhai Library ซึ่งมาในรูปแบบทรงกลมเรืองแสงบ่งบอกถึงลูกแก้วแห่งปัญญามีชั้นหนังสือที่เรียกได้ว่าสูงท่วมศีรษะเรียงร้อยไปตามผนังที่ล้อกับโครงสร้างทรงกลมเรืองแสงตรงกึ่งกลางผู้ใช้บริการสามารถสร้างพื้นที่ส่วนตัวนั่งอ่านได้ทุกๆที่ตามขั้นบันไดหรือจะนำหนังสือมาสุมหัวกันที่โต๊ะก็ได้ไม่มีใครว่าเป็นการเปิดให้ผู้ใช้บริการเลือกอิริยาบถในการเสพหนังสือได้ในแบบของตัวเองหอสมุดแห่งนี้บรรจุหนังสือไว้ถึง 1.2 ล้านเล่มเรียกว่าอลังการทั้งงานสร้างและจำนวนหนังสือจริงๆ

2. Maison De La Culture

ออกแบบ : Atelier 56S

สถานที่ตั้ง : Saint-Pierre-de-Plesguen ประเทศฝรั่งเศส

ภาพ : Jeremias Gonzalez

หอสมุดแห่งนี้แท้จริงแล้วคือการรีโนเวตอาคารเก่าเพื่อสร้างจุดเชื่อมโยงให้พื้นที่สาธารณะสองแห่งเข้าด้วยกันการออกแบบหอสมุดแห่งนี้จึงเป็นทั้งการเรียงร้อยไปด้วยความสร้างสรรค์แต่ยังคงเอาไว้ซึ่งความเคารพในรูปแบบอาคารเดิมไปพร้อมๆกันและนอกจากที่นี่จะทำหน้าที่เป็นหอสมุดแล้วยังใช้งานเป็นทั้งพื้นที่จัดแสดงหอประชุมและแกลเลอรี่อีกด้วยเรียกได้ว่าทำทั้งทีก็เอาให้ได้อรรถประโยชน์เต็มๆตามคอนเซ็ปต์การเชื่อมโยงพื้นที่ในชุมชนกันไปเลย

3. Amani Library

ออกแบบ : Social Practice Architecture

สถานที่ตั้ง : ประเทศแทนซาเนีย

ภาพ : Lara Briz, Patricia Báscones

สำหรับโครงการนี้เรียกว่าห้องสมุดชุมชนจะเหมาะกว่าซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ไกลปืนเที่ยงของประเทศแทนซาเนียสถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการก่อสร้างแบบพื้นถิ่นเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความผูกพันระหว่างคนกับสถาปัตยกรรมและกลมกลืนไปกับตัวหมู่บ้านเมื่อแล้วเสร็จทุกคนจะยังคงใช้งานห้องสมุดแห่งนี้เหมือนเป็นบ้านของตัวเองทั้งยังสามารถซ่อมแซมกันเองได้แม้สถาปนิกจะเดินทางกลับไปแล้วก็ตาม(ก็ทำมาเองกับมือนี่นะ) บอกเลยว่าแม้จะเป็นเทคนิคบ้านๆแต่ด้วยการออกแบบร่วมกันระหว่างทีมสถาปนิกกับชาวบ้านห้องสมุดแห่งนี้ก็เรียกได้ว่าเท่ไม่หยอกเลยทีเดียว