2017 IFLA Asia-Pacific Regional Congress โดย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย

ในงานวันแรก นอกเหนือจากโปรเจ็คต์ที่น่าสนใจแล้ว ยังมีสปีกเกอร์หลายท่านที่เป็นตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับงานภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจและน่านำไปคิดต่อยอด และหาแนวทางการพัฒนาให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงภูมิสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่

การแลกเปลี่ยนแนวความคิดของ Prof.Sun Oo President, Association of Myanmar Architects ในหัวข้อ The Archaeological Landscape of BAGAN

“Now is the time for us to protect and safeguard the cultural heritage and unique landscape of Bagan.”

ว่าด้วยเรื่องราวอันเกี่ยวกับ พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรพุกาม ในประเทศพม่า เมืองมรดกโลกจากองค์กร UNESCO ในปี คศ.2014-2017 ซึ่งเคยเป็นเมืองที่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เริ่มตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 9-14 บนพื้นที่กว่า 42 ตารางกิโลเมตร มากมายด้วยโบราณสถานกว่า 4, 000 แห่ง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะทางกายภาพ การใช้งานและชื่อเรียกขาน อาทิ สถูป วัด และศาสนสถาน โดยรวมแล้วถือเป็นเครื่องบ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางศาสนา วัฒนธรรมและความศิวิไลซ์ของเมือง

ภาพจาก: https://www.brilliantearth.com

แต่เดิมอาณาจักรพุกามเคยเต็มไปด้วยอาคารบ้านเรือน ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ของเมือง ผนวกกับศาสนสถานที่ตั้งอยู่ในเมืองตามบริเวณต่าง ๆ เป็นภาพความสวยงามของทั้งทัศนียภาพที่น่าจดจำของพื้นที่เมืองริมฝั่งแม่น้ำสายใหญ่ โดยมีฉากหลังเป็นภูเขาอันเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์หลายแห่ง เป็นที่มาของทะเลเจดีย์ ที่หลงเหลือและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ภาพจาก: http://www.independent.co.uk

ย้อนกลับไปในสมัยยุคทองของอาณาจักร พื้นที่ในอาณาจักรพุกามถูกแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดทิศทางและบทบาทของเมือง อาทิ พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ พื้นที่อยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าหมู่บ้าน พื้นที่ทางเกษตรกรรม ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความเคลื่อนไหวของกิจกรรมคนเมืองและเศรษฐกิจ พื้นที่น้ำอันเป็นทำเลที่ตั้งสมบูรณ์อาณาจักร ทั้ง บ่อน้ำ แม่น้ำ และ พื้นที่สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของผู้คน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความเฉพาะตัวของพื้นที่ นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape)”

ผ่านไปเกือบ 10 ศตวรรษอาณาจักรได้ล่มสลาย และถูกทำลายลงจนกลายเป็นเมืองร้างอันไร้ชีวิตอยู่ช่วงหลายเวลา จนกระทั่งในยุคศตวรรษที่ 20 เมืองพุกามได้ฟื้นคืนกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยกระแสของการท่องเที่ยวที่ดึงดูดเหล่าบรรดานักท่องเที่ยวเข้ามาในเมืองมากขึ้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางยอดนิยมจนถึงปัจจุบัน แต่กระนั้นเองเมื่อความเจริญและผู้คนอันหลากหลาย ต่างบ้านต่างเมือง ต่างเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แม้จะเป็นช่วงเวลาเพียงไม่กี่วันทำให้เกิดการพัฒนาสมัยใหม่ ที่เข้ามาสอดแทรกความเป็นเอกลักษณ์ และความเป็นตัวตนทางวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ภาพจาก: https://www.22places.com

จึงได้เกิดเป็นโครงการพัฒนาผังแม่บทของเมืองพุกามขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษาอัตลักษณ์ของเมืองที่โดดเด่นทั้งวัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อมสืบต่อไป นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นโดยไม่ทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองทั้งในด้านการเกษตรกรรม ความหลากหลายของพืชพรรณ รวมถึงสถาปัตยกรรมและการจัดการภูมิทัศน์อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

การแลกเปลี่ยนแนวความคิดในหัวข้อ One Problem Limitless Solution หน้าถัดไป คลิก