วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ทายาท เถ้าฮงไถ่ รุ่นที่ 3 ผู้ถ่ายทอดความทรงจำผ่านก้อนดิน

นับครั้งไม่ถ้วนที่เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนเถ้าฮงไถ่” โรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่คู่เมืองราชบุรี และหลายต่อหลายครั้งที่เราได้พูดคุยกับ คุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ศิลปินเซรามิกและทายาทรุ่นที่ 3 ถึงความเป็นไปในแวดวงศิลปะและเซรามิกไทย แต่การพบกันคราวนี้กลับแตกต่างออกไป อาจเป็นเพราะบรรยากาศที่สงบแฝงด้วยความมุ่งมั่นของทุกคนที่อบอวลอยู่ภายในโรงงาน

เมื่อเถ้าฮงไถ่ได้รับโอกาสในการจัดทำ กระถางเซรามิกประดับพระเมรุมาศ ทั้งหมดที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เขาจึงเปรียบเสมือนหัวเรือใหญ่ที่นำพาสมาชิกในโรงงาน รวมถึงจิตอาสาทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์หนึ่งในองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรมของพระเมรุมาศให้สำเร็จลุล่วงในเวลาอันจำกัด

งานสำคัญครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ของเถ้าฮงไถ่ นับจากประสบการณ์สองครั้งก่อนหน้านั้นกับการจัดทำกระถางประกอบงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีกระถางกว่า 250 ใบที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ บางส่วนจึงได้รับการออกแบบโดยอ้างอิงมาจากกระถางชุดเก่าในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติฯ โดยมีต้นแบบมาจากกระถางในพระบรมมหาราชวังซึ่งนำเข้ามาจากอิตาลีในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกส่วนคือกระถางเก้าเหลี่ยมที่ได้รับการออกแบบขึ้นใหม่ และกระถางเขามอแบบโบราณ

สำหรับคุณวศินบุรีแล้ว เราอาจเคยคุ้นกับงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาสีสันจัดจ้า และบทบาทของการเป็นผู้บุกเบิกแนวทางการสร้างเมืองราชบุรีให้เป็นเมืองศิลปะตามแบบที่เขาใฝ่ฝัน แต่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีครั้งนี้ ย่อมต้องคำนึงถึงหลักโบราณราชประเพณีและความสง่างามสมพระเกียรติ ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งทั้งในด้านรูปแบบและงานฝีมือ ซึ่งทั้งหมดนี้เขาได้สร้างขึ้นจากการหลอมรวม ความรู้สึกเบื้องลึก” เข้ากับ องค์ความรู้ดั้งเดิม ที่สั่งสมมาเกือบศตวรรษของเถ้าฮงไถ่

หลอมรวมวัฒนธรรมและยุคสมัย:ศิลปะแห่งรัชกาลที่หลักฐานจากสมัยกรุงศรีอยุธยาทำให้เชื่อได้ว่า มีการใช้กระถางดินเผามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ หรือก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นการนำเครื่องปั้นดินเผาเข้ามาในราชอาณาจักรไทยผ่านการค้าขายกับชาวจีนและญี่ปุ่น หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ได้รับการผสมผสานและมีวิวัฒนาการจนกลายเป็นงานศิลปะตามแบบฉบับของไทย นอกเหนือไปจากความประณีตงดงามสมพระเกียรติแล้ว อาจกล่าวได้ว่ากระถางชุดนี้เป็นเสมือนอีกหนึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการและบทบาทของงานเซรามิกร่วมสมัยในสมัยรัชกาลที่ 9 ผ่านรูปแบบลวดลายที่ผสมผสานวัฒนธรรมและการผลิตที่ต้องใช้ความประณีตบรรจง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สะท้อนภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่นที่สืบทอดมายาวนาน

รากเหง้าประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผาโดยรวมของโลกส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนตลอดระยะเวลาหลายพันปีเซรามิกถูกทำซ้ำในทุกช่วงทุกสมัยจริงๆ ต้องบอกว่าในงานเซรามิกของโลกมีความเชื่อมโยงกันทางใดทางหนึ่งอยู่แล้วอย่างเถ้าฮงไถ่ก็ได้รับอิทธิพลจากบรรพบุรุษจากเมืองจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน”

ผมจึงอยากผสมผสานวัฒนธรรมทั้งไทยจีนความร่วมสมัยความดั้งเดิมสิ่งที่เราทำคือการต่อยอดจากสิ่งที่พ่อเคยทำโดยพยายามเสริมสิ่งใหม่เข้าไปอย่างงานนี้ก็เป็นการผสมผสานของงานเซรามิกดั้งเดิมกับคอนเซ็ปต์ร่วมสมัยสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนจับคู่กับสิ่งที่เราต้องการถ่ายทอดผมไม่ได้พยายามทำในสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของศิลปินคนใดคนหนึ่งหรือโรงงานใดโรงงานหนึ่งจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งเพราะสุดท้ายสัญลักษณ์เหล่านั้น ก็คือตัวแทนช่วยบอกเล่าความรู้สึกของคนไทยทุกคนที่มีต่อพระองค์แบบไม่แตกต่างกัน

ดาวเรือง90กลีบจำนวน9ดอกบนกระถาง เก้าเหลี่ยม:สื่อสารผ่านสัญญะ

การถ่ายทอดความหมายผ่านสัญลักษณ์ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมการสื่อสารของมนุษย์ ภายใต้รูปทรงกระถางเซรามิกที่สะท้อนกลิ่นอายงานเครื่องปั้นดินเผาดั้งเดิมที่ใคร ๆ คุ้นเคย แต่สัญญะที่ซ่อนไว้กลับบ่งบอกถึงความทรงจำแห่งยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการออกแบบกระถางเก้าเหลี่ยมผมมีต้นแบบมาจากเครื่องลายครามจีนเป็นลายพื้นฐานที่มีมาแต่โบราณโดยครั้งนี้เราตั้งใจเพิ่มลายดอกดาวเรืองเข้าไปเนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีความร่วมสมัยมีความหมายดีสื่อถึงความเป็นนิรันดร์ทั้งในวัฒนธรรมไทยและเอเชียโบราณสื่อถึงความรักชั่วนิรันดร์ที่ในหลวงมีให้พสกนิกรและความรักที่พสกนิกรมีต่อพระองค์ท่านเราสร้างแพตเทิร์นใหม่ตามลายก้านขดแบบโบราณโดยเพิ่มสัญลักษณ์ที่สื่อถึงในหลวงรัชกาลที่9อย่างดอกดาวเรือง90กลีบจำนวน9ดอกและกระต่ายจำนวน5ตัวตามวันพระราชสมภพ”

ส่วนบนของกระถางทรงกลมมีลวดลายของจีนโบราณเป็นคำว่ายู่อี่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สิริมงคลส่วนด้านล่างเราใช้ลายมะลิเลื้อยซึ่งมีกลิ่นอายวัฒนธรรมพื้นถิ่นของลายผ้าจกราชบุรีและลายคลื่นตามแบบลวดลายแบบจีนโบราณซึ่งหมายถึงที่อยู่ของมังกรสื่อถึงพระมหากษัตริย์แต่จริงตอนที่ออกแบบเรานึกถึงเรื่องราวของพระมหาชนกมากกว่าเราอยากพูดถึงเรื่องของความเพียรพยายามในเมื่อความสำเร็จอยู่ข้างบนข้างล่างจึงเป็นความเพียรพยายามที่เป็นพื้นฐานของความสำเร็จทั้งปวงเป็นความหมายที่เราอยากสร้างขึ้นมาภายใต้การผสมผสานกันระหว่างความเก่ากับความใหม่

ชมภาพเพิ่มเติมที่หน้าถัดไป