ดอกไม้เพื่อพ่อ ในความหมายของอุโมงค์ดอกไม้ที่ไม่อาจลืม

ดอกไม้เพื่อพ่อ อีกหนึ่งงานที่น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเปลี่ยนถนนจักรเพชร(ปากคลองตลาด) ทั้งสายให้เป็นถนนอุโมงค์ดอกไม้

ดอกไม้เพื่อพ่อ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือร่วมใจของ มูลนิธิมิลาเคิล ออฟไลฟ์ ร่วมกับประชาชนที่เป็นจิตอาสา และชุมชนปากคลองตลาด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ในย่านนี้เป็นแหล่งจำหน่ายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งที่ชาวต่างชาติให้เป็นจุดหมายในการมาเยือน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวังเท่าใดนัก

งาน ดอกไม้เพื่อพ่อ จัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการเป็นอุโมงค์ประดับด้วยดอกไม้ทั้งสาย โดยแบ่งโซนซุ้มทั้งหมด 6 ซุ้มในระยะทางกว่า 400 เมตร แต่ละซุ้มร้อยเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่9 ผ่านดอกไม้นานาชนิด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการร่วมสนับสนุนของประชาชน ออกแบบโดย นิราลัย บาย เรนฟอเรสท์ (Niralai by Rain Forest) จัดแสดงได้อย่างยิ่งใหญ่และสวยงามอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน แต่ละซุ้มมีความหมายอย่างไรบ้างนั้น ไปชมกันเลยค่ะ

ซุ้มที่ 1 คนไทย

ดอกไม้เพื่อพ่อ
ภาพจาก ชุมชนปากคลองตลาด
ดอกไม้เพื่อพ่อ
ภาพจาก เพจชุมชนปากคลองตลาด

ธงชาติ คงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างเด่นชัด กล้วยไม้สีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง เรียงร้อยประดับเป็นแถบยาวคล้ายธงชาติที่ปลิวไสวยาว 89 เมตรอันหมายถึงตัวเลขพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช นั่นเอง

 

ซุ้มที่2 สายฝน

ภาพจาก เพจชุมชนปากคลองตลาด
ภาพจาก เพจชุมชนปากคลองตลาด

ดอกบัว ของยายตุ้ม จันทนิตย์ เมื่อครั้งรอรับเสด็จเมื่อพ.ศ.2498 เป็นแรงบันดาลใจในการจัดแสดงดอกไม้ในซุ้มนี้ ดอกบัวถูกเรียงร้อยปักตามพื้นเล่นระดับให้ดูมีมิติ คล้ายคลื่นน้ำส่วนด้านบนประดับด้วยกลีบใบและม่านสายดอกรักที่ห้อยย้อยเป็นดั่งสายฝนที่ชโลมให้ดอกบัวชื่นบาน

 

ซุ้มที่ 3 รอยเท้าพ่อ

ภาพจาก เพจชุมชนปากคลองตลาด

ดอกเบญจมาศ อีกหนึ่งดอกไม้ที่โครงการหลวงส่งเสริมให้ชาวเขาหันมาปลูกแทนการปลูกฝิ่น นำมาซึ่งรายได้หล่อเลี้ยงชุมชน ดอกเบญจมาศถ่ายทอดเรื่องราวของพระราชกรณียกิจที่เปลี่ยนชีวิตชาวเขาให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีดอกไม้เมืองหนาวอื่นๆ ประดับเป็นอุโมงค์สวยงาม และที่ขาดไม่ได้คือดอกดาวเรืองที่โอบล้อมเป็นม่านซุ้มที่สวยงาม

ชมอีก 3 ซุ้มที่หน้า 2