บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย ธรรมดาแต่น่าอยู่

หากจะพูดถึงขนาดและระยะของสถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสมกับการเป็นบ้าน บ้านในจังหวัดเชียงใหม่หลังนี้ถือว่ามีทุกอย่างครบถ้วน โดยสื่อสารผ่านทางผังพื้น รูปแบบ และวัสดุ เพื่อให้ได้เป็น “บ้านน่าอยู่” ที่สวยงามและพอดีกับการอยู่อาศัยแบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

DESIGNER DIRECTORY  เจ้าของ – ออกแบบ : คุณศรายุทธ ใจคำปัน สถาปนิกจาก  Pijic Architect 

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย ของ คุณศรายุทธ ใจคำปัน สถาปนิกจาก PIJIC Architect ตั้งใจออกแบบให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยไออุ่นของความน่าอยู่ เป็นบ้านหลังเล็กๆซึ่งมีรายละเอียดหลายจุดที่ทำให้บ้านอยู่สบาย ส่วนเจ้าของบ้านคือ คุณผดุงศักดิ์ วงษ์ไกร และคุณนิธิมา ทักษอุดม ก็พอใจและมีความสุขกับการอยู่อาศัยภายในบ้านหลังนี้จึงกลายเป็นที่มาของ “บ้านน่าอยู่”

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

เนื่องจากที่ดินมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ตัวบ้านจึงวางผังเป็นรูปตัวแอล (L) ติดรั้วหลังบ้าน เพื่อให้เกิดพื้นที่สวนสำหรับการพักผ่อนให้มากที่สุด

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

ทางเข้าหลักของบ้านออกแบบเป็นที่จอดรถด้วยในตัว สามารถเดินเชื่อมต่อไปยังตัวบ้านได้โดยมีหลังคาคลุมทั้งหมด

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

ครัวหลักหรือครัวไทยแยกออกจากตัวบ้านเล็กน้อยประมาณ 2 เมตร ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของที่จอดรถ เพื่อการระบายอากาศและความร้อนได้ดี แถมควันจากการทำอาหารยังเข้าไปรบกวนภายในบ้านได้น้อยด้วย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

แบบบ้านปูนเปลือย ช้้นเดียว

เมื่อเดินจากที่จอดรถเข้าไปภายใน สถาปนิกออกแบบให้เข้าสู่ห้องต่างๆได้จากระเบียงทางเดินหน้าห้องซึ่งเชื่อมต่อกันทั้งหมด เพื่อลดการทำทางเดินภายในบ้าน เป็นการประหยัดพื้นที่ให้มากที่สุด บ้านหลังนี้จึงมีขนาดเพียง 210 ตารางเมตร

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

หลังคาของบ้านออกแบบเป็นทรงจั่วผสานกับหลังคาคอนกรีตเรียบได้อย่างลงตัว โดยสถาปนิกเลือกใช้หลังคาจั่วกับส่วนอยู่อาศัย ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศแบบไทย เพราะหลังคาประเภทนี้มีคุณสมบัติป้องกันและระบายความร้อนได้ดี ส่วนทางเดินหรือที่จอดรถที่ไม่ต้องกันความร้อนมากนัก ก็เลือกใช้หลังคาคอนกรีตเรียบ เพื่อให้ตัวบ้านดูเรียบง่ายและโมเดิร์นขึ้น

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

โครงสร้างหลักคือคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายนอกอาคารทำผิวขัดมัน ตกแต่งด้วยการก่ออิฐซึ่งมาจากจังหวัดลำปาง มีขนาดใหญ่กว่าก้อนอิฐทั่วไป อิฐชนิดนี้จะใช้ในการก่อสร้างอาคารทางศาสนาอย่างเจดีย์ แต่สถาปนิกมองว่ามีขนาดต่างจากอิฐมอญทั่วไป จึงลองใช้กับผนังของบ้านหลังนี้ ซึ่งความไม่สม่ำเสมอของผิวและสี ทำให้เกิดรูปแบบเฉพาะตัวที่น่าสนใจ

บ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

แบบบ้านชั้นเดียวปูนเปลือย

thammada-nayuu-03

สำหรับพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร และครัว โดยห้องนอนใหญ่อยู่ในตำแหน่งที่ได้มุมมองสวนที่อยู่กลางบ้าน ส่วนห้องนอนอีก 2 ห้องได้ความเป็นส่วนตัว เพราะหันไปทางพื้นที่หลังบ้านซึ่งจัดเป็นสวนขนาดเล็กเช่นกัน

หลังเดินชมบ้านจนรอบก็รู้สึกว่า การออกแบบของบ้านหลังนี้เน้นเรื่องขนาดที่เหมาะสำหรับการเป็นบ้านที่น่าอยู่ เช่น ความสูงของฝ้าภายในห้องประมาณ 2.60 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่ไม่มากเกินไป ทางเดินภายนอกกว้างประมาณ 1 เมตร ดูน่ารักและอบอุ่น หรือแม้แต่ความสูงโดยรวมของตัวบ้านก็ไม่มากนัก ประมาณ 5 เมตร ทำให้เมื่อยืนอยู่ที่สวนกลางบ้าน ตัวบ้านไม่ได้สูงจนข่มผู้อาศัย

ว่าไปแล้วการออกแบบบ้านหลังนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนหรือเกินกว่าที่คาดเดา แต่น่าแปลกว่าภาพที่ออกมานั้นส่งผลต่อความรู้สึกได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยขนาด วัสดุ และระยะต่างๆที่พอดี ทำให้บ้านหลังนี้น่าอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย… เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยอยากอยู่ในบ้านที่อยู่สบายมากกว่าบ้านที่สวยเด่นแบบฉาบฉวย คิดเหมือนกันไหมครับ

เรื่องโดย : เอกราช ลักษณสัมฤทธิ์
ภาพโดย : ศุภกร ศรีสกุล

แบบบ้านน่าอยู่อื่นๆ คลิก

เทคนิคนำลมเข้าบ้าน คลิก

ติดตามข้อมูลดีๆจากบ้านและสวนได้ที่นี่