คติจักรวาล สู่ พระเมรุมาศ ศาสตรา สถาปัตย์ไทย

ศิลปะการฉลุผ้าทองย่น

อีกหนึ่งศิลปะประกอบองค์พระเมรุมาศคือ ศิลปะการฉลุผ้าทองย่น ที่เดิมทีใช้เป็นกระดาษทองย่นแต่หาได้ยากยิ่งนักในปัจจุบัน ผ้าทองย่นถูกใช้ทดแทนวัสดุดั่งเดิม จับซ้อนกันหลายแผ่นแล้วตอกฉลุด้วยเครื่องมือช่าง แต่ละแผ่นจะมีลวดลายต่อเนื่องกัน  หลังจากนั้นนำมาปิดกระดาษสีหลังลายฉลุเรียกขั้นตอนนี้ว่า สอดแวว แล้วจึงใช้กระดาษสีผืนใหญ่สาบประกบด้านหลัง รวมเป็นชิ้นงานประกอบพระเมรุมาศในขั้นตอนต่อไป

อีก 2 ส่วนที่เหลือคือ โซน “ครูสร้างนักออกแบบให้เป็นคน” บอกเล่าแนวคิดและวิถีการถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม การสร้างพระเมรุมาศที่ส่งต่อจากอาจารย์ไปยังศิษย์ในยุคปัจจุบัน ปิดท้ายด้วยโซน “เวิร์กช็อปตามรอยสถาปนิกไทย” เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถทดลองทำงานศิลปะ อาทิ การฝึกเขียนแบบร่างลายไทยเบื้องต้น การตบสีลายไทยซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ศิลปะโบราณที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าที่ควร

การตบสีลายไทย
เวิร์กช็อปวาดลายไทย

หากกาลเวลากลืนกินหลายสิ่งในชีวิต รวมถึงศิลปะโบราณที่ไม่ได้รับการพูดถึง วิธีรักษาและสืบต่อด้วยการเรียนรู้ให้เกิดเป็น ภูมิปัญญา คงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศิลปะไทยดำรงอยู่ได้ TCDC เปิดให้ประชาชนเข้าชมรายละเอียดความประณีตและงดงามของพระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้แล้วที่ห้อง ห้องแกลอรี่ ชั้น 1 อาคารส่วนด้านหลัง ตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2560 – 7 มกราคม 2561 เวลา 10.30-21.00 น. เปิดบริการวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดทุกวันจันทร์)

สอบถามเพิ่มเติมที่ TCDC อาคารไปรษณีย์กลาง เลขที่ 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร : 0 2105 7400 www.tcdc.or.th

//การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิง สร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุ เป็นราชประเพณี ที่แฝงคติความเชื่อแบบพราหมณ์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพซึ่งสถิตบน เขาพระสุเมรุ อันล้อมรอบด้วยเขาสัตบริภัณฑ์ และเมื่อจุติลงมายังมนุษย์โลกเป็นสมมุติเทพ เมื่อสวรรคตจึงตั้งพระบรมศพบนพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เพื่อเป็นการส่งพระศพ พระวิญญาณกลับสู่เขาพระสุเมรุดังเดิม ทั้งนี้ความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุปรากฏในไตรภูมิ เป็นเรื่องของภูมิจักรวาล มีลักษณะเป็นที่อยู่ของเทวดา ตีนเขาเป็นป่าหิมพานต์ จึงได้จำลองพระเมรุมาศ พระเมรุ เป็นเสมือนเขาพระสุเมรุและสัตบริภัณฑ์เพื่อส่งเสด็จสู่ทิพยวิมาน โดยสถานที่ประกอบพิธีเดิมนั้นมักเรียกกันว่า ทุ่งพระเมรุ ซึ่งปัจจุบัน คือ ท้องสนามหลวง (ข้อมูลจาก “คติไตรภูมิกับการสร้างพระเมรุและพระเมรุมาศ” วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์)//

อ่านต่อ : สุดฝีมือเพื่อพ่อ : พระโกศจันทน์และหีบพระบรมศพจันทน์

อ่านต่อ : ราชรถ ใน “ริ้วขบวน”

 

เรื่อง : ยุภาวดี บุญภา

ภาพ : ภัทรสิริ และ TCDC