BAMBOO TODAY

ลืมภาพจําเดิม ๆ เกี่ยวกับไม้ไผ่ที่เคยมีไปก่อน เพราะเราขอพาทุกคน ไปใกล้ชิดวิถีธรรมชาติผ่านงานสถาปัตยกรรมจากไม้ไผ่ในเมืองไทยที่ทั้งเท่ ทั้งคูล และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ค้านความเชื่อเดิมๆที่ว่า ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติไม่คงทน ด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมเข้ากับเทคนิคสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบยุคนี้ ที่เชื่อว่าไม้ไผ่คือวัสดุแห่งอนาคต

 

PANYADEN
 SCHOOL

เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ โรงเรียนปัญญาเด่นในอําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ คือสถานที่แรกที่เรานึกถึงในฐานะกลุ่มอาคารไม้ไผ่ดีไซน์ร่วมสมัย แห่งแรกๆ ของบ้านเรา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความตั้งใจของ คุณยอดเพชร สุดสวาท เจ้าของโรงเรียนและคุณมาร์คูส โรเซลีบ แห่ง Chiangmai Life Construction (CLC) ที่อยากให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ผ่านการผสมผสานวัสดุธรรมชาติ 3 ชนิด ไว้ด้วยกัน นั่นคือ ดิน หิน และไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุหลักที่นํามาใช้ในการก่อสร้างอาคารรูปทรงออร์แกนิกแทน การสร้างอาคารแบบกล่องปูนรูปทรงสี่เหลี่ยมทั่วไป โดยได้เชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหลากหลาย ประเทศมาร่วมทีมออกแบบก่อสร้างในครั้งนี้ด้วย และหนึ่งในนั้นคือ บริษัทสถาปนิก 24H Architecture ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการใช้วัสดุธรรมชาติจากเนเธอร์แลนด์

กลุ่มอาคารของโรงเรียนไม้ไผ่ที่สวยที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ ได้แรงบันดาลใจมาจากใบของเฟินชายผ้าสีดาสายม่านที่มีลักษณะโค้งหยักดูฟรีฟอร์ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ กลุ่มแรกคือ กลุ่มอาคารเรียนที่สร้างผนังจากดินอัด และใช้ไม้ไผ่ทําเป็นโครงสร้างหลังคา เนื่องจากมองเห็นว่า ไม้ไผ่ เป็นท่อเหล็กที่มีชีวิต มีความยืดหยุ่นสูง และมีน้ำหนักเบา อีกทั้งผนังดินอัดก็สามารถรับน้ำหนักได้ดีเท่ากับปูน แถมยังช่วยให้อาคารเย็นสบายตลอดปีโดย ไม่ต้องติดเครื่องปรับอากาศ และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มศาลาอาคารอเนกประสงค์ ศาลาริมสระว่ายน้ำ และหอประชุม ซึ่งโครงสร้างทําจากไม้ไผ่และฐานหิน พิเศษที่หลังคาได้รับการออกแบบให้มีหน้าตาคล้ายใบกล้วย เพื่อให้กลมกลืนกับธรรมชาติและป่าเขา รอบ ๆ พื้นที่ตั้งของโรงเรียน

DID YOU KNOW? : การตอกสลักไม้ไผ่

อาคารทั้งหมดของที่นี่ใช้ลิ่มไม้ไผ่ช่วยยึดชิ้นส่วนไม้ไผ่แต่ละลำให้แน่นหนา แทนการตอกตะปู ยึดนอต หรือไขสกรูเหล็กเกลียว เนื่องจากวัสดุเหล่านี้จะมีการหดขยายตัวตามอุณหภูมิต่างจากการใช้ไม้ไผ่ล้วน ๆ โดยเฉพาะเวลาอากาศร้อนเหล็กจะมีการขยายตัวมากกว่าไม้ไผ่ ส่งผลให้ไม้ไผ่แตกออกและไม่แข็งแรง

Panyaden School
218 หมู่ 2 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
อาคารเรียนดูกลมกลืนกับธรรมชาติ ท้ังในแง่รูปทรงคดโค้งเลียนแบบธรรมชาติ และวัสดุที่นํามาใช้อย่างดินและไม้ไผ่
อาคารเรียนดูกลมกลืนกับธรรมชาติ ท้ังในแง่รูปทรงคดโค้งเลียนแบบธรรมชาติ และวัสดุที่นํามาใช้อย่างดินและไม้ไผ่

 

หลังคาไม้ไผ่ของศาลาอเนกประสงค์ที่ดูคล้ายใบกล้วยนี้ใช้การขึ้นโครงสร้างด้วยไม้สับฟาก หรือไม้ไผ่ท่ีนํามาสับ ด้วยขวานให้เป็นแผ่น ด้านบนฉาบยางมะตอยเพื่อกันไม่ให้น้ําเข้า ก่อนทับด้วยไม้สับฟากอีกชั้นหน่ึง
หลังคาไม้ไผ่ของศาลาอเนกประสงค์ที่ดูคล้ายใบกล้วยนี้ใช้การขึ้นโครงสร้างด้วยไม้สับฟาก หรือไม้ไผ่ท่ีนํามาสับ ด้วยขวานให้เป็นแผ่น ด้านบนฉาบยางมะตอยเพื่อกันไม่ให้น้ําเข้า ก่อนทับด้วยไม้สับฟากอีกชั้นหน่ึง

 

COOL DOWNS
RESORT MAERIM

เพราะเป็นการกระโดดลงมาทํางานไม้ไผ่ครั้งแรก คุณตั๊บ – ธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกหนุ่มเจ้าของบริษัท ธ.ไก่ชน จํากัด จึงอยากทดสอบความยืดหยุ่นของไม้ไผ่ และท้าทายตัวเองด้วยการดีไซน์ส่วนต้อนรับของ COOL DOWNS RESORT MAERIM จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นหลังคาไม้ไผ่ทรงจัตุรมุข หน้าจั่ว 4 ด้าน โดดเด่นด้วยการดัดไม้ไผ่ให้มีความโค้งเว้ามากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของไม้ไผ่จะทําได้ เพื่อสร้างความประทับใจแรกแก่ผู้มาเยือน ทั้งยังเป็นการลดทอนความแข็งกระด้างและความคมของเหลี่ยมมุมในส่วนที่พัก ซึ่งทําจากคอนกรีตลงด้วย

นอกจากนี้เรายังพบเห็นการนําไม้ไผ่เข้ามาสอดแทรกอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของที่พักได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการนําไม้ไผ่รวก ไม้สับฟาก หรือไม้ซีกมาตกแต่งฟาเซดเพื่อเชื่อมงานออกแบบให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน รวมถึงทําเป็นแผงกันแดด โดยยึดเข้ากับโครงเหล็กบริเวณบันไดและห้องน้ำ ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและดูโมเดิร์นในคราวเดียวกัน

DID YOU KNOW? : ใครว่าไม้ไผ่อายุสั้น

ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนปัญญาเด่นหรือ COOL DOWNS RESORT MAERIM จากวันแรกที่สร้างอาคารจนถึงวันนี้ ทั้งสองสถานที่ยังคงความแข็งแรงและสวยงามไว้ได้ดังเดิมค้านความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่า ไม้ไผ่มีอายุการใช้งานสั้น นั่นเพราะปัจจุบันเรามีวิธีป้องกันและรักษาไม้ไผ่ให้มีอายุการใช้งานยาวนานได้หลากหลายวิธี เช่น การแช่น้ำ การย่างไฟ การอบ หรือวิธียอดนิยมอย่างการแช่ในสารประกอบโบรอน เปลี่ยนความหวานของแป้งในเนื้อไผ่ซึ่งเป็นอาหารยั่วใจเหล่าแมลงให้มีรสขม จึงช่วยยืดอายุของเนื้อไม้ให้ใช้งานได้นานขึ้น

Cool Downs Resort Maerim
432 หมู่ 1 ตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนต้อนรับของรีสอร์ต ที่ใช้ไม้ไผ่ดดัดโค้ง มาทําเป็นหลังคาทรงจัตุรมุข มีหน้าจั่ว 4 ด้าน ส่วนหน้าบันใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นแผ่นเรียง ต่อกันเป็นแพตเทิร์นสวยงามเพื่อกันฝน โดยยังคงเปิดรับ แสงธรรมชาติผ่านช่องแสงและตัวอาคารท่ีเปิดโล่ง
ส่วนต้อนรับของรีสอร์ต ที่ใช้ไม้ไผ่ดดัดโค้ง มาทําเป็นหลังคาทรงจัตุรมุข มีหน้าจั่ว 4 ด้าน ส่วนหน้าบันใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นแผ่นเรียง ต่อกันเป็นแพตเทิร์นสวยงามเพื่อกันฝน โดยยังคงเปิดรับ แสงธรรมชาติผ่านช่องแสงและตัวอาคารท่ีเปิดโล่ง

 

นอกจากงานโครงสร้างแล้ว สถาปนิกยังนําไม้ไผ่ผ่าซีกมา เรียงต่อกันเป็นแถวอย่างสวยงามเพื่อตกแต่งฟาเซด สร้างจุดเด่นให้ตัวอาคารตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบเห็น
นอกจากงานโครงสร้างแล้ว สถาปนิกยังนําไม้ไผ่ผ่าซีกมา เรียงต่อกันเป็นแถวอย่างสวยงามเพื่อตกแต่งฟาเซด สร้างจุดเด่นให้ตัวอาคารตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบเห็น

 

ERBER RESEARCH CENTER AND LECTURE HALL KASETSART UNIVERSITY KAMPHAENG SAEN

ศูนย์เรียนรู้วิชาการด้านสัตวศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ร่วมกับบริษัท ไบโอมิน (ประเทศไทย) จํากัด ผลงานสถาปัตยกรรม ไม้ไผ่ล่าสุดของ Chiangmai Life Construction (CLC) เราตกหลุมรักที่นี่ตั้งแต่แรกเห็น ด้วยรูปทรง ที่ดูโมเดิร์นแบบออร์แกนิกฟอร์ม มีความโดดเด่นที่หลังคาไม้ไผ่ทรงโค้งที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็นวงดูคล้ายรูปตัวยู (U) ซึ่งเกิดจากการเชื่อมฟาร์มเลี้ยงไก่ที่มีอยู่เดิมเข้ากับศูนย์เรียนรู้ที่สร้างขึ้นใหม่

แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ ส่วนของห้องเรียน ห้องประชุมขนาดใหญ่ ส่วนที่สองมีขนาดเล็กกว่า ประกอบด้วยห้องน้ำ ห้องครัว และห้องพักครู ซึ่งก่อผนังด้วยดินอัด และส่วนสุดท้ายคือ ศาลาไม้ไผ่ที่ต่อเนื่องเชื่อมอาคารสองฝั่งเข้าด้วยกัน โดยเหลือพื้นที่คอร์ตยาร์ดโล่งกว้าง ดึงดูดสายตาเราทันทีที่เดินผ่านพ้น Moon Gate หรือประตูวงกลมคล้ายดวงจันทร์เข้ามา

ความเจ๋งของที่นี่อีกอย่างคือ คุณมาร์คูส โรเซลีบ ได้ทดลองทําหลังคาโครงถัก (Truss) ด้วย การนําไม้ไผ่มาเชื่อมต่อกันด้วยลิ่มไม้ไผ่ทีละจุด แทนโครงเหล็กแบบที่เราเคยพบเห็นทั่วไปเป็นครั้งแรก และล่าสุดผลงานชิ้นนี้ก็ได้ไปเตะตาคณะกรรมการ World Architecture Festival ที่สิงคโปร์ จนเข้ารอบ Final อย่างไม่ต้องสงสัย

Erber Research Center and Lecture Hall
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน1
ถนนมาลัยแมน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
เมื่อมองจากด้านบนลงมาจะ เห็นรูปทรงที่สวยงามของอาคารใหม่ท่ีเชื่อมต่อ กันเป็นลักษณะคล้ายตัวยู (U) ขนานไปกับ อาคารหลังเก่าที่อยู่ใกล้กันได้อย่างกลมกลืน
เมื่อมองจากด้านบนลงมาจะ เห็นรูปทรงที่สวยงามของอาคารใหม่ท่ีเชื่อมต่อ กันเป็นลักษณะคล้ายตัวยู (U) ขนานไปกับ อาคารหลังเก่าที่อยู่ใกล้กันได้อย่างกลมกลืน

 

ศูนย์เรียนรู้วิชาการด้านสัตวศาสตร์ก่อผนัง ด้วยดินอัด ส่วนหลังคาทําจากไม้ไผ่ทั้งหมด เพื่อให้นิสิตและผู้ศึกษาดูงานได้รับความรู้สึก เชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านงานออกแบบ
ศูนย์เรียนรู้วิชาการด้านสัตวศาสตร์ก่อผนัง ด้วยดินอัด ส่วนหลังคาทําจากไม้ไผ่ทั้งหมด เพื่อให้นิสิตและผู้ศึกษาดูงานได้รับความรู้สึก เชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านงานออกแบบ

 

TYPES OF BAMBOO

กว่างานสถาปัตยกรรมไม้ไผ่จะสําเร็จออกมาให้เราชื่นชมสักหนึ่งงานนั้น ต้องอาศัยความสามัคคีกันของไม้ไผ่หลากหลายชนิด แถมแต่ละชนิดก็มีลักษณะและคุณสมบัติการนําไปใช้แตกต่างกัน คงจะดีไม่น้อยหากเราได้มาลองทําความรู้จักไม้ไผ่แต่ละชนิดให้มากขึ้นกว่าเดิม เริ่มจาก

 

BAMBOO-TODAY-18

01 ไม้สับฟาก

สามารถนําไม้ไผ่ชนิดใด ก็ได้ที่มีลําต้นตรง สวยงามมาสับด้วยขวานตามแนวยาวให้มี ลักษณะเป็นแผ่นแผ่ออก ขนาดหน้ากว้าง และความหนาขึ้นอยู่กับชนของไม้ไผ่ที่นำมาสับ นิยมนํามาปูพื้น ผนังปูหลังคา หรือนําไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์

02 ไผ่สีสุก

คนโบราณนิยมปลูกริมรั้ว เพื่อความมั่งมีศรีสุขตามชื่อ มีคุณสมบัติ เนื้อหนา เหนียวทน ยืดหยุ่น สปริงตัวได้ดี
จึงเหมาะนําไปจักสาน ทําสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ

03 ไม้ซีก

หรือไม้ไผ่ผ่าซีก เกิดจากการแปรรูปไม้ไผ่ชนิดใด ก็ได้ที่มีลําคดหรือผิวไม่ สวย นํามาผ่าออกตามความยาวของลําไม้ไผ่ ความหนาบางขึ้นอยู่กับชนิดไม้ สามารถนําไปตกแต่งฟาเซด หรือจะสานเป็นช่องลมก็ได้ ไม่ค่อยยพบในงานโครงสร้าง เพราะไม้แข็งแรงมากพอ

04 ไผ่รวก

ด้วยลําที่ตรงและเล็กพอดีมือ จึงนิยมนํามาทําด้ามไม้กวาด ด้ามไม้เท้าตามแต่ถนัด ส่วนในงานสถาปัตยกรรม นิยมใช้เป็นระแนง กรุผนัง หรือไม่ก็ทําฝ้าเพดาน

05 ไผ่เลี้ยง

ถือเป็นที่รักของเหล่านักออกแบบ เพราะลําต้นมีลักษณะตรง สวย เนื้อหนา แข็งแรง แถมมีน้ำหนักเบา ใช้ได้สารพัด ทั้งดัดโค้ง ทําโครงหลังคา บันได มัดเป็นเสารับน้ำหนัก หรือจะทําเป็นเฟอร์นิเจอร์ก็ได้

06 ไผ่ตง

หรือไผ่หวานไผ่พื้นเมืองของไทย ลําใหญ่ ข้อ บวมนูนชัด เนื้อหนาถึงเกือบตัน ถือเป็นพระเอกของงานโครงสร้างนิยมนํามาทําเป็นเสารับน้ำหนัก นอกจากนี้ยังเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ ตะเกียบ ไปจนถึงไม้จิ้มฟัน

 

เรื่อง : ploythinkp+
ภาพ : นันทิยา, จิระศักดิ์
คอลัมน์ : Go Around
เล่ม : September 2015 No.151