“ บ้านบาตร ”ชุมชนของคนทำบาตรพระ

วิธีทำบาตร

1 การทำขอบบาตร ถือเป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มต้นทำบาตร โดยนำเหล็กมาตัดให้ได้ตามขนาดแล้วขมวดเป็นวงกลม

2 การประกอบกง คือการนำแผ่นเหล็กมาตัดเป็นรูปกากบาทที่เรียกว่า “กง”  แล้วนำมาประกอบเข้ากับขอบบาตร เมื่อประกบกันแล้วจะเหลือช่องว่าสี่ช่องเป็นรูปเหมือนใบโพธิ์ แล้วจึงตัดเหล็กเหมือนกลีบบัวสี่ชิ้น จากนั้นนำไป “จักฟัน” ถึงนำมาประกอบกันเป็นรูปทรงบาตรที่มีรอยต่อแปดรอย จึงค่อยส่งไป “แล่น”

3 การแล่น คือการเชื่อมประสานรอยให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเชื่อมเสร็จแล้ว ช่างก็จะเดินไปส่งงานยังแผนกต่อไป

4 การลาย คือ การนำบาตรที่ผ่านการเชื่อมประสานแล้วมาเคาะด้วยค้อนที่มีรูปทรงโค้งงอ เป็นการออกแบบรูปทรงของบาตรไปในตัว

5 การตีและตะไบ คือ การตกแต่งบาตรด้วยการตีด้วยค้อนให้เรียบ ได้รูปโค้งมนที่สวยงาม จากนั้นจึงนำไปตะไบให้เรียบอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งไปบ่มหรือทำสี ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ของการทำบาตรพระ

6 การลงสี ขั้นตอนนี้เป็นการนำบาตรไปผ่านการบ่มและสุมเพื่อป้องกันสนิม ปัจจุบันใช้น้ำมันกันสนิมแทนการบ่มและสุม จากนั้นจะนำมาลงสี ซึ่งขึ้นอยู่กับช่างแต่ละคนว่าจะลงสีเขียวหรือสีดำ เสร็จแล้วก็รอส่งต่อไปยังร้านค้า

ข้อมูล

ขอขอบคุณ
คุณเฉลิมเกียรติ สมดุลยาวาทย์ และคุณกวิสรา อนันต์ศฤงคาร
ลุงประชุม เอโกบล โทรศัพท์ 09-7163-7120
ลุงอมร กุลดิลกสัมพันธ์ โทรศัพท์ 08-5157-1673 (สำหรับผู้ที่สนใจอยากสั่งทำบาตรพระ ติดต่อได้ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ได้เลยครับ)
www.banbatt.com

เรื่อง : “ไตรรัตน์ ทรงเผ่า”
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข
วิดีโอ : ณัฐวัฒน์ ส่องแสง

คนทำ หัวโขน : งานศิลป์ชั้นสูงที่ทุกคนสามารถทำได้

ประสาน “รัก” ให้เป็นลวดลายไทยที่งดงาม