จอดรถขวาง

รู้ข้อกฎหมาย เคลียร์! ปัญหาการ จอดรถขวาง

จอดรถขวาง
จอดรถขวาง

หลายคนคงได้อ่านข่าวเรื่องการ จอดรถขวาง การจราจร โดยเฉพาะหน้าบ้าน กันมานักต่อนักแล้วใช่ไหมคะ ซึ่งแน่นอนปัญหาเหล่านี้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีข้ออ้างมาถกเถียงกันต่างๆ นานา เช่น ก็หน้าบ้านคุณมันเป็นทางสาธารณะจะห้ามไม่ให้จอดได้อย่างไร หรือ แม้แต่การแก้ปัญหาด้วยการเอากรวย เก้าอี้ หรือสิ่งของใดๆ มาตั้งกันที่ไว้ทำได้หรือไม่อย่างไร

เอาล่ะ! พี่ฮอลล์จะมาสรุปข้อกฎหมายการ จอดรถขวาง ในแต่ละกรณีกันเลย

กรณีแรก : จอดรถกีดขวางทางเข้า-ออกหน้าบ้าน หรือไม่ขวางหน้าบ้านแต่ทำให้ผู้อื่นสัญจรไม่สะดวก เช่น จอดด้านข้างกำแพง สลับฟันปลา

จอดรถขวาง
Realtimecarmagazine.com
  • ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิที่จะจอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เอกชน หรือ ทางสาธารณะ เพราะถือเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 (6) ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
    (1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
    (2) บนทางเท้า
    (3) บนสะพานหรือในอุโมงค์
    (4) ในทางร่วมทางแยก
    (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
    (6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
    (7) ในเขตปลอดภัย
จอดรถขวาง
news.mthai.com
  • นอกจากนี้ ยังเป็นความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำคาญ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ สามารถร้องทุกข์ดำเนินคดีได้
  • รวมทั้งสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ ตามมาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยังมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่ง ยกรถได้ ทั้งนี้ หากความเสียหายหรือทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ประชาชนมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ด้วย
  • ส่วนกรณีที่มีเหตุจําเป็นฉุกเฉินไม่สามารถขอความขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐได้ สามารถเคลื่อนย้ายรถด้วยกําลังได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นของนิรโทษกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 450
auto.mthai.com

หมายเหตุ กรณีอยู่ในหมู่บ้านแล้วมีคนมาจอดรถหน้าบ้านแต่ไม่ขวางทางเข้าออกบ้านนั้น สามารถจอดได้ เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อน หรือเสียหาย แม้จะทําให้เจ้าของบ้านรู้สึกรําคาญก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถไปดําเนินการอะไรได้  แนวทางการแก้ไขหากพบปัญหาดังกล่าวนั้น หากเป็นหมู่บ้านเอกชน ควรพูดคุยกับนิติบุคคลในเรื่องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง ที่ส่งผลทําให้คนอื่นเสียเปรียบ ไม่ได้รับประโยชน์ แต่หากเป็นพื้นที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่เทศกิจสามารถดําเนินคดีได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมีใครร้องเรียน

กรณีที่ 2 : การนํากรวย แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งใดไปตั้งขวางพื้นที่ไว้ไม่ให้ใครมาจอด

  • หากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลสามารถทําได้
  • หากเป็นที่สาธารณะ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก 2522 มาตรา 114 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร แต่เจ้าพนักงานจราจรจะอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง นอกจากจะมีความผิดตามมาตรา 148 แล้ว เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ ถ้าไม่ยอมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายได้” ซึ่งโทษตามมาตรา 148 คือปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนั้นยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ที่กำหนดว่า “ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท” อีกด้วย
brighttv.co.th
จอดรถขวาง
barkingtroll.blogspot.com
  • ส่วนการติดป้ายห้ามจอด ถือเป็นการทำสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร ถ้ามิได้เป็นเจ้าพนักงานอาจจะมีความผิดตามมาตรา 28 คือ “ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 21” ซึ่งจะมีผลให้มีความผิดตามมาตรา 30 คือ สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏในทางโดยฝ่าฝืนมาตรา 28 หรือมาตรา 29 เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจยึด รื้อถอน ทำลาย หรือทำให้สิ้นไปซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้นได้

สุดท้าย พี่ฮอลล์เชื่อว่าทุกปัญหามีทางออก แม้จะมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการจัดระเบียบในการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาต่างๆจะคลี่คลายและไม่เกิดขึ้น ถ้าทุกคนมีมารยาทหรือ จิตสำนึกที่ดี และคิดถึงใจเขาใจเราค่ะ


5 ปัญหาแย่ๆที่ทำให้ เพื่อนบ้านเกลียด ได้แบบไม่รู้ตัว

รู้ไว้อย่าให้ใคร หลอกขายที่ดิน !! ความแตกต่างของ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน