WHEN WE MAKE A HOME บ้านลงตัวด้วยใจเรา

ท่ามกลางร่มเงาของธรรมชาติ ยังมี บ้านปูน ที่กําเนิดขึ้นจากความรักทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตคู่และชีวิตครอบครัวที่แสนอบอุ่น

บ้านปูน กล่องใหญ่สีขาวลอยเหนือเนินหญ้าสีเขียวแห่งนี้เป็นสถานที่เริ่มต้นการใช้ชีวิตคู่ของ คุณยุทธภูมิ และ คุณกาญจนาภรณ์ เผ่าจินดา หลังจากผ่านแนวกําแพงปูนเปลือยของบ้านเลขที่ 262 เข้าไป อาคารกระจกใสทรงสูงโปร่งขัดกับลุคทึบตันใน ตอนแรกที่มองเห็นก็ทําให้เราตื่นเต้น ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติอันเงียบสงบของเรือกสวนไร่นาที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ ทํางานของคุณยุทธภูมิหรือคุณแบงค์ เพียงไม่ถึง 10 นาที

“ตั้งใจให้เหมือนเป็นก้อนสีขาวลอย ๆ ตัดกันระหว่าง สีขาว – ดําและขอบฟ้า” คุณแบงค์เล่าถึงที่มาที่ไปของบ้านสีขาวที่รองรับด้วยผืนหญ้าสีเขียวบนเนินดินซึ่งถมขึ้นจากระดับดินเดิมเกือบ 2 เมตร มีกําแพงปูนเปลือยสีดํากั้น เสมือนเป็นฐานรองตัวอาคารสีขาวเอาไว้อีกที เหตุผลที่ออกแบบเช่นนี้ก็เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวภายในส่วนพักอาศัยซึ่งเป็นอาคารกระจกใสทั้งหมด

บ้านปูน
จากหน้าบ้านมองเห็นเป็นกล่องสีขาวลอยอยู่เหนือ แนวกําแพงปูนเปลือย ล้อมรั้วอาณาบริเวณด้วย การกั้นผนังปูนเปลือยบริเวณส่วนหน้า และด้านข้างเฉพาะส่วนที่อยู่ติดกับเพื่อนบ้าน แล้วใช้ต้นชาดัดกั้นแนวรั้วส่วนที่เหลือ เพื่อเปิดมุมมองทัศนียภาพรอบบ้านให้มากที่สุด
WHEN-WE-MAKE-A-HOME-3
เพิ่มลูกเล่นให้ผนังปูนเปลือยด้วยการเพ้นต์ลายกราฟิกอย่างตัวเลขสำคัญในความทรงจำ เป็นเสมือนบันทึกของครอบครัวและสร้างจุดสนใจให้บ้าน โดยตัวเลขนี้เป็นวันเดือนปีวันสําคัญ ซึ่งเป็นทั้งวันแต่งงาน และวันขึ้นบ้านใหม่ เพ้นต์บนผนังทางเข้าบ้าน ด้วยฝีมือน้องชายคุณแบงค์เอง

 

 

หน้าตาของบ้านและฟังก์ชันภายในทั้งหมดบนพื้นที่ใช้สอยกว่า 150 ตารางเมตร ตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานของทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี

“ตอนแรกก็คุยกันก่อนว่าจะเอาแบบไหน เขียนสเก็ตช์อัพเอง ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนลงตัวที่แบบที่ 11 เนื่องจากอยากได้บ้านหลังเล็ก โล่งๆ กระจกเยอะๆ และเน้นพื้นที่อยู่อาศัยบริเวณชั้นล่างเป็นสําคัญ ส่วนแฟนผมให้ความสําคัญกับห้องครัว เพราะชอบทําอาหารและเบเกอรี่ เราสองคนไม่ชอบไปกินข้าวข้างนอกกันอยู่แล้ว จึงได้ใช้ประโยชน์จากครัวได้จริงๆ ส่วนผมก็ไม่มีอะไรมาก ขอที่เขียนแบบ นั่งทํางาน ข้างบนก็มีไว้นอนอย่างเดียว จากนั้นก็นำภาพสเก็ตช์และโจทย์ที่ต้องการไปให้พี่ชายซึ่งเป็นสถาปนิกช่วยดู”

จากความต้องการใช้งานแบบง่าย ๆ ถูกถอดความออกมาจนได้เป็นเคาน์เตอร์บิลท์อินสําหรับส่วนครัว และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวหลักๆ 3 ชิ้นสําหรับชั้นล่าง อย่างโต๊ะอาหาร โต๊ะทํางาน และโซฟา ในตอนแรกคุณแบงค์อยากให้โต๊ะทั้งสองเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเทยื่นออกมาจากผนัง แต่เมื่อคํานึงถึงความยืดหยุ่นในอนาคต จึงเปลี่ยนมาใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวแทน โดยเลือกคุมโทนสีเทา-ดําแบบที่ชอบไว้ และแทรกด้วยสีน้ำตาลจากงานไม้ เพื่อเพิ่มความรู้สึกอบอุ่น ไม่ดูดิบจนเกินไป

WHEN-WE-MAKE-A-HOME-4
ส่วนพักผ่อนอยู่ติดกับส่วนครัว ออกแบบให้พื้นชั้นล่างมีสีเข้มกว่าปูนเปลือยส่วนอื่นๆเพื่อสร้างความแตกต่าง ใช้เทคนิคการผสมสีฝุ่นสีดําในเนื้อปูน จึงได้พื้นปูนเปลือยสีเทาเข้มเกือบดําอย่างที่เห็น

 

WHEN-WE-MAKE-A-HOME-5
ส่วนครัว มุมโปรดของภรรยา กรุตู้และหน้าบานด้วยไม้สลับสี เพื่อให้เกิดมิติเวลามอง ท็อปด้านบน เทคอนกรีตเสริมเหล็กยื่นออกมาจากผนัง จัดวางโต๊ะอาหารไม้ให้ดูกลมกลืน กับหน้าบานซึ่งสั่งทําข้ึนพร้อมกัน
WHEN-WE-MAKE-A-HOME-6
ส่วนทำงานอยู่ใต้บันได ประดับตกแต่งด้วยรูปถ่าย ขั้นตอนการสร้างบ้านตั้งแต่ ยังเป็นโมเดลจนเสร็จสิ้นกระบวนการ อยู่ร่วมกับของเก่าที่คุณพ่อยกให้

 

กระจกใสที่กรุรอบตัวบ้านสามารถเปิดใช้งานได้อย่างเต็มฟังก์ชัน “กระจกเปิดไว้ตลอดเพื่อรับลม มีผ้าม่านโปร่งๆช่วยกันแสง แต่พอห้าโมงเย็นก็ต้องปิด เพราะบ้านเราไม่ติดมุ้งลวด ต้องปิดไว้เพื่อไม่ให้ยุงเข้ามา ตอนวางผังบ้านก็พยายามวางทิศทางให้หลบแดดมากที่สุด คือตอนเช้าแดดจะเข้ามาทางครัว ซึ่งก็ดีตรงที่ครัวจะได้ไม่ชื้น และใช้ต้นไม้อย่างต้นปีบช่วยพรางแสง ถ้าห่วงเรื่องแดด ผมไม่เอากระจกเยอะขนาดนี้หรอก” คุณแบงค์พูดติดตลก

WHEN-WE-MAKE-A-HOME-7
กระจกสูงตลอดแนวแบบ Double Volume ล้อมรอบส่วนพักผ่อน ช่วยให้ห้องดูสูงโปร่งมากยิ่งขึ้น และยังเปิดมุมมอง จากพื้นดินถึงท้องฟ้ารอบ ๆ บ้านได้อย่างกว้างขวางไม่อึดอัด
WHEN-WE-MAKE-A-HOME-8
จากหน้าต่างห้องครัว มองออกไปเห็นผนัง ซึ่งทําหน้าท่ีเป็นทั้ง ร้ัวบ้านและแบ็กดร็อป เขียนคําอวยพรใน วันแต่งงาน มองออกไป ทีไรก็อดอมยิ้มให้กับ วันดี ๆ ที่ผ่านมาไม่ได้
WHEN-WE-MAKE-A-HOME-13
ราวแขวนผ้าเหล็กสูง 2 ชั้น ช่วยเพิ่มพื้นที่การเก็บเสื้อผ้าในแนวดิ่งได้มากขึ้น มองเห็นเสื้อผ้าทุกตัว จึงเลือกชุดที่ต้องการใส่ได้ง่ายดาย ทั้งนี้ราวชั้นบนควรสูง 1.80 เมตร พอดีกับระยะเอื้อมถึงของทั้งผู้ชายและผู้หญิง และราวชั้นล่างควรสูงจากพื้น 0.95 – 1 เมตร เพื่อไม่ให้ชายเสื้อที่แขวนไว้เรี่ยพื้น

 

ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการก่อร่างสร้างบ้าน ครอบครัวถือฤกษ์ดีทั้งแต่งงานและขึ้นบ้าน (หรือเรือนหอ) ใหม่ในวันเดียวกัน จนถึงวันนี้ที่มีน้องอลิสมาเป็นเจ้าของบ้านอีกคน วันเดอร์แลนด์แห่งนี้จึงมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันตา

“พอมีลูกก็จะกลับมากินข้าวกลางวันทุกวัน ช่วงเย็นจะเปลี่ยนบรรยากาศจากอยู่ห้องลูก ก็จะอุ้มเขาออกมานั่งดูวิวรับลมข้างล่าง ก็ยังโอเคที่เรายังได้นอน มีเวลาส่วนตัว เพราะว่าฝึกให้ลูกนอนห้องตัวเองตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล และติด Baby Monitor เอาไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงและมองเห็นเขาตลอดเวลา”

ด้วยความทุ่มเทและสร้างสรรค์ของคนทั้งคู่ ตั้งแต่การเลือกโลเกชั่นจากที่ดินเปล่า กระทั่งดําเนินมาสู่ ขั้นตอนการออกแบบ คุมงานก่อสร้าง และแล้วเสร็จเป็นบ้านหนึ่งหลัง คงจะสร้างความภาคภูมิใจให้ทั้งสอง ไม่น้อย แต่ความเป็นบ้านจะสมบูรณ์ไม่ได้เลย หากปราศจากความรัก ความเข้าใจที่มีให้กันและกันภายใต้ชายคาบ้านขนาดกะทัดรัดหลังนี้

เจ้าของ : คุณยุทธภูมิ-คุณกาญจนาภรณ์ เผ่าจินดา
ออกแบบ : Green Space

 

อ่านต่อ :

รวม 12 บ้านปูน อยู่สบาย

เรื่อง : skiixy
ภาพ : จิระศักดิ์, ดำรง
คอลัมน์ : room to room
เล่ม : May 2012 No. 135