บ้านจะพังไหม…ถ้าดินรอบบ้านทรุดตัวจนเห็นเสาบ้านลอยโผล่พ้นดินออกมา

99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้านหนังสือ “99 เรื่องต้องรู้ก่อนมีบ้าน”

เขียนโดย วิญญู วานิชศิริโรจน์ เล่มนี้จะให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษา โดยนำเสนอเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับอาคารประเภทบ้าน คนทั่วไปที่สนใจเรื่องการออกแบบและก่อสร้างอาคารกำลังจะสร้างบ้านสร้างบ้านอยู่ หรือแม้แต่คนที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในการดูแลและปรับปรุงบ้าน

<< สั่งซื้อได้ที่นี่ >>

ผู้เขียนมักเจอคำถามทำนองนี้เสมอว่า “ดินรอบบ้านทรุดตัว จนเห็นเสาบ้านลอย
โผล่พ้นดินออกมา แล้วบ้านจะพังไหมทำอย่างไรดี” ถ้าเรื่องนี้เกิดกับบ้าน
ที่สร้างเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนคงน่าเป็นห่วง เพราะบ้านสมัยนั้นมักใช้เสาเข็มสั้น
หรือบางหลังไม่ใช้เสาเข็มเลยแต่ปกติไม่เจอปัญหานี้ เพราะตัวบ้านมีน้ำหนัก
มากจึงมักทรุดตัวเร็วกว่าดินที่อยู่รอบบ้านเสมอ

บ้านสมัยนี้ใช้เสาเข็มยาวตั้งแต่ 18-21 เมตรจึงทรุดตัวน้อย เพราะเสาเข็ม
ช่วยรับน้ำหนักของบ้านส่วนดินรอบบ้านที่มักมาถมในภายหลังมีโอกาสทรุดตัว
มากกว่า บางครั้งทรุดมากจนเห็นฐานของเสาเลยทีเดียว

ก่อนจะแก้ปัญหาเรื่องดินรอบบ้านทรุดต้องตรวจสอบก่อนว่าบ้านของเราไม่เอียง
หรือร้าวถ้าพบก็ต้องแก้ไขเรื่องนี้ก่อนนะครับ

ดินรอบบ้านทรุดตัว

วิธีแก้ปัญหาดินรอบบ้านทรุดตัว

วิธีแรก ถมดินเพิ่มลงไปในบริเวณที่ดินทรุดตัวโดยให้ดินส่วนเกินไหลล้น
เข้าไปใต้บ้าน

วิธีที่ 2 ถ้ากลัวว่าวิธีแรกจะทำให้เปลืองดินถมมากเกินไปให้ตัดแผ่นซีเมนต์
บอร์ดหนา 18 มิลลิเมตร ขนาดสูงกว่าช่องว่างใต้ตัวบ้านประมาณสองเท่า
 จากนั้นขุดดินเป็นร่องรอบบ้านแล้วฝังซีเมนต์บอร์ดลงไปในดินครึ่งหนึ่งของ
ความสูงแผ่น โดยให้ขอบบนของแผ่นยันไว้กับขอบล่างของคานบ้าน วาง
ซีเมนต์บอร์ดแผ่นต่อไปด้วยวิธีเดียวกันโดยให้ขอบซ้อนทับกับแผ่นก่อนหน้า
อย่างน้อย 10-15 เซนติเมตรจนรอบตัวบ้านจากนั้นจึงถมดินสูงขึ้นมาจนถึง
ระดับความสูงที่ต้องการเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

มีคนถามต่อว่า “ถ้าดินรอบบ้านทรุดอีกจะทำอย่างไร” คำตอบ คือเริ่มทำ
ตามขั้นตอนที่บอกไปแล้วซ้ำอีกครั้งแต่คราวนี้ให้ใช้ซีเมนต์บอร์ดแผ่นเดิม
โดยขุดออกแล้วจัดเรียงใหม่เท่านั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม : ควรติดมุ้งลวดที่ด้านนอกหรือด้านในของบ้านดี
อ่านเพิ่มเติม : ใช้สีน้ำมันทาผนังปูนได้หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม : ประตูห้องน้ำเปิดเข้าหรือเปิดออก…อะไรดีกว่ากัน
อ่านเพิ่มเติม : น้ำประปาที่บ้านไหลน้อย เราจะต่อปั๊มน้ำตรงเข้ากับท่อประปาสาธารณะได้หรือไม่
อ่านเพิ่มเติม : เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอย่างไรไม่ให้น้ำรั่ว
อ่านเพิ่มเติม : ทำไมเวลาก่อผนังต้องมีเสาเอ็นทับหลัง(ค.ส.ล.)