DESIGN NEW OPPORTUNITY บริษัทดีไซน์กว่า ดีไซน์มากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่

รีโนเวตตึกแถวเก่า 5 ชั้น 2 คูหา ยุค 80 ย่านสุขุมวิทที่มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น 600 ตารางเมตร ให้เป็นอาคารที่แอบซ่อนเสน่ห์ของงานดีไซน์ไว้ภายใน

ฉีกภาพเดิมที่คนในชุมชนเคยเห็นและเป็นมา เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของ คุณมาลินา ปาลเสถียร สถาปนิกหญิงเก่งแห่ง บริษัทดีไซน์กว่า โดยเธอตั้งใจมองหาสถานที่เหมาะเจาะใกล้รถไฟฟ้าในงบประมาณสมเหตุสมผล และมีสเปซมากพอที่จะเป็นออฟฟิศของเธอและทีมดีไซเนอร์ทั้ง 8 ชีวิตไปจนถึงการแบ่งพื้นที่ไว้ทำ Airbnb 2 ห้อง 2 สไตล์ ให้เหล่าเพื่อนใหม่ต่างทวีปได้มาพักผ่อนด้วยกัน

รีโนเวตตึกแถวเก่า
ตึกแถวยุค 80 ทั้งสองคูหานี้ คุณมาลินายังคงรักษาเปลือกอาคารรูปทรงเรขาคณิตเอาไว้เหมือนเดิม มีทางเข้า – ออก 2ส่วน ส่วนแรกเป็นทางเข้าออฟฟิศ ส่วนที่สองคือประตูบานเปิดเล็ก ๆ ทางขวามือสุด สำหรับเป็นทางเข้าไปสู่ห้องพัก Airbnbและห้องรับรองแขก
รีโนเวตตึกแถวเก่า
แขกของ Airbnb สามารถเดินเข้าประตูเล็ก ๆ ด้านขวามือสุด แล้วลัดเลาะขึ้นบันไดที่ทอดยาวไปที่พักได้โดยไม่ต้อง ผ่านส่วนออฟฟิศสถาปนิกให้เคอะเขิน
บันไดทางขึ้นส่วนไพรเวตสเปซมีการเจาะช่องแสงจากห้องรับรองและทดลองดัดประตูเหล็กทางเข้าให้มีช่องแสงเท่ ๆ ราวจับไม้ไผ่โดดเด่นท่ามกลางความเรียบนิ่งเหมือนจะเกริ่นถึงกลิ่นอายท้องถิ่นที่ผสมผสานอยู่ในทุกมุมของตึก

ถ้าถามว่าทำไมเราไม่สนใจซื้อหรือเช่าสำนักงาน ก็เพราะว่าอยากทำให้เป็นโปรเจ็กต์ของตัวเองไปเลย และเราก็มองว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ดีกว่านำเงิน 6 – 8 ล้านก้อนนี้ไปซื้อห้องบนตึกสูง เพราะเราอาจไม่ได้สเปซที่เพียงพอสำหรับทีมงาน แต่สำหรับที่นี่เรามีสเปซของเรามากพอที่จะสร้างสรรค์และทำเป็นอะไรก็ได้ ในวงเล็บว่าไม่รบกวนเพื่อนบ้านภายใต้ความท้าทายของการ Adaptive Reuse ตึกรุ่นเก่า

จัดลำดับการเข้าถึงสำหรับผู้มาติดต่องานด้วยการออกแบบโถงทางเข้าเยื้องเข้ามาในตัวอาคาร แล้วติดตั้งประตูทางเข้า – ออกไว้ด้านข้าง เว้นจังหวะที่ว่างให้คนได้ถอดรองเท้าแล้วหยุดพักหายใจสักครู่ ก่อนเดินมานั่งพักในพื้นที่ที่จัดวางเก้าอี้ฟอร์มสวย และดูงาน Rattan Dog Sculptures ของSopheap Pich ศิลปินชาวกัมพูชาไปเพลิน ๆ

คุณมาลินาเล่าว่า ตึก 2 คูหานี้มีลักษณะที่ต่างกันเล็กน้อย ตรงที่คูหาแรกมีสเปซค่อนข้างโปร่งโล่งกว่าคูหาที่สองเนื่องจากไม่มีการต่อเติมพื้นที่ หรือก่อผนังเพื่อแบ่งฟังก์ชันแยกย่อยมากนัก โดยบริเวณชั้น 1 และ 2 ยังคงความเป็นดับเบิ้ลสเปซไว้ และจัดสรรให้เป็นส่วนของร้านขายของชำส่วนชั้นที่เหลือใช้เป็นส่วนที่พักอาศัยของครอบครัว

ห้องน้ำเล็ก ๆ ในส่วนออฟฟิศคุมโทนสีเทาสลับเฉดเข้มอ่อนช่วยสร้างมิติได้อย่างดี ส่วนผนังตกแต่งด้วย กระเบื้องรังผึ้งทรงหกเหลี่ยม เข้ากับตึกสไตล์เรโทร
หลังทุบบันไดเดิมของตึกทิ้ง ก็ต่อเติมบันไดแบบไร้ราวจับสำหรับใช้เดินขึ้นสู่ชั้นลอยดูดิบเท่ด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือย เข้ากันดีกับห้องเฉดสีเทา

แต่อีกคูหาหนึ่งนั้นน่าจะผ่านมือผู้เช่ามาแล้วหลายคนพื้นที่ดับเบิ้ลสเปซอย่างคูหาแรกจึงหายไปเพราะเกิดจากการต่อเติมพื้นที่ไปมา แทบทุกชั้นจะมีการก่อผนังเพื่อแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อยจำนวนมาก ทำให้ตัวอาคารค่อนข้างมืดและทึบตัน เธอจึงเริ่มท้าทายข้อจำกัดของตึกนี้ด้วยการสร้างความเป็นไปได้ที่ไม่น่าเป็นไปได้ทีละส่วน

สร้างความต่อเนื่องให้ห้องประชุมและห้องสมุดงานดีไซน์บริเวณชั้นลอยโดยรื้อฝ้าเพดานออก และเปลือยงานระบบ นอกจากจะดูโปร่งโล่งไม่อึดอัดแล้ว ยังได้โชว์งานระบบสวย ๆ ไปในตัวด้วย

ความเป็นไปได้ที่ 1 : คงความเรโทรไว้ แล้วเปลี่ยนพื้นที่ภายในสุดอับทึบให้กลายเป็นออฟฟิศสถาปนิกสุดโล่งกว้าง

เพราะต้องการเป็นตัวของตัวเอง แต่ยังเป็นกันเองกับเพื่อนบ้านคุณมาลินาจึงเก็บสไตล์เรโทรของเปลือกอาคารหรือฟาซาดยุค 80 ไว้ทุกกระเบียดนิ้ว แล้วเลือกใส่ความเป็นตัวเองลงไปภายในแทน โดยเริ่มจากทลายผนังกั้นระหว่างตึกทั้งสองออกแล้วรื้อพื้นชั้น 2 ของคูหาที่มีการต่อเติมจนเป็นดับเบิ้ลสเปซที่ต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกันกับคูหาแรก รวมถึงรื้อแนวบันไดเดิมทิ้งทั้งหมด ช่วยให้เกิดสเปซที่โล่งกว้างเหมาะกับการนั่งประชุมหรือรับประทานมื้อเที่ยงพร้อมหน้ากัน

รีโนเวตตึกแถวเก่า
ช่องหน้าต่างกรุกระจกใสด้านหน้าช่วย ระบายอากาศในวันที่มีการตัดโมเดล หรือใช้อุปกรณ์เคมีเพื่อผลิตชิ้นงาน ต้นแบบ นอกจากรับลมได้ดี รอบ ๆ ยังดูอบอุ่นด้วยโคมไฟไม้ไผ่ ซึ่งเป็น วัสดุธรรมชาติสุดโปรดของคุณมาลินา
ชั้น 1 ของอาคารเป็นดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่ง 4 – 5 เมตร ซึ่งเกิดจากการทลายผนังเดิม แล้วควบรวมพื้นที่ตึก 2 คูหาเข้าด้วยกัน ก่อนเติม Flying Table โต๊ะทำงานขนาดยักษ์ ยาว 8.30 เมตรเข้ากับแนวเสา เด่นด้วยรูปฟอร์ม ตัดเฉียงดูปราดเปรียว เพรียวบาง และมีไดนามิก
โต๊ะไร้ขา แต่ไร้ปัญหาการรับน้ำหนักเพราะฝากโครงสร้างไว้กับผนัง และซ่อนคานรับน้ำหนักไว้ข้างใต้อีกที ด้านบน ติดตั้งชั้นเก็บเอกสารยึดโครงสร้างกับเสาอาคาร ตัวชั้นทำจากกล่องไม้อัดโชว์ผิวธรรมชาติ และแผ่นเหล็กปั๊มรู (Round Hole Perforated Sheet) ให้ลุคโปร่งเบา ทั้งยังใช้ติดตั้งหลอดไฟบริเวณโต๊ะทำงานเพื่อเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ มีฉากหลังเป็นงานกราฟฟีตีสีสนุกของศิลปินชาวกัมพูชา Peap Tarr และศิลปินชาวอเมริกัน Angry Woebots

การทุบผนังกั้นระหว่างอาคารนี้ทำให้เหลือร่องรอยของเสาและคานขนาดใหญ่กลางพื้นที่ คุณมาลินาจึงออกแบบFlying Table หรือโต๊ะทำงานไร้ขา ยาว 8.30 เมตร ใหญ่ยักษ์สะใจทีมดีไซเนอร์ที่ทำงานตรงมุมนี้ โดยยึดตัวโต๊ะเข้ากับเสา แล้วซ่อนโครงสร้างไว้ข้างใต้ โต๊ะจึงดูโปร่งเบาคล้ายลอยอยู่กลางห้องแบบเนียน ๆ

ห้องน้ำเล็ก ๆ ในส่วนออฟฟิศคุมโทนสีเทาสลับเฉดเข้มอ่อนช่วยสร้างมิติได้อย่างดี ส่วนผนังตกแต่งด้วย กระเบื้องรังผึ้งทรงหกเหลี่ยม เข้ากับตึกสไตล์เรโทร “ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้อัดโชว์ผิวไปเลย เพราะมันไม่พยายาม ที่จะเป็นอย่างอื่น พี่ชอบวัสดุที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบ เวลาเอากระเบื้องมาทำเหมือนไม้ ไม้มาทำเป็นเหล็ก พี่ชอบเหล็กคือเหล็ก ไม้คือไม้ มีความซื่อสัตย์กับวัสดุ ตามแบบ Modernist Architecture”

ความเป็นไปได้ที่ 2 : บอกลาความมืดทึบชวนอึดอัดด้วยการต้อนรับเพื่อนรักที่ชื่อว่าแสงอาทิตย์!

เริ่มจากการเจาะช่องแสงกรุหน้าต่างกระจกใสเป็นแนวยาวตลอดผนังบริเวณชั้น 1 ฝั่งที่ไม่ได้ใช้งานร่วมกับเพื่อนบ้านส่วนด้านหลังก็เว้นพื้นที่ให้เปิดโล่งเพื่อทำเป็นคอร์ตเอ๊าต์ดอร์ต้อนรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาในตัวอาคาร โดยล้อมคอร์ตนี้ด้วยหน้าต่างกรุกระจกใสตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้นลอย ก่อนเพิ่มเสน่ห์ให้ส่วนนี้ด้วยการต่อเติมอิฐช่องลมลายปีกนกสูงจรดดาดฟ้า เกิดแพตเทิร์นสวยสะกดสายตาซึ่งมีที่มาจากวัสดุสุดสามัญ หาได้ง่ายในบ้านเรา นอกจากจะช่วยดึงแสงสว่างเข้ามาได้แล้ว ยังช่วยระบายความร้อน เพราะเมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้นไป อากาศเย็นสบายจะเข้ามาแทนที่หมุนเวียนถ่ายเททั่วทั้งอาคาร

แสงธรรมชาติส่องผ่านช่องแสง ด้านหน้าและด้านข้างเข้ามายัง ห้องประชุมชั้นลอย มุมนี้จึง ดูสว่างโดยไม่ต้องเปิดไฟ