MRT สนามไชย “พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน” แห่งแรกของไทย!

สำหรับบริเวณที่พบผนังท้องพระโรง คือพื้นที่ลึกลงไปใต้ดินของสนามหญ้าภายในอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์หรือมิวเซียมสยามในปัจจุบันนั้นเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ภายหลังรัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้รื้อทิ้งกลุ่มวังท้ายวัดพระเชตุพน เพื่อสร้างกระทรวงพาณิชย์ ก่อนจะมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมาย รวมทั้งฐานโครงสร้างวังหลายองค์ในระหว่างก่อสร้างมิวเซียมสยาม ปี 2549

ภาพจาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000022905
ภาพจาก www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000022905

20170130_153155

ส่วนพื้นที่ท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพื้นที่เก่าแก่ที่มีการใช้สอยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ตั้งของป้อมวิชาเยนทร์เพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสริมแม่น้ำเจ้าพระยานั่นเอง

วังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นกลุ่มวังที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย 5 วัง คือ โดยวังที่หนึ่งตั้งอยู่บริเวณมิวเซียมสยามและเป็นพื้นที่ที่พบผนังท้องพระโรง  ซึ่งที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์เดิม ก่อนที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช จะเข้าประทับต่อมา ส่วนวังที่ห้าเป็นที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต่อมาเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี ปัจจุบันคือสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โดยทั้ง 5 วังเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 6

20170130_153143

เมื่อชัดเจนแล้วว่า ใต้ดินบริเวณดังกล่าวมีโบราณสถานลักษณะเป็น ผนังท้องพระโรง จึงได้วางแผนตัดยกผนังท้องพระโรงทั้งหมดขึ้นมา เพื่อนำไปเก็บรักษาที่สำนักงานใหญ่ รฟม. เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงจะนำกลับมาจัดแสดงภายในสถานีรถไฟฟ้าบริเวณจุดเดิมที่ขุดพบ อีกทั้งจะนำหลักฐานสำคัญอื่นๆ ที่ขุดพบบริเวณใกล้เคียงก่อนหน้านี้ มาจัดแสดงในสถานีเช่นกัน อาทิ เปลือกหอยมุก กระดูกโครงม้าสภาพสมบูรณ์ เกือกม้า แปรงขนม้า ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเครื่องเคลือบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่นับตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากรถไฟฟ้า

และสำหรับใคร ที่อยากติดตามข่าวสาร ของ มิวเซียมสยามสามารถเข้าไปกดไลก์เฟซบุ๊คได้ที่ www.facebook.com/museumsiamfan ถ้ามีความเคลื่อนไหว รับรองว่า รูมจะมาอัพเดทให้แฟนๆได้ทราบแน่นอน


เรื่อง / ภาพ : Parichat K.

ข้อมูลอ้างอิง : กรมศิลปากร / สำนักข่าวไทย
ภาพอ้างอิง : www.thairath.co.th/content/305390