5 BEST DESIGN PLACES 2016 – ROOM MAGAZINE

DESIGN PLACES BEST OF YEAR 2016 รวม 5 สถานที่ดีไซน์สวยของปีนี้ จัดอันดับ โดย ROOM MAGAZINE จะมีที่ไหนอีกบ้าง ตามมาดูเลย…

[1]

MAIIAM CONTEMPORARY ART MUSEUM

MAIIAM CONTEMPORARY ART MUSEUM

MAIIAM Contemporary Art Museum นี่เอง ที่จะพาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งความร่วมสมัยผ่านผลงานศิลปะหลากหลายสาขา จากศิลปินไทยหน้าใหม่ไปจนถึงผู้มีชื่อเสียงระดับสากล ภายในพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร จากฝีมือการเนรมิตของ all(zone) ที่ใช้เวลาหนึ่งปีครึ่งสำหรับโปรเจ็กต์นี้

แค่ชื่อก็ทำให้อดชื่นชมความชาญฉลาดในการเล่นกับคำไม่ได้ นอกจากการนำคำว่า “ใหม่” ที่เขียนด้วยพยัญชนะภาษาอังกฤษมาสลับหน้าหลังกันเป็น “MAIIAM” หรือในภาษาไทยว่า “ใหม่เอี่ยม” แล้ว ยังมีความหมายแท้จริงซ่อนอยู่ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าจอมเอี่ยม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นคุณย่าทวดบุญธรรมของเจ้าของ

ที่เฟี้ยวจนต้องร้องว้าว เป็นการออกแบบผนังเป็นสันเหลี่ยมมุมแทนที่จะเป็นระนาบเดียว ราบเรียบ แล้วบรรจงติดแผ่นกระจกขนาด 7 x 9 เซนติเมตร แบบเดียวกับที่นิยมติดบนกําแพงวัดในจังหวัดเชียงใหม่ ลงบนฟาซาดพื้นที่ขนาด 400 ตารางเมตร เกิดเงาสะท้อน ที่น่าสนใจ สร้างความสงสัยปนตื่นเต้นให้ผู้ผ่านไปมาบนทางหลวงสายสันกําแพง
อ่านต่อ : MAIIAM CONTEMPORARY ART MUSEUM

 

[2]

yellow

erm_163_p136-141_outdoor-design-3 erm_163_p136-141_outdoor-design-5 erm_163_p136-141_outdoor-design-7

YELLOW SUBMARINE COFFEE TANK ที่เขาใหญ่นี้ ของคุณช่อผกา จิตตเกษม อาคารสีเทาที่มองจากด้านนอกเหมือนเป็นอาคารสองชั้น แต่ที่จริงแล้วมีเพียงชั้นเดียวโดยออกแบบเป็นโถงสูงขึ้นไป ออกเบบโดยคุณเสก สิมารักษ์ สถาปนิกจากบริษัทสถาปนิกชั้นสอง จำกัด เมื่อเข้ามาในโครงการ หากมองแบบผ่าน ๆ อาจเห็นเรือดำน้ำแห่งนี้เป็นเพียงกล่องขนาดใหญ่ที่มี เส้นสายน้อยเส้นดูตรงไปตรงมา

แต่เมื่อมองลึกลงไปกว่านั้น งานออกแบบของที่นี่สามารถมองให้เป็นสคัลป์เจอร์สุดโดดเด่นตั้งอยู่กลางป่าต้นยมหอมซึ่งมีเนื้อที่ 10 ไร่ โถงกาแฟกึ่งเอ๊าต์ดอร์ออกแบบให้มี โต๊ะกลางขนาดใหญ่เพียงโต๊ะเดียว กำแพงมีรายละเอียด น่าสนใจด้วยโครงสร้างที่ทำจากเหล็กแนวตั้งเว้นระยะทุก ๆ 50 เซนติเมตรก่ออิฐสีเทาเจาะรู เว้นช่องลมในบางจุดเพื่อให้แสงและลมผ่านเข้ามาได้อีกทั้งกำแพงสูงยังลดแรงลมที่จะปะทะเข้ามาด้านในได้ด้วย

 

[3]

มุมมองด้านหน้าจะมองเห็นโครงทรัส (Truss) ของอาคารด้านหน้าและด้านหลังที่มีลวดลายต่อเนื่องกันพอดี

(ซ้าย) เมื่อมองในมุมเพอร์สเป็คทีฟจะเห็นได้ว่าเหมือนมีอาคาร 2 หลังมาซ้อนกันอยู่ โดยมีโครงทรัสเป็นเหมือนฟาซาดของอาคาร ซึ่งจริงๆ แล้วโครงทรัสทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวอาคารเอาไว้ ส่วนพื้นที่ด้านในบริเวณที่บิดยกขึ้นไปสามารถใช้เป็นอัฒจันทร์สำหรับการประชุมได้ (ขวา) ทางเข้าอาคาร ตำแหน่งจะอยู่ใต้ส่วนที่บิดขึ้นด้านบน นอกจากจะเป็นกรอบอาคารแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นกันสาดให้พื้นที่ทางเข้าอาคารได้ด้วย

ดับเบิลสเปซในส่วนของโถงด้านในช่วยให้เห็นโครงสร้างซูเปอร์ทรัสภายในอาคารอย่างชัดเจน โดยมีเฟรมอะลูมิเนียมสีดำกรุไว้ด้านนอก อีกทั้งทางผู้ออกแบบยังตั้งใจให้ภายในอาคารมีสีขาวเป็นหลัก เพื่อให้คอนทราสต์กับผิวอาคารภายนอกสีเข้ม และสร้างบรรยากาศผ่อนคลายระหว่างการทำงานบริษัทแสงไทยผลิตยาง จำกัด แห่งนี้ ใครเคยผ่านไปย่านถนนปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการคงต้องสะดุดตากับอาคารแห่งหนึ่งที่มีรูปทรงโดดเด่นจากบริบทโดยรอบ แต่นอกเหนือจากจะดึงดูดสายตาแล้ว ความใส่ใจและละเอียดอ่อนในขั้นตอนการออกแบบยังสร้างความน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยได้บริษัทสถาปนิกที่มีประสบการณ์มายาวนานอย่าง บริษัทเอทิลิเออร์ออฟอาคิเท็กส์ มาสานต่อความต้องการของเจ้าโครงการให้ออกมาเป็นอาคารที่มีความยูนีคที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

มุมมองด้านหน้าจะมองเห็นโครงทรัส (Truss) ของอาคารด้านหน้าและด้านหลังที่มีลวดลายต่อเนื่องกันพอดี เมื่อมองในมุมเพอร์สเป็คทีฟจะเห็นได้ว่าเหมือนมีอาคาร 2 หลังมาซ้อนกันอยู่ โดยมีโครงทรัสเป็นเหมือนฟาซาดของอาคาร ส่วนทางเข้าอาคาร ตำแหน่งจะอยู่ใต้ส่วนที่บิดขึ้นด้านบน นอกจากจะเป็นกรอบอาคารแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นกันสาดให้พื้นที่ทางเข้าอาคารได้ด้วย

ดับเบิลสเปซในส่วนของโถงด้านในช่วยให้เห็นโครงสร้างซูเปอร์ทรัสภายในอาคารอย่างชัดเจน โดยมีเฟรมอะลูมิเนียมสีดำกรุไว้ด้านนอก อีกทั้งทางผู้ออกแบบยังตั้งใจให้ภายในอาคารมีสีขาวเป็นหลัก เพื่อให้คอนทราสต์กับผิวอาคารภายนอกสีเข้ม และสร้างบรรยากาศผ่อนคลายระหว่างการทำงาน

ความสำเร็จของโครงการ Saengthai Rubber คืออีกหนึ่งผลงานของนักออกแบบไทยที่กล้าออกแบบและสร้างสิ่งที่แตกต่างแก่วงการออกแบบบ้านเรา ให้มีงานสถาปัตยกรรมที่ดี เป็นตัวอย่างแก่นักออกแบบรุ่นหลังต่อไป
อ่านต่อ : SAENGTHAI RUBBER

 

[4]

10532_commons-01 10532_commons-02 10532_commons-03 10532_commons-04

The Commons หากถามถึงสถานที่รวบรวมผู้ประกอบการตัวเล็กแต่จริงใจ และหลงใหลในสิ่งที่ทํามาอยู่ร่วมกัน คอมมูนิตี้น้องใหม่ย่านทองหล่อ คือคําตอบแรกที่เรานึกถึง! ทุกคนจะสามารถมาใช้ชีวิตได้ครบและจบในตัว ตั้งแต่โซน Market ชั้น 1 คัดสรรคนทําอาหารเครื่องดื่มท่ีใส่ใจในวัตถุดิบและวิธีการปรุงมาไว้ในที่เดียวภายใต้คอนเซ็ปต์ “Wholesome Living”

นอกจากร้านกาแฟ ร้านอาหารแล้ว ตัวอาคารยังมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ในลักษณะกึ่งเอ๊าต์ดอร์ลดหลั่นสเต็ปทางเดินลงมาเป็นจังหวะหลากหลาย ช่วยให้ขณะเดินผ่านแต่ละชั้นไม่ดูน่าเบื่อจำเจ แถมยังเป็นที่นั่งเล่น นั่งทํางาน และรับประทานอาหารได้ในตัว ภายใต้รูปลักษณ์ดิบเท่ของคอนกรีตหล่อซึ่งได้ Department of Architecture มาเป็นผู้ออกแบบให้ แทรกด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอาคาร ผลงานการออกแบบโดย P Landscape เข้ามาช่วยดีไซน์ให้ทันสมัย สมกับเป็นสวนหลังบ้านของชาวทองหล่ออย่างแท้จริง

 

[5]

DESIGN PLACES

กรุกระจกเข้ากับโครงเหล็กที่ตีเป็นช่องเพื่อประหยัด ค่าวัสดุ เพราะกระจกแผ่นใหญ่จะมีราคาสูง นอกจากประหยัดแล้ว ยังได้รูปทรงช่องสี่เหลี่ยม ที่สัมพันธ์กับโครงสร้างโดยรวมอีกด้วย

พื้นท่ีด้านนอกหน้าอาคาร ใช้เป็นท่ีนั่งเล่นพักผ่อนดื่มกาแฟ โดยนําแกนเคเบิลมาทําเป็นโต๊ะประดับหญ้าน้ําพุท่ีดูแลง่าย และให้ความรู้สึกเหมือนนั่งเล่นกลางทุ่ง

ออฟฟิศ บริษัทแม่คะนิ้งครีเอทีฟ จำกัด จากความประทับใจวัยเด็กสู่งานออกแบบที่เชื่อมโยงระหว่างวันวานและจิตสํานึกที่มีต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นที่มาของอาคารทรงลูกบาศก์ปกคลุมด้วยฟางมีหน้าจั่วสามเหลี่ยมโดดเด่น ตกแต่งแลนด์สเคปรอบๆ ด้วยทุ่งหญ้าชวนให้นึกถึงกระท่อมกลางทุ่งนาซึ่งเป็นธีมหลักของการออกแบบอาคารนี้

คุณอาร์ท- รณชัย ขันปัญญา สถาปนิกจาก บริษัทแม่คะนิ้งครีเอทีฟ จำกัด จึงนําแนวคิดการนําวัสดุเหลือใช้กลับมาออกแบบออฟฟิศหลังใหม่ของตัวเอง โดยใช้หลัก Reuse Repair Upcycle 

โครงสร้างภายในคล้ายกระโจม ใช้เหล็กกล่องทั้งเส้นความยาว 6 เมตรมาต่อกันเป็นหน้าจั่วให้ได้ความสูงที่พอดี และเหลือเศษน้อยที่สุด ที่จั่วด้านหน้าตีโครงเหล็กเป็นช่องแล้วกรุกระจกลงไป ส่วนผนังอาคารภายนอกทั้งหมด ออกแบบเป็นช่องสี่เหลี่ยมมุงด้วยหญ้าคาที่นํามาจัดระเบียบใหม่โดยตัดปลายให้เรียบเสมอกันเสมือนเป็นฉนวนกันความร้อนให้อาคารด้านใน ท้ังยังช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศท้ังวัน และช่วยกรองเสียงไปในตัว ผนังด้านในกรุเมทัลชีท ส่วนงานตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เน้นวัสดุที่เรียบง่าย
อ่านต่อ : REUSE REPAIR UPCYCLE

 

เป็นยังไงกันบ้างกับ 5 ที่ดีไซน์สวยโดนใจ ส่วนเมื่อวานใครที่พลาด ดูบ้านสวยประจำปีนี้ไป ตามมาดูได้ที่นี่ BEST HOMES 2016 รวมบ้านดีปี 2559 


ภาพ : แฟ้มภาพ นิตยสาร room
เรียบเรียง – รวบรวมโดย : Parichat K.