บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า”

บ้านหลังเล็ก ไต้หวัน เทรนด์การอยู่อาศัยในเมืองที่น่าสนใจในปัจจุบันอย่างหนึ่งคือมีการออกแบบพื้นที่พักอาศัยในแนวตั้งกันมากขึ้น แม้แต่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน การเสาะหาพื้นที่ว่างกลางเมืองสักผืนเพื่อสร้างบ้านนั้น เรียกได้ว่า“แทบเป็นไปไม่ได้” เสียแล้ว คนรุ่นใหม่จึงเริ่มหันมาหาที่อยู่อาศัยในขนาดที่พอดีกับกำลังซื้อของตนเอง แทนการสู้กับราคาที่ดินหรือหาซื้อบ้านหลังใหญ่ในงบประมาณที่สูงเช่นเดียวกับวิศวกรหนุ่มเจ้าของบ้านหลังนี้ ผู้กำลังมองหาบ้านหลังใหม่ให้ตัวเองและภรรยา โดยมีเงื่อนไขว่าบ้านหลังใหม่กับที่ทำงานต้องไม่ไกลกันเกินไปนัก กระทั่งได้มาพบกับอพาร์ตเมนต์ขนาดเหมาะสมที่ตั้งอยู่ในทำเลของเขตซื่อหลิน (Shilin) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ทำงาน สามารถเดินทางได้ด้วยระบบขนส่งมวลชนที่แสนสะดวกสบายและที่สำคัญยังตอบโจทย์เรื่องงบประมาณซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดของเขาได้อย่างดีด้วย

บ้านหลังเล็ก ใต้หวัน
เมื่อพ้นประตูเข้ามาจะพบกับโถงกลาง โดดเด่นด้วยหน้าต่างกระจกใสสูงจากพื้นจรดเพดานเพื่อนำแสงเข้ามานอกจากนี้นักออกแบบยังทำทางเดินไม้ยกระดับให้มีความสูงเท่ากับระเบียง ใช้เป็นที่นั่งเล่นพร้อมมีลิ้นชักด้านใต้ในตัว
erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-4
ช่วงเวลากลางวันแสงธรรมชาติจะสาดส่องผ่านบานกระจกเข้าสู่พื้นที่ในบ้านอย่างเต็มที่ ทางเดินไม้ที่ทอดผ่านตลอดแนวยาวของบ้านยังช่วยสร้างเสน่ห์ให้บ้านดูอบอุ่นขึ้น

สำหรับครอบครัวเล็ก ๆ ที่มีเพียงสองสามีภรรยา งานออกแบบได้มุ่งเน้นไปที่ความชอบของทั้งสองคน โดยปรับให้ลงตัวกับความเป็นไปได้และข้อจำกัดที่มีอยู่ ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือขนาดพื้นที่ที่มีเพียง 33 ตารางเมตร ประกอบกับมีระยะพื้นถึงฝ้าเพดานในส่วนนั่งเล่นและห้องนอนที่ค่อนข้างสูงราว 3.60 เมตร และพื้นที่ครัวที่สูงถึง 4.50 เมตร ทำให้สัดส่วนในห้องยิ่งดูสูงชะลูดและรู้สึกแคบมากกว่าบ้านทั่วไปทว่าข้อจำกัดที่ยิ่งมาก หลายครั้งก็อาจกลายเป็นจุดสร้างความน่าสนใจให้งานออกแบบได้อย่างไม่น่าเชื่อ!

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-5
พื้นที่จากพื้นถึงฝ้าในส่วนครัวมีความสูงถึง 4.50 เมตร จึงเหลือพื้นที่เหนือผนังให้เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปใช้งานเป็นมุมนั่งเล่นด้านบนได้ ม่านทึบสามารถปรับระดับขึ้นลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน

การวางผังกับการจัดการพื้นที่ใช้สอยจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญอันดับหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าของบ้านไม่รู้สึกอึดอัดกับบ้านหลังใหม่ และช่วยพลิกพื้นที่ที่มีขนาดเล็กให้กลับมาน่าสนใจ สถาปนิกเริ่มจากลบข้อจำกัดดังกล่าวด้วยการทำลายผนังอันเป็นเส้นแบ่งระหว่างห้องทิ้งเพื่อขยายพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-6
หลังกำแพงซึ่งกรุด้วยกระเบื้องสีขาวสะอาดดูเรียบร้อยสบายตาตามความชื่นชอบของเจ้าของบ้าน เป็นส่วนใช้งานที่นำไปสู่ห้องน้ำและครัวไม่ลืมเติมกระจกบานยาวในพื้นที่ที่เหลือจากการขยายทางเดินออกไปที่ริมระเบียง ช่วยให้บ้านไม่อึดอัดจากพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก
erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-9
นักออกแบบซ่อนลูกเล่นโต๊ะอเนกประสงค์ที่ขยับขึ้นลงพับเก็บได้ไว้ใต้ทางเดินไม้สีอ่อนที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนนั่งเล่นและครัวคล้ายต้องการทำลายกำแพงระหว่าพื้นที่สองส่วนให้กลืนเป็น พื้นที่เดียวกัน

จากสภาพห้องเดิม ส่วนครัวคือพื้นที่แรกที่เปิดประตูบ้านเข้ามาเจอ ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นมุมนั่งเล่นเล็ก ๆ แล้วย้ายเคาน์เตอร์ครัวให้ไปอยู่อีกฝั่งซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับต่ำกว่า กั้นสัดส่วนด้วยผนังเตี้ย ๆ ติดกันคือส่วนของห้องน้ำที่ได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กว้างขึ้น โดยมีมุมอ่างอาบน้ำที่สามารถมองออกไปเห็นบรรยากาศภายนอกได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้านห้องน้ำและห้องครัวจึงเชื่อมต่อกันแบบคอมแพ็กต์ในสัดส่วนที่ลงตัว

 

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-101
ซ้าย จากครัวเมื่อมองออกไปยังระเบียงสามารถมองเห็นพื้นที่ภายนอกได้ผ่าน121 ซ้าย จากครัวเมื่อมองออกไปยังระเบียงสามารถมองเห็นพื้นที่ภายนอกได้ผ่านกระจกบานเล็ก ๆ ที่ติดตั้งไว้ในส่วนนั่งเล่น โดยหลีกเลี่ยงที่จะใช้กระจกบานใหญ่เพื่อไม่ให้บ้านได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเกินไป ขวา ห้องน้ำที่ซ่อนอยู่หลังครัวตกแต่งด้วยกระเบื้องลายไม้สีอ่อนสีเดียวกับไม้ในส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เพิ่มฟังก์ชันด้วยการติดกระจกเงาบนบานตู้ ช่วยประหยัดพื้นที่และสะท้อนมุมมองให้ดูกว้างขึ้น

ชมห้องนอนและห้องครัวต่อ คลิก